happy memories
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๑๒๑




ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto









'เทพสิรินทราวาส' ราชกตัญญุตานุสรณ์ในรัชกาลที่ ๕


การที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญในพระบรมราชูปถัมภ์ให้มีความสง่างามสมฐานะพระอารามหลวง และพัฒนาให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่นนั้นนับเป็นการรักษามรดกอันล้ำค่าของชาติให้สืบอายุนานวัน อาทิตย์นี้ได้ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ศาสนาสถานฯไปที่ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ในตำบลยศเสอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจังหวัดพระนคร





สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี



ปัจจุบันได้รับการบูรณะและปรับภูมิทัศน์จนมีความงดงามที่น่าสนใจยิ่ง วัดเทพศิรินทราวาสแห่งนี้มีความสำคัญมากด้วยเป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามนี้ในสมัยที่ดำรงพระชันษาเข้าเขตเบญจเพศมงคล เพื่อถวายพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแด่ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนี ด้วยพระราชหฤทัยแห่งพระกตัญญูกตเวทิตาคุณ โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๑๙





พระประธานและพุทธสาวก



โดยพระเจ้าบรมวงส์เธอ กรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์(พระองค์เจ้าชุมพูนุท) เป็นแม่กองก่อสร้าง เมื่อสำเร็จแล้วในวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯอาราธนาพระอริยมุนี(เอมอายุวัฒโน) มาจากวัดบวรนิเวศพร้อมด้วยพระฐานานุกรม ๓ รูปพระอันดับ ๑๖ รูปสามเณร ๓ รูปรวม ๒๓ รูปมาอยู่วัดนี้ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแล้วได้ประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมาและพระราชทานนามว่าวัดเทพศิรินทราวาสด้วยพระราชประสงค์ให้สอดคล้องกับพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระบรมราชชนนี ประหนึ่งว่าพระนางนั้นได้โปรดให้สร้างวัดด้วยพระองค์เองเป็นวัดของพระสงฆ์คณะธรรมยุตติกนิกาย





พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี



สถาปัตยกรรมสำคัญที่น่าสนใจนั้นคือพระอุโบสถของวัดเทพศิรินทราวาสที่สร้างเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ขนาด ๗ ห้อง ภายในตกแต่งลวดลายด้วยลายรดน้ำและภาพปูนปั้นปิดทองประดับกระจกที่น่าสนมากคือชุกชีฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองรองรับพระเบญจาตั้งปราสาทจัตุรมุขยอดมณฑป ซึ่งเดิมนั้นใช้ประดิษฐานพระโกศพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓





พระเบญจาประดิษฐานพระประธาน



ส่วน เพดานพระอุโบสถนั้นเป็นภาพปูนปั้นรูป0e]v’ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีค่ายิ่ง ๕ ตระกูลได้แก่มงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ฯมหาจักรีบรมราชวงศ์ฯปฐมจุลจอมเก้าฯเชิดชูยิ่งช้างเผือกและเชิดชูยิ่งมงกุฎสยามพร้อมตราพระราชลัญกร แถบเครื่องอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ โดยมีลวดลายดอกรำเพยประกอบให้งามตายิ่ง ส่วนพระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐานในปราสาทบนพระเบญจานั้นมีพระพุทธรูปปางสมาธิและพระอัครสาวก พระนิรันตราย พระพุทธปางมารวิชัย พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรและพระพุทธรูปยืนฉลองพระองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี หล่อในรัชกาลที่ ๔ การวางแผนผังของวัดเทพศิรินทราวาสนี้นับเป็นแปลนที่เหมาะสมที่โรงเรียนอยู่ทางด้านตะวันออกหน้าวัดและเขตพุทธาวาสอยู่ส่วนกลางและสุสานอยู่ด้านตะวันตกดุจชีวิตคนซึ่งเดินตามดวงตะวันเริ่มด้วยวัยเด็กวัยกลางคนและปัจฉิมวัยซึ่งไปสุดสิ้นที่สุสานสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่รู้จักกันดีคือเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์





เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ใช้ประดับบนเพดาน



ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดเกล้าฯให้สร้างสุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสไว้ในวัดด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุฯ ที่ท้องสนามหลวงและสำหรับชนทุกชั้นนับเป็นเรื่องพิเศษโดยปกติแล้วจะไม่มีฌาปนสถานอยู่ในพระอารามหลวง ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งโรงพยาบาลที่ริมถนนกรุงเกษมใกล้กับวัดเทพศิรินทร์อยู่ในทิศใต้ของวัดก็พระราชทานนามว่าเทพศิรินทรพยาบาลและในปีฉลูพ.ศ. ๒๔๕๖ นั้นจึงได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ขึ้น





ลายเครื่องขัติยราชอิสริยาภรณ์อันมีคุณยิ่งฯ



เขตของวัดครั้งแรกเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีคูน้ำโอบเกือบรอบคล้ายเกาะตอนหน้าเป็นลานไม่มีกำแพงเหมือนวัดมกุฏกษัตริย์และวัดโสมนัสวิหารคูน้ำนั้นขุดต่อจากคลองผดุงกรุงเกษมตรงทิศเหนือกว้าง ๒ วา ๒ ศอกลึก ๓ ศอกเศษคูน้ำนั้นทำให้ถนนกรุงเกษมขาดจากกันจึงสร้างสะพานไม้สำหรับข้ามแต่ปลายคูน้ำหาได้ขุดไปจดคลองผดุงเว้นไว้เท่าระยะส่วนกว้างของถนนกรุงเกษมเพื่อจะทำสะพานข้ามเหมือนตอนเหนือแต่ยังไม่ได้ทำภายหลังกระทรวงโยธาธิการได้ถมคูด้านใต้ทำถนนหลวง ส่วนดินในลำคูที่ขุดนั้นได้ถมพื้นที่เพื่อสร้างวัตถุสถานต่างๆซึ่งมีการสร้างซุ้มประตูยอดมงกุฎ หอระฆังศาลาการเปรียญหมู่กุฏี พระอุโบสถ พลับพลาตรีมุขและปลูกพระศรีมหาโพธิ์เป็นต้น


