JAS-39 Gripen: (มติชนอีกแล้ว) แก้ไขความเข้าใจผิดพลาดของข่าว Gripen ในมติชนวันนี้
เจาะ"ซื้อ"กริพเพน เทียบ"ไทย-โรมาเนีย" เงินหลวงสูญ"1.4หมื่นล."?
กองทัพอากาศพยายามจัดซื้อเครื่องบินรบเพื่อทดแทนฝูงบิน เอฟ 5 อี/เอฟ มานานหลายปี และมีรัฐบาลหลายประเทศเสนอขาย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย ฯลฯ แต่ในที่สุดกองทัพอากาศตัดสินใจเลือกยาส 39 ซี/ดี กริพเพน (JAS-39C/D Grippen) เครื่องบินรบของสวีเดน จากนั้นผลักดันเสนอผ่านรัฐบาลหลายชุดแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายน 2549 คณะมนตรีความมั่นแห่งชาติแต่งตั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โครงการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ได้นำกลับมาปัดฝุ่นอีกรอบและรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ไฟเขียวซื้อ "กริพเพน"
งบ ประมาณการจัดซื้อฝูงบิน "กริพเพน" 12 ลำ จำนวน 39,000 ล้านบาท แบ่งซื้อเป็น 2 ระลอก ระลอกแรก 6 ลำ รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์จัดซื้อ และระลอกสองอีก 6 ลำ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งอนุมัติไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
ความจริงแล้วการจัดซื้อ เครื่องบินกริพเพนดังกล่าว มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อคณะกรรมการพิจารณาการจัดซื้อเลือก เอฟ/เอ-18 ซีดีของสหรัฐอเมริกาและ "กริพเพน" ไม่ผ่านการคัดเลือก
อย่างไรก็ตาม หลังมีการอนุมัติจัดซื้อ "กริพเพน" เกิดข้อสงสัยอีกหลายประการ โดยล่าสุดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อเสนอของสวีเดนที่มีให้แก่รัฐบาลประเทศ โรมาเนีย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เนชั่นแนล วีคลี่ย์ ของประเทศสวีเดน รายงานเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553 ระบุว่า รัฐบาลเสนอขายเครื่องบินขับไล่กริพเพนจำนวน 24 ลำ ให้กับรัฐบาลโรมาเนีย โดยลดราคาเหลือแค่ 1,000 ล้านยูโร (ประมาณ 40,000 ล้านบาท) ลงมาเท่ากับเครื่องบินเอฟ 16 มือสองของสหรัฐ
การลดราคา "กริพเพน" มีขึ้น หลังจากสภาสูง (Supreme Council)ของโรมาเนีย ตัดสินใจเลือกซื้อเอฟ 16 มือสองในราคา 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 40,000 ล้านบาท)
ข้อ เสนอดังกล่าวของรัฐบาลสวีเดน รวมถึงการจัดฝึก การสนับสนุน การส่งกำลังบำรุง และโครงการที่เรียกว่า 100% Offset Programe ระยะเวลาการชำระหนี้ดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลา 15 ปี
รัฐบาลสวีเดนลดราคา ขาย "กริพเพน" ให้โรมาเนีย ทำให้เกิดขึ้นสงสัยอย่างน้อย 4 ประการ
1.อันดับ แรกคือ ราคา ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาของโครงการที่รัฐบาลไทยจัดหาโดยจัดหาก่อนรัฐบาลโรมาเนียถึง 3 ปี มีราคาแพงกว่าเกือบเท่าตัว
