'หัวใจ๋ข้า หัวใจ๋เจ้า ห้อยอยู่เก๊าเดียวกั๋น' *
*คลิกเพื่ออ่านคำแปลเจ้า :)
~ ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง...(วิถี(วัฒน)ธรรมใน"กำบ่ะเก่า") ~




สวัสดีเจ้า...
ห่างเหินจากการอัพบล็อกกลุ่มนี้ไปเมินขนาดดดด.....
ติดซีรี่ยส์ เมานิยาย คอมหลุ น้ำนอง...สะป๊ะข้ออ้าง แหะ ๆ

สองวันก่อนพาแม่ไปหาหมอ ระหว่างที่นั่งรอก็อ่านหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ไปพลาง ๆ
อ่านเจอข่าวเล็ก ๆ ข่าวหนึ่ง แทรกเป็นกรอบเล็ก ๆ อยู่ในหน้าใน ๆ
อ่านแล้วสะท้อนใจ นึกไปถึงสำนวน "กำบ่ะเก่า" สำนวนนี้ขึ้นมา...

"ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้หย้อง ปี้น้องดูแควน"

ขออธิบายศัพท์ กับความหมายของสำนวนก่อน...เดี๋ยวค่อยย้อนไปเล่าถึงข่าวที่ว่านะคะ

ศัพท์ :

ตุ๊ก = ทุกข์ (ทุกข์ ในกำเมืองหมายถึง...)ยากจนข้นแค้น
กิ๋น = กิน
ไผ = ใคร
ต๋ามไฟ = จุดไฟ
ต๊อง = ท้อง
หย้อง = ตกแต่งด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม มีค่า
ดูแควน = ดูถูก ดูหมิ่น (บางที่ออกเสียงเป็นดูแคลน)


ความหมาย(ขยายความ) :

แม้จะยากจน จนไม่มีอะไรจะกิน (ก็ไม่เป็นไร เพราะ...) ไม่มีใครมาจุดไฟส่องดูในท้องเราได้
แต่หากยากจนจนไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าดี ๆ ไม่ได้ตกแต่งด้วยเครื่องทองหยองมีราคานี่สิ...(เป็นปัญหา)
คนอื่น(ปี้น้อง)เขาจะรังเกียจและดูหมิ่นถิ่นแคลนเอาได้



นี่เป็นความคิด ความเชื่อและค่านิยมของ"คนบ่ะเก่า"จริง ๆ ที่ปลูกฝัง ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
นับแต่รุ่นแม่ของแม่ของแม่หม่อน...มาถึงรุ่นแม่อุ๊ย แม่หลวง ลงมาถึงรุ่นแม่ และรุ่นลูก รุ่นหลานต่อไป
จนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำถิ่น

ในสมัยโบราณอาจจะไม่ส่งผลกระไรนัก เพราะความเป็นอยู่ของผู้คนยังอยู่กันแต่ในชุมชนเล็ก ๆ
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมชนชั้นยังมีน้อย ผู้คนยังอยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
แบบสำนวน "พริกมีบ้านเหนือ เกลื๋อมีบ้านใต้" มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกันไป...
การเดินทาง การติดต่อสื่อสารก็อยู่ในวงแคบ ๆ ใกล้ ๆ

แต่เมื่อสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิต วิถีชุมชนก็ต้องปรับเปลี่ยนตาม
ถนนราดยางนำเข้ามาก่อน ตามด้วยไฟฟ้า...และเครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิดตามติดมา
ในขณะที่ความคิดความเชื่อต่าง ๆ ยังคงเดิม
ในยุคหนึ่ง เราจึงได้ข่าวเด็กสาว ๆ (บางคนยังไม่ทันเป็น"สาว" ด้วยซ้ำไป) จากหมู่บ้านในภาคเหนือ
ถูกส่งตัวเข้าเมือง...เพื่อทำงานขายบริการ
พี่ขายน้อง พ่อ-แม่ขายลูกสาว
เป็นเรื่องธรรมดาที่...บ้านไหนมีลูกสาวไปทำงานในเมือง แล้วส่งเงินกลับมาให้พ่อแม่ปลูกบ้านหลังใหญ่
ซื้อหาบรรดา"วัตถุ" มาประดับประดาบ้านช่อง...โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น ฯลฯ
พ่อแม่ไปวัดไปวา ไปงานต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ได้นุ่งผ้าสวย ๆ ใส่สร้อยทองเส้นใหญ่ ๆ

กลายเป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนในครอบครัว...พี่น้องไม่ "ดูแควน" อีกต่อไป

