ซื้อเรือเหาะ 350 ล้าน ปราบโจรใต้!
เรือเหาะ 350 ล้าน บินตรวจการณ์ 3 จว.ใต้
ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณกลางปี 2552 รายการกรณีฉุกเฉินและจำเป็นตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) เสนอจำนวน 350 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดหาระบบเรือเหาะ พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อเก็บไว้ใช้กิจการของ กอ.รมน. เนื่องจากยังขาดยุทโธปกรณ์ตรวจการณ์อากาศเพื่อปรับกลยุทธ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับระบบเรือเหาะดังกล่าว คือ เรือบอลลูนใช้สำหรับตรวจการณ์บนอากาศ โดยจัดซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา - ซึ่งเฉพาะตัวเรือบอลลูนมีราคา 260 ล้านบาท - ตัวกล้องส่องกลางวัน/กลางคืนรวม 2 ตัวราคา 70 ล้านบาท - ส่วนงบฯที่เหลืออีก 20 ล้านใช้สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น ซึ่งรวมเป็นระบบเรือเหาะ 1 ชุด
ส่วนสมรรถนะการลอยหรือบินอยู่ในอากาศ จะสามารถบินได้สูงพ้นรัศมี ทำการของปืนเอ็ม 16 อย่างแน่นอน และบินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไรก็ตาม เรือเหาะดังกล่าวหลายฝ่ายยังกังวลว่าจะสามารถใช้งานได้เหมาะสมกับพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือไม่
//www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=127129
วิจารณ์แซ่ดรัฐทุ่ม 350 ล้านซื้อเรือเหาะติดกล้อง สู้กลุ่มป่วนใต้! วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2009 10:18น. ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ภาพ "เรือเหาะตรวจการณ์" หรือ "บอลลูนติดกล้อง" ที่ค้นพบในเว็บไซต์ ซึ่งอาจมีรูปแบบคล้ายคลึงกับ "ระบบเรือเหาะ" ที่ กอ.รมน.กำลังเตรียมจัดซื้อ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 10 มี.ค.2552 ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 350 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดหา ระบบเรือเหาะ พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อใช้ในกิจการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในภารกิจตรวจการณ์ทางอากาศ อันเป็นหนึ่งในยุทธการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อ เป็นงบประมาณกลางปี 2552 ตามการเสนอของ กอ.รมน.โดยให้เหตุผลต่อ ครม.ว่า กอ.รมน.ยังขาดยุทโธปกรณ์ตรวจการณ์อากาศเพื่อปรับกลยุทธ์ให้ทันต่อการแก้ไข สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่
สำหรับระบบเรือเหาะดังกล่าวนี้ จะเป็น เรือบอลลูน ขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตรวจการณ์บนอากาศ โดยจัดซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา เฉพาะตัวเรือบอลลูนมีราคา 260 ล้านบาท กล้องส่องกลางวันและกลางคืนรวม 2 ตัว ราคา 70 ล้านบาท ส่วนอีก 20 ล้านบาท ใช้สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น ซึ่งทั้งหมดจะรวมเป็นระบบเรือเหาะ 1 ชุด
พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กล่าวตอนหนึ่งในรายการ ลับ ลวง พราง เรดิโอ ทางสถานีวิทยุคลื่นเอฟเอ็ม 100.5 เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าการจัดซื้อเรือเหาะก็เพื่อตอบสนองงานด้านยุทธการในการแก้ไข ปัญหาความไม่สงบ โดยบอลลูนหรือเรือเหาะดังกล่าว จะติดตั้งกล้องอินฟาเรดไว้ที่ตัวบอลลูน สามารถตรวจการณ์ระยะไกลได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