กล่าวคือ รัฐบาลไทยใช้งบประมาณจัดซื้อ "กริพเพน" 12 ลำ ในราคาทั้งสิ้น 34,400 ล้านบาท ได้เครื่องบิน 12 ลำ แต่ทางรัฐบาลโรมาเนียใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ได้ถึง 24 ลำ โดยเฉลี่ยราคาแพงกว่าเครื่องละ 1,200 ล้านบาท ราคาต่างกันถึง 14,000 ล้านบาท
2.การจัดหาของกองทัพอากาศโรมาเนีย เป็นการจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี รัฐบาลสวีเดนเสนอสร้างงานในโรมาเนียถึง 10,000 ตำแหน่ง รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย
ส่วนของกองทัพอากาศไทยเป็นการ จัดหาแบบใช้เงินสด ไม่มีโครงการช่วยเหลือที่เรียกว่า Offset Program อีกทั้งต้องวางเงินล่วงหน้า 15% จ่ายเงินหมดเมื่อได้รับเครื่องบิน
ข้อ สำคัญคือ ยังมีราคาแพงกว่ามาก ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องบินรุ่นเดียวกัน
3.การ จัดหาของกองทัพอากาศไทยไม่คัดเลือกโปร่งใส และไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในกรณีจัดหาทำสัญญารัฐต่อรัฐและผูกพันงบประมาณ เป็นเงินจำนวนมาก มีผลกระทบเป็นนัยสำคัญไม่เหมือนกับกองทัพอากาศโรมาเนียที่มีขั้นตอนผ่านสภา และมีการทักท้วง
4.การจัดหา ทำให้งบประมาณจำนวนมากจะต้องหมดไปกับการเตรียมรับและการจัดหา "กริพเพน" ทำให้ปัจจุบันความพร้อมรบของเครื่องบินเอฟ 16 เอ/บี ลดลงไปมาก เหลือเพียงไม่ถึง 50% โดยเฉลี่ย และในอนาคตเมื่อได้รับเครื่องบินกริพเพนมาจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนมากใน การจัดส่งกำลังบำรุง และจัดหาอาวุธอุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศสวีเดนและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอาวุธนำวิถีที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถใช้กับกริพเพนได้ และในการจัดหา กริพเพนไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการใช้อาวุธดังกล่าวมาด้วย เช่น แท่นล็อคเป้าหมาย (Targeting Pod), อาวุธนำวิถีระยะปานกลางอากาศสู่อากาศ, ระเบิด สมาร์ตบอมบ์ แม้แต่ลูกกระสุนปืนจะต้องจัดหาใหม่เป็นจำนวนมากในราคาแพง และจะทำให้งบประมาณประจำปีของกองทัพอากาศที่มีจำกัดอยู่แล้ว ถูกเจียดจ่ายไปใช้ในการดังกล่าว งบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงและคงสภาพเดิมของบริษัทเครื่องอื่นๆ จะน้อยลง ความพร้อมรบของอากาศยานจะน้อยลงเช่นกันขีดความสามารถของกำลังทางอากาศจะ ถูกลดทวนลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมากจากการที่มีการผลักดันให้จัดหากริพเพนนั่นเอง
5.นอกจาก นี้การใช้มี Erie Eye ในอนาคตจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นดิน, ภาคอากาศของกริพเพนที่จะมาใช้ร่วม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวของกองทัพอากาศไทย เป็นมาตรฐานของกองทัพอากาศสหรัฐ และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต ที่มีอยู่ในระบบส่งกำลังบำรุงทั่วโลก จะต้องจัดหาใหม่จากประเทศสวีเดน
