happy memories
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
26 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๙๘




ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto









"หลักเมือง ภูมิมหานครราชธานีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์”


วันที่ ๒๑ เมษายน ทุกปีเป็นวันสำคัญของกรุงเทพมหานคร ด้วยเมื่อพ.ศ.๒๓๒๕ นั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินต้นหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีได้สถาปนาเสาหลักเมืองขึ้นก่อนสร้างพระนครแห่งใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของบางกอก อาทิตย์นี้ขอตามรอยภูมิความเที่ยงธรรมจากการสร้างหลักเมือง ซึ่งเป็นขนบประเพณีมาแต่สมัยโบราณที่เป็นสิ่งสำคัญของการสร้างเมืองทุกแห่ง ที่ต้องสร้างคู่กันกับเมืองที่สร้างขึ้น การยกเสาหลักเมืองขึ้นนั้นต้องมีชัยภูมิสำคัญ ให้เป็นมิ่งขวัญแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ยึดเป็นหลักชัยว่า บ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้นมีรากฐานฝังไว้แน่นอนแล้ว ให้มีความเชื่อในหลักเมืองว่าจะผดุงกำลังใจให้มั่นคงแน่วแน่ในการดำรงชีพ และอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป





เทพารักษ์รักษาพระนคร ๕ องค์



สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินต้น รัชกาลที่๑ เมื่อทรงสร้างกรุงเทพมหานครฯ ได้ทรงประกอบพิธีสร้างหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช๑๑๔๔ ฤกษ์เวลา ๖.๔๕ น. ตรงกับวันที่๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ได้กำหนดดวงชะตาของเมืองจารลงในแผ่นทองคำ ดังนี้ ลัคนาสถิตราศรีเมษกุมอาทิตย์ เกตุอังคารอยู่ราศรีพฤกษภ มฤตยูอยู่ราศรีเมถุน จันทร์ราศีกรกฎ เสาร์และพฤหัสราศีธนูราหูศุกร์ และพุธราศีมีน





เสาหลักเมืององค์สูงร_๑และร_๔องค์รอง



เสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นนั้นมีพิธีรีตองตามพระตำรา เรียกว่า พระราชพิธีพระนครสถาน เสาหลักเมืองนั้นใช้ไม้ชัยพฤกษ์โดยมีไม้แก่นจันทร์ประกับไว้ด้านนอก ขนาดสูง ๑๘๗ นิ้วกำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดินแล้ว ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว ตัวเสาลงรักปิดทอง ส่วนยอดนั้นสร้างหัวเม็ดยอดสวมไว้ส่วนบนสุด ภายในกลวงเป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาพระนคร โดยมียันต์โสฬสมงคล ทำด้วยแผ่นศิลาสำหรับเป็นฐานรองรับเสาหลักเมือง โดยมียันต์พระไตรสรณาคมน์ ทำด้วยแผ่นเงิน ปิดไว้ที่ปลายเสาหลักเมือง และ ยันต์องครักษ์ ธาตุทั้งสี่ทำด้วยแผ่นเงินปิดที่ต้นเสาหลักเมือง แล้วนำดินที่ขุดในพระนครจากทิศทั้งสี่ ปั้นเป็นก้อน สมมติให้เป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำพิธีใส่ลงในหลุมที่ขุดไว้สำหรับฝังเสาหลักเมือง แล้ววางแผ่นศิลายันต์บนดินทั้งสี่ก้อนนั้น โดยเชิญ เสาหลักเมืองลงหลุมให้วางบนแผ่นศิลา





ในหลวงทรงผูกผ้าเสาหลักเมือง



หลักเมืองที่สถาปนาครั้งแรกนั้นสร้างศาลาพอกันแดดกันฝนเท่านั้น ไม่มีเทพารักษ์มารวมอยู่ด้วย ต่อมาหลักเมืองชำรุดทรุดโทรมลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหลักเมืองขึ้นใหม่ แล้วบรรจุดวงชะตาเมือง ลงด้วยแผ่นทองคำหนัก๑ บาท ประกอบพระราชพิธีบรรจุ พระชาตาพระนคร โดยจารึกลงบนแผ่นสุพรรณบัฏในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และโปรดให้ก่อสร้างศาลาขึ้นใหม่ เป็นศาลรูปปรางค์ยอดตามแบบเดิมอย่างศาลหลักเมืองในกรุงศรีอยุธยา หลักเมืององค์ใหม่เชิญบรรจุพระชะตาพระนครบนยอดหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรมเก้าค่ำ ปีฉลู เบญจศก