วัดเทพศิรินทราวาสจึงเป็นพระอารามหลวงที่มีสิ่งสำคัญและสถาปัตยกรรมที่งดงามสมกับเป็นพระราชานุสรณ์แห่งพระกตัญญูกตเวทิตาคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เป็นอย่างยิ่ง





วิทยากรพิเศษให้ความรู้ภายในพระอุโบสถ



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com
wikipedia.org












"A View from Portishead towards Wales"


"ภาพเขียนคศ.ที่ ๑๙ ใน Bristol Museum and Art Gallery”


ใน Bristol Museum and Art Gallery ไม่เพียงมีหมวด Egyptology เป็นหมวดเด่นแล้ว ที่นี่ยังมีผลงานจิตรกรรมที่โดดเด่นอีกหลายภาพด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เช่น The Israelites passing through the Wilderness, preceded by the Pillar of Light ของ William West จิตรกรสีน้ำมันและสีน้ำชาวอังกฤษในกลุ่ม Bristol School ภาพจากพันธะสัญญาเก่าที่ชาวอิสราเอลหนีจากความเป็นทาสในอียิปต์นี้ ศิลปินเขียนจากเรื่องราวในช่วงที่พระเจ้าทรงส่งแท่งไฟที่สุกสว่างเจิดจ้าซึ่งก็คือพระวิญญาณบริสุทธ์มานำพวกเขาในตอนกลางคืน





Herriet Isaac



ภาพทิวทัศน์ร่วมกับเหตุการณ์ในแนวจินตนาการนี้เป็นภาพที่ศิลปินกลุ่ม Bristol School นิยมวาดเป็นพิเศษ ผู้ชมจะเห็นว่าศิลปินสามารถใช้ฝีแปรงเพียงเล็กน้อยในการสร้างสรรค์ชาวอิสราเอลจำนวนมหาศาลในอิริยาบถที่หลากหลายได้อย่างเหลือเชื่อ





John Whitmore



The Destruction of Pharaoh's Host ของ Samuel Colman จิตรกร นักออกแบบภายในและนักเขียนชาวอเมริกัน ภาพที่โมเสสพาชาวอิสราเอลข้ามทะเลแดงที่แหวกออกจากฤทธานุภาพของพระเจ้า และน้ำทะเลไหลกลับเพื่อท่วมชาวอียิปต์ที่ตามมาทีหลังตามพันธะสัญญาเก่านี้ ศิลปินเขียนให้พระเจ้าถูกปกปิดไว้ภายใต้แสงสีแดงเพลิง แม้เส้นทางเดินของชาวอิสราเอลทางด้านซ้ายของภาพจะดูเป็นระเบียบแตกต่างจากความวุ่นวายที่ชาวอียิปต์ล้มระเนระนาดทางด้านล่างของภาพ แต่ลักษณาการที่ศิลปินวาดกลับดูกลมกลืนกันเหมือนภาพฝันมากกว่าความจริง





St.James’s Fair, Bristol



Colman ยังมีผลงานที่โดดเด่นอีกชิ้นใน Bristol Museuam and Art Gallery นั่นคือ St. James's Fair, Bristol งานรื่นเริงที่จัดที่สนามหน้าโบสถ์ St. James นานครึ่งเดือนซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ นี้ เป็นงานที่ดึงดูดพ่อค้าและการแสดงมากมายทั่วทั้งอังกฤษและนานาชาติมาการขายสินค้าต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งมีการแสดงต่าง ๆ ด้วยจึงไม่เพียงจะดึงดูดชาวบ้านและพ่อค้า ยังดึงดูดมิจฉาชีพมากมายเข้ามาในเมืองอีกต่างหาก ภาพ St. James Fair นี้สะท้อนสังคมทั้งส่วนที่ดี เช่น การเจรจาต่อรอง การค้าขายสินค้าทั่วไป และส่วนที่เสีย เช่น การพนัน การลักเล็กขโมยน้อย การทะเลาะวิวาทและการขายตัว





The Recruiting Party ของ Edward Villiers Rippingille



A View from Portishead towards Wales ของ Joseph Walter จิตรกรสีน้ำและสีน้ำมันชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดทะเล ภาพเรือใบและเรือขนสินค้าที่กำลังเร่งรีบแล่นเข้าฝั่งเพื่อหนีพายุในฤดูใบไม้ร่วงนี้ศิลปินเขียนให้เห็นถึงความรุนแรงของลมผ่านทางกองดินที่ถูกพัดเข้าหาฝั่งจนแทบจะท่วมบ้าน และการเร่งรีบขนย้ายสินค้าบนหลังม้า แทนการวาดความปั่นป่วนของน้ำในท้องทะเล





