happy memories
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

ปัญหาภาคใต้ (๓)





บล็อกปัญหาภาคใต้ (๑)
บล็อกปัญหาภาคใต้ (๒)


"ใต้สุดแดนไทย : ไม่ต้องไปก็รู้ "
พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร


เมื่อปลายปี ๒๕๕๒ สามปีมาแล้ว ผมกับเพื่อนุร่นน้องคือ พล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข อดีต รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายกสมาคมตำรวจตระเวนชายแดนแห่งประเทศไทยคน ปัจจุบัน ชวนกันเดินทางลงไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจะดูให้เห็นด้วยตนเองว่าสถาน การณ์ที่นั่น ที่เขาว่าเลวร้ายนั้น มันจริงเท็จหรือไม่แค่ไหน

พอลงจากเครื่องบินที่หาดใหญ่ในตอนบ่ายแล้ว เราก็เดินทางต่อโดยรถยนต์ ตั้งใจจะให้ ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในคืนนั้น เราเลือกเส้นทางที่เราอนุมานว่าวิกฤตน้อย คือไปอำเภอ สุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ผ่านอำเภอระแงะและรือเสาะ จังหวัดเดียวกัน แล้วผ่านอำเภอรามัน ไปยังอำเภอบันนังสะตา จังหวัดยะลา ตั้งใจจะใช้ทางหลวงสายบันนังสะตา-เบตง

เราข้ามสะพานข้ามแม่น้ำตานีในตอนค่ำ แต่ยังไม่ถึงตัวอำเภอบันนังสะตา ก็ได้พบเสียแล้ว ว่าสถานการณ์เลวร้ายจริง ๆ เพราะผู้ก่อความไม่สงบกำลังเข้าโจมตีสถานีตำรวจภูธรบันนังสะตาอยู่ เราต้องเลิกล้มความตั้งใจและกลับไปพักแรมที่ยะลา

รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนั้น ผมเขียนไว้ในบทความชื่อ “ใต้สุดแดนไทย : ไม่ไปไม่รู้” ๔ ตอนจบ ซึ่งลงพิมพ์ใน “มติชน”

หลังจากนั้น ผมยังเดินทางลงไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครั้งคราว แต่ถึงจะไม่ไป ผมก็ รู้จากข่าวว่าสถานการณ์ที่นั่นยังเลวร้ายไม่ปกติ และในความรู้สึกของผม เลวร้ายยิ่งกว่าที่แล้วมา

ทหารต้องพาพระไปบิณฑบาต และบางทีก็ถูกยิงทั้งพระทั้งทหาร

ทหารและตำรวจต้องพาครูไปสอนหนังสือและกลับ

ที่ทำการและที่ตั้งฐานของทหารตำรวจถูกยิง

พ่อค้าแม่ค้าถูกขู่ไม่ให้ขายสินค้าในวันศุกร์

ครูถูกยิงขณะนั่งกินข้าวกับนักเรียนอยู่ในโรงเรียน ทั้ง ๆ ที่มีอาสาสมัครระวังป้องกันอยู่

โรงเรียนต้องปิดตัวเองเป็นร้อย ๆ โรง

อย่างนี้ไม่เรียกว่าเลวร้ายก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรแล้วละครับ

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางกลับจากจังหวัด ชายแดนภาคใต้แล้ว ตามข่าวที่ได้อ่าน ผลการเยี่ยมและประชุมของนายกรัฐมนตรีไม่มีอะไรที่น่า ตื่นเต้นไปกว่าเดิม นายกรัฐมนตรีบอกว่าจะมีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น จะมีการตั้งคณะ กรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดเป็นชุดใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดูแลในภาพรวม ส่วนการทำงาน ของระดับปฏิบัติจะมีการปรับรูปแบบให้บูรณาการ และมีความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน โรงเรียน ครู และฝ่ายความมั่นคง โดยจะมีการหารือกันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งสถานการณ์ระยะสั้น และระยะยาว