ผู้ดำเนินรายการถามว่า การใช้บอลลูนหรือเรือเหาะบินตรวจการณ์ จะกลายเป็นเป้าให้กลุ่มก่อความไม่สงบดักยิงทำลายหรือไม่ พ.อ.ปริญญา ตอบว่า ไม่มีความเสี่ยงในประเด็นนี้ เนื่องจากเรือเหาะจะลอยสูงกว่าระยะยิงของกลุ่มผู้ไม่หวังดี
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการใช้กำลังในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การใช้บอลลูนหรือเรือเหาะติดกล้อง เป็นไปตามยุทธการป้องปรามการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยงบประมาณที่ใช้ 350 ล้านบาทนั้น สามารถจัดซื้อเรือเหาะได้ 1 ชุด อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่า การทุ่มงบประมาณจำนวนดังกล่าวมีความคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด
อนึ่ง เมื่อข่าวการอนุมัติงบประมาณถึง 350 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อ เรือเหาะ หรือ เรือบอลลูนติดกล้อง เผยแพร่ออกไป ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากหลายฝ่ายถึงความเหมาะสมและประสิทธิผลของโครงการนี้
แหล่งข่าวระดับสูงจากกองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งข้อสังเกตว่า แผนยุทธการที่ใช้เรือเหาะเป็นเครื่องมือตรวจการณ์นั้น เหมาะกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จริงหรือไม่ เพราะเป็นสงครามในลักษณะก่อการร้ายที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ในหมู่ บ้าน ชุมชน ปะปนกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้จัดตั้งเป็นกองกำลังที่มีฐานปฏิบัติการชัดเจนเพื่อต่อสู้กับเจ้า หน้าที่รัฐ
เวลานี้เดินสวนกันในตลาดยังไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนร้าย แล้วการใช้เรือเหาะขึ้นไปถ่ายภาพจะมีประโยชน์อะไร แหล่งข่าวตั้งคำถาม
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า ฝ่ายความมั่นคงโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงมาตลอดว่าสถิติการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ลดลง และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจ ประกอบกับเพิ่งทุ่มกำลังพลกว่า 6,000 นาย เข้าไปปฏิบัติการในหมู่บ้านสีแดงจำนวน 217 หมู่บ้านทั่วทั้งสามจังหวัด ในโครงการ "หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข" หรือ "หมู่บ้าน 3 ส." ตามยุทธศาสตร์เอาชนะที่หมู่บ้าน จึงเกิดคำถามถึงความจำเป็นของการจัดซื้อเรือเหาะเพื่อเอ็กซเรย์พื้นที่ เนื่องจากมีกำลังทหารอยู่ในหมู่บ้านสีแดงทุกแห่งแล้ว
ขณะที่แหล่งข่าวในวงการผลิตอาวุธ กล่าวว่า เทคโนโลยีเรือเหาะตรวจการณ์ใช้มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงไม่แน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพเท่าทันกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันหรือไม่