ศาลหลักเมืองในสมัยรัชกาลที่๕



จุลศักราช๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๙๖ต่อมาจึ่งได้อัญเชิญเทพารักษ์๕ องค์ เทพารักษ์๔ องค์เป็นเทพารักษ์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และปิดทองหมด อีกองค์หนึ่งแกะสลักรูปเทพารักษ์ด้วยไม้แล้วปิดทอง เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ๑. เจ้าพ่อหอกลอง ๒. พระเสื้อเมือง คุ้มครองป้องกันทางบก ทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรครอบคลุมเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ๓. พระทรงเมือง มีหน้าที่ป้องกันไพร่ฟ้าประชาชนทั่วประเทศ มีปู่เจ้าเขาเขียว ปู่เจ้าสมิงพราย เป็นต้น ๔. พระกาฬ มีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้คนทำความชั่ว ป้องกันความเจ็บไข้ มีธุระสอดส่อง บุคคลอันธพาลทั้งหลายในยามค่ำคืน ด้วยการขี่นกแสกออกตรวจตราบุคคลถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชำระ ถ้ามีความดีก็ส่งขึ้นไปสวรรค์ถ้าทำความชั่วก็ส่งลงนรก๕.เจ้าพ่อเจตคุปก์ เทพารักษ์องค์นี้แกะด้วยไม้แต่ปิดทองทั้งองค์ ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเชื่อว่าหน้าที่คุ้มครองพระราชกำหนดกฎหมาย ให้ขุนศาลตุลาการดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรม เป็นหลักค้ำจุนบ้านเมืองดังนั้นถ้ากฏหมายขาดความเที่ยงธรรมแล้วบ้านเมืองก็เสียหายจนหาหนทางความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรได้ยาก





หลักเมืองรัชกาลที่๔





เจ้าพ่อเจตคุปต์





เจ้าพ่อหอกลอง





พระกาฬไชยศรี





พระทรงเมือง





พระเสื้อเมือง





ยันต์บนหินรองก้นหลุม





ยันต์สำหรับดวงชะตาพระนคร





ยันต์สุริยันทรงกลดของหลักเมืองต้นแรก





พระตำราพิธีเสาหลักเมือง



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com
wikipedia.org














“โครงการจัดทำองค์และเหรียญที่ระลึกพระพิฆเณศวร์ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี”


เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายนที่ผ่านมา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แถลงข่าว “โครงการจัดทำองค์และเหรียญที่ระลึกพระพิฆเณศวร์และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” ณ หอศิลป์ (ท้องพระโรง) มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ ๗o ปีแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรและเพื่อจัดหารายได้เป็นทุนการศึกษาและสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ทางกองกิจการนักศึกษาเลือกออกแบบเหรียญเป็นรูปพระพิฆเณศวร์และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เนื่องจากพระพิฆเณศวร์เป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องหมายตราราชการของมหาวิทยาลัยศิลปากร เช่นเดียวกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งของวงการศิลปะในประเทศไทยและยังเป็นผู้การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย


สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสั่งจองและเช่าบูชา ‘องค์และเหรียญพระพิฆเณศวร์และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี’ ได้ที่งานกิจการนักศึกษา วังท่าพระ ชั้น ๓ ตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หรือที่กองกิจการนักศึกษา พระราชวังสนามจันทร์ ชั้น ๒ อาคารเพชรรัตน – สุวัทนา (โรงยิมใหม่) มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ o๒-๒๒๑-๔๓๓๓



























ภาพและข้อมูลจากเวบ
fineart-magazine.com














"พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ อบรมอาสาสมัครฯ รุ่นแรก”


พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดกิจกรรมอบรม “อาสาสมัครบริการวิชาการ” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านงานอนุรักษ์ผ้าไทย รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยอาสาสมัครทั้ง ๒๒ คน ที่ผ่านการเข้ารับอบรมรุ่นแรกได้รับมอบเกียรติบัตรและบัตรประจำตัวอาสาสมัครเพื่อที่ในอนาคตอาสาสมัครเหล่านี้จะได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่มาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ






ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย หัวหน้าโครงการพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ กล่าวถึงภาพรวมของกิจกรรมตลอดทั้งปี ในแต่ละเดือนจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจแตกต่างกันไป โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ งานเสวนาเชิงวิชาการ เวิร์คช็อป และฝึกอบรม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รวมทั้งจูงใจให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ได้อย่างต่อเนื่อง





(ซ้าย) วารุณี อาสาฬห์ประกิต,ณัฏฐวรรณ ตันหยงมาศ และ ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย 
หัวหน้าโครงการฯ ร่วมให้ความรู้




“พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ผ้าไทย ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเก็บรักษาและจัดแสดงผ้าประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งจัดแสดงฉลองพระองค์ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำความเป็นไทยออกสู่สากล และก่อให้เกิดรายได้กลับมาสู่ผู้ผลิตในประเทศ การอบรมอาสาสมัครบริการวิชาการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจและใฝ่รู้เรื่องผ้าไทย ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และได้ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ให้กับเราด้วย”


วิทวัส เกตุใหม่ เจ้าหน้าที่กิจกรรม “อาสาสมัครบริการวิชาการ” กล่าวว่า “กิจกรรมนี้ให้ประโยชน์กับผู้ร่วมอบรม นอกจากการเรียนรู้พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ผ้าไทย และการทำงานของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การจัดทำข้อมูลของแต่ละนิทรรศการแล้ว ยังได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในงานด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เข้ารับการอบรมมีตั้งแต่ วิศวกร นักบัญชี นักศึกษา ฯลฯ แต่ก็สามารถนำชม และให้รายละเอียดในห้องจัดแสดงเบื้องต้นได้ โดยผ่านการอบรมเพียง ๓ สัปดาห์ การจะเป็นเจ้าหน้าที่บริการวิชาการของพิพิธภัณฑ์นำชมได้อย่างสมบูรณ์แบบ ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกฝนและจดจำรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับฉลองพระองค์และวัตถุในห้องจัดแสดง






