กองทัพบกจัดซื้อ Mi-17V5 จากรัสเซีย
เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมามีข่าวออกมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่ากองทัพบกได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางแบบใหม่คือ Mi-17V5 จำนวน 3 ลำจากประเทศรัสเซียครับ
นี่ถือเป็นครั้งที่สองที่กองทัพไทยจัดหาอาวุธจากรัสเซียครับ โดยครั้งแรกจริง ๆ คือการจัดหาจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า (MANPAD) รุ่น Igla-S จำนวน 36 หน่วยครับ
ตามแผนการจัดหาอาวุธของกองทัพไทยที่ทำขึ้นเมื่อราวปี 49 และปรับปรุงแผนอีกครั้งเมื่อ ธ.ค. 50 นั้น กองทัพบกมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางจำนวน 3 เครื่องครับ โดยกำหนดคุณสมบัติว่าต้องมีจำนวนเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง มีแรงม้ารวมไม่น้อยกว่า 3,500 แรงม้า สามารถบรรทุกกำลังพลไม่น้อยกว่า 30 นาย เป็นต้น
Mi-17V5
รางวัลที่หนึ่งก็ออกมาเป็น Mi-17V5
เฮลิคอปเตอร์ตระกูล Mi-8/Mi-17 นั้นผลิตมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น สำหรับรุ่นที่ใช้ในรัสเซียจะเรียกว่า Mi-8 แต่สำหรับรุ่นส่งออกจะเรียกว่า Mi-17 ซึ่งพัฒนามาจาก Mi-8 ครับ Mi-17 มีใช้กันมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ในแถบอาเซียนก็มีหลายประเทศที่ใช้งานคือพม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, และอินโดนิเซีย ไทยเป็นประเทศที่ 7 ในอาเซียนที่มีใช้งานครับ ถือขายดีมาก ๆ อีกทั้งบางประเทศที่ใช้ระบบอาวุธของ NATO ก็ยังมีใช้งานเช่นซาอุดิอารเบีย แอฟริกาใต้ หรือแม้แต่เกาหลีใต้ก็มีใช้อยู่ในกรมตำรวจ ตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1961 ก็ยังเปิดสายการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็เกือบ 50 ปีแล้ว และมียอดการผลิตมากกว่า 12,000 เครื่องทีเดียว
Mi-17 เคยถูกเสนอขายให้กองทัพไทยแล้วเมื่อราวสองสามปีที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้นรัสเซียเสนอ Mi-17 จำนวน 8 ลำแบบลดราคาพร้อมทั้งแพ็คเก็จด้านอวกาศและพลังงานรวมถึงอาวุธรายการต่าง ๆ ถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกจัดซื้อ Su-30MKIT จำนวน 12 ลำ แต่กองทัพอากาศไทยเลือก Gripen เป็นผู้ชนะแทน ..... ส่วนหนี้ข้าวที่รัสเซียติดค้างประเทศไทยอยู่ราว 50 ล้านเหรียญมานานหลายปีนั้น ในขั้นต้นรัสเซียเสนอที่จะจ่ายเป็น Mi-17 เช่นกัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการจัดหาจากประเทศไทย และเปลี่ยนไปเลือกเฮลิคอปเตอร์แบบอื่น ตามข่าวว่าน่าจะเป็น ฮ. ธุรการขนาดเบาแบบ Ansat จำนวน 8 ลำแทน ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการยืนยันครับ
Mi-17 มีคุณสมบัติที่รู้จักกันดีคือ "ถึก", "ทน", และ "ถูก" ครับ .... แม้ว่ารูปร่างหน้าตาจะไม่แอ๊บแป๊วแบบเฮลิคอปเตอร์ของสหรัฐหรือยุโรป (ออกจะน่าเกลียดด้วยซ้ำ) แต่มันก็ถูกทดแทนด้วยความถึก คือมันทรหดมาก ๆ ปฏิบัติการได้ทุกภูมิอากาศและภูมิประเทศ อากาศร้อนชื้นแบบไทยแทบไม่ใช่ปัญหาเลยสำหรับมัน นอกจากนั้นมันยังทนมาก ๆ ตามสไตล์ ฮ. รัสเซียครับ หลายครั้งที่มันถูกยิงจากปืนเล็กจากพื้นดิน มันก็ยังประคองตัวบินกลับฐานไปได้ และสุดท้ายมันยังถูก เพราะราคาต่อตัวมันแค่เพียงราว 10 ล้านเหรียญเท่านั้น แต่ ฮ. ที่มีขนาดไล่เลี่ยกันเช่น EC-725 จากยุโรปที่มาเลเซียเพิ่งซื้อไปกลับมีราคาถึงลำละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว!!! ...... เจ้า ฮ. ลำนี้เคยเป็นหนามยอกอกของกองทัพบกไทยในสมัยการรบที่ร่มเกล้า เนื่องจากกองทัพลาวได้รับมอบ ฮ. รุ่นนี้จากรัสเซียตามความช่วยเหลือทางทหาร จึงใช้ ฮ. รุ่นนี้ขนปืนใหญ่ขนาด 130 มม. ได้สบายครับ พอเวลาปืนใหญ่ยิงเสร็จ กว่าที่เราจะหาวิถีของลูกกระสุนว่ามาจากไหน ฮ. ก็จะมาขนปืนใหญ่หนีไปแล้ว ซึ่ง ฮ. ที่มีขนาดใหญ่ราว ๆ นี้ไม่มีใช้ในกองทัพบกไทยในขณะนั้น .... จากบทเรียนในครั้งนั้น ทำให้หลังจากนั้นกองทัพบกจึงจัดหา CH-47 Chinook และปืนใหญ่อัตตาจรแบบ M109A5 (ปืนใหญ่ที่วิ่งไปไหนมาไหนเองได้) จากสหรัฐมาใช้งาน
แต่ในข้อดีย่อมมีข้อด้อยครับ ..... ตามสไตล์ของอาวุธรัสเซียแล้ว อะไหล่จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าของตะวันตกและยังต้องการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่สูงพอสมควร Mi-17 ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น อีกทั้งด้วยความที่มันเป็นระบบอาวุธของรัสเซีย แตกต่างจากระบบ NATO ของไทย ทำให้อุปกรณ์สนับสนุนและอะไหล่ต้องจัดหาใหม่ทั้งหมดไม่สามารถใช้งานร่วมกับของเดิมที่มีอยู่ได้ นอกจากนั้นช่างของกองทัพบกยังต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งอาจจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
ทำให้คงต้องมองหาจุดสมดุลระหว่างข้อดีกับข้อด้อยทั้งสองด้านครับ ซึ่งการเลือก ฮ. แบบ Mi-17V5 แทนที่จะไปเลือก ฮ. จากจะวันตกอาจจะเป็นเพราะในช่วงนี้กองทัพบกมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหา ฮ. จากตะวันตกก็ได้ครับ ซึ่งเหตุผลนี้เป็นเหตุผลเดียวกับที่กองทัพบกเลือกรถเกราะ BTR-3E1 แทนรถเกราะจากยุโรปและสหรัฐ
ถ้าถามความเห็นส่วนตัวของผม ....... ผมยังรู้สึกกลาง ๆ กับ ฮ. จากรัสเซียรุ่นนี้ครับ แน่นอนประสิทธิภาพของมันนั้นดีมากซึ่งอันนี้เห็นได้ชัดเจนและคงไม่มีใครเถียง แต่ผมก็ยังห่วงเรื่องความเข้ากันได้ของระบบ ความพร้อมของกองทัพบกในการที่จะต้องจัดหามาตราฐานการซ่อมบำรุงใหม่ รวมถึงการฝึกนักบินใหม่อีกด้วย ..... กองทัพอากาศเคยมีประสบการณ์การเปลี่ยนค่ายมาครั้งหนึ่งนั่นก็คือการจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ L-39ZA/ART จากสาธารณรัฐเช็คจำนวน 36 ลำ ในระยะแรก L-39 ประสบอุบัติเหตุตกไปถึง 4 ลำ จนเมื่อผ่านพ้นไประยะหนึ่งกองทัพอากาศจึงสามารถใช้งาน L-39 ได้อย่างปกติและไม่มีอุบัติเหตุตกอีก ........ ถ้ากองทัพบกสามารถฝึกช่างและนักบินที่ไม่เคยปฏิบัติงานกับเครื่องบินค่ายคอมมิวิสต์ส์จนสามารถปฏิบัติงานกับ Mi-17V5 อย่างชำนาญได้ ปัญหานี้ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่นักครับ