ก็เท่านั้นเอง ไม่ต้องเสียเวลาลงไปก็สั่งการและทำได้อยู่แล้ว

เรายังไม่เคยเห็นหรือได้ยินว่า เจ้าหน้าที่ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการตอบโต้ผู้ก่อความไม่สงบ อย่างไร ผู้ก่อความไม่สงบยังคงสามารถเคลื่อนที่ เลือกสถานที่และเวลาปฏิบัติการร้ายของมันได้ อย่างสบาย ๆ แสดงว่างานข่าวกรองของทางราชการอ่อนและไร้ผล

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านไปนี้ เคยเป็นแม่ทัพตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าจะทำให้เราเห็นว่าจะแก้ปัญหาภาคใต้ได้บ้าง แต่ รัฐบาลก็เอาท่านไปใช้และโชว์ฝีมือให้ดูในการปราบผู้ชุมนุมค้านรัฐบาลในกรุงเทพ ฯ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็แสดงให้เห็นว่ากระเหี้ยนกระหือสนใจกับปัญหาอื่นยิ่งกว่าปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การรับจำนำข้าว การพยายามเอาผู้นำฝ่ายค้าน เข้าตะราง

องค์กร International Crisis Group ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนอิสระระหว่างประเทศ ที่ตั้งขึ้นเพื่อ หาทางป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ร้ายแรงทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ตั้งข้อสังเกตว่าสถาน การณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ “เป็นความขัดแย้งภายในประเทศที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้” และสรุปว่า “สถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนถึงระดับที่เริ่มมีการตั้งคำถาม ต่อความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้ด้วยตนเอง รัฐบาลไทยอาจสูญเสียความสามารถใน การควบคุมสถานการณ์ หากปราศจากความคิดริเริ่มและปฏิบัติการที่ทันท่วงทีกว่านี้ในการแก้ ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้”

ในฐานะที่เป็นแต่คนดูและเอาใจช่วย ผมขอบอกว่าผมวิตก กลัวว่านักมวยของผมกำลังจะ แพ้นะครับ.


จากเฟซบุค วสิษฐ เดชกุญชร








"'ครบทีม'"
ผักกาดหอม


สารวัตรเหลิม ตั้งทีมที่ปรึกษารองนายกฯ ๙ คน มี วันมูหะมัด นอร์ มะทา, เด่น โต๊ะมีนา, อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์, ซูการ์โน มะทา, นัจมุดดีน อูมา, เพชรดาว โต๊ะมีนา, อับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด, สุทธิพันธุ์ ศรีริกานนท์ และสุดิน ภูยุทธานนท์

แหม...ช่วงนี้อะไรๆ ก็เลข ๙ กันท่าเดียว กลัวเสาไฟฟ้าสอบตกกันขนาดนั้นเลยหรือครับ

เอาหละ...๙ คนที่ว่ามานี้เขี้ยวลากดินครับ รู้ความเป็นมาเป็นไปของความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้มากกว่าใคร แต่...เน้นคำว่าแต่ อาจไม่มากไปกว่าที่ "สารวัตรเหลิม" รู้ เผลอ ๆ จะรู้มากกว่าด้วยซ้ำ

เรื่องคือว่าผมเห็นชื่อ ๑ ใน ๙ คน คือ นัจมุดดีน อูมา เคยเป็น ๑ ใน ๙ ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ข้อหาปล้นปืนจากค่ายทหารกองพันพัฒนาที่ ๔ จังหวัดนราธิวาส ๔ มกราคม ปีเดียวกัน

ส่วน เด่น โต๊ะมีนา กับ อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ถูกซัดทอด ไม่มีหลักฐานพอที่จะออกหมายจับ

เรื่องนี้สำคัญครับ เพราะตำรวจที่มีบทบาทสูงในการทำคดี คือ พล.ต.ต.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นพลตำรวจเอก นั่งเกาอี้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองของสารวัตรเหลิม

พยานผู้ซัดทอด คือ กำนันอนุพงศ์ พันธชยางกูร กำนัน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี นราธิวาส แต่นัจมุดดีน อูมา หลุดจากข้อกล่าวหา เพราะกำนันโต๊ะเด็งกลับคำให้การในชั้นศาล