สำหรับระยะเวลาอบรมทั้งหมด ๔ ครั้ง ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนมีนาคม ครั้งแรกเป็นการปฐมนิเทศ โดย ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อยหัวหน้าโครงการฯ โดยมี วารุณี อาสาฬห์ประกิต บรรยายประวัติของหอรัษฎากรพิพัฒน์ และพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ รวมทั้งการจัดการในพิพิธภัณฑ์ และสุทธิรัตน์ แก้วอาภรณ์ ภัณฑารักษ์ ให้ความรู้ห้องจัดแสดงที่ ๓ ศิลปาชีพ : พระหัตถ์ที่ทรงงานเพื่อแผ่นดิน ครั้งที่ ๒ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับห้องจัดแสดงที่ ๑ ราชพัสตราจากผ้าไทย และห้องจัดแสดงที่ ๒ ไทยพระราชนิยม โดย ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ อลิสา ใสเศวตวารี และ ศาสตรัตน์ มัดดิน ครั้งที่ ๓ เป็นเรื่องของความรู้ทั่วไปเรื่องการจัดแสดงนิทรรศการประเภทผ้า รวมทั้งเรื่องงานอนุรักษ์ และงานทะเบียน ซึ่งถือเป็นแผนกสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ และพาเข้าชมพื้นที่การทำงาน ภายในห้องปฏิบัติการอนุรักษ์ และห้องทะเบียน และครั้งสุดท้าย เป็นการทดสอบความรู้ในการนำชมนิทรรศการภายในห้องจัดแสดง รวมทั้งมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมอาสาสมัครบริการวิชาการ โดย ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ภัณฑารักษ์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิพิธภัณฑ์



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com














มุมมอง 'ศิลป์' ผ่านบ้านดำของ 'ถวัลย์ ดัชนี'


ครั้งนี้มีโอกาสตามทริปของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สในเที่ยวบินปฐมฤกษ์ กรุงเทพ-เชียงราย จึงได้ไปเยือนบ้านของศิลปินคนดัง "บ้านดำ" หรือ "พิพิธภัณฑ์บ้านดำ" บ้านพักของศิลปินแห่งชาติ อ.ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งนำผลงานศิลปะของตัวเองรวมถึงผลงานศิลปะและของสะสมส่วนตัวมาจัดแสดงให้ชมกันอย่างเต็มที ภายใต้เนื้อที่อันกว้างขวางพร้อมจัดตั้งในบ้านกว่า ๔o หลัง


เพียงรถจอดมองไปโดยรอบก็รู้สึกถึงความตื่นเต้น ด้วยมีบ้านพักสีดำศิลปะแบบล้านนาหลังเล็ก หลังใหญ่ เรียงรายกันอยู่โดยรอบในพื้นที่กว้างบนพรมหญ้าสีเขียวผืนใหญ่ จึงเป็นที่มาของคำว่า “บ้านดำ” และยังเป็นสีที่ อ.ถวัลย์ โปรดปราน ในบ้านแต่ละหลังจะประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาควาย เขากวาง และยังมีกระดูกสัตว์ หนังสัตว์ไล่เลียงไปจนถึงสัตว์สตาฟฟ์บางชนิด


ก่อนที่จะได้เข้าไปเดินชมความเป็นตัวตนของศิลปินคนดัง เจ้าหน้าที่เล่าถึงที่มาที่ไปว่า บ้านแต่ล่ะหลังล้วนมีคอนเซ็ปต์ และความน่าสนใจต่างกันออกไปอย่าง บ้านลาว ได้แรงบันดาลใจจาก สุวรรณภูมิ ข้างในก็จะเป็นพวกเครื่องเงิน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์เองตั้งใจที่จะไม่ติดตั้งป้ายชื่อในตอนนี้ เพราะเจ้าของย้ำเสมอว่า ทุกสิ่งอยากให้เป็นปรัชญา อยากให้คนที่มาดูรับรู้ด้วยตัวเอง ทุกอย่างบอกกล่าวได้ด้วยสิ่งของหรืองานศิลป์ที่จัดวางไว้อยู่แล้ว






"อย่างซุ้มหนังสัตว์ก็บอกถึงความเป็นไปของวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้านหน้าก็จะมีเหมือนซากของสัตว์ตายวางไว้ ให้ทุกคนรู้จักปลง ระมัดระวังในการใช้ชีวิต ซึ่งที่นี่คือตัวตนของ อ.ถวัลย์ ดัชนี เห็นได้อย่างชัดเจนผ่านทางงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ของสะสมทั้งหมด โดยผลงานมีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ของสะสมทั้งหมดก็จากทั่วโลก แล้วก็นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เช่น พวกเก้าอี้ที่จะไม่ได้เห็นที่ไหน" เจ้าหน้าที่บ้านดำ กล่าวนำ