อีกแง่มุมหนึ่ง ..... การจัดหา Mi-17V5 ของกองทัพบกในครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้อาวุธของรัสเซียเริ่มเข้ามามีบทบาทในกองทัพไทยมากขึ้น และนั้นก็หมายถึงการลดการพึ่งพาระบบอาวุธจากสหรัฐลงด้วยครับ ..... ซึ่งตรงนี้ยังต้องมองกันยาว ๆ ครับเพราะต้องพิจารณาถึงการใช้งานจริงในอนาคตของอาวุธรัสเซียที่เพิ่งสั่งซื้อไปในครั้งนี้ว่าจะสามารถสร้างความประทับใจให้กับกองทัพไทยได้มากน้อยขนาดไหน ..... เพราะกองทัพไทยเคยมีประสบการณ์ที่ไม่น่าประทับใจจากอาวุธจีนซึ่งในช่วงหนึ่งกองทัพไทยจัดหาอาวุธจีนเข้ามาประจำการเป็นจำนวนมากเนื่องจากงบประมาณมีจำกัดและเป็นการตอบแทนจีนที่เป็นพันธมิตรกับไทยในช่วงที่ไทยทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ แต่อาวุธบางแบบประสบปัญหาความพร้อม เช่นเรือรบในชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ที่แม้จะเป็นเรือฟริเกตชุดแรกของกองทัพเรือไทยที่มีดาดฟ้าสำหรับให้เฮลิคอปเตอร์ลงจอด แต่ก็มีปัญหาในหลาย ๆ จุด ซึ่งกองทัพเรือต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับแก้กว่าที่เรือทั้ง 4 ลำจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออย่างกรณีที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือรถถัง Type-69II ซึ่งเป็นรถถังจากจีนที่กองทัพบกจัดหามาอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้านในอดีต โดยรถถังมีปัญหาค่อนข้างมากจนทำให้ในช่วงหนึ่งรถไม่สามารถปฏิบัติการได้ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจีนให้ความช่วยเหลือซ่อมและ upgrade รถที่มีอยู่ให้กลับมาใช้งานได้บางส่วนโดยไม่คิดมูลค่า ..... ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นผลให้ในช่วงหลังกองทัพจึงไม่ได้จัดหาอาวุธรายการใหญ่ ๆ จากจีนอีก เช่นกองทัพอากาศก็มิได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-7 และเครื่องบินฝึก K-8 จากจีนหลังจากที่จีนนำมาให้บินทดสอบในเมืองไทย รวมถึงกองทัพเรือที่เลือกจัดหาเรือยกพลขึ้นบกจากสิงคโปร์แทนเรือจากจีน คงเหลือแต่การจัดหาอาวุธขนาดเล็กอย่างปืนเล็กยาว จรวด RPG และจรวดต่อสู้อากาศยานซึ่งจีนพัฒนาคุณภาพการผลิตได้เป็นอย่างดีแล้ว
Mi-17V5
และที่สำคัญก็คือ ...... ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 49 กองทัพไทยจัดหาอาวุธจากประเทศอื่น ๆ มากขึ้น ในขณะที่จัดหาอาวุธจากสหรัฐลดลง เช่นจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen และเครื่องบิน AEW&C จากสวีเดน, จัดหารถเกราะล้อยาง BTR-3E1 จากยูเครน, จัดหารถเกราะสี่ล้อ REVA 4x4 จากแอฟริกาใต้, จัดหาจรวดต่อต้านเรือรบ C-802 จากจีน, จัดหาเรือยกพลขึ้นบกชั้น Endurance จากสิงคโปร์, จัดหาปืนเล็กยาว Tavor และปืนกล Negev จากอิสราเอล และล่าสุดก็จัดหาจรวดต่อสู้อากาศยาน Igla-S และ ฮ. Mi-17V5 จากรัสเซีย โดยอาวุธที่จัดหาจากสหรัฐมีเพียง ฮ.พระที่นั่ง S-92 และชุดปรับปรุง Avionic ของ C-130 เท่านั้น ...... แม้ว่าจะมีข้อด้อยเรื่องความหลากหลายของระบบอาวุธ แต่ข้อดีก็คือในอนาคตผู้ผลิตสหรัฐคงต้องเสนอข้อเสนอที่ดีมากกว่าในอดีตถ้ายังต้องการลูกค้าจากไทยเพราะไทยเริ่มมีทางเลือกใหม่ ๆ นอกจากระบบอาวุธจากสหรัฐแล้ว ..... คงต้องตามดูกันต่อไปครับ