จากพยาน กำนันโต๊ะเด็งกลายเป็นผู้ต้องหาฆ่าตำรวจ โดยฝีมือการสอบสวนของ "ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา" ไปพร้อม ๆ กับเสียงโวยวายจากผู้ต้องหาว่าถูกซ้อม

สุดท้ายศาลยกฟ้อง ขณะที่ ป.ป.ช.มีมติไม่รับคำร้องกล่าวหา "ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา" ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันกลั่นแกล้งและทำ ร้ายร่างกาย

งูกินหางพันไปถึงคดี "อุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร" เพราะทนายสมชายรับทำคดีปล้นปืน
ขนาด พ.ต.ต.เงิน ทองสุก อดีตสารวัตรประจำกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในฯ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก ๓ ปี คดีอุ้มทนายสมชาย ยังถูกกระแสน้ำและดินถล่มพัดหายสาบสูญ ที่ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เมื่อกลางเดือนกันยายน ๒๕๕๑ หลังได้ประกันตัวออกไป

และอีกหลายๆ คนก็พร้อมใจกันสาบสูญแต่นัจมุดดีน อูมา ยังอยู่ เขาออกหนังสือชื่อว่า "เขาหาว่า (ส.ส.นัจมุดดีน) เป็นกบฏปล้นปืน" เป็นที่เกรียวกราวอยู่พักหนึ่ง วันนี้คนที่ยังอยู่เกือบทั้งหมดที่กล่าวมา จะต้องมานั่งทำงานร่วมกัน โดยมี "สารวัตรเหลิม" นั่งหัวโต๊ะ ซึ่งนับเป็นข่าวดี เพราะทุกคนต่างรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทิ้งท้ายครับ หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ จนมีผู้เสียชีวิต ๘๕ คน ไม่กี่วันจากนั้น "น.ช.ทักษิณ" ขณะนั้นคือนายกฯ ทักษิณ ตอบกระทู้ในที่ประชุมวุฒิสภาว่า

"หากปล่อยเท่ากับว่าเราแพ้ หากปล่อย ๖ ชรบ.ตามที่เรียกร้องก็เสร็จ จึงต้องใช้วิธีคุมฝูงชนตามทฤษฎี ยืนยันว่าพยายามทำตามขั้นตอน แต่ผู้ชุมนุมไม่ฟัง กลับมีลักษณะเมาคล้ายกับกินยา กระตุ้นประสาทให้ฮึกเหิมตลอด โดยมีคนที่ใช้ผ้าคลุมหน้าทำให้เกิดความรุนแรง จนกระทั่งเวลา ๑๕.oo น. หากปล่อยไว้นานอาจมีการเผาเมืองได้"

แต่การเผาเมืองมาเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๕๕๓! โดยคนแดนไกลเป็นผู้สั่งการ.


จากคอลัมน์ "อ่านเอาเรื่อง"
นสพ.ไทยโพสต์ ๒o ก.พ. ๒๕๕๖








"ความเข้มข้นของปัญหาภาคใต้ นายกฯ ต้องหาคนเข้าใจมาคุม"
กองบ.ก.นสพ.ไทยโพสต์


ในที่สุดคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.กปต. ก็มีมติไม่ประกาศเคอร์ฟิวตามข้อเสนอของร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะ ผอ.ศปก.ปกต. หลังจากที่ให้สัมภาษณ์จุดพลุกลายเป็นประเด็นก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุผลและข้อมูลจากกองทัพภาคที่ ๔ ในฐานะของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า และผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะฝ่ายปกครอง ที่เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็น

โดยเหตุผลของ ศปก.กปต.ที่ไม่ประกาศ ระบุไว้ว่า จากการประเมินพี่น้องประชาชน สถานการณ์ วัน เวลา และสถานที่ ซึ่งเมื่อพิจารณาในทุกมิติแล้ว ทั้งเหตุผลของฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายกระทรวงมหาดไทย และภาคประชาชน เห็นพ้องต้องกันว่าสถานการณ์ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศ พร้อมยังเชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่รัฐยังดูแลสถานการณ์ได้ ขณะเดียวกันมาตรการปัจจุบันที่รองรับเจ้าหน้าที่ถือว่าได้รับความร่วมมือจาก ภาคประชาชนอยู่แล้ว ในด้านการข่าวก็เพิ่มความเข้มข้นขึ้น ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในพื้นที่ก็มีเพียงพอ