บริษัท ซาบ (SAAB )ผู้ผลิต "กริพเพน" จะต้องผูกขาดการจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศไทยในอนาคต โดยผ่านบริษัทตัวแทนที่ในประเทศไทย และจะทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สามารถใช้งานร่วมกับมิตรประเทศข้างเคียงได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย ที่ฝึกร่วมกันเป็นประจำ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
"... การจัดหาเครื่องบินกริพเพนเฟสสองอีก 6 ลำนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการจัดซื้อไปแล้ว เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 ให้กองทัพอากาศจัดซื้อกริพเพนอีกจำนวน 6 ลำ โดยใช้เงินงบประมาณ 16,266 ล้านบาท ครม.อนุมัติหลักการแล้วขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการธิ การงบประมาณของรัฐสภา เพื่ออนุมัติกรอบวงเงินที่กองทัพอากาศเสนอ โดยเป็นการจัดสรรเกลี่ยนวงเงินงบประมาณรายจ่ายในส่วนของกองทัพอากาศเอง รวมทั้งสิ้น 5 ปีตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายปี 2554-2558 หากรัฐสภาอนุมัติต้องเสนอเข้า ครม.เพื่ออนุมัติงบประมาณจัดซื้ออีกครั้งตามระเบียบ
กองทัพอากาศมี ความต้องการมีเครื่องบินกริพเพนให้ครบ 1 ฝูงบิน เดิมในการจัดซื้อเครื่องบินรบเราจะจัดซื้อจำนวน 18 ลำ แต่ครั้งนี้เนื่องจากเงินงบประมาณน้อย กองทัพอากาศเข้าใจดี ปรับลดลงมาเหลือเพียง 12 ลำ
แต่งบประมาณปี 2551 ไม่เพียงพอ จึงจัดทำเป็น 2 งวด งวดละ 6 เครื่อง ตอนนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมไปแล้ว 2 ปี จะมีเครื่องบิน
กริพเพนครบฝูงบิน เราต้องการกำลังรบอย่างน้อย 12 ลำ เพราะในหลักสากลของการจัดกำลังต้องมีเครื่องบินพร้อมทำการขั้นต่ำ 70 เปอร์เซ็นต์ คือ อย่างน้อยต้องมี 8 ลำ และอีก 4 ลำ มีไว้ฝึกและซ่อมบำรุง
อย่า ลืมว่าเราต้องมีเครื่องบินรบที่มีศักยภาพทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีทรัพยากรทางทะเลและผืนดินที่ต้องดูแล โดยเฉพาะในพื้นที่ทางใต้นี้มีเพียงฝูงบินเดียวนี้ที่ทำหน้าที่รักษาอธิปไตย
ดัง นั้น การมีฝูงบินนี้จึงถือว่ามีความจำเป็น และเราต้องการสร้างให้กองทัพอากาศของไทยให้เป็นกองทัพอากาศที่ดีที่สุดใน ภูมิภาคนี้ ถือเป็นความฝันที่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
โดยภาพรวม ของกองทัพอากาศต้องการมีกำลังรบทั้งสิ้น 5 ฝูงบิน ปัจจุบันมีฝูงบิน 19 ฝูง แต่ตั้งเป้าไว้ 21 ฝูง เป็นฝูงบินรบ 5 ฝูง คือ เครื่องบินเอฟ 16 จำนวน 3 ฝูงบิน เครื่องบินเอฟ 5 จำนวน 2 ฝูงบินที่ จ.สุราษฎ์ธานี และ จ.อุบลราชธานี
ฝูงบินเอฟ 5 ที่กองบิน 7 จ.สุราษฎ์ธานีนี้ กำลังจะปลดประจำการ เพราะมีอายุการใช้งานมานานเกินที่จะปรับปรุงหรืออัพเกรดแล้ว เพราะฝูงบินเอฟ 5 ที่ จ.อุบลราชธานี คงมีอายุการทำงานไม่แตกต่างกันมากนักไม่นานคงต้องปลดประจำการ
หากถาม ว่ากองทัพอากาศมีความต้องการเพิ่มอีกฝูงบินหรือไม่ เรามีความต้องการ แต่เเข้าใจตามสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ด้วย..."