เริ่มจาก "วิหารเล็ก" ตั้งต้อนรับทุกคนอยู่ด้านหน้าสุด เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตร โครงสร้างอาคารเป็นไม้ทั้งหมด อยู่บนฐานปูนปั้น มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด ๖ ต้น หลังคาทรงสามเหลี่ยมลดระดับสี่ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ด้านบนประดับด้วยฉัตรบราลี ป้านบน-ด้านล่าง ประดับด้วย หางหงส์และค้ำยัน มีประตูเข้าออกสองด้าน ตรงกัน มีหน้าต่างด้านละสองบาน ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๑ ปี


ในขณะที่มองตรงไปจะเห็น "มหาวิหาร" เพียงสังเกตซุ้มประตูบานใหญ่ด้านหน้า เป็นไม้สักและแกะสลักอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นการออกแบบโดย อ.ถวัลย์ และให้ช่างฝีมือมาแกะเพื่อรักษาคุณค่าของผลงานไว้เพื่อคนรุ่นหลัง ซึ่งมหาวิหารลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดใหญ่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ ๒.๘o เมตร บนฐานก่ออิฐถือปูน โครงสร้างอาคารเป็นไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร และฐานของเสาแต่ละต้น มีประตูขนาดใหญ่ ใช้เวลาสร้าง ๗ ปี เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดงานแสดงถาวร ทัศนศิลป์ทุกสาขา ของ อ.ถวัลย์ ดัชนี งานแสดงหมุนเวียนของศิลปิน ทั้งในและนอกประเทศ ประชุมสัมมนาทางศิลปะสุนทรียศาสตร์ ปรัชญา ตลอดจนกิจกรรมทางศิลปะ






และเมื่อมองตรงออกไปอีกจะเห็น "วิหารราม" ที่มีประตูตรงกับ "มหาวิหาร" ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดิน โครงสร้างอาคารเป็นไม้บนฐานปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยม มีประตูขนาดใหญ่สองด้าน ตรงกัน แรงบันดาลใจจาก ความงามบริสุทธิ์ของไม้ขนาดใหญ่ ตั้งแต่เสา ฝา เครื่องบน ม้าต่างไหม กวีของไม้


พร้อมกันนี้ยังมี เรือนหลังข้าว, บ้านยุ้งข้าว, สุขากระบวนลุงแสง, เรือนเชียงทองทาทาบรุ้ง, บ้านสามเหลี่ยม หรือ ไตรภูมิ และที่น่าสนใจด้วยเป็นสถาปัตยกรรมคล้ายอูบหลายหลังสร้างเรียงไว้ใกล้ ๆ กัน มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดมฐานกลมมีลักษณะคล้ายเจดีย์ โครงสร้างอาคารเป็นปูนทั้งหมด มีประตูเข้าทางด้านหน้า-หลังทำจากเหล็กบนยอดติดฉัตร ด้านในจะเป็นเก้าอี้ที่สร้างจากโครงของกระดูกสัตว์และเขาควาย


สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาชมศิลปะและผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี อยากจะบอกว่าขอให้จัดสรรเวลาให้พอสมควร เพราะผลงานแต่ละชิ้น สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่าง หรือแม้กระทั่งก้อนหินที่จัดเรียงไว้ ทุกอย่างบ่งบอกถึงความเป็นศิลปินของเจ้าของบ้านหลังนี้จริงๆ ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เปิดให้เข้าเยี่ยมชมทุกวัน ในเวลา ๙.oo-๑๒.oo น. และ ๑๓.oo-๑๗.oo น.



ภาพและข้อมูลจากเวบ
komchadluek.net














มิวเซียมสยามจัดกิจกรรม 'มองใหม่ด้วยไหม' จับ 'ไหม' มาใส่ในอาหาร


หลังจากที่มิวเซียมสยามได้เปิดตัวนิทรรศการชั่วคราว “มองใหม่ ด้ายไหม” ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้รู้จัก “ไหม” ในแง่มุมต่าง ๆ มากขึ้น พร้อมสร้างความประหลาดใจเมื่อรู้ว่ารอบ ๆ ตัวเรามีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไหมอยู่มากมายแต่เราไม่เคยรู้มาก่อน โดยนอกเหนือจากการทำเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้ว “เส้นไหม” ยังใช้ทำผ้าปิดแผล เสื้อเกราะกันกระสุน ส่วน “น้ำต้มรังไหม” สามารถนำมาทำคอนแทคเลนส์ ผสมในเครื่องสำอาง หรือสกัดเป็นผงผสมในอาหารเพื่อเพิ่มโปรตีนและเสริมรสชาติของอาหาร


ล่าสุด มิวเซียมสยาม ได้จัดกิจกรรมทำอาหารกับ "เชฟบุ๊ค" บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต พิธีกรรายการ ฟู้ดเวิร์ค (Foodwork) โดยในครั้งนี้นำ “ผงไหม” และ “ดักแด้ไหม” มาเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน ตั้งชื่อเก๋ไก๋ว่า “เมนูอวกาศ” ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ร้าน “โคคูน คาเฟ่” ภายในบริเวณจัดนิทรรศการ “มองใหม่ ด้ายไหม”