ยุทธการของกลุ่มก่อความไม่สงบจะใช้วิธีก่อการร้ายในเมือง จึงไม่ทราบว่าการใช้เรือเหาะจะป้องกันการก่อเหตุรุนแรงได้ตรงไหน หรือหากจะอ้างว่าใช้เพื่อป้องปรามการรวมตัวกันของบรรดาแนวร่วม หรือค้นหาแหล่งฝึก ก็ยังมีคำถามเรื่องประสิทธิผลของเรือเหาะอยู่ดี เพราะจุดเด่นของกลุ่มก่อความไม่สงบคือเคลื่อนที่เร็ว หากเราจับภาพการรวมตัวประชุมกันของบรรดาแนวร่วมได้ เราจะไล่จับเขาทันหรือไม่ เพราะเขาอาจรู้ตัวก่อน เนื่องจากเรือเหาะมีขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายมากโดยเฉพาะในเวลากลางวัน
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวในวงการผลิตอาวุธรายนี้ ชี้ว่า ประสิทธิภาพของเรือเหาะขึ้นอยู่กับกล้องที่ติดตั้งบนบอลลูน และระบบสื่อสารกับภาคพื้นดิน ซึ่งคุณภาพของกล้องเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสิน ใจจัดซื้อ
ผมว่างบประมาณมันสูงมาก น่าจะนำมาใช้ซ่อมหรืออัพเกรดเฮลิคอปเตอร์ของหน่วยงานความมั่นคงให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นจะดีกว่า ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ก็มีศักยภาพทั้งการตรวจการณ์และไล่ล่า น่าจะเหมาะสมกว่าจัดซื้อเรือเหาะบอลลูน แหล่งข่าว ระบุ
www.isranews.org/cms/index2.php?option=com_content&do_pdf=1&id=4501
เป็นข่าวดังทีเดียวครับเรื่องนี้
ผมว่าเขาไอเดียดี แต่ผมว่าน่าจะหาอะไรที่ดีกว่านี้น่ะครับ
อย่าไปฟังนักข่าวในข่าวที่สองเขียนครับว่าเรือเหาะเป็นเทคโนโลยีตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วมันจะล้าสมัยอะไรนั่น เป็นข้อมูลที่พูดความจริงแค่ครึ่งเดียวโดยเจตนาเล็งเห็นผลในการ ดิสเครดิตเท่านั้นครับ เรือเหาะ มีใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 และก็ยังมีใช้อยู่ในทุกวันนี้ในหลายประเทศ กองทัพสหรัฐก็ใช้เรือเหาะในการติดตามกลุ่มผู้ก่อการร้ายในอิรักและอัฟกันนิสถานอยู่ทุกวันนี้ครับ
Aerostat used in Afganistan
ข้อดีของเรือเหาะไร้คนขับแบบนี้คือ .... มันประหยัดดีครับ ลอยเอื่อย ๆ ได้นาน ๆ โอกาสตกน้อยกว่าพวกที่ใช้ใบพัดหรือไอพ่น เนื่องจากมันมีคุณสมบัติที่ทำให้มันลอยได้อยู่แล้ว เรือเหาะในปัจจุบันนี้จะใช้ในการรวบรวมข่าวกรอง และติดตามสังเกตุการณ์ได้ในเวลานาน ๆ และบินได้นานกว่า UAV หรืออากาศยานไร้คนขับค่อนข้างมาก พวกนี้เขาจะมีกล้องทั้งกล้องถ่ายภาพกลางวันและกล้องอินฟาเรดถ่ายภาพกลางคืน แล้วส่งเข้าสู่สถานีภาคพื้นดินได้เลยครับ
อีกอย่าง ด้วยความสูงเป็นหมื่น ๆ ฟุต ปืน M16 อาก้า และเผลอ ๆ จรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่าก็ไม่น่าจะยิงโดนครับเพราะการแผ่รังสีความร้อนต่ำจนไม่น่าจะตรวจจับได้จากระบบตรวจจับของตัวจรวด ถ้าพูดว่า RPG ยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่ครับว่าจะยิงโดนเนื่องจาก RPG ก็ไม่ใช่ระบบนำวิถี ดังนั้นน่าจะเลิกคิดได้เลยครับเพราะไม่มีทางยิงโดนแน่นอน
อีกทั้งงานด้านการติดตาม ถ่ายภาพทางอากาศแบบนี้ ไม่ใช่ว่าจะต้องให้โจรมายืนยิ้มยิงฟันขาวให้ดู หรือว่าจะต้องเขียนป้ายห้อยคอว่า ฉันคือโจรใต้นะจ๊ะ ไม่ใช่แบบนั้นครับ
ลองไปดูรายงานการปฏิบัติการของกองทัพอากาศ ซึ่งวางกำลังอากาศยานที่ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนใต้ในนามกองกำลังเฉพาะกิจที่ 9 ส่วนมากหน่วยที่ร้องขอเที่ยวบินมาจะร้องขอเที่ยวบินในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนครับ และภารกิจถ่ายภาพหรือสังเกตุการณ์ ก็เป็นภารกิจที่ถูกร้องขอให้ทำมากที่สุดของกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ 9 ของกองทัพอากาศครับ ปี 51 ทอ. ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางคืนโดยใช้กล้องอินฟาเรด (FLIR) จำนวน 77 เที่ยวบิน คิดเป็น 126.7 ชั่วโมงบิน ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางวันโดยใช้กล้องดิจิตอลจำนวน 33 เที่ยวบิน คิดเป็น 48.6 ชั่วโมงบินครับ