พลิกปูมจัดซื้อ"กริพเพน"รัฐบาล"สุรยุทธ์"อนุมัติ
กอง ทัพอากาศไทยเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 หรือ เอฟ-5B/E มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 โดยมีเครื่องบินที่เข้าร่วมแข่งขันคือ Su-30MKIT จากรัสเซีย, F-16C/D Block 50/21 จากสหรัฐ และ JAS 39C/D Gripen จากสวีเดน
ต่อมาในวันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบิน JAS 39C/D Gripen หรือเรียกสั้นว่ากริพเพน ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข ฝูงบิน 701 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการและครบกำหนดจะปลดประจำการทั้งหมดในปี 2554 โดยมีมติให้กองทัพอากาศก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณระหว่างปี 2551-2555 จัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ วงเงิน 19,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการจัดซื้อแบบรัฐบาล
รัฐบาล โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศที่ได้รับการจัดสรรประจำปีตามปกติ และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้แทนรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยลงนามในข้อตกลงการซื้อขายตลอดจนให้กอง ทัพอากาศรับข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดนตามที่กำหนดไว้ในร่างข้อตกลงการซื้อ ขาย ทั้งนี้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้เข้าชี้แจงคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
ตาม ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ให้กองทัพอากาศดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่อง บินขับไล่แบบ 18 ก/ข (F-5 B/E) ตามที่ทราบแล้วนั้น
กองทัพอากาศได้ แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดซื้อขึ้นโดยมี พล.อ.อ.ไพศาล สีตะบุตร รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน เพื่อจัดทำร่างสัญญาเจรจาต่อรองการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนกับผู้แทนรัฐบาล สวีเดน โดยฝ่ายสวีเดนได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหน่วยงาน FMV หรือ Swedish Defense Material Administration (FMV เป็นหน่วยงานขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมสวีเดน มีหน้าที่ในการจัดเตรียมยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพสวีเดน รวมทั้งการส่งออกยุทธภัณฑ์แก่มิตรประเทศ) เป็นผู้แทนรัฐบาลสวีเดนได้ดำเนินการเจรจา และจัดทำร่างข้อตกลงการซื้อขายเรียบร้อยแล้ว สำหรับเอกสารข้อตกลงการซื้อขาย ครอบคลุมข้อสัญญาและเงื่อนไขเกี่ยวกับกำหนดการส่งมอบเครื่องบิน, การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่, การส่งกำลังบำรุง และงวดการชำระเงิน ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้รับความร่วมมือจากสำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการจัดซื้อ เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ รัดกุม และ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
สำหรับร่างข้อตกลงการ ซื้อขาย แบ่งเป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่ 1 ข้อเสนอหลัก และการปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการ
ประกอบด้วยเครื่องบิ นกริพเพนจำนวน 6 เครื่อง เป็นเครื่องบินที่นั่งเดี่ยวจำนวน 2 เครื่อง และที่นั่งคู่จำนวน 4 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์และระบบสนับสนุน การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การบริหารโครงการในส่วนที่สวีเดนรับผิดชอบ อุปกรณ์อื่นและการบริการ รวมเป็นเงิน 18,284 ล้านบาท