The Israelites passing through the Wilderness, preceded by the Pillar of Light



The Recruiting Party ของ Edward Villiers Rippingille จิตรกรสีน้ำและสีน้ำมันสมาชิกกลุ่ม Bristol School ภาพการรับสมัครเด็กหนุ่มที่ใจง่ายให้ไปเป็นทหารนี้เป็นภาพที่ศิลปินต้องการเย้ยหยันกองทัพ ทั้งนี้เพราะเขาวาดให้การรับสมัครที่จ่าทหารกำลังวาดฝันสวยหรูให้กับเด็กหนุ่ม ในขณะที่ความเป็นจริงทางด้านขวามือคือชีวิตของทหารผ่านศึกที่ท้อแท้หมดหวัง พิการและยากจนกำลังเดินเข้ากระต๊อบของตัวเอง นอกจากนี้ Rippingille ยังมีผลงานที่โดดเด่นอีกสองชิ้นในห้องภาพนี้คือ Herriet Isaac และ John Whitmore Isaac อีกด้วย





The Destruction of Pharaoh’s Host





The Israelites passing through the Wilderness, preceded by the Pillar of Light detail





The Israelites passing through the Wilderness, preceded by the Pillar of Light detail





The Israelites passing through the Wilderness, preceded by the Pillar of Light detail



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com














"รูปปั้นแห่งศรัทธา”


รูปแห่งศรัทธาเป็นงานเขียนและงานปั้นที่รังสรรค์เพื่อถ่ายทอดสุนทรียภาพบุคคล ที่ควรแก่การยกย่องและสรรเสริญ ให้เกิดเป็นผลงานจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ล้วนสร้างคุณงามความดีพร้อมทั้งเสียสละ และอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของสังคมข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานด้วยใจรัก วาดคนที่อยากวาด ปั้นคนที่อยากปั้นด้วยความศรัทธา เพื่อถ่ายทอดสุนทรียารมณ์ความงาม ความรู้สึกและจินตนาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในเนื้องาน งานที่สร้างสรรค์ด้วยจิตรศรัทธา จากประสบการณ์และด้วยพุทธิปัญญา เชื่อว่าย่อมแสดงให้เห็นถึงพลังของความงามแห่งสัจจะไม่มากก็น้อย


สัจจะคือวิถีแห่งพุทธะ ที่จะนำพาชีวิตสู่หนทางแห่งอิสรภาพ ข้าพเจ้าเชื่อต่อสัจจะอันดีงาม ทั้งทางโลกและทางธรรม สัจจะนั้นถือได้ว่าคือสิ่งที่เป็นจริง เป็นเกียรติ และเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


ข้าพเจ้าหวังว่ารูปแห่งศรัทธาคงจะเป็นการบันทึกความงามไว้ในงานจิตรกรรมและประติมากรรม เพื่อได้ระลึกถึงบุคคลที่พร้อมไปด้วยความดีที่ปรากฏเป็นความงาม และยังคงประจักษ์เป็นความจริง อันเป็นแบบอย่างที่จะน้อมนำมาเป็นอนุสติแก่ชนรุ่นหลัง อย่างน้อยก็จะยังประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง พร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจนสังคมที่อยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้


พิธีเปิดนิทรรศการ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๓o น.


นิทรรศการ : “รูปแห่งศรัทธา” (Faithful)
ศิลปิน : หงส์จร เสน่ห์งามเจริญ
วันที่ : ๑๒ – ๒๘ กันยายน ๒๕๕๗
สถานที่ : ห้องนิทรรศการชั้น ๑ ห้อง ๒ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดต่อศิลปิน : o๘๑-๘๑๖-๑๖๘๕



















ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














นิทรรศการ : ภาพวาด คอนทัวร์ ตัวหนังสือ ไฮกุ


“บางรูปบทกวีมาก่อนที่จะวาดรูป มีบ้างที่เกิดขึ้นระหว่างที่วาดภาพบทกวีถึงเกิดขึ้น”………กวีไฮกุของ เมธา เมธี เคร่งครัดต่อหลักโครงสร้างบทกวีฉันทลักษณ์ของ บาโช มาซึโอ กวีญี่ปุ่นที่คิดค้นขึ้น


ไฮกุ ๑ บท มี ๓ บรรทัด มี ๑๗ พยางค์ บรรทัดที่หนึ่ง ๕ พยางค์ บรรทัดที่สอง ๗ พยางค์บรรทัดสุดท้าย ๕ พยางค์ โดยยืดถือเรื่องฤดูกาลไว้ในตัวบทอย่างสม่ำเสมอ ภาพวาดที่ปรากฏคู่กับบทกวีเป็นภาพคอนทัวร์ (Contour) ที่คู่กัน เฉพาะภาพหนึ่งภาพ กับบทกวีหนึ่งบท ที่สอดคล้องไปในครรลองเดียวกัน


นิทรรศการ : ภาพวาด คอนทัวร์ ตัวหนังสือ ไฮกุ จัดแสดงผลงานตั้งเเต่ วันที่ ๑ กรกฎาคม – ๓o สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่ Hemlock Art Restaurant ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดบริการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา ๑๖.oo – ๒๔.oo น. เเละวันเสาร์ เวลา ๑๗.oo – ๒๔.oo น. รายละเอียดเพิ่มเติมโทร : o๒-๒๘๒-๗๕o๗


ประวัติศิลปิน

เมธา เมธี เกิดเมื่อ ๒๕๐๖ ณ อำเภอหัวไทร นครศรีธรรมราช จบการศึกษาจากโรงเรียนเพาะช่าง และศึกษาศาสตร์บัณฑิต วิชาเอก ศิลปะ มหาวิทยาลัย บูรพา


