กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
30 สิงหาคม 2565
space
space
space

องค์มรรคที่ ๖ สัมมาวายามะ   



    องค์มรรคที่ ๖  กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาวายาโม    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า ?   อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้   อะนุปปันนานัง  ปาปะกานัง  อะกุสะลานัง  ธัมมานัง อะนุปปาทายะ  ฉันทัง  ชะเนติ  วายะมะติ  วิริยัง  อาระภะติ  จิตตัง   ปัคคัณหาติ  ปะทะหะติ  ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น  ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร  ประคองตั้งจิตไว้  เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด  ไม่ให้เกิดขึ้น  ฯลฯ  อันนี้  คือ ปธาน  ๔  นั่นเอง.    ปธาน  ๔  คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิต   เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว  เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อม  นี้เรียกว่า  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ
 
   อันแรกคือว่า  เพียรระวังไว้  ระวังโดยมีสติคอยควบคุม.  คุมที่ไหน ?  คุมที่ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  คุมที่ใจอันเดียวพอ   ตาหูไม่ต้อง  มันมากองอยู่ที่ใจแล้ว เพราะฉะนั้น  ต้องคุมใจไม่ให้เกิดกิเลส  เช่นไม่ให้เกิดราคะความกำหนัดเพลินเพลินในรูปที่เห็น   ไม่ให้เกิดโทสะเพราะเห็นสิ่งไม่เป็นที่ชอบใจ  ไม่ให้เกิดโมหะความหลง  ไม่ให้เกิดริษยาพยาบาท  อาฆาตจองเวร.  พูดง่ายๆ  ว่า ระวังใจไม่ให้เกิดกิเลส  เมื่อตากระทบรูป   หูกระทบเสียง  จมูกกระทบกลิ่น  ลิ้นกระทบรส   กายถูกต้องโผฏฐัพพะ  ใจมีความคิด  ระวังไว้  นี่เป็นความเพียรอันหนึ่ง  คือ ต้องคอยคุมไว้.
เวลาว่างๆ  เราก็คอยสำรวจตัวเอง   ควบคุมตัวเอง  ทำบ่อยๆ เวลาว่างเยอะ  แต่เอาเวลาไปนั่งคุยกันเสียบ้าง  ไม่ทำอะไรกันเสียบ้าง  เหมือนชาวบ้านไปนั่งโขกหมากรุก  เล่นหมากฮอสกันเสีย    ได้เรื่องอะไร  เรามานั่งคุมตัวเอง  เดินคุมก็ได้  เดินจงกรม  เดินไปเดินมา คอยดูว่ามันเกิดอะไร  อย่าให้มันเกิดกิเลส  พอเกิดขึ้นก็หยุดเสีย  หยุดแล้วต้องพิจารณาว่ามันมาอย่างไร  เช่น  เกิดความกำหนัดขึ้นมา  นึกว่า เอ๊ะ  กำหนัดอะไร   คิดถึงอะไร   ทำไม่จึงได้เป็นอย่างนั้น  อ้อ  เราคิดถึงเจ้านั่นสิ่งนั้นๆ  สิ่งนั้นมันคืออะไร  มันมีอะไรนักหนา  มีอะไรที่ดีงามนักหรือ  แต่เป็นของปฏิกูล  น่าเกลียด ไม่น่ารัก   ไม่น่าชมอะไร   พิจารณาไปเดี๋ยวก็หายไปเอง.  ถ้าว่าเราคอยระวังไว้มันก็ไม่เกิด  เผลอเกิดขึ้น  ต้องพยายามละ  เมื่อละส่วนชั่วแล้ว  เหมือนกับล้างแล้วต้องเช็ดต่อ ล้างแล้วต้องรีบต่อ   พยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นต่อไป.
 
   กุศลอันใดเกิดขึ้นแล้ว  พยายามรักษาให้อยู่นานๆ  อย่าให้เสื่อมไป  ดีแล้วต้องดีนานๆ ชนะแล้วต้องชนะนานๆ  สงบได้แล้วให้สงบนานๆ   รักษามันไว้อย่าให้เปลี่ยนแปลงไป   เหมือนกับเรามาอยู่วัดก็คงจะได้กำไรพอสมควร  ครั้นออกไปอยู่บ้าน  สิ่งแวดล้อมคนละเรื่อง  เราอย่าให้สิ่งแวดล้อมนั้นดูดเราเข้าไป   แต่เราจะต้องเป็นฝ่ายต้านไม่ให้ความคิดความอ่านตกไปในทางต่ำ  ไม่ให้ตกไปสู่สภาวะที่ต่ำทราม  แต่เราจะต้องเป็นฝ่ายต้านไม่ให้ความคิดความอ่านตกไปในทางต่ำ  ไม่ให้ตกไปสู่สภาวะที่ต่ำทราม  เราต้องนึกไว้ในใจเสมอว่า  นะ อะนะริยัง  กะริสสามะ  เราจะไม่ทำสิ่งที่ต่ำทราม  คอยท่องคาถานี้ไว้   เตือนตนเองว่า เราจะไม่ทำสิ่งที่ต่ำทราม  อะไรที่เขาทำกันแบบต่ำทรามเราจะไม่ทำ  เราจะไม่เป็นคนตามใจตัวเอง  ไม่ตามใจอารมณ์  ไม่ตามใจกิเลส  แต่เราจะเป็นคนฝืนใจไว้  จะบังคับตัวเองไว้ตลอดเวลา  อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ชนะ.  ความเพียร  ๔ ประการนี้  อยู่ในหมวด  ๔   คือ สัมมาวายามะ  เพียรชอบ  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  ปธาน ๔.

 




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2565
1 comments
Last Update : 27 มกราคม 2567 15:12:18 น.
Counter : 387 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร

 

อนุโมทนาสาธุจ้า

 

โดย: หอมกร 30 สิงหาคม 2565 8:34:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space