ด้านการปรับ ปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการประกอบด้วย การปรับปรุงอาคารสถานที่และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ณ กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี การเดินทางไปฝึกอบรมตามโครงการ และการบริหารโครงการ ในส่วนที่กองทัพอากาศรับผิดชอบ รวมเป็นเงิน 716 ล้านบาท รวมงบประมาณการจัดซื้อเป็นเงินทั้งสิ้น 19,000 ล้านบาท ตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550
- ส่วนที่ 2 เป็นข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดน โดยกองทัพอากาศจะได้รับมอบเครื่องบิน Saab 340 สำหรับการฝึกจำนวน 1 เครื่อง และเครื่องบิน Saab 340 ติดตั้งเรดาร์แจ้งเตือนในอากาศแบบ Erieye จำนวน 1 เครื่อง
พร้อมกันนี้จะได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศและกองทัพไทยในสาขาต่างๆ ที่ฝ่ายไทยต้องการ
- ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 92 ทุน ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน ได้แก่ Royal Institute of Technology Stockholm, Chalmers Technical University in Gothenburg และ Linkping University ระหว่างปี 2552-2554 และ
- ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ในด้านวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ ที่จะกำหนดรายละเอียดหลังจากลงนาม ในข้อตกลงการซื้อขายต่อไป
แผนการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่
- การผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่กริพเพนใช้ระยะเวลา 36 เดือน หลังจากลงนามในหนังสือข้อตกลงการซื้อขาย
- การฝึกอบรม การส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์ รวมทั้งการเตรียมรับนั้นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน การส่งมอบเครื่องบิน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมในประเทศสวีเดนเริ่มดำเนินการในปี 2551 และการส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์เริ่มดำเนินการในปี 2553
- การส่งมอบเครื่องบิน ซาบ 340 ทั้ง 2 เครื่อง ดำเนินการได้ในปลายปี 2553
- การส่งมอบเครื่องบินกริพเพน ทั้ง 6 เครื่อง จะดำเนินการได้ภายในต้นปี 2554 โดยจะส่งมอบเครื่องบิน 3 เครื่องแรกในเดือนมกราคม 2554 และอีก 3 เครื่องในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อฝึกเพิ่มเติมให้หน่วยบิน มีความพร้อมปฏิบัติการได้ภายในเดือนกันยายน 2554 สอดคล้องกับแผนการปลดประจำการของเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ที่สุราษฎร์ธานี
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278901638&grpid=01
มติชนอีกแล้วครับ สวัสดีครับมติชน จำได้ว่าเมื่อสองสามปีก่อนมติชนก็ขุดประเด็นแบบนี้ขึ้นมาเล่น แต่เล่นพลาด มั่วกระจายยยยยย ครั้งนี้เหมือนจะพัฒนาขึ้น แต่ก็ยังมั่วเหมือนเดิม ครั้งนี้เหมือนจะมั่วกว่าเก่าอีก
ข่าวโรมาเนียนี่ออกมานานมากแล้วครับ ออกมาในสื่อต่างชาตินานแล้ว ไม่เห็นมีใครเขาสงสัยอะไรกันเลยจนมาถึงตอนนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าจะสงสัยล่ะก็ทำไมเพิ่งมาสงสัยตอนนี้ครับ
ขออนุญาติแก้เป็นข้อ ๆ ครับ
"ความจริงแล้วการจัด ซื้อ เครื่องบินกริพเพนดังกล่าว มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อคณะกรรมการพิจารณาการจัดซื้อเลือก เอฟ/เอ-18 ซีดีของสหรัฐอเมริกาและ "กริพเพน" ไม่ผ่านการคัดเลือก"