"เชฟบุ๊ค" บุญสมิทธิ์ เผยถึงเมนูอวกาศ ที่ภาคภูมิใจเสนอเป็นจานแรกคือ “คุกกี้อวกาศ” ซึ่งมาจากการที่นักบินอวกาศในหลายประเทศนิยมรับประทานคุกกี้ผสมผงไหม หรือดักแด้ไหม เพราะให้โปรตีนสูง อีกทั้งสะดวกในการบริโภคมากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น โดยมีโครงการทดลองเลี้ยงไหมบนดาวอังคารเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารในอนาคตของชาวโลกอีกด้วย


"ขั้นตอนการทำคุกกี้อวกาศง่ายและรวดเร็ว แม้แต่เด็กๆ ก็ทำได้ เริ่มจากการละลายช็อกโกแลตแบบก้อนในเตาไมโครเวฟด้วยอุณหภูมิประมาณ ๔oo-๖oo องศา เป็นเวลา ๑ นาที ใส่ส่วนผสมตามชอบ เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ คอร์นเฟลก และปิดท้ายด้วย “ผงไหม” หากใครชอบหวาน ก็ใส่น้ำเชื่อมลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากัน ปล่อยไว้ประมาณ ๕ -๑o นาที คุกกี้ก็แข็งตัวพร้อมรับประทานได้แล้ว หรือจะเติมลูกเล่นด้วยการนำ “ดักแด้” จุ่มช็อกโกแลตแล้วนำไปแต่งบนคุกกี้ เพิ่มความน่ารับประทาน" เชฟบุ๊คเผยขั้นตอนความอร่อย






นอกจากนี้ เชฟหนุ่มรายเดิม ยังปรุง “น้ำพริกดักแด้ไหม” โดยส่วนผสมเหมือนน้ำพริกหนุ่ม มีพริกชี้ฟ้า กระเทียม และหอมแดงย่างไฟพอหอม โขลกให้เข้ากันแล้วผสมดักแด้ไหมปิดท้าย เท่านี้ก็พร้อมรับประทานกับผักจิ้มที่ใช้เทคนิคการหั่นผักเป็นแท่งและจัดลงในแก้วน้ำ ทำให้ดูแปลกตาไปอีกแบบ



ภาพและข้อมูลจากเวบ
komchadluek.net














นิทรรศการ "เอส โค้ด" จิตรกรรมนามธรรม



ถอดรหัสลับกับสื่อสังคมออนไลน์ในนิทรรศการศิลปะ S Code ก้อย อาร์ต แกเลอรี นำเสนอนิทรรศการ “S Code” ผลงานจิตรกรรมนามธรรม โดย ศราวุธ ยาสมุทร ศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงที่พกดีกรีปริญญาโทด้านจิตรกรรมจากศิลปากร มาโชว์ผลงานเดี่ยวชุดล่าสุด ที่มาเปิดเปลือยสังคมออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑






“S Code” การแสดงผลงานเดี่ยวชุดล่าสุดของ ศราวุธ ยาสมุทร ที่ตั้งใจสะท้อนวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่จดจ่อกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสังคมออนไลน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ ว็อทแอ็พพ์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากไม่ได้ช่วยพัฒนาด้านขบวนการความคิด การโต้ตอบ และการจัดการข้อมูล ยังทำให้เกิดการลุ่มหลงมัวเมาไปกับจังหวะและความรวดเร็วของการสื่อสารจนปราศจากการไตร่ตรองถึงความจำเป็นในการเชื่อมโยงกับสังคมออนไลน์ตลอดเวลา โดยศิลปินพยายามนำรูปแบบและเทคนิคการวาดภาพมาสะท้อนสังคมยุคดิจิตัล รวมถึงการใช้ภาพวาดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การแสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลผ่านโลกออนไลน์กับเพียงไม่กี่คลิก






ศิลปินยังโชว์ความสามารถในการสร้างโค้ดหรือรหัสในภาพวาด ซึ่งผู้ชมที่ใช้ระบบแบล็คเบอรี่ (Blackberry) หรือ แอนดรอยด์ (Android) สามารถเชื่อมต่อลิงค์ไดโดยการสแกนบาร์โค้ด การพยายามค้นหา S Code ที่แฝงในภาพวาด นอกจากจะเติมเต็มความน่าสนใจให้กับภาพวาดแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ชมหันมานิยมชมชอบงานศิลป์ควบคู่ไปกับการเสพสื่อออนไลน์ไปในขณะเดียวกัน







ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com














นิทรรศการโลกศิลปะของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี : ก่อนเวลาลับหาย

นิทรรศการศิลปะครั้งที่ ๗ "โลกศิลปะของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี

WORLD HORIZON OF SUCHART SAWASDSRI : ก่อนเวลาลับหาย

IN SEARCH OF LOST MEMORIES" ผลงานจิตรกรรม และหนังทดลอง โดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒๘ เมษายน – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗

และจะมีพิธีเปิดในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.oo น.