แม้ในเวลาต่อมา ผู้คนในชนบทมีการศึกษามากขึ้น...
ผู้หญิงเริ่มเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเองมากขึ้น...
สังคมก็เปลี่ยนแปลงไปอีกระดับหนึ่ง ตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม...
หากความคิดความเชื่อในเรื่องของการรักษาหน้า รักษาภาพ ยังคงมีอยู่...อย่างเหนียวแน่นมั่นคง


ทีนี้จึงโยงมาถึงเรื่องในข่าวที่ได้อ่าน ที่เกริ่นไว้ตอนต้น ๆ นั่นแหละค่ะ
เป็นข่าวเกี่ยวกับผู้สูงอายุกับสถิติการฆ่าตัวตายของไทย...
ตามข่าวระบุว่า...

"...จากข้อมูลสถิติการฆ่าตัวตายประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540-2553
แม้ว่าสถิติการฆ่าตัวตายของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง
จาก 5,700 รายต่อปี ลดลงมาอยู่ที่ 3,700 รายต่อปี
แต่ยังถือเป็นอัตราที่สูงและถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

โดยเฉพาะในบางจังหวัดในภาคเหนือที่พบว่า ยังคงมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงมาก
ควบคุมได้ยากและน่าเป็นห่วง ซึ่ง 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร
ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่
อยู่ที่ 20.02, 15.63, 14.45, 13.03 และ 12,47 ต่อแสนประชากร
แต่เมื่อดูปริมาณจำนวนคนที่ฆ่าตัวตายพบว่า
จังหวัดเชียงใหม่เป็นแชมป์จังหวัดที่มีคนฆ่าตัวตายมากที่สุด อยู่ที่ 204 คน

..............

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการศึกษา ร่วมกับสาธารณสุข
จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
เพื่อดูปัจจัยที่เป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายของคนในภาคเหนือพบว่า วัฒนธรรมมีส่วนในการตัดสินใจ
โดยภาคเหนือตอนบนมีวัฒนธรรมการรักษาหน้าที่รุนแรง กลัวเสียหน้า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
จึงไม่อยากปรึกษาใคร หรือเล่าปัญหาให้ใครฟัง เพราะกลัวคนรู้
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่คนภาคอื่นไม่เป็น ส่งผลให้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง
ซึ่งวัฒนธรรมเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพจิตค่อนข้างมาก

ประกอบกับคนภาคเหนือไม่มีพื้นที่พูดคุยเหมือนกับคนในภาคอื่นๆ
อย่างวัฒนธรรมการจิบน้ำชากาแฟเพื่อพูดคุย ทำให้ไม่มีพื้นที่ในการระบายออก"*




ถึงได้บอกในตอนต้นว่า...อ่านแล้วสะท้อนใจ แล้วพานนึกไปถึงสำนวน"กำบ่ะเก่า"
สำนวนข้างบนนั้นขึ้นมานั่นแล...

เห็นทีจะต้องรื้อฟื้น"วงหมากเมี่ยง"ขึ้นมา ให้แม้ป้าแม่อาแถวบ้านเสียแล้ว

* คัดข่าวจาก bangkokbiznews.comเจ้า...










Create Date : 30 กันยายน 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 11:08:23 น. 12 comments
Counter : 7938 Pageviews.

 
ถูกใจ๋ขนาด ขอบใจ๋แต้ๆ กับเจ้าของกระทู้เน้อเจ้า


โดย: คนเมืองแป้เจ้า IP: 58.10.170.231 วันที่: 30 กันยายน 2554 เวลา:13:19:15 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่แม่ไก่

สมัยปัจจุบัน
เรื่องหน้าต๋าสำคัญเลยเน้อครับ










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:5:31:50 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับปี้แม่ไก่

ส่งแฮงใจ๋ไปจ้วยคนลำปางตวยเน้อครับ
โดนหนักบ่าแพ้เจียงใหม่เลยครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:5:37:03 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณแม่ไก่
เราแวะไปเห็นหนังสือที่คุณอ่านเรื่องเขมรินทร์อินทิรา กะ คุณครูอินทิรามา
เราไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือสองเล่มนี้ แต่ได้ดูละครเขมรินทร์อินทิรามา
เห็นเค้าว่าตอนจบ เขมรินทร์ไปแต่งงานกะท่านหญิง ขอถามหน่อยได้มั๊ยคะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
แล้วเค้าไม่รักอินทิราแล้วเหรอ ..
ขอโทษนะคะที่รบกวน แต่เราดูเรื่องนี้แล้วเศร้ามากเลยอ่ะ เอาเก็บไปคิดตลอด (บ้ามาก)
หรือว่าเขมรินทร์ไม่รักอินทิราซะแล้ว
แล้วเค้ายังติดต่อกันรึเปล่าเมื่อแยกกัน
ฮะๆๆ ติดนิยายละครมากมายจนเอาไปคิดซะเศร้าเลยนี่ :)


โดย: BeachBum IP: 122.104.126.29 วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:11:24:58 น.  