ประเด็นสุดท้ายที่น่าจับตามองก็คือ ...... Mi-17 จะกลายมาเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ของกองทัพอากาศไทยหรือไม่? ..... เนื่องจากในช่วงปีสองปีที่ผ่านมากองทัพอากาศกำลังศึกษารายละเอียดของเฮลิคอปเตอร์แต่ละแบบเพื่อที่จะนำมาทดแทน UH-1H ที่มีอายุการใช้งานมามากกว่า 40 ปี โดยกองทัพอากาศกำหนดความต้องการเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ไว้ที่ 16 ลำ ซึ่ง Mi-17V5 ก็เข้ากับความต้องการของกองทัพอากาศและอาจจะมาเป็นตัวเลือกหนึ่งได้เช่นกัน โดยอาจจะต้องแข่งขันกับ S-92 ของสหรัฐที่กองทัพอากาศจัดหาไปแล้ว 3 ลำเพื่อเป็นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง และเฮลิคอปเตอร์จากยุโรปแบบอื่น ๆ ครับ
ส่วนที่มีการยกเลิกการซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบ Bell 212 นั้น คิดว่าข่าวน่าจะลงผิดไปนิดหน่อยครับ ... เนื่องจากกองทัพบกมีการอนุมัติงบผูกพันในการซ่อม Bell 212 ไปแล้วตั้งแต่ปี 50 เป็นต้นมา ไม่น่าจะใช่ Bell 212 ครับ ดูแล้วน่าจะเป็นการยกเลิกการซ่อม ฮ.ท.1 หรือ UH-1H ในเฟสที่สองจำนวน 15 ลำมากกว่า ..... ทั้งนี้ไม่ยังทราบเหตุผลที่แท้จริงเหมือนกันว่าทำไมถึงยกเลิกการซ่อม UH-1H เพราะว่าสภาพ ฮ. มันไม่คุ้มที่จะซ่อมหรือเปล่า? เพราะว่า UH-1H หลายลำก็จอดมานานแล้ว (มีฮิวอี้ลำนึงที่ราบ 11 ผมนั่งรถผ่านตั้งหลายปีมันยังจอดนิ่งอยู่เลย) หรือว่าจะเตรียมไปจัดหา ฮ. ใช้งานทั่วไปแบบใหม่เลย? ...... อันนี้ไม่ทราบเหมือนกันครับ
สำหรับโครงการที่เกี่ยวกับอากาศยานอื่น ๆ ของทบ.ก็จะเน้นไปที่การซ่อมเสียเป็นส่วนใหญ่ คือการซ่อมคืนสภาพ ฮ.ล.47 หรือ CH-47D Chinook จำนวน 6 ลำ การซ่อม ฮ. ใช้งานทั่วไปแบบต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากที่ผ่านมากองทัพบกไม่ได้รับงบประมาณในการซ๋อมบำรุงมากนัก จึงมี ฮ. ต้องถูกกราวน์ค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังมีโครงการจัดหาเครื่องบินธุรการอีก 1 ลำ ซึ่งน่าจะเป็น ERJ-145 เพิ่มเติมจากที่จัดหาไปแล้ว รวมถึงเครื่องบินทำแผนที่ด้วยเลเซอร์สำหรับกรมแผนที่ทหาร โดยคาดว่าน่าจะเป็นการลัดคิวจัดหามาเนื่องจากมีภารกิจสำคัญรออยู่เยอะ อีกส่วนหนึ่งก็คือการจัดหา ฮ. โจมตีมือสองเพิ่มเติม โดยเป็นการจัดหา AH-1F จำนวน 7 ลำ ทำให้จำนวน ฮ. โจมตีทั้งหมดของ ทบ. เพิ่มขึ้นเป็น 10 ลำครับ
อย่างไรก็ตาม วันเด็กที่ศูนย์การบินทหารบกอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ เด็ก ๆ คงจะได้เห็น ฮ. หน้าตาแปลก ๆ มาบินโชว์บ้างล่ะครับ ..... Mi-17V5 จะเป็นอย่างไรในกองทัพไทย ลองวัดจาก Feedback ของเด็ก ๆ ดูก่อนเป็นตัวเลือกแรกก็น่าจะดีนะครับ อิอิ
อ้างอิง
Army eyes Russian choppers Repair deal for Bell fleet could be canned WASSANA NANUAM
The army has decided to drop a project to repair helicopters built in the US and has approved the proposed purchase of three new helicopters from Russia, an army source said. The source said army commander Gen Anupong Paojinda had approved the proposed purchase of three MI-17 multi-role helicopters from Russia at a cost of about 950 baht million baht altogether or about 316 million baht each.