นี่ยังไม่นับมาตรการเยียวยาที่ร้อยตำรวจเอกเฉลิมจะดำเนินการให้กับครอบครัวและญาติที่ เสียชีวิตจากการที่ทหารนาวิกโยธินปกป้องฐานปฏิบัติการกองร้อยปืนเล็กที่ ๒ หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ๓๒ จนในที่สุดต้องออกมาชี้แจงแถลงไขว่าไม่ใช่การให้เงินเยียวยา ถือว่าเป็นกรณีที่ ๒ ซึ่งร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ที่กำกับดูแลเรื่องภาคใต้ ยังไม่สามารถเปิดข้อมูลในการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น อีกทั้งยังมองเรื่องดังกล่าวเป็นมุมของการเมือง ไม่ได้ดูมิติความลึกซึ้งของปัญหา

กระนั้นสิ่งที่ร้อยตำรวจเอกเฉลิมพูดก็มาจากข้อมูลอยู่ในแผนงานต่าง ๆ ที่ฝ่ายกองอำนวยการรักษาความมั่นคง และศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เตรียมการไว้ และเป็นข้อมูลที่ได้มีการนำเสนอเพื่อใช้เป็นฐานหนึ่งในการพิจารณาก่อนนำเสนอ เป็นแนวทางของรัฐบาลในแต่ละเรื่อง แต่การนำเสนอผ่านสาธารณชน โดยการให้สัมภาษณ์สื่อนั้น นอกจากสะท้อนให้เห็นว่าคนที่รัฐบาลส่งมาดูแลปัญหาสำคัญของชาติมีความพร้อม และความเข้าใจในปัญหามากน้อยแค่ไหน ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของคนที่คุมบังเหียนเรื่องนี้ว่าให้ความสนใจและ ตระหนักรู้ต่อข้อมูลที่ส่งขึ้นมาอย่างไร

แรงสะท้อนและปฏิกิริยาของสังคมต่อการนำเสนอข้อมูลของร้อยตำรวจเอกเฉลิมจึงค่อนข้างออกไปในทางติดลบ มากกว่าจะได้ภาพในการทำงานที่สร้างคะแนนให้กับรัฐบาล หากยังฝืนให้ร้อยตำรวจเอกเฉลิม ซึ่งทำหน้าที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำงานต่อไป เพราะไม่มีตัวเลือกที่จะมาทำงานนี้ ย่อมมีความเสี่ยงที่การเดินหน้าแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีปัญหาตาม มาหลายประเด็น

ยิ่งขณะนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ฐานปฏิบัติการกองร้อยปืนเล็กที่ ๒ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ ๓๒ ซึ่งกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิตไป ๑๖ ราย น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ และปฏิกิริยาจากหลากหลายกลุ่มต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐบาลซึ่งเป็นระดับนโยบายยิ่งต้องดูข้อมูลอย่างรอบด้าน และพิจารณาในการออกมาตรการแต่ละเรื่องอย่างสมดุล และต้องระมัดระวังที่จะนำเหตุการณ์เหล่านี้ไปปลุกระดมเพื่อสร้างแนวร่วมมาก ขึ้น จนเสี่ยงต่อการลุกลามของปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น

การเพิ่มมาตรการ หรือสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลจึงต้องมีความเข้มข้น และทำอย่างสมดุล ใน ๒ ลักษณะ นอกจากมาตรการตาต่อตาฟันต่อฟันในระดับยุทธวิธีแล้ว แต่การป้องกันและสร้างความเข้าใจให้กับครอบครัวและญาติผู้สูญเสีย ในระดับยุทธศาสตร์อย่างระมัดระวังก็ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีต้องไปเลือกคนที่เหมาะสมมาดูปัญหา นี้.