 
^
^
ยิ้นดีเจ้าคุณก๋า...
แถวบ้านก่ะโดนน้ำนองน้อย ๆ เจ้า บ่หนักบ่หนาเต้าในเมือง...แต่กะต้องเฝ้าระวังตลอดเพราะถึงวันนี้...อะหยังที่บ่เคยเกิดก็สามารถเกิดได้ตลอดเวลาเนาะเจ้า

คุณ BeachBum คะ เขมรินทร์รักอินทิรามาก ถึงกับเรียกเธอว่า ยอดชีวิตทีเดียวค่ะ แต่ความเป็นเจ้า...ทำให้ชะตารักของคนทั้งสองไม่ได้ขึ้นกับตัวของพวกเขาหากขึ้นแก่ชะตาความสัมพันธ์ของสองประเทศ...

อ่านแล้วเศร้าค่ะ แต่ซาบซึ้งและอิ่มเอมมาก


โดย: แม่ไก่ วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:12:39:25 น.  

 
ขอบคุณค่ะคุณแม่ไก่ เรากำลังคิดว่าจะหาอ่านดีมั๊ยอ่ะค่ะ
แต่แค่นี้ก็เศร้าแล้วเลยกลัว
แต่ก็อยากรู้ลายละเอียดว่า เขมรินทร์รักอินทิรามากขนาดไหน ถึงยังยอมแต่งงานกะท่านหญิง
ถึงแม้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ เค้าก็น่าจะอยู่เป็นโสดนะ
เพิ่งได้ดูละคร มันวกวนอยู่ในหัวสลัดไม่ออกเลยค่ะ อินไปกับเรื่อง :)


โดย: BeachBum IP: 122.104.126.29 วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:14:55:07 น.  

 
แวะมาเติมนิ๊ดค่ะว่าเสียใจเพราะท่านเขมรินทร์เคยพูดกะอินทิราว่า
"เชื้อชาติ ภาษา ทำให้เราแตกต่างกันเพียงภายนอก แต่หัวใจมิได้เป็นเช่นนั้นไม่ ถ้าคุณมีหัวใจตรงกับผม คุณจะกลัวไปไย ขอให้เชื่อมั่นในตัวผม ผมจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้คุณมาเคียงข้าง และจำทำโดยให้สมเกียรติของคุณที่สุด อินทิรา ความรักเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะแตกต่างกันเพียงใด ผิดกันเพียงว่า เราสองคนต้องฝ่าฟันอุปสรรคนั้นให้ได้ และผมเชื่อ...ความรักที่ผมมีต่อคุณ มากพอที่จะต่อสู้ให้ถึงจุดหมายของเรา"

แต่สุดท้ายดูเหมือนคำพูดนั้นมันเพียงได้แค่พูดเท่านั้นเอง เขาไม่สามารถทำอะไรได้
คนบ้านิยายอย่างเรา เลยเศร้าค่ะ


โดย: BeachBum IP: 122.104.126.29 วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:18:29:49 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่แม่ไก่


ดีใจตวยครับปี้แม่ไก่
ตี้บ่าโดนน้ำท่วมครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 ตุลาคม 2554 เวลา:5:41:08 น.  

 
เฮาก่อฮักกำเมืองเน้อ.แต่เฮาเป๋นลาว 55+ ชอบฟังคนเหนือพูดมันฟังแล้ว...เพราะดีครับมีเสน่ห์ อย่างภาษาอีสานดูไม่เป็นเอกลักษณ์แท้ๆเพราะว่าประเทศลาวเขาก็พูดคล้ายๆกัน แต่กำเมือง มีตี้เดียวในโลก 55+


โดย: sathit (ampaphol ) วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:12:57:19 น.  