ณ G23 Art Gallery ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร



กิจกรรมภายในงาน


เล่าความจำ โดย อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร WAY
เล่าความคิด โดย สิทธิธรรม โรหิตะสุข ภัณฑารักษ์ประจำงาน
กิจกรรมทางศิลปะ - วรรณกรรม – ภาพยนตร์ – ปาฐกถา

๓๑ พฤษภาคม : ๑๓.oo น.- ๑๖.oo น.ปาฐกถาเมื่อนักเขียนวาดรูป โดยสุชาติ สวัสดิ์ศรี

๒๑ มิถุนายน: ๑๓.oo น.- ๑๘.oo น. ชุมนุมช่างวรรณกรรมประจำปี ๒๕๕๗

สังสรรค์สนทนา จากเพื่อนพ้องแห่งวันวาร ถึงเพื่อนพ้องแห่งวันนี้อ่านบทกวี ฉายหนังทดลอง เปิดตัวหนังสือรับอายุ ๖๙ ปีของศิลปิน

๒๖ กรกฎาคม : ๑๓.oo น.- ๑๖.oo น. ปาฐกถา มองโลกศิลปะของสุชาติ สวัสดิ์ศรี โดย ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ : คุณจีรวัฒน์ วิทยากรณ์
นักประชาสัมพันธ์ สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com
เฟซบุคนิทรรศการ














“เรือประมง” (fishing boat)


นิทรรศการ : “เรือประมง” (fishing boat)
ศิลปิน : ศิลปชัย ชูจันทร์ (Sinlapachai Chuchan)
ลักษณะงาน : จิตรกรรม
ระยะเวลาที่จัดแสดง : ๒๕ เมษายน – ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗
ห้องนิทรรศการ : ห้องนิทรรศการชั้น ๒ หอศิลป์จามจุรี
ติดต่อศิลปิน : o๘๙-o๒๕-๓๘๙๓


แนวความคิด

ต้องการสะท้อนวิถีชีวิตชาวประมงที่ต้องดิ้นรน กับปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ผ่านมุมมองเรือประมง อุปกรณ์ในการดำรงชีพ เพื่อแสดงบรรยากาศ ความเงียบ เหงา ผ่านเทคนิควิธีการแบบแต้มน้ำสี เพื่อสร้างร่องรอยและน้ำหนัก



ภาพและข้อมูลจากเวบ
chamchuriartgallery.blogspot.com














“Pop-Up Gallery”



“Pop-Up Gallery” เปิดตัวสตูดิโอสถานที่จัดโชว์ผลงานศิลปะคุณภาพระดับพรีเมี่ยม


ทั้งศิลปะรูปปั้นและภาพเขียน ซึ่งขณะนี้กำลังแสดงผลงานของศิลปินนักเดินทางชาวเบลเยี่ยม คริสเตียน ดีเวลเตอร์


เปิดบริการทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา ๑๔.oo-๑๘.๓o น. วันนี้ถึง ๓o พ.ค.


ที่ “ดิ โอเรียนเต็ล อาร์เขต” โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ


สอบถามโทร. o๒-๖๕๙-๙ooo



ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com














"Young Thai Contemporary Emerging”


Gallery D-9 ขอเชิญผู้สนใจศิลปะร่วมสมัยร่วมชมงานนิทรรศการของกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจและ ถูกจับตามอง จากวงการศิลปะภายนอกประเทศโดยเฉพาะภูมิภาค South East Asia ขณะนี้


พัฒน ชื่นมะนา จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากรในปี ๒oo๕ และหันเหความสนใจมาสู่การถ่ายภาพบุคคลมาตลอด ระยะเวลาหลายปี ในช่วงหลังพัฒนได้ปรับเปลี่ยนแง่มุมในการนำเสนอภาพบุคคลของตนมาสู่ภาพของวัตถุต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอด ผ่านการตีความในแง่มุมทางสุนทรียะอันขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ปรากฏ ผลงานชุดนี้ถูกจัดแสดงครั้งแรกในช่วงสิ้นปี ๒o๑๓ และ ถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน และกำลังจะถูกจัดแสดงอีกครั้งในประเทศสิงคโปร์ในปี ๒o๑๔


นิทรรศการ Young Thai Contemporary Emerging โดย พัฒน ชื่นมะนา จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓ - ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ. Gallery D-9 เลขที่ ๑o๘๕/๕ ถนนนครชัยศรี เขตดุสิตกรุงเทพ ๑o๓oo
เชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ใน วันจันทร์ – เสาร์ เวลา ๑o.oo – ๑๙.oo น. (เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ korakot.d9@gmail.com หรือ กรกฎ โทร :o๘๙ -๖๑๖-๖๘๖๘



ภาพและข้อมูลจากเวบ
fineart-magazine.com














"ART from ART THEORY”


ศิลป์จากทฤษฎีศิลป์ คือนิทรรศการนำเสนอผลงานของนักศึกษาจากภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาตรีและโท จำนวนกว่า ๒o คน


ผลงานของเขามีทั้งงานทฤษฎีที่เขียนวิเคราะห์ศิลปะ, ตัวงานศิลปะทั้งแบบ ๒ มิติ, ๓ มิติ, วิดีโอ, ภาพถ่ายและศิลปะสื่อแสดงสด (performance)


ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีเปิด ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.oo น. (งานนิทรรศการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีรำลึกวันคล้ายวันเสียชีวิตของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)


นิทรรศการ : ศิลป์จากทฤษฎีศิลป์ (ART from ART THEORY)
ศิลปิน : นักศึกษาจากภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาตรีและโท จำนวนกว่า ๒o คน
วันที่ : ๖ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗
สถานที่ : PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : o๒-๒๒๑-o๕๒o, o๒-๒๒๕-๘๙๙๑



ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com














"THE OTHER ROOM : Exploring The Other’s Life”


THE OTHER ROOM : Exploring The Other’s Life คือนิทรรศการงานศิลป์แบบผสมสผานในรูปแบบ site specific ตามห้องต่าง ๆ ซึ่งรังสรรค์โดยศิลปินมืออาชีพไฟแรงกว่า ๒๖ ชีวิต


อาทิ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ บุญใหญ่ ,NONCITIZEN, ฐิตวินน์ คำเจริญ, วิชย อาตมาท, วิทุรา อมระนันท์, ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์, คานธี วสุวิชยกิจ, สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล, สุรชัย เพชรแสงโรจน์, นิกร แซ่ตั้ง, พีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข, จุฬญานนท์ ศิริผล, รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค และศิลปินท่านอื่น ๆ จากศิลปะหลากหลายแขนง เช่น theater , dance , film &motion graphic ,sound design ,fine art และ stand-up comedy


ด้วยแนวคิด “จากตึกร้างสู่พื้นที่ ๆ ทุกคนจะสามารถดื่มด่ำ”


สัมผัสประสบการณ์ทดลองเชิงศิลปะ พร้อมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ประสบการณ์ และความชื่นชอบงานศิลปะไปกับ THE OTHER ROOM : Exploring The Other’s Life งานปาร์ตี้ศิลปะ ครั้งที่ ๑ ภายใต้ชื่อ “โรงมหรสพ ทองหล่อ”


ระหว่างวันที่ ๒ - ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๒o.oo น.- oo.oo น.


ณ โรงมหรสพ ทองหล่อ (ตึกเกสท์เฮ้าส์ร้างกลางทองหล่อ 5 ชั้น ต้นซอยทองหล่อ)


##ค่าเข้าชมการแสดง ๔๕o บาทต่อคน



ภาพและข้อมูลจากเวบ
manager.co.th














"จากภาพลายเส้นเจ้าแกละกับเพื่อน ถึงภาพถ่ายศิลปะเปลือยความคิดทางการเมือง”


“แนวความคิดสันติธรรมและประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ของท่านอาจารย์ปรีดี -ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ คือจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์งานศิลปะของฉัน”


สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย บอกกล่าวไว้ภายในนิทรรศการ “จากภาพลายเส้นเจ้าแกละกับเพื่อน ถึงภาพถ่ายศิลปะเปลือยความคิดทางการเมือง”





นิทรรศการแสดงเดี่ยวศิลปะครั้งที่ ๑o ของตนเอง ซึ่งจัดโดย ฝ่ายศิลปกรรม สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับ มูลนิธิไชยวนา (ครูองุ่น มาลิก) ภายในนิทรรศการมีผลงานศิลปะภาพลายเส้นและภาพถ่ายจำนวนมากกว่า ๒oo ชิ้น มาจัดแสดงให้ชมบริเวณโถงนิทรรศการ (เชื่อมต่อกับสะพาน) และห้องกระจกซ้าย-ขวา โดยภาพลายเส้นของเจ้าแกละกับเพื่อนจำนวนมากและในหลากหลายอิริยาบถ รอต้อนรับผู้ชมอยู่ บริเวณโถงนิทรรศการ (เชื่อมต่อกับสะพาน)






ขณะที่ห้องกระจกซ้าย-ขวา เป็นส่วนของการจัดแสดงผลงานภาพถ่ายและแนวความคิดสันติธรรมและประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ของศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี -ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ รวมถึงภาพลายเส้นส่วนหนึ่งของสินธุ์สวัสดิ์ที่สื่อแทนความหมายของคำว่า “สันติธรรม”






เจ้าแกละคือใคร?


เจ้าแกละคือใคร? หลายคนอาจตั้งคำถาม... ภาพลายเส้นของเจ้าแกละได้ถือกำเนิดมานานแล้ว ก่อนที่สินธุ์สวัสดิ์จะหันมาสนใจการเมือง กระทั่งในเวลาต่อมาสินธุ์สวัสดิ์ ได้ใช้เจ้าแกละแทนตัวเองและตัวแทนคนไทยคนหนึ่งผู้ผ่านการรู้เห็นเหตุการณ์ทางการเมืองมาหลายช่วงเวลา รวมถึงปัจจุบัน


นิทรรศการส่วนแรกนี้จึงเป็นเสมือนการให้ข้อมูลกับผู้ชมว่า แต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองที่ศิลปินรับรู้มา เกิดอะไรขึ้นบ้าง


“ในวัยรุ่งอรุณแห่งชีวิต พ.ศ. ๒๕o๒ ซินแสเนี้ยวได้เล่าเรื่อง ซำเหมาพเนจร การ์ตูนที่เขียนโดยจางเล่อผิง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์จีนรายวัน เริ่มจำหน่ายที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ก่อน พ.ศ. ๒๔๙๒ ให้ฉันฟัง แม้เวลานั้นจะไม่เคยเห็นภาพตัวการ์ตูนซำเหมา แต่เกิดความประทับใจตามประสาเด็กที่ฟังเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่