จากนสพ.ไทยโพสต์ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๖








"'ไฟใต้ - ไฟฟ้า' ยุคผู้นำ 'เฟอร์บี้'"
กองบ.ก.นสพ.ไทยโพสต์


แม้ปีงูเล็กเพิ่งผ่านพ้นยังไม่ถึง ๒ เดือนดี แต่ปัญหาสารพัดสารพันกลับรุมเร้าประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กลับมาคุกรุ่นอีกครั้ง ไล่เรียงตั้งแต่การยิงครูคาโรงอาหาร การวางระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ รวมถึงการดักฆ่าประชาชนเสียชีวิตรายวัน ในขณะที่หน่วยงานความมั่นคงก็ตอบโต้ด้วยการเด็ดชีพผู้ไม่หวังดีที่มุ่งโจมตีฐานทหารที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ถึง ๑๗ ศพ ซึ่งก็ได้รับการสวนกลับอีกเช่นกัน โดยปฏิบัติการป่วนเมืองปัตตานีด้วยการวางระเบิด และวางเพลิง

การปฏิบัติการของผู้ไม่หวังดีทั้งหลายแหล่ สะท้อนว่าการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ดีขึ้นตามคำโฆษณาของผู้เกี่ยวข้องที่โหมประโคมแต่ประการใด ซ้ำร้ายยังน่าสังเกตด้วยว่า การก่อเหตุของผู้ไม่หวังดี เริ่มขยายวงความรุนแรงมากขึ้นในการก่อเหตุแต่ละครั้งครา

หรือนี่เป็นกงเกวียนกำเกวียนจากเหตุการณ์โจรกระจอกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จุดไฟขึ้น แล้วน้องสาวที่จับผลัดจับผลูได้มาเป็นนายกฯ เหมือนกัน ต้องตามมาชดใช้ แต่ไป ๆ มา ๆ กลับจะเป็นการสร้างกรรมให้หนาหนักขึ้นไปอีก เพราะไม่เข้าใจถึงต้นตอของปัญหาที่แท้ ก็เหมือน “อริยสัจ ๔” ที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้นั่นแล เมื่อไม่รู้จัก “สมุทัย” หรือสาเหตุของทุกข์แล้ว การจะเดินหน้าสู่นิโรธ และมรรค หรือการดับทุกข์ และหนทางดับทุกข์ย่อมเป็นไปได้

เพราะปัญหาชายแดนภาคใต้ หากพินิจพิเคราะห์ให้ลึกลงไปแล้วก็แทบไม่ต่างจากข้ออ้างของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องในเรื่องความยุติธรรม และความเท่าเทียมอย่างแท้จริง ซึ่งภาครัฐสามารถปฏิบัติได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่รอคำตอบกันอยู่จนถึงทุกวันนี้

นี่ยังไม่นับรวมถึงแผลในใจของคนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่ตกสะเก็ดดี ทั้งกรณีการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร, เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ และที่สำคัญเหตุการณ์ตากใบ แต่วันนี้ผู้มีอำนาจทั้งหลายกลับบอกให้ลืม ให้ทิ้งไว้เป็นเพียงประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งเท่านั้น ทั้งที่เหตุการณ์ตากใบนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีขยายตัว และเพิ่มแนวร่วมมากขึ้น

และไม่ใช่มีเพียงไฟใต้เท่านั้นที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ยังมีเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่น่าหวาดวิตกมากระหนาบข้าง โดยอ้างเหตุการปิดซ่อมท่อก๊าซในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าของไทยที่จะไม่พอเพียงต่อความต้องการใช้ในช่วงวันที่ ๔ - ๑๒ เมษายนนี้ โดยเหตุการณ์ขั้นร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นแบล็กเอาท์ หรือไฟฟ้าดับประเทศ!

ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยซึ่งมีอัตราความเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละ ๕ - ๘% ต่อปี แล้วแต่สภาพ มีศักยภาพจะเป็นผู้นำอาเซียน กลับมีเหตุการณ์เหมือนหมู่เกาะกระจิริดในมหาสมุทร ที่ต้องพึ่งพาทั้งไฟฟ้าและน้ำจืดจากแผ่นดินใหญ่อย่างไรอย่างนั้น ที่สำคัญการปิดซ่อมท่อก๊าซของพม่านั้นก็เป็นการปิดซ่อมประจำปี และที่น่าสังเกตคือ พม่าได้แจ้งหมายกำหนดการมานานอักโขแล้ว แต่ไทยกลับเพิกเฉยเหมือนไม่รู้ร้อนรู้หนาว แต่กลับมากระตือรือร้นในช่วงปัจจุบันที่มีข่าวโหมสะพัดถึงฐานะการคลังของประเทศ ที่เรียกว่าประชานิยมกัดกินซะจนถังแตก

จึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤติพลังงานที่ตีปี๊บอย่างต่อเนื่องครั้งนี้ ท้ายที่สุดแล้วเพื่อเรียกเก็บค่าเอฟที หรือค่าไฟให้แพงขึ้นหรือไม่ เพราะหากมองลึกลงไปในเรื่องดังกล่าว ก็มีเหตุไม่ชอบมาพากลหลายต่อหลายเรื่อง ตั้งแต่ระยะเวลา และผู้ถือหุ้นของสัมปทานแหล่งก๊าซ ซึ่งมี ปตท.ถือหุ้นอยู่ด้วย แต่ทำไมกลับเกิดวิกฤติพลังงานขึ้นมาได้?

แต่สิ่งน่าอนาถอย่างยิ่งของทั้งเรื่องไฟใต้และไฟฟ้า นั้นคือการแสดงภาวะผู้นำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้ง ๒ เรื่องดังกล่าว เพราะเธอได้แต่พร่ำบ่นแต่คำว่า “บูรณการ” เพื่อเป็นยันต์ป้องกันตัวไปวัน ๆ โดยมิได้แสดงถึงการเป็นผู้นำที่ต้องเป็นศูนย์รวมแห่งความหวังและกำลังใจของคนในชาติเลย ซึ่งก็ไม่แปลกใจเพราะในยามที่ไฟใต้กำลังคุโชน เจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิตเป็นรายวัน แต่นายกฯ กลับเลือกไปฟ้อนภูไทเพื่อให้เป็นภาพเป็นข่าว โดยมิได้สำเหนียกถึงความสูญเสียและปัญหาเร่งด่วนแก้ไขแต่ประการใด

จึงไม่แปลกที่สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศต่างมองและเชื่อแทบไม่แตกต่างกันว่า ผู้บริหารประเทศวันนี้ยังคงเป็นพี่ชายที่อยู่แดนไกล ในขณะที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ทำหน้าที่เพียงตัดริบบิ้น หรือหากเปรียบในปัจจุบัน เธอก็เป็นได้เพียงตุ๊กตาเฟอร์บี้ ที่รอพี่ชายชักเชิดเท่านั้นเอง.


จากคอลัมน์ "กวนใจให้สะอาด"
นสพ.แนวหน้า ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๖








""วาดะห์" กลับมาทำไม?"
แคน สาริกา


ในที่สุด ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี จำนวน ๙ คน อาทิ วันมูหะมัดนอร์ มะทา, เด่น โต๊ะมีนา, อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนัจมุดดีน อูมา เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อวันอาทิตย์ มีภาพข่าว "กลุ่มวาดะห์" นัดชุมนุมแกนนำมวลชนที่บ้านหลังใหญ่กลางเมืองยะลาทางทีวีช่องหนึ่ง เหมือนจะสอดรับกับการตัดสินใจของนักการเมืองฝั่งธนบุรี ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลชายแดนใต้

ชื่อของกลุ่มวาดะห์ (แปลว่า "เอกภาพ") โดดเด่นขึ้นมาในยุคดอกไม้สันติภาพเบ่งบาน บนปลายด้ามขวาน เมื่อสมาชิกขบวนการบีอาร์เอ็น ทยอยเดินลงจากป่าเขาเข้ามอบตัวต่อทางการ และพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ลงนามยุติการสู้รบกับรัฐบาลมาเลเซีย