เมธา เมธี เป็นนามปากกของ เมธา เพ็ชรเกตุ เลือดเนื้อเชื้อไขของดินแดนลุ่มน้ำปากพนัง เคยมีผลงานหนังสือรวมบทกวี “บางทีฉันอาจเปลี่ยนไป”(๒๕๓๙) และ “รำเพยหวัง”(๒๕๔๔) นอกจากเขียนบทกวีแล้ว ยังเขียนเพลง,ร้องเพลง,เล่นดนตรีและวาดภาพ เคยร่วมแสดงผลงานกลุ่ม ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ (๑๙๙๗) จวบจนปัจจุบัน



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














“ฉันพูดถึงเขา เป็นความจริงหรือการหลอกลวง” (I SAID TO YOU)


ศิลปิน : ปรัชญ์ พิมานแมน
ลักษณะงาน : ศิลปะสื่อผสม
ระยะเวลาที่จัดแสดง : ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
พิธีเปิดนิทรรศการ : ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.oo น.
สถานที่ : หอศิลป์จามจุรี ห้องนิทรรศการชั้น ๒
ติดต่อศิลปิน : o๘๑-๙๕๑-๙๕๗๗


แนวความคิด

เป็นการแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของศิลปิน ปรัชญ์ พิมานแมน ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูป แบบผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และ วาดเส้น จำนวน ๒ ชุดผลงาน โดยนำเสนอ เรื่องราวผ่านความคิด สู่เนื้อหาและสัญลักษณ์ของรูปทรง เพื่อสื่อความหมายในเชิงความรู้สึก เป็นแรงกระตุ้นที่ตอบสนองให้ผู้สร้างสรรค์ค้นหาแรงดลใจ จากประสบการณ์ใกล้ตัว โดยนำเนื้อหา เรื่องราวจากความจริงในเหตุการณ์ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ประสบพบเจอ และเกิดคำถามระหว่างผู้ที่ถูก กระทำกับผู้กระทำ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สื่อความหมายจากความรุนแรงในสถานการณ์ที่ผู้คนต่างได้รับผลกระทบจากสื่อข่าวสารผ่านคำ บอกเล่าจากความจริงที่อาจบิดเบือนผ่านกระแสเรื่องเล่าของคนที่ได้ชื่อว่า “ผู้ปกป้อง” แต่สุด ท้ายทุกอย่างกลับกลายเป็น “เหยื่อล่อ” ของอำนาจที่ไม่มีผู้ใดสามารถรับรู้ได้


“ฉันพูดถึงเขาเป็นความจริงหรือการหลอกลวง” ชื่อนิทรรศการผลงานศิลปะที่ศิลปินต้องการสะท้อน ผ่านรูปทรงสัญลักษณ์ในลักษณะ รูปทรงของบ้านและทัศนธาตุที่ผสมผสานความประสานกลมกลืน ภายใต้ความขัดแย้งทางความ รู้สึก ในกระบวนการทางเทคนิค ที่เกิดจากพื้นผิว ร่องรอยที่แสงดออกถึงความรุนแรง ดั่งความรู้สึก ถึงผลกระทบภายในที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับจากถิ่นกำเนิดของตนเอง นราธิวาส คือ บ้านเกิดที่ผู้สร้าง สรรค์เคยอาศัยอยู่อย่างสงบและสันติสุข ในขณะที่ปัจจุบันความรู้สึกนั้น เหลือเพียงร่องรอยของ ความทรงจำที่ไม่อาจย้อนคืนกลับมา บ้านคือสถานที่ให้ความอบอุ่น คือสถานที่ปลอดภัยของคนใน ครอบครัว แต่ในปัจจุบันในพื้นที่ ที่เรียกว่า บ้าน กลับไม่ปลอดภัย


การรวบรวมชุดผลงานการจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ผ่านการนำเสนอผลงานในรูปแบบ “การจัดวาง” ผลงานศิลปะสื่อผสมชุดบันทึกจากความทรงจำ การนำเสนอผลงานภาพพิมพ์และ การวาดเส้นสร้างสรรค์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการจดบันทึก สถานการณ์ความรุนแรงในแต่ละวัน ในช่วงเวลาจากความรู้สึกอย่างฉับพลัน จากการวาดเส้นด้วยปากกาสู่กระบวนการภาพพิมพ์ที่ผสม ผสาน เทคนิคร่องรอย จากพื้นผิวของสีน้ำ การประสานเชื่อมโยงเอกภาพทางความคิดในชุดผลงาน สร้างสรรค์


การจัดสรรพื้นที่ในความทรงจำในชื่อ ชุดผลงาน “พื้นที่ว่างระหว่างความทรงจำ” ในรูปแบบ ผลงานประติมากรรม และผลงานจิตรกรรมวัสดุผสม สื่อรูปทรงสัญลักษณ์ของบ้าน และ ลวดลาย ท้องถิ่น โครงสร้างของเส้นการก่อตัวกันของทัศนธาตุ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก แบบแม่พิมพ์ ของลายผ้า ลวดลายพฤกษาความประสานจังหวะของรูปทรง สัมพันธภาพทางความ รู้สึกเปรียบเสมือนการต่อเติมลมหายใจของการดำรงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ สถานที่แห่งความ สมบูรณ์ในชีวิตรากเง้าจากวัฒนธรรม ถิ่นฐานชาติพันธุ์ของผู้สร้างสรรค์ ในจิตวิญญาณแก่นแท้ของ ความรู้สึก เสมือนการรู้จักตัวตนในการทำงานศิลปะอย่างแท้จริง