พ.ศ. ๒๕๑o-๒๕๑๒ ฉันได้ดูภาพยนตร์จีนกำลังภายในเรื่อง THE ASSASSIN 1967 และเรื่อง HAVE SWORD WILL TRAVEL 1969 ตามลำดับ ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องมีอิทธิพลทางความรู้สึกนึกคิดของฉันซึ่งกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น


ฉันได้เริ่มขีดเขียนภาพวาดลายเส้นเด็กไว้ผมจุก โก๊ะ แกละ โดยผสมผสานเข้ากับจินตนาการ และเมื่อได้เรียนรู้เรื่องราวทางสังคมการเมือง ก่อนเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นั่นทำให้ฉันกำหนดเส้นทางชีวิตของเจ้าแกละชัดเจนยิ่งขึ้น


เรื่องราวของเจ้าแกละตลอดการเดินทางอันยาวนาน เป็นเรื่องราวของความรักความปรารถนาดีที่ต้องการให้มนุษย์ทุกชนเท่าเผ่าพันธุ์ มีความรัก ความเห็นอกเห็นใจต่อกัน






สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้เลย หากภายในจิตใจของผู้คนในสังคมยังขาดสันติภาพ ภราดรภาพ หรือความรักอันไพศาลต่อมวลมนุษย์ชาติ นี่เป็นสิ่งที่ฉันตระหนักและเห็นคุณค่าอันไพศาลจากแนวความคิดสันติธรรมและประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เชื่อมั่นและศรัทธาต่อแนวความคิดนี้


เจ้าแกละจึงหมายถึงตัวตนของผู้เขียนภาพลายเส้น ขณะเดียวกันมองจากบริบททางสังคม เจ้าแกละเปรียบเสมือนตัวแทนคนไทย ในมุมมองของผู้เขียนอีกด้วย”






ภาพถ่ายเปลือยความคิด "สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย"


ขณะที่ความคิดเกี่ยวกับการเมืองของศิลปินถูกนำเสนอผ่านภาพถ่ายพอร์เทรตที่ศิลปินใช้ตนเองเป็นแบบ และมี ยุทธนา จังอินทร์,นงลักษณ์ บัทเลอร์,สายฟ้า ตันธนา และชัยวัฒน์ คำดี ทำหน้าที่ช่างภาพและฝ่ายเทคนิค ภาพถ่ายทุกภาพมีข้อความกำกับไว้ใต้ภาพและดูเหมือนจะมีความสำคัญไม่แพ้ภาพถ่าย เป็นต้นว่า “ประชาชนเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งให้ผู้มีอำนาจใช้เป็นพาหนะไปสู่จุดหมาย เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวก”






ศิลปินต้องการให้ภาพถ่ายและข้อความดึงให้ผู้ชมสนใจและลองหยุดคิดสักนิดเกี่ยวกับการเมือง


“คนเราแรกเกิดมาจากครรภ์มารดา ไม่ได้สวมใส่อาภรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น มาห่อหุ้มปกปิดและปรุงแต่งร่างกาย การถอดเสื้อให้เห็นเนื้อหนังจริงที่ยังมีชีวิต ยังมีลมหายใจ เปรียบเสมือนการเปลือยความคิดบริสุทธิ์ เปลือยความจริงใจ ไม่มีเล่ห์กลเคลือบแฝงใด ๆ เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงออกในระบอบประชาธิปไตย ผ่านศิลปะเรือนร่างที่มีสิ่งของประกอบ เพื่อต้องการให้ผู้พบเห็นหยุดคิดตรึกตรองพิจารณา กล่าวให้ถึงที่สุดคือเพื่อให้เกิดปัญญา”






นิทรรศการ “จากภาพลายเส้นเจ้าแกละกับเพื่อน ถึงภาพถ่ายศิลปะเปลือยความคิดทางการเมือง” วันนี้ - ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) กรุงเทพฯ โทร.o-๒๓๘๑-๓๘๖o-๑


เชิญไปชม และรับฟัง ผลงานและความคิดของศิลปินไทยคนหนึ่ง...คนไทยคนหนึ่ง


##ขอเชิญร่วมงาน "ขับขานศิลป์" การแสดงสด-บรรเลงดนตรี-อ่านบทกวี-สนทนาประสามิ่งมิตร วันเสาร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ​๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo - ๒o.oo น.ณ ลานน้ำพุ สถาบันปรีดี พนมยงค์


ส่่วนหนึ่งของนิทรรศการศิลปะแสดงเดี่ยว ชุดที่ ๑o ของ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย (ร่วมงานฟรี)







ภาพและข้อมูลจากเวบ
manager.co.th














"Burma: The Quiet Violence”


ศิลปิน : Myint Swe

ภัณฑารักษ์ : Shireen Naziree

นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗

สถานที่ : Thavibu Gallery

เริ่มเปิดแสดงวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๑๗.oo น.

เปิดให้ชมวันจันทร์ถึงเสาร์ ๑๑.oo – ๑๙.oo











ภาพและข้อมูลจากเวบ
portfolios.net




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




Create Date : 26 เมษายน 2557
Last Update : 26 เมษายน 2557 23:05:36 น. 0 comments
Counter : 4523 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.