ในเวลานั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะนักยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ และมากไปด้วย "เครือข่ายคนทำงาน" ในหมู่แนวร่วมของขบวนการบีอาร์เอ็น

ครั้นนายทหารผู้ร่างคำสั่ง ๖๖/๒๕๒๓ พล.อ.ชวลิตก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ส.ส.ชายแดนใต้อย่าง เด่น โต๊ะมีนา, อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา จึงได้ไหลมารวมตัวที่พรรคการเมืองของนายทหารใหญ่

การเลือกตั้งทั่วไป ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕ นักการเมืองกลุ่มวาดะห์ ในสีเสื้อพรรคความหวังใหม่ ได้รับชัยชนะในสนามเลือกตั้งปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ที่น่าสนใจ คนหนุ่มหัวก้าวหน้า นัจมุดดี อูมา ได้เป็น ส.ส.นราธิวาส เขต ๒ สมัยแรก ซึ่งเขตเลือกตั้งที่เขาแจ้งเกิดทางการเมือง ล้วนเป็นเขตสีแดง(เก่า) ที่เคยอยู่ใต้อิทธิพลของขบวนการบีอาร์เอ็น

ระหว่างปี ๒๕๓๕ - ๒๕๔๔ ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของกลุ่มการเมืองวาดะห์ เด่น โต๊ะมีนา, อาจารย์วันนอร์ และอารีเพ็ญ ได้เป็นรัฐมนตรี และไม่มีใครคิดหรอกว่า ไฟใต้ที่มอดดับจะกลับมาลุกโชนอีกครั้ง

การเลือกตั้งทั่วไป ปี ๒๕๔๘ กลุ่มวาดะห์ในสีเสื้อพรรคไทยรักไทย พ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งแบบยกกลุ่มเป็นครั้งแรก ท่ามกลางกระแสวิกฤติศรัทธาวาดะห์

ก่อนหน้าการเลือกตั้ง พ.ศ.นั้น ไฟใต้ที่ถูกจุดขึ้นมาใหม่ ได้ไหม้ลามจากเหตุการณ์ปล้นปืนที่นราธิวาสไปสู่กรณีกรือเซะ ผู้คนใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เริ่มตั้งคำถามกับนักการเมืองวาดะห์ว่า พวกเขายังเป็นตัวแทนคนปลายด้ามขวานอยู่หรือไม่ ?

ดั่งที่ทราบกัน ความไม่สงบในชายแดนใต้ ๙ ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่การฟื้นตัวของขบวนการเก่า หากแต่เป็นเรื่องของ "ขบวนการใหม่" หรือการต่อสู้ของนักรบรุ่นใหม่

องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่แกนนำกลุ่มวาดะห์กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยใช้ได้ผลในอดีต กลับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

การเลือกตั้งทั่วไป ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ แกนนำกลุ่มวาดะห์แยกย้ายกันไปสังกัดพรรคมาตุภูมิ และพรรคเพื่อไทย เป็นการดิ้นหนีกับดักวิกฤติศรัทธา แต่ก็นำไปสู่การปราชัยต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างราบคาบ

หลังจากอาจารย์วันนอร์ พ้นโทษจากการถูกตัดสิทธิทางการเมืองเมื่อพฤษภาคม ๒๕๕๕ จึงได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยทันที ข่าวการรวมตัวของนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ดังกระหึ่ม และได้มีการประชุมเตรียมการสร้าง "ดรีมทีมรุ่นใหม่" ขึ้นมาทดแทนแกนนำวาดะห์รุ่นเก่าในพื้นที่

ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกฯ เฉลิม จะช่วยดับไฟใต้ได้จริงหรือ? คำถามนี้ คิดว่าคนปลายด้ามขวานมีคำตอบอยู่แล้ว


จากคอลัมน์ "มนุษย์สองหน้า"
นสพ.คม ชัด ลึก ๒o ก.พ. ๒๕๕๖


บีจีและไลน์จากคุณญามี่


Free TextEditor





 

Create Date : 08 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 14 มิถุนายน 2556 20:33:57 น.
Counter : 1614 Pageviews.


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.