 
แต่ยายน้องไม่ได้ให้สอนแปลอย่างนี้นะคะ ถ้ายายน้องยังอยู่ตอนนี้ก็อายุ90กว่าแล้วท่านบอกว่า ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง แปลว่า เวลาเราจะกินอะไรก็อย่าไปกินไปใช้เกินตัวเหลือไว้ใช้วันข้างหน้าบ้าง ส่วนตุ๊กบ่ได้นุ่งได้หย้อง ปี้น้องดูแควน หมายความว่า เวลาเรามีเราก็ต้องเก็บสมบัติอะไรไว้เผื่อลูกหลาน ไม่งั้นจะต้องอับอายชาวบ้านเขาเพราะลูกหลานไม่มีกินไม่มีใช้ มันเป็นภาษิต คนเมืองไม่ได้สอนลูกสอนหลานให้ดีแต่ภายนอกนะคะ


โดย: กิ๊บ IP: 1.10.192.79 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:1:24:48 น.  

 
แม่นแล้ววว เห็นโตยกะคุณกิ๊บ....แปลถูก!!

คนเมืองสมัยก่อนบะได้สอนหื้อลูกหื้อหลานทำตั๋วหื้อดูดีเฉพาะภายนอกเน่อ...เจ้าของบทความแปล๋ความหมายผิดไป

สุภาษิตกำเมืองบ่าได้แปล๋ความหมายแบบโท่ง ๆตรง ๆตั๋วเน่อ เปิ้ลแฝงความหมายอยู่เอาไว้สอนลูกสอนหลาน

ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้หย้อง ปี้น้องดูแควน....
มันต้องแปล๋รวมคั๊บ อย่าไปแยก ความหมายมันจะเพี้ยน ความหมายรวม ๆ อย่างที่คุณ กิ๊บว่าถูกแล้วคือ ให้เราอดทนลำบากในวันนี้เพื่อให้ลูกหลานได้สุขสบายในวันหน้านั่นแหละครับ

คือยอมลำบาก ยอมอด ยอมทนหิว เก็บสะสมเงินหรือสิ่งของไว้ให้ลูกหลาน(เวลาเราอดข้าวไม่ได้มีใครมารู้มาเห็นกับเราหรอก (เหมือนที่ว่าไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้อง)) เพราะถ้าเราไม่ทำแบบนี้ลูกหลานจะไม่มีกินมีใช้เป็นที่อับอายชาวบ้าน(เขาเปรียบว่าลูกหลานไม่มีเสื้อผ้าจะนุ่ง...อายชาวบ้านเขา)

เสียดายคั๊บ...พอตีความหมายผิด มันทำหื้อวัฒนธรรมของคนบะเก่าเสียหาย และถูกมองผิดไปโตย


โดย: หนุ่ง IP: 118.175.182.24 วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:13:51:33 น.  

 
^
^
ยิ้นดีเจ้า น้องตึงสองตี้เข้ามาแสดงความคิดเห็น
"กำบ่าเก่า"ของคนบ่าเก่ามีความงดงามตรงนี้แหละเจ้า ตรงที่สามารถตีความได้หลากหลายแง่มุม
ขึ้นอยู่กับมุมมองและโลกทัศน์ของผู้ตีความ

แต่ข้าเจ้าขออนุญาตที่จะบ่เปลี่ยนแปลงความหมายที่ตัวเองเขียนไว้ตางบนเน้อเจ้า
เพราะว่าถ้าอ่านหื้อดี จะหันได้ว่าข้าเจ้าบ่ได้หมายความว่า...
คนบ่ะเก่า"สอนลูกสอนหลานให้ดีแต่ภายนอก" กาว่า "สอนหื้อลูกหื้อหลานทำตั๋วหื้อดูดีเฉพาะภายนอก"