- ความเป็นจริงแล้วไม่มี F/A-18C/D เข้ามาร่วมแข่งขันครับ ว่าเข้าที่จริงแล้ว F/A-18C/D เลิกผลิตไปนานแล้ว ข้อมูลตรงนี้ถือว่าผิดพลาด อย่างไรก็ตามตัวเลือกของกองทัพอากาศไทยในตอนนั้นคือ Su-30MKIT, F-16C/D และ Gripen 39C/D แม้ภายหลังดูเหมือนมี F/A-18E/F (คนละรุ่นกัน) เข้ามาเสนอแต่ก็ช้าไป
"ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เนชั่นแนล วีคลี่ย์ ของประเทศสวีเดน รายงานเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553 ระบุว่า รัฐบาลเสนอขายเครื่องบินขับไล่กริพเพนจำนวน 24 ลำ ให้กับรัฐบาลโรมาเนีย โดยลดราคาเหลือแค่ 1,000 ล้านยูโร (ประมาณ 40,000 ล้านบาท) ลงมาเท่ากับเครื่องบินเอฟ 16 มือสองของสหรัฐ
การลดราคา "กริพเพน" มีขึ้น หลังจากสภาสูง (Supreme Council)ของโรมาเนีย ตัดสินใจเลือกซื้อเอฟ 16 มือสองในราคา 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 40,000 ล้านบาท)
ข้อ เสนอดังกล่าวของรัฐบาลสวีเดน รวมถึงการจัดฝึก การสนับสนุน การส่งกำลังบำรุง และโครงการที่เรียกว่า 100% Offset Programe ระยะเวลาการชำระหนี้ดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลา 15 ปี "
- ถ้ามติชนทำการบ้านมากกว่านี้หน่อยสักนิด จะพอเข้าใจว่าโครงการการจัดหาเครื่องบินขับไล่มาตราฐานนาโต้ทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 Lancer นั้นมีมานานแล้ว ตัวเลือกที่แข่งขันคือ F-16C/D มือสองจากสหรัฐ, Gripen 39C/D มือหนึ่งจากสวีเดน, และ Eurofighter Typhoon มือสอง+มือหนึ่งจากกลุ่มประเทศยุโรป ต่อมาเมื่อต้นปีนี้โรมาเนียประกาศเลือก F-16C/D มือสอง ทั้ง Typhoon และ Gripen จึงพยายามลดราคาลงมาสู้ โดยสิ่งที่เขาทำก็คือตัด option บางอย่างทิ้งไปซึ่งจะกล่าวต่อไป
"รัฐบาลสวีเดนลดราคา ขาย "กริพเพน" ให้โรมาเนีย ทำให้เกิดขึ้นสงสัยอย่างน้อย 4 ประการ
1.อันดับ แรกคือ ราคา ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาของโครงการที่รัฐบาลไทยจัดหาโดยจัดหาก่อนรัฐบาลโรมาเนียถึง 3 ปี มีราคาแพงกว่าเกือบเท่าตัว
กล่าวคือ รัฐบาลไทยใช้งบประมาณจัดซื้อ "กริพเพน" 12 ลำ ในราคาทั้งสิ้น 34,400 ล้านบาท ได้เครื่องบิน 12 ลำ แต่ทางรัฐบาลโรมาเนียใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ได้ถึง 24 ลำ โดยเฉลี่ยราคาแพงกว่าเครื่องละ 1,200 ล้านบาท ราคาต่างกันถึง 14,000 ล้านบาท"
- กรณีแบบนี้มันกลับมาอีกแล้วครับ ถ้าเรารู้จักหาข้อมูลสักนิดจะพบว่าการจับราคาตั้งแล้วหารด้วยจำนวนเครื่องคือวิธีการที่ผิด! เพราะไม่อย่างงั้นออสเตรเลียก็ทุจริตในการซื้อ F/A-18F แพงกว่าสหรัฐ หรือสิงคโปร์ก็ทุจริตในการซื้อ F15SG แพงกว่าสหรัฐ!?!
พูดมาหลายครั้งแล้วว่า การดูการจัดหาใด ๆ ก็ตาม ต้องดูว่าเงินที่จ่ายไป ได้อะไรบ้าง จะไม่พูดถึงเครื่องบิน แต่จะเทียบง่าย ๆ ว่า คุณซื้อ Nissan March รุ่นต่ำสุดกับรุ่นสูงสุด ราคาต่างกันเกือบสองแสนบาท แบบนี้แปลว่าคนที่จ่ายเงิน 5 แสนบาทซื้อแพงกว่าปกติหรือเปล่า? ไม่เลยครับ เพราะคนที่จ่าย 5 แสนบาทได้เบรก ABS, เกียร์อัตโนมัติ, ถุงลมสองทิศทาง, กุญแจรีโมต ฯลฯ ซึ่งรุ่น 3 แสนบาทนั้น 'ไม่มี' พูดแค่นี้น่าจะพอเข้าใจนะครับ
ข้อเสนอของ Saab ต่อโรมาเนีย เป็นเพียงเครื่องบินเปล่าครับ?!? Gripen 48 ลำ+การสนับสนุน+การฝึก+Offset เพราะ Saab ต้องการดั๊มราคาลงมาสู้ ทางเลือกก็คือต้องตัด Option ต่าง ๆ ออกไป ส่วนของกองทัพอากาศไทย ได้ Gripen 12 ลำ+การสนับสนุน+การฝึก+Offset+จรวด RBS-15F 12 นัด+Technology Transfer+ทุนการศึกษา+Saab 340 1 ลำ+ Saab 340 AEW 2 ลำ+ Datalink+ Ground Base Station มันเยอะกว่าตั้งเยอะ