The army chief, at the same time, decided to cancel the 999-million-baht repair and maintenance programme for 15 Bell 212-type helicopters bought from the US, the source said.
According to the source, the army has more than 200 of the US-built helicopters
However, more than half of them can barely function now because they have been in use for more than 20 years.
The proposal has been submitted to Prime Minister Somchai Wongsawat, in his capacity as defence minister, the source said. The source added it would be the first time that the army would use the Russian-built helicopters.
Until now, the army had used only US helicopters.
The armed forces previously were interested in buying military armaments from Russia. The source said that when Sonthi Boonyaratkalin was coup leader and was in charge of the army in 2006, Russia offered to sell eight MI-17 type helicopters to the army for about 168 million baht each, lower than the present price quoted.
Earlier, the air force also bought six Gripen fighters from Sweden for about 19 billion baht.
When Thaksin Shinawatra was prime minister, he told the air force to procure SU-30 combat aircraft from Russia, but the air force showed no interest in buying them.
The procurement programme was stopped when the 2006 coup took place.
The same source said that before Samak Sundaravej was disqualified as prime minister by the Constitution Court, he approved a deal to buy 96 armoured personnel carriers costing 39 billion baht from the Ukraine.
The deal was initiated by Gen Sonthi.
However, the Office of the Auditor-General regarded the deal as non-transparent.
It raised questions about the quality of the vehicles and and alleged irregularities in the bidding process, in which Ukrainian NGV Enterprise failed to submit a tender but won the Defence Ministry contract.
The Samak government also approved a proposal to buy 15,307 shotguns from Israel worth about one billion baht. (they mean TAR-21 - Skyman)
The armament procurement programmes are part of a plan to modernise sections of the armed forces, which has been stalled for more than a decade since the 1997 financial crisis.
//www.bangkokpost.com/201008_News/20Oct2008_news05.php
Mi-17V5
ข่าวจากประเทศรัสเซีย แปลโดย Google Translate ครับ ^ ^
Thailand for the first time in history, buy Russian military equipment
The Thai government intends to buy three helicopters in Russia, wrote Thursday in the newspaper Kommersant. Earlier this country procure military equipment only in the USA.
The contract for the purchase of Russian helicopters had already approved the Prime Minister of Thailand Sonchat Vongsavat. According to Kommersant, a transport helicopter Mi-171 production JSC "Ulan-Ude aviation plant" (UUAZ). Each helicopter is estimated at 316 million baht (9.2 million U.S. dollars).
The representative of the defense-industrial complex told the publication that changed the helicopters, which intends to buy Thailand is considered to be civil, although this dual-use technology.
At the Thai Army is armed with more than 200 helicopters, the U.S.. However, about half of them can not be operated because of wear and tear. In 2007, writes Kommersant, the government of Thailand approved a program of renovation and modernization of U.S. helicopters, 15 Bell-212. However, after coming to power in September 2007, the government Sonchata Vongsavata contract with the Americans was canceled.
Previously, Russia had repeatedly tried to sell military equipment to Thailand, including helicopters, but no transaction has not taken place, said publication.
//lenta.ru/news/2008/10/23/thai/
Create Date : 25 ตุลาคม 2551 |
Last Update : 25 ตุลาคม 2551 23:13:38 น. |
|
27 comments
|
Counter : 10475 Pageviews. |
|
|
|