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














“ความเชื่อ” (The believe)


นิทรรศการ : “ความเชื่อ” (The believe)
ศิลปิน : เจษฎา คงสมมาศ และ แมททิว โทมัส (Matthew Thomas)
ลักษณะงาน : จิตรกรรม
ระยะเวลาที่จัดแสดง : ๙ – ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗
พิธีเปิดนิทรรศการ : ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.oo น.
สถานที่ : ห้องนิทรรศการชั้น ๒ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดต่อศิลปิน : o๘๕-๔๖๕-๕๕o๗


แนวความคิด

มนุษย์เราล้วนแล้วแต่มีความเชื่อ ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อใน ความรัก ครอบครัว ศาสนา ภูติผีปีศาจ และอื่น ๆ อีกมากมาย


นิทรรศการครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความเชื่อทาง ความรักในพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตกับธรรมชาติ ที่อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน โดยทั้งคุณแมททิว และคุณเจษฎา ต่างมีความคิดในการทำงานศิลปะในรูปแบบงานจิตรกรรม ที่เน้นเนื้อหาสาระไปในทิศทางเดียวกัน คือ ความเชื่อ โดยคุณแมททิว จะทำงานในเรื่องราวของพุทธศาสนากับชีวิต คุณเจษฎาทำงานเรื่องชีวิตกับธรรมชาติ























ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com
chamchuriartgallery.blogspot.com














"จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ ๓๖”


หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอเชิญชมนิทรรศการจิตรกรรม บัวหลวงครั้งที่ ๓๖ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ จัดแสดงผลงานที่ชนะการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงและผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น ๖๒ ภาพ จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด ๑๘๘ ภาพ


การประกวดจิตรกรรมบัวหลวงของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๕๗ นี้ จัดประกวดเป็นครั้งที่ ๓๖ แล้ว เป็นเวทีที่แบ่งประเภทในการประกวดชัดเจนมาโดยตลอด คือ จิตรกรรมประเพณีไทย แนวประเพณีไทย และ จิตรกรรมร่วมสมัย นับเป็นหนึ่งในรางวัลการประกวดงานศิลปะที่มีชื่อเสียงมานานถึงมาตรฐานของทั้งคณะกรรมการผู้ตัดสิน และศิลปินผู้ได้รับรางวัลในแต่ละปี ทำให้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดเป็นจำนวนมากทุกปี สำหรับปีนี้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินให้รางวัลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีผู้สนใจส่งผลงานจิตรกรรมทั้ง ๓ ประเภทเข้าประกวดในปีนี้ ๑๒๙ ราย รวมจำนวน ๑๘๘ ภาพ โดยมีรายละเอียดผู้ได้รับรางวัล ดังนี้


สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลทั้ง ๙ ภาพ และผลงานที่ผ่านการคัดเลือกร่วมแสดงจำนวน ๕๓ ภาพ รวมทั้งสิ้น ๖๒ ภาพ จะนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ “จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ ๓๖″ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถนนราชดำเนินกลาง เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันพุธ) ตั้งแต่เวลา ๑o.oo-๑๙.oo น. ระหว่างวันที่ ๗ สิงหาคม – ๒๓ กันยายน ๒๕๕๗ และจะนำผลงานไปจัดแสดงนิทรรศการสัญจร ณ หอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๗


สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เบอร์โทร : o๒-๒๘๑-๕๓๖o-๑


ข้อคิดเห็นงานจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ ๓๖
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ
ประธานกรรมการตัดสินจิตรกรรมบัวหลวง


คุณภาพของงานที่ส่งเข้าประกวดในงานจิตรกรรมบัวหลวงครั้งนี้ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก จิตรกรที่เคยได้รางวัลในการประกวด ครั้งที่ ๓๕ และศิลปินอื่น ๆ ยังทำงานกันอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง เพิ่มแง่มุมของความคิดให้คมคายมากขึ้น พัฒนาการแสดงออกให้ตรงชัดและเข้มข้นยิ่งขึ้น จนบางคนได้รับรางวัลที่สูงขึ้น หวังว่านิทรรศการผลงานที่จัดประกวดนี้จะให้ความรู้สึกสะเทือนใจแก่ผู้ชมคลี่คลายไปสู่จินตนาการตามแนวทางที่เป็นธรรมชาติส่วนตนของแต่ละท่าน





จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนทัศนศึกษางานศิลปะ ณ ประเทศสเปน
ผลงานชื่อ “บ้านนาพึง” ของ นายอิทธิพล พัฒรชนม์


ผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตนของจิตรกรผู้นี้ เคยได้รับรางวัลที่ ๓ ในการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ในปีที่ผ่านมา ด้วยความมุ่งมั่น จริงจังในการสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ผลงานพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงสุดในประเภทที่ส่งเข้าประกวด ลักษณะความเป็นไทยประเพณีของงานชุดนี้ ออกแนวไปทางศิลปะพื้นถิ่นของดินแดนอีสานที่จิตรกรมีพื้นเพอยู่ การให้มิติในทางลึก ที่ลดหลั่นจากด้านหน้าที่คมชัดไปยังเบื้องหลังที่ค่อย ๆ เลือนจาง เป็นจุดเด่นของงาน นอกเหนือไปจากฝีมือที่เชี่ยวชาญ และแบบแสดงที่มีลักษณะส่วนตน





รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
ผลงานชื่อ “ร่องรอย ความงาม และความเคลื่อนไหวในวิถีชาวประมง” ของ นางสาวสุจิตรา พาหุการณ์


นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของจิตรกรลายทองของไทย ที่แต่เดิมเป็นลายรดน้ำที่มีพื้นดำ ตัวลายเป็นทอง หรือลายกำมะลอที่เพิ่มสีเข้าไปซึ่งก็ยังให้ผลเป็นจิตรกรรมสองมิติอยู่ แต่งานของสุจิตราชิ้นนี้ มีการใช้ทองหลายชนิด และแต่ละชนิดมีความสุกใสและความอ่อนแก่แตกต่างกัน การเลือกใช้ทองแต่ละชนิดในตำแหน่งที่เหมาะสมกับรูปแบบ ทำให้ได้ผลงานที่มีความลึกความตื้นหลากหลายมิติ สร้างบรรยากาศให้กับชีวิตชาวเล ต้นความคิดของจิตรกรอย่างน่าพอใจคุณภาพของงานอยู่ในระดับดีมาก ถ้าจิตรกรรมบัวหลวงมีรางวัลที่ ๑ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งรางวัล ผลงานชิ้นนี้ก็สมควรได้รับ อย่างแน่นอน





รางวัลที่ ๓ เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท
ผลงานชื่อ “มงคล สัญญะ” ของ นางสาวอัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน


จิตรกรได้ใช้เทคนิคลายทอง ลายกำมะลอของไทย มาเป็นพื้นฐานทางเทคนิคให้กับการประสานกันขององค์ประกอบอันมีสัญลักษณ์มงคลทางพุทธศาสนา เป็นข้อเรื่อง ขนาด น้ำหนัก สี ที่ว่างของรูปทรงที่มีความหมายเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ที่กระทบใจผู้ชมเป็นอันดับแรกแล้วจึงคลี่คลายไปสู่ความหมายของรายละเอียดต่าง ๆ ในอันดับต่อ ๆ ไป
ประเภทจิตรกรรมไทยแนวประเพณี



จิตรกรรมไทยแนวประเพณี





รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนทัศนศึกษางานศิลปะ ณ ประเทศสเปน
ผลงานชื่อ “นิราศปลาเสือ” ของ นายชัยรัตน์ มงคลณัฏ


ผลที่ได้รับจากงานชิ้นนี้ คือความเป็นอิสระอย่างแท้จริงของจิตใจ ที่ถูกปลดปล่อยด้วยการแสดงออกที่ดูเหมือนไร้เดียงสาของจิตรกรที่ไม่คำนึงถึงเหตุผล ข้อเท็จจริงหรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การประกอบกันของรูปทรงที่ไม่น่าจะอยู่ด้วยกันได้ การไม่ยอมรับความเป็นจริงทางกายวิภาค การตัดกันระหว่างมวลที่ใหญ่โตกับที่เล็กมาก ด้วยเรื่องราวที่ไม่มีความสอดคล้องกัน เหล่านี้จิตรกรได้สร้างสรรค์ขึ้นจากใจล้วน ๆ ปราศจากการควบคุมของสมองหรือของความคิดแต่อย่างใด





รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
ผลงานชื่อ “Time” ของ นางสาวปานพรรณ ยอดมณี


เป็นงานที่มีแนวคิดที่คมคายมาก ด้วยการนำวัสดุธรรมชาติที่ไร้ค่า คือก้อนหินที่แตกออกมาเป็นแง่เป็นมุมอย่างตามบุญตามกรรม มาประดับแต่งด้วยวัตถุที่มีค่าด้วยความละเอียดประณีตอย่างยิ่ง แต่น่าเสียดายที่แนวคิดที่มีความหมายลึกนี้ ไม่ได้แสดงตัวเด่นชัดในงานเพราะจิตรกร ได้วางหน่วยเหล่านี้ลงบนพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่ว่างเป็นประธาน เมื่อมองผลงานในระยะแรก สิ่งที่ปรากฎแก่สายตากลายเป็นองค์ประกอบที่งดงามของรูปทรงและที่ว่าง แทนที่จะเป็นรูปทรงที่ให้ความหมายสำคัญของแนวคิดดังกล่าว





รางวัลที่ ๓ เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท
ผลงานชื่อ “มารผจญ ๑” ของ นายเนติ พิเคราะห์


มารผจญชิ้นนี้ ต่างจากภาพมารผจญที่เคยพบเห็นในพระอุโบสถทั่วไป ที่มีพระพุทธองค์ประทับบนบัลลังก์ ในปางสะดุ้งมาร อยู่กึ่งกลางภาพ มีหมู่มารเข้าผจญทางด้านซ้าย แม่พระขึ้นเมื่ออยู่ไกลออกไปทางด้านซ้ายมือของภาพ งานชิ้นนี้ไม่มีภาพของพุทธองค์ แต่เน้นแม่พระธรณี ให้งดงามเป็นพิเศษ นุ่งซิ่นคุกเข่าบนกลีบบัว ให้กลิ่นอายของช่างพื้นถิ่นล้านนา



จิตรกรรมไทยร่วมสมัย





รางวัลที่ ๑ เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล ๒oo,ooo บาท และทุนทัศนศึกษางานศิลปะ ณ ประเทศสเปน ผลงานชื่อ “บรรพบุรุษรำลึก” ของ นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม


งานชิ้นนี้ให้ความสะเทือนใจอย่างรุนแรงด้วยบรรยากาศที่เข้มข้นของความรู้สึกลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์และความรู้สึกอื่นตามแต่จินตนาการของผู้ชมที่ต่างประสบการณ์ โดยที่ยังไม่ทันรับรู้เรื่องราว และรูปทรงของการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่จิตรกรนำเสนอด้วยรูปทรงและเรื่องราวที่ชัดเจน ความเป็นศิลปะของงานได้เข้ากระทบและครองใจของผู้ชม ก่อนที่จะรับรู้เรื่องราวรายละเอียดในภายหลัง





รางวัลที่ ๒ เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล ๑oo,ooo บาท
ผลงานชื่อ “จิตรกรรมชั้นวางกระบวนจีน ๑” ของ นางสาวสุพิมพ์ วรทัต


สุพิมพ์เคยได้รับรางวัลที่ ๑ ในการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ ๓๕ ในปีนี้ งานของเธอยังคงเข้มข้นในคุณค่าไม่น้อยกว่าชิ้นที่แล้ว แนวคิดที่ผสมผสานวัตถุนิยมในปัจจุบันเข้ากับเรื่องราวทางพุทธศาสนาอันเป็นข้อเรื่องดั้งเดิมของการเขียนลายทองกระบวนจีนมาแต่โบราณ ให้ความน่าสนใจเมื่อพินิจในรายละเอียด ของโครงสร้างชั้นวาง





รางวัลที่ ๓ เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล ๗๕,ooo บาท
ผลงานชื่อ “กุกฬนรก” ของ นายกิตติศักดิ์ เทพเกาะ


รูปทรง องค์ประกอบ ของงานที่ปรากฎแก่สายตา ให้ความรู้สึกของความทนทุกข์ทรมาน การวางตำแหน่งรูปทรงการให้น้ำหนัก การเขียนรายละเอียดที่เหมือนจริง เป็นเหมือนคำสอนให้มนุษย์กลัวกรรมชั่ว หันมาประกอบกรรมดี เพื่อให้สังคมที่วุ่นวายอยู่ในปัจจุบันดีขึ้น



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














"ศิลปไทย โดยคณาจารย์ภาควิชาศิลปไทย”


ภาควิชาศิลปไทยนั้นได้ก่อตั้งขึ้นในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี ๒๕๑๙ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ มีจุดประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต และสร้างทรัพยากรบุคคลผู้มีความรู้ ความสามารถ ความคิด ความรัก ความเข้าใจ และมีจิตสำนึก เพื่อทำหน้าที่อนุรักษ์ สืบทอด และสร้างสรรค์งานศิลปไทยให้เกิดคุณค่าอันแสดงถึงปัญญา และจิตวิญญาณของชาติที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งต่อประเทศชาติให้แพร่หลายในหมู่ชาวไทยและประชาคมโลก






ภารกิจหลักของคณาจารย์นอกเหนือจากการเรียนการสอน ภาควิชาฯ ยังต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ตรงจากการศึกษาแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญยิ่งคือการพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เหล่าคณาจารย์ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยแก่ลูกศิษย์และผู้สนใจ ทั้งในส่วนของรูปแบบ เนื้อหา เรื่องราว เทคนิค เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวทางใหม่ของการแสดงออกให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน โดยยังสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกและความเป็นเอกลักษณ์ อันมีลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นในจิตวิญญาณของความเป็นไทย






นิทรรศการครั้งนี้ ภาควิชาศิลปไทย ดำเนินโครงการขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของคณาจารย์ภายในภาควิชาศิลปไทย ผลงานของศิลปินที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ได้แก่ ผลงานศิลปไทยร่วมสมัย อาทิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง


รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร และคณาจารย์ของภาควิชาศิลปไทย จัดขึ้นเพื่อการศึกษาในเชิงสร้างสรรค์ด้านศิลปะไทยและเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะไทย และบูรณาการด้านศิลปะแก่สาธารณะชนต่อไป






กำหนดพิธีเปิดนิทรรศการ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.oo น. ณ PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ


นิทรรศการ : ศิลปไทย โดยคณาจารย์ภาควิชาศิลปไทย
วันที่ : ๔ – ๓o สิงหาคม ๒๕๕๗
สถานที่ : PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : o๒-๒๒๑-o๘๒o











ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














"SMALL PAINTING EXHIBITION”


เดือนสิงหาคมนี้ ขัวศิลปะเชียงราย จะจัดแสดงภาพผลงานขนาด ๓o × ๓o ซม. จำนวนมากกว่า ๑๒o ภาพ ในนิทรรศการ “ภาพวาดขนาดเล็ก SMALL PAINTING EXHIBITION” ของศิลปินในกองทุนศิลปินเชียงราย ทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง รุ่นใหม่ มือสมัครเล่น ที่สร้างสรรค์ผลงานหลากหลายเทคนิคและเนื้อหา ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ วันเสาร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.oo น. ณ ขัวศิลปะ เชียงราย


นิทรรศการ : ภาพวาดขนาดเล็ก SMALL PAINTING EXHIBITION
วันที่ : ๙ – ๓o สิงหาคม ๒๕๕๗
สถานที่ : ขัวศิลปะ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 088-418-5431
อีเมล : artbridge.cr@gmail.com
เว็บไซต์ : artbridgechiangrai.org
เฟสบุ๊ค : เฟซบุคขัวศิลปะ