"2.การจัดหาของกอง ทัพอากาศโรมาเนีย เป็นการจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี รัฐบาลสวีเดนเสนอสร้างงานในโรมาเนียถึง 10,000 ตำแหน่ง รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย
ส่วนของกองทัพอากาศไทยเป็นการ จัดหาแบบใช้เงินสด ไม่มีโครงการช่วยเหลือที่เรียกว่า Offset Program อีกทั้งต้องวางเงินล่วงหน้า 15% จ่ายเงินหมดเมื่อได้รับเครื่องบิน
ข้อ สำคัญคือ ยังมีราคาแพงกว่ามาก ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องบินรุ่นเดียวกัน"
- ไม่เข้าใจว่าคำพูดนี้หลุดออกมาได้อย่างไร แปลว่าขาดความรอบคอบมากทีเดียวหรือไม่ก็เขียนภาษาไทยไม่ถูกครับด้วยความเคารพ โรมาเนียจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ไม่ได้ใช้เงินสดซื้อหรือครับ? ไทยซื้อด้วยเงินสด แต่ไม่ได้จัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือครับ? ความจริงมันเหมือนกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งไทยและโรมาเนียจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลและจ่ายด้วยเงินสดเหมือนกัน แต่ถ้าคุณเลือกพูดข้างเดียวมันก็จะออกมาแบบนี้
อีกทั้งทราบได้อย่างไรว่าไทยไม่มี Industrial Offset Program ครับ? แปลว่าผู้เขียนข่าวไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาเพราะข้อมูลเรื่อง Industrial Offset Program ของไทยมีเยอะแยะมากมาย ง่าย ๆ คือยกหูไปถามกองทัพอากาศครับ หรือไม่ที่ง่ายกว่านั้นก็คือ ลองไล่ไปอ่านด้านล่างของบทความที่คุณเขียนเอง เพราะมันก็พูดอยู่ชัดเจนอยู่แล้วว่ากองทัพอากาศไทยได้รับความร่วมมือทางอุตสาหกรรมหรือ Industrial Offset Program หัวข่าวกับท้ายข่าวขัดกันเองอีกแล้ว หรือถ้ามติชนแปลคำนี้ไม่ออก การเปิด Dict ก็ไม่เสียหายนะครับ
"3.การจัดหาของกองทัพอากาศไทยไม่คัดเลือกโปร่งใส และไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในกรณีจัดหาทำสัญญารัฐต่อรัฐและผูกพันงบประมาณ เป็นเงินจำนวนมาก มีผลกระทบเป็นนัยสำคัญไม่เหมือนกับกองทัพอากาศโรมาเนียที่มีขั้นตอนผ่านสภา และมีการทักท้วง "
- คนละประเทศกัน คนละระบบ กฏหมายคนละตัว จะเปรียบเทียบกันได้อย่างไรครับ?
"4.การจัดหาทำให้งบประมาณจำนวนมากจะต้องหมดไปกับการเตรียมรับและการจัดหา "กริพเพน" ทำให้ปัจจุบันความพร้อมรบของเครื่องบินเอฟ 16 เอ/บี ลดลงไปมาก เหลือเพียงไม่ถึง 50% โดยเฉลี่ย และในอนาคตเมื่อได้รับเครื่องบินกริพเพนมาจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนมากใน การจัดส่งกำลังบำรุง และจัดหาอาวุธอุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศสวีเดนและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอาวุธนำวิถีที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถใช้กับกริพเพนได้ และในการจัดหา กริพเพนไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการใช้อาวุธดังกล่าวมาด้วย เช่น แท่นล็อคเป้าหมาย (Targeting Pod), อาวุธนำวิถีระยะปานกลางอากาศสู่อากาศ, ระเบิด สมาร์ตบอมบ์ แม้แต่ลูกกระสุนปืนจะต้องจัดหาใหม่เป็นจำนวนมากในราคาแพง และจะทำให้งบประมาณประจำปีของกองทัพอากาศที่มีจำกัดอยู่แล้ว ถูกเจียดจ่ายไปใช้ในการดังกล่าว งบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงและคงสภาพเดิมของบริษัทเครื่องอื่นๆ จะน้อยลง ความพร้อมรบของอากาศยานจะน้อยลงเช่นกันขีดความสามารถของกำลังทางอากาศจะ ถูกลดทวนลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมากจากการที่มีการผลักดันให้จัดหากริพเพนนั่นเอง"
- ไม่ทราบว่ามติชนเอาตัวเลขความพร้อมรบของ F-16A/B มาจากไหนครับ? ปัญหาก็คือถ้าจัดหา F-16C/D ก็ต้องใช้เงินเท่านี้ จัดหา Su-30MKIT ก็ต้องใช้เงินเท่านี้ ที่สำคัญ ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงเรื่องนี้เลย
