Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
อึ้ง! อาจารย์มหา′ลัยแห่สอบ′ครูผู้ช่วย′ สอน′ประถม-มัธยม′เหตุเป็นข้าราชการ

นายสุมิตร สุวรรณ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในฐานะประธานเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่าปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น ล่าสุด มีอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ที่ได้รับทุนไปเรียนในปี 2542 ซึ่งเป็นปีที่เกิดพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นมา ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของกลุ่มเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยว่า ขณะที่รับทุน ในสัญญาระบุว่าต้องกลับมาเป็นข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) จึงตัดสินใจรับทุน แต่พอกลับมาแล้วกลับได้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ไม่ได้เป็นข้าราชการตามที่สัญญาระบุไว้ แถมตัดโอกาสที่จะไปทำงานที่อื่นอีก เพราะติดที่ต้องใช้ทุนกับต้นสังกัดด้วย เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าตามกฎหมายแล้ว ถือว่าขัดกฎหมายหรือไม่ เพราะสัญญาระบุให้กลับมาเป็นข้าราชการ แต่กลับมาบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายคนผิดหวัง และน่าเห็นใจ จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ด้วย

  • "กรณีนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสมองไหล เพราะจากเดิมที่เป็นครูประถม หรือมัธยมศึกษา พอเรียนจนถึงระดับปริญญาโท หรือเอก แล้วจะขยับมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ขณะนี้กลายเป็นว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความรู้ กลับไปสอบบรรจุเป็นครูประถม หรือครูมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แทน เพราะได้เป็นข้าราชการที่มีความมั่นคงมากกว่า ซึ่งในการประกาศผลสอบครูผู้ช่วยของ สพฐ. เมื่อเร็วๆ นี้ มีอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนสอบติด" นายสุมิตรกล่าว

นายสุมิตรกล่าวอีกว่า กรณีที่สภา มก.หักเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการออกไป 0.2 เท่า ทำให้ได้รับเงินเดือนเพียง 1.5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดไว้ 1.7 เท่าของเงินเดือนข้าราชการ เพื่อไปจัดสวัสดิการนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่าหากจะหักเงินเดือนเพื่อไปจัดสวัสดิการ ก็ควรหักจากทุกคนเท่าๆ กัน ไม่ใช่หักสายใดสายหนึ่ง ส่วนที่มหาวิทยาลัยสามารถทำได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาตีความ เพราะในมติ ครม.ขณะนั้น เขียนไว้ว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างให้ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัย ซึ่งตรงนี้ตีความได้ใน 2 แบบคือ มหาวิทยาลัยจะจ้างเท่าไหร่ก็ได้ หรือจ้างเท่าไหร่ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1.7 เท่า ตามที่ ครม.กำหนด โดยสาเหตุที่ ครม.ขณะนั้นให้เงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมากกว่าสายสนับสนุน เพราะสายวิชาการหายาก เช่น แพทย์ วิศวะ หรือนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันส่วนตัวเห็นว่าเงินเดือนของนักวิชาการในแต่ละสายก็ไม่ควรจะเท่ากัน เพราะความยากง่ายต่างกัน

  • นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า รัฐบาลให้เงินพนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่าข้าราชการ 1.5-1.7 เท่า เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน และสวัสดิการอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ให้จ่ายเป็นเงินเดือนทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลพูดชัดว่าที่ให้มากกว่าข้าราชการนั้นรวมสวัสดิการอื่นๆ ด้วย ดังนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีวิธีการบริหารจัดการที่ต่างกัน อย่าง มธ. ล่าสุดปรับเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานมหาวิทยาลัยและคนในครอบครัวเพิ่มอีก 1 คน ส่วนเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ มธ.ให้ตามอัตราราชการเดิม แต่รวมๆ แล้วพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้ที่ 1.7 เท่า หรือมากกว่านั้น ตนเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้ให้เงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยที่ 1.5-1.7 เท่า เพราะต้องไปจัดสวัสดิการอื่นๆ กรณี มก.ผู้บริหารคงต้องทำความเข้าใจ และไปดูรายละเอียดให้ครบว่า มก.จัดสวัสดิการส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมให้หรือไม่

"ที่ มธ.ให้เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการที่ให้พนักงานตามอัตราเดิมของข้าราชการ เพราะรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบส่วนนี้ให้ และหากมหาวิทยาลัยจะต้องหาเงินมาจ่ายเอง ซึ่ง มธ.ก็มีเงินสะสมอยู่ แต่เงินส่วนนี้ต้องเก็บไว้ใช้ในอนาคต ผมรับหน้าที่อธิการบดี 3 ปี แล้วก็ไป ระหว่างอยู่ในอำนาจจะนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อขึ้นสวัสดิการ หรือเพิ่มเงินประจำตำแหน่งวิชาการให้พนักงานก็ทำได้ แต่เมื่อผมออกจากตำแหน่ง แล้วเงินหมด จะทำอย่างไร คนที่เดือดร้อนจริงๆ คือมหาวิทยาลัย" นายสมคิดกล่าว

  • นายสมคิดกล่าวอีกว่า ข้อโต้แย้งของพนักงานมีเหตุผล แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มหาวิทยาลัย อยู่ที่รัฐบาลว่าให้เงินประจำตำแหน่ง 2 เท่ากับข้าราชการ แล้วทำไมไม่ให้พนักงานปัญหาสำคัญอีกเรื่องคือ สำนักงาน ก.พ.ทำตารางอัตราเงินเดือนข้าราชการเดิมที่เงินเดือนเกิน 15,000 บาทว่า ควรจะต้องได้เพิ่มเท่าไหร่ ตามนโยบายปรับเงินเดือน 15,000 บาทของรัฐบาล ทำให้ข้าราชการเดิมที่เงินเดือนเกิน 15,000 บาทได้รับอานิสงส์ แต่ ก.พ.ไม่ได้ทำเพื่อพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งหน่วยงานที่ต้องทำคือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงประธานอนุกรรมการการศึกษาของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วว่าพนักงานราชการที่เงินเดือนเกิน15,000 บาท ควรได้รับการปรับเพิ่มด้วย และยืนยันว่าช่องว่างระหว่างข้าราชการกับพนักงานฯ ควรอยู่ที่ 1.5-1.7 เท่าเดิม

"ที่ผมพูดมาทั้งหมด พูดตามหลักวิชาการ และพยายามช่วยเหลือสนับสนุนพนักงานในสิทธิอันชอบธรรม แต่บางครั้งสิ่งที่พูดไปอาจมีทั้งคนที่พอใจ และไม่พอใจ เช่น ที่ผ่านมามีคนมาถามว่าควรปรับแก้ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ ผมบอกว่าไม่เห็นด้วย เพราะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา แต่ถ้าถามว่า ควรจะมี พ.ร.บ.ใหม่ที่เป็นของพนักงานมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะหรือไม่ ผมบอกว่าเห็นด้วยและสนับสนุน เพราะทุกแห่งจะได้มีมาตรฐานต่างๆ ร่วมกัน ทั้งเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งวิชาการ" นายสมคิดกล่าว




ขอบคุณ นสพ มติชน




Create Date : 14 กรกฎาคม 2555
Last Update : 14 กรกฎาคม 2555 7:50:28 น. 0 comments
Counter : 1447 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.