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














"Devi”


๑oo ต้นสนแกลเลอรี่ ขอเสนอนิทรรศการ “เทวี | Devi”โดยธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ กับผลงานเทคนิคจัดจ้าน ในฐานะจิตรกรที่นำความสนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมาใช้ในการทำงานจิตรกรรม ธเนศได้ใช้การนำเสนอภาพสรีระผู้หญิงอย่างตรงไปตรงมาและการเลือกใช้สีบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่เพื่อนำไปสู่การรับรู้ในมุมมองใหม่ที่มีต่อภาพเรือนร่างของผู้หญิงเปลือยในอิริยาบถต่าง ๆ


นิทรรศการนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้พิจารณาการมองเรื่องเพศและความงามในอุดมคติผ่านทรรศนะส่วนตัวโดยอาจมองว่าเป็นสุนทรียะเรื่องหมิ่นเหม่ทางศีลธรรมจรรยา หรือเป็นวัตถุทางเพศสำหรับการบริโภคก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละคน


นิทรรศการเทวี ประกอบไปด้วยผลงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ ๘ ภาพ ขอเชิญทุกท่านร่วมเปิดงานนิทรรศการวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๙.oo น.


นิทรรศการ : “เทวี | Devi”
ศิลปิน : ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ
วันที่ : ๒๑ สิงหาคม – ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
สถานที่ : ๑oo ต้นสนแกลเลอรี่
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : o๒-๖๘๔๑-๕๒๗, o๘๖-๘๘๔-๖๒๕๔
อีเมล : info@100tonsongallery.com











ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














นิทรรศการภาพถ่าย “MANIPULATION PHOTOGRAPHY”


ผลงานโดย STEVE & BILLYTHEKID


จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๘ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗


ณ MIDNICE Gallery


ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














นิทรรศการจิตรกรรม “ความฝันในยามตื่น”


นิทรรศการจิตรกรรม “ความฝันในยามตื่น” (Fancy) ผลงานโดย วฤทธิ ไพศาลจิรศักดิ์ (Waritti Paisarnjirasak) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๔ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ และจะมีพิธีเปิดในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo น ณ ห้องนิทรรศการชั้น ๑ ห้อง ๒ Chamchuri Art Gallery : หอศิลป์จามจุรี


นิทรรศการ “ความฝันในยามตื่น ” (Fancy)
ศิลปิน วฤทธิ ไพศาลจิรศักดิ์ (Waritti Paisarnjirasak)
ลักษณะงาน จิตรกรรม
ระยะเวลาที่จัดแสดง ๔ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
พิธีเปิดนิทรรศการ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo น
ห้องนิทรรศการ ห้องนิทรรศการชั้น ๑ ห้อง ๒
ติดต่อศิลปิน o๙๒-๔๙๒-๓๙๑๔


แนวความคิด

หากความฝันคือความคิดในยามหลับ ความคิดก็อาจเปรียบได้ว่าคือความฝันในยามตื่นเช่นกัน คนเราต่างติดหลงอยู่ในความคิดความอยาก มีใครบ้างที่สามารถตอบตนของตนได้ว่าเราเป็นคนกระทําการใช้ความคิดอยู่ หรือ ความคิดกระทําการใช้เรากันแน่ ?


คนเราคิดไปแล้วก็หัวเราะ คิดไปแล้วก็ร้องไห้ คิดแล้วเป็นสุข เป็นทุกข์ คิดแล้วอยาก คิดแล้วไม่อยาก คิดไปในอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง คิดเป็นสาระและไม่เป็นสาระ คิดเป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง จนในบางครั้งข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่าบางทีหากเราขาดสติ ความคิดเสียอีกที่เป็นตัวควบคุมการกระทําของคนเราให้ทําตามสิ่งที่คิดนั้น ๆ เหมือนคนที่ตกเป็นทาสแล้วไม่รู้ว่าเป็นทาส หลงอยู่กับความคิดฝัน จนกระทั่งมีความรู้สึกว่า สิ่งที่คิดนั้นเป็นตัวตนของเรา เราคือสิ่งที่เราคิดนั้น สิ่งที่คิดนั้นเราเป็นเจ้าของ แล้วกระทําตามความคิดโดยมิได้ไตร่ตรองถึงผลดีผลเสียที่จะติดตามมา


ข้าพเจ้ามิได้มีความเห็นว่าความคิดคือตัวการร้ายหรือเป็นภัยแต่โดยถ่ายเดียว เพราะ ความคิดที่ดีงามและสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ และเรายังคงต้องอยู่คู่ความคิดไปตลอดจนกว่าเราจะสิ้นอายุไข หากแต่ต้องการ ให้หันมามีสติระลึกรู้และตระหนักว่า ความคิดก็คือความคิดหาได้มีตัวตนไม่ และอย่านําสิ่งที่คิดนั้นมาเป็นอารมณ์จนเหนือ เหตุและผล ในการดํารงชีวิต











ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














นิทรรศการ "IN MY EYE”


ผลงานโดย ธีระยุทธ พืชเพ็ญ


จัดแสดงระหว่างวันที่ ๕ สิงหาคม - ๓ กันยายน ๒๕๕๗


ณ Pongnoi Community Art Space : โป่งน้อยคอมมูนิตีอาร์ตสเปช



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com




บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




Create Date : 26 กรกฎาคม 2557
Last Update : 26 กรกฎาคม 2557 16:33:55 น. 0 comments
Counter : 3844 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.