อาวุธก็เช่นกัน แปลว่ามติชนไม่รู้เรื่องอาวุธจริง ๆ ความจริงก็คือ ถ้าจะไม่จัดหาอาวุธอะไรเลยล่ะก็ มีแค่กระสุนปืนกลเท่านั้นที่ไทยต้องจัดหาใหม่ นอกนั้นทั้ง AMRAAM, Sidewinder, Mk.82, GBU-10/12, Maverick ฯลฯ สามารถติดตั้งกับ Gripen C/D ได้เนื่องจาก Gripen C/D เป็นมาตราฐาน NATO เหมือนกับ F-16 ส่วน Trageting Pod กำลังอยู่ในระหว่างการจัดหา
ส่วนประโยคสุดท้ายพูดวนไปวนมาแบบเหตุผลวิบัติ
"5.นอกจาก นี้การใช้มี Erie Eye ในอนาคตจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นดิน, ภาคอากาศของกริพเพนที่จะมาใช้ร่วม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวของกองทัพอากาศไทย เป็นมาตรฐานของกองทัพอากาศสหรัฐ และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต ที่มีอยู่ในระบบส่งกำลังบำรุงทั่วโลก จะต้องจัดหาใหม่จากประเทศสวีเดน
บริษัท ซาบ (SAAB )ผู้ผลิต "กริพเพน" จะต้องผูกขาดการจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศไทยในอนาคต โดยผ่านบริษัทตัวแทนที่ในประเทศไทย และจะทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สามารถใช้งานร่วมกับมิตรประเทศข้างเคียงได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย ที่ฝึกร่วมกันเป็นประจำ"
- ไหนบอกว่ามีข้อสงสัย 4 ข้อแต่ข้อ 5 โผล่มาจากไหนก็ไม่ทราบครับ แปลว่ามติชนไม่เข้าใจระบบการทำงาของมันจริง ๆ เลยครับ ความจริงน่ะ F-16 ไทยกับ MiG-29 ของมาเลเซียมันต่างกันยิ่งกว่าต่างอีกครับ ด้านนึงเป็นเครื่องสหรัฐ อีกด้านนึงเป็นเครื่องรัสเซีย แต่ทำไมมันยังฝึกร่วมกันได้ทุกสองปี??? แล้ว Gripen เป็นเครื่องมาตราฐาน NATO เหมือนกับสหรัฐ ทำไมจะฝึกไม่ได้ล่ะครับ? ประเทศอื่นเขาก็ใช้ Gripen ฝึกกับเครื่องประเทศอื่นกันอยู่ตั้งมาก ไม่เห็นใครจะมีปัญหาเลยครับ
เรื่องอุปกรณ์สื่อสาร ต่อให้คุณซื้อ F-16 คุณก็ต้องจัดหาใหม่ครับ เพราะเราไม่มี Link16 อยู่แล้ว
ไม่อยากพูดมากกว่านี้ว่าทำไมข่าวนี้มันถึงผุดขึ้นมาเพราะเดียวมันจะกลายเป็นการเมืองไป เอาแค่นี้แล้วกันครับผม เพราะพูดรอบนี้ก็เป็นรอบที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ โดยเฉพาะพูดกับมติชนครับ ขอเชิญท่านผู้อ่าน อ่านข้อมูลทั้งสองด้านและพิจารณาตามเหตุผลของแต่ละท่านครับ
อ่านเพิ่มเติม
"JAS-39 Gripen: กรณีศึกษาราคา Gripen ทั่วโลก"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=23-10-2007&group=3&gblog=63
"JAS-39 Gripen: วิเคราะห์โครงการตอบแทนทางอุตสาหกรรมที่ไทยจะได้รับหลังการจัดหากริพเพน"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=30-11-2007&group=2&gblog=50
"JAS-39 Gripen: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ไทยจะได้รับจากการจัดหากริพเพน"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=27-09-2009&group=2&gblog=158
"JAS-39 Gripen: ขอโต้เถียงข้อมูลในหนังสือพิมพ์ ภาค 1"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=20-10-2007&group=1&gblog=62
"JAS-39 Gripen: ขอโต้เถียงข้อมูลในหนังสือพิมพ์ ภาค 2 เรื่องราคา Gripen"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=14-11-2007&group=1&gblog=65
"JAS-39 Gripen: คำชี้แจงของกองทัพอากาศต่อกรณีราคาเครื่องบินรบ"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=19-11-2007&group=3&gblog=66
Create Date : 12 กรกฎาคม 2553 |
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 16:48:45 น. |
|
9 comments
|
Counter : 3748 Pageviews. |
|
|
|