//www.rtaf.mi.th/rtafgovdev/การพัฒนาระบบราชการ%20ทอ.ปี%2051/รายงานผลการปฏิบัติรอบ%2012%20เดือน/มิติที่%201/ตัวชี้วัดที่%203.5%20ร้อยละของการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนชายแดนใต้.pdf
ไม่จำเป็นว่าใครจะต้องยืนยิ้มฟันขาวให้ครับ เรื่องนี้มันมีงานให้ได้ใช้แน่นอน ความเห็นส่วนตัวผมที่โพสตั้งแต่ต้นจึงคิดว่า ไอเดียเขาดีเรื่องหาบอลลูนมาใช้ และมันก็อาจจะเหมาะสมก็ได้เอาเข้าจริงเพระผมก็ยังไม่ทราบถึงรุ่นของเรือเหาะที่จัดหามา แต่ความเห็นส่วนตัวแล้วผมว่าน่าจะมีที่ดีกว่านี้ครับ
สำคญก็คือเราอยากได้มันมาทำภารกิจอะไรครับ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าในภารกิจแบบนี้ ลองไปหาเครื่องบินลาดตระเวนถูก ๆ มาใช้ น่าจะเป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ ยกตัวอย่างเช่น DA42 OPALE ซึ่งมันก็คือเครื่อง DA42 Twin Star เครื่องบินฝึกสองเครื่องยนต์รุ่นใหม่ของทอ. แต่ติดระบบตรวจการณ์ครับ ผมว่าความอ่อนตัวในภาคใต้มันน่าจะมากกว่าการใช้บอลลูนซึ่งก็เป็นยานไร้คนขับแบบหนึ่ง DA42 OPALE ราคาไม่ได้แพงมาก แต่ก็มีระบบตรวจการณ์ที่ทันสมัย ถ้าไม่อยากบินเอง มันก็มีโหมด UAV ให้บังคับจากพื้นดินได้ด้วย อีกทั้งเสียงก็ยังไม่ดังเท่ากับ AU-23A ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ครับ เพราะยังไงก็มีหลายข้อพิสูจน์ครับว่าตาของคนในหลายภารกิจนั้นทำงานได้ดีกว่า UAV มากครับ กองทัพสหรัฐถึงกับเริ่มนำเครื่องบินลาดตระเวนกลับเข้าประจำการอีกครั้งแล้วเพระในบางภารกิจ UAV ตอบสนองงานไม่ได้ครับ เงิน 350 ล้าน น่าจะซื้อได้สัก 3 ลำนะครับจำนวนไม่น่าจะหนีไปไหนมากนัก DA42 ราครไม่แพงมาก ประหยัด ซ่อมง่าย ในเมืองไทยมีคนใช้กันเยอะมาก อะไหล่หาง่ายครับ
DA42 OPLAE
ถ้าไม่อยากได้เครื่องบิน ก็อาจจะไปหา RQ-11 Raven เพิ่มก็ได้ครับ Raven เป็น UAV ขนาดเล็กแบบพกพาที่ใช้คนไม่กี่คนในการปฏิบัติงานครับ ตอนจะบินขึ้นก็ปาขึ้นฟ้าไปแบบร่อนจรวดกระดาษ เงิน 350 ล้าน ซื้อได้ตั้ง 35 ระบบ 1 ระบบมี 3 ลำ เท่ากับ 105 ลำ แจกให้ทหารแบกใส่เป้ไปคนละอำเภอยังไหวเลยครับ ผมว่าน่าจะมีความอ่อนตัวในการทำภารกิจมากกว่าน่ะครับ อีกทั้งภารกิจที่ทำได้น่าจะหลากหลายกว่าด้วย
RQ-11 Raven
อีกอย่าง เรามีบอลลูนที่ทร.พัฒนาเองอยู่แล้วน่ะครับ เป็นโครงการของกองทัพเรือ ชื่ออาภากร ไม่รู้ไปถึงไหนแล้วล่ะครับ แต่ผมว่าถ้าประสิทธิภาพดีก็น่าจะจัดหามาดีกว่าซื้อของนอก
ณ ตรงนี้ผมไม่กล้าพูดไปเลยว่ามันดีหรือไม่ดีครับ ต้องรอเรือเหาะมันพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งครับ ถ้ามันไม่ได้ก็คือการเสียงบประมาณอย่างน่าเจ็บใจ แต่ถ้ามันดีไม่แน่เราอาจจะได้ไอเดียใหม่ในการปฏิบัติการก็ได้ ที่เขียนไปนี่ นอกจากแก้ข้อมูลผิดในข่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นความเห็นหนึ่งแล้วกันครับผม
Create Date : 17 มีนาคม 2552 |
|
14 comments |
Last Update : 17 มีนาคม 2552 8:30:33 น. |
Counter : 3701 Pageviews. |
|
|
|