"กำบ่าเก่า"ของผู้เฒ่าผู้แก่คนเมืองเฮาบ่ใจ้เป๋นแค่กำบอกกำสอนแต่อย่างเดียว
แต่กำบ่าเก่าหลายกำหลายสำนวนสามารถสะท้อนหื้อเฮาหันถึงวิถีชีวิต ความคิด ปรัชญา ค่านิยม ตลอดถึงสัจธรรม
อย่างกำบ่าเก่าบนหัวบล็อกตี้บอกว่า..."เจ้ายี่จักไปตางซ้าย เจ้าอ้ายจักไปตางขวา น้องก็ว่าน้องจะจี่ ปี้ก็ว่าปี้จะเผา " นั้นก็บ่ได้หมายความว่าเปิ้นสอนหื้อเฮาแตกแยกสามัคคี แต่เปิ้นจี้หื้อหันว่าคนเฮามันต่างจิตต่างใจ๋ เฮาควรยอมฮับความแตกต่าง หรือกำบ่าเก่าอีกสำนวนหนึ่งตี้บอกว่า "กันเฮาเป๋นดี มีเก้าป้าสิบป้า ไหลตวยมา บ่จ๊า กันจ๊ะต๋าลง พันธุ์พงษ์ปี้น้า บ่เหลียวหน้า มาใจ เปิ้งปี้เจ็บต๊อง เปิ้งน้องเจ็บใจ๋ กึ๊ดสังอันใด ใจ๋ตั๋นตีบเสี้ยง" หรือ "ยามเป๋นดี มีเก้าป้าสิบป้า เสื้อปุดหลังขาดหน้า ป้าคนเดียวก็บ่หัน" อันนี้เปิ้นก็บ่ได้สอนหื้อเฮาดูถูกน้ำใจ๋ญาติปี้น้องว่ามาหวันใกล้เฉพาะยามเฮามั่งมี พอเฮาตุ๊กเฮาจ๋นก็หายหน้า แต่เปิ้นต้องก๋ารจี้หื้อเฮาหันถึงวิถีของโลก ว่ามันเป๋นอย่างนี้ ๆ เพราะฉะนั้นเฮาต้องบ่ประมาท ขยันเซาะว่าหากิ๋น ยามมีก็บ่เหลิง ยามบ่มีก็บ่หวังไปเปิ้งป๊ะอาศัยคนอื่น หื้อเป๋นตี้เปิ้งของตั๋วเก่านั่นเอง

หรืออย่างกำบ่าเก่าสำนวนนี้ อย่างตี้คุณหนุ่งแปล๋มานั่นกะถูกต้องแล้วเจ้า ตี้บอกว่า... "คือยอมลำบาก ยอมอด ยอมทนหิว เก็บสะสมเงินหรือสิ่งของไว้ให้ลูกหลาน(เวลาเราอดข้าวไม่ได้มีใครมารู้มาเห็นกับเราหรอก (เหมือนที่ว่าไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้อง)) เพราะถ้าเราไม่ทำแบบนี้ลูกหลานจะไม่มีกินมีใช้เป็นที่อับอายชาวบ้าน(เขาเปรียบว่าลูกหลานไม่มีเสื้อผ้าจะนุ่ง...อายชาวบ้านเขา)"
ซึ่งมันก็สอดคล้องกับตี้ข้าเจ้าว่าไว้ว่า...แม้จะยากจน จนไม่มีอะไรจะกิน (เพราะ...ยอมลำบาก ยอมอด ยอมทนหิว เก็บสะสมเงินหรือสิ่งของไว้ให้ลูกหลาน)ไม่มีใครมาจุดไฟส่องดูในท้องเราได้
แต่หากยากจนจนไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าดี ๆ(หรือ...ลูกหลานจะไม่มีกินมีใช้เป็นที่อับอายชาวบ้าน (เขาเปรียบว่าลูกหลานไม่มีเสื้อผ้าจะนุ่ง...อายชาวบ้านเขา)"
คนอื่น(ปี้น้อง)เขาจะรังเกียจและดูหมิ่นถิ่นแคลนเอาได้

อย่างใดก็ดี ก็ขอขอบคุณน้องตึงสองตี้เข้ามาติติ๋ง แล้วก็ขอสูมาถ้ากำอู้กำเขียนของข้าเจ้าจะยะหื้อขัดใจ๋เน้อเจ้า


โดย: แม่ไก่ วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:15:13:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่ไก่
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 184 คน [?]




**หลังไมค์เจ้า**





Cute Clock Click!



เออสิ,มาอยู่ใยในโลกกว้าง
เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน
ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน
โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เลย


รุไบยาต ~ โอมาร์ คัยยัม
สุริยฉัตร ชัยมงคล : แปล




Latest Blogs

~ท่านหญิงในกระจก/แสงเพลิง ~

~เพชรรากษส/อลินา ~

~มนตร์ทศทิศ/ราตรี อธิษฐาน ~

~เมื่อหอยทากมีรัก 1-2/"ติงโม่"เขียน/พันมัย แปล ~

~ให้รักระบายใจ/"ณกันต์"เขียน ~

~ผมกลายเป็นแมว/Abandoned/Paul Gallico เขียน(ภูธนิน แปล) ~

~พ่อค้าซ่อนกลรัก & หมอปีศาจแสนรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~อาจารย์ยอดรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~จอมโจรพยศรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~


สารบัญหนังสือ: รวมลิงก์หนังสือที่รีวิวในบล็อก # ๑ + ๒



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่ไก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.