ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
สงครามปฏิวัติ : ไฟที่ยังไม่มอดเชื้อ....โดย นาวาเอก ทวีชัย บุญอนันต์

เห็นบทความในนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๓ เล่มที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๓ ชิ้นนี้แล้ว น่าอ่านสุด ๆ ครับ ไม่ทราบได้อ่านกันหรือยัง ยังไงขอนำมาลงไว้ที่นี่ครับ บทความอาจจะเครียดนิดนึงครับ แต่ถ้าอ่านดูแล้ว จะพอเข้าใจมิติของการก่อการรายในภาคใต้ของไทยได้ครับ

//www.navy.mi.th/navic/document/830303a.html



สงครามปฏิวัติ : ไฟที่ยังไม่มอดเชื้อ

นาวาเอก ทวีชัย บุญอนันต์ ( นศ . วทร . รุ่นที่ ๓๑ )



กล่าวนำ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง แนวความคิดเกี่ยวกับการทำสงครามปฏิวัติของ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายออกไปทั่วโลก โดยมุ่งเน้นประเทศที่เป็นอาณานิคมและประเทศ ที่ด้วยพัฒนาทั้งในเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลางและลาตินอเมริกา การทำสงครามปฏิวัติ ที่ผ่านมา มีตั้งแต่การเรียกร้องทางการเมือง การทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล การจับอาวุธ ขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชและเสรีภาพอย่างเปิดเผย การก่อการร้าย และการทำสงคราม การเมือง หรือดำเนินการในลักษณะผสมผสานกัน ดังเช่น การล้มล้างระบอบการปกครองซึ่งมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขและสถาปนาระบอบการปกครอง แบบสาธารณรัฐคอมมิวนิสต์ใน ประเทศบัลแกเรีย การจับอาวุธต่อสู้เรียกร้องเอกราชและเสรีภาพด้วยการทำสงครามปฏิวัติ ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม หรือการทำสงครามกองโจร (Guerrilla Warfare) เพื่อโค่นล้ม รัฐบาลของประธานาธิบดี บาติสต้า ของ ฟิเดล คาสโตร ในประเทศคิวบา และการทำสงคราม ปลดแอกเพื่อแบ่งแยกดินแดนในอังโกลา และซิมบับเว เป็นต้น แม้ว่าลักษณะของการทำ สงครามปฏิวัติจะแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบของยุทธวิธีที่ใช้ แต่เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ยังคง เหมือนเดิมคือ ต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

บทความนี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีของการทำสงครามปฏิวัติ โดยเน้นหนักทฤษฎี “สงครามประชาชน (People's War)” ของเหมาเจ๋อตุงเป็นหลักนอกจากนี้ยังจะศึกษาถึง ปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการทำสงคราม ปฏิวัติตลอดจนรูปแบบของสงครามปฏิวัติที่คาด ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

สงครามปฏิวัติ : ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ก่อนที่จะศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีสงครามปฏิวัติ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ ใช้นั้น ควรจะทำความเข้าใจความหมายของคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ในปัจจุบันเมื่อ กล่าวถึงการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ผู้ปกครองหรือผู้บริหารประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จะด้วยการใช้วิธีการรุนแรงหรือไม่ก็ตาม คำที่มักจะนิยมใช้ ก็คือ “Insurgency” ซึ่งมีความหมายครอบคลุมตั้งแต่การต่อต้านรัฐบาลโดยไม่ใช้ความรุนแรง (Non – Violent Resistance) ไปจนถึงการทำสงครามกลางเมือง (Civil War) อย่างไรก็ดี การที่มีผู้นิยมใช้คำว่า “การปฏิวัติ หรือ Revolution” ในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ มากกว่าคำว่า Insurgency นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าให้ความรู้สึกนึกคิดการสร้างอารมณ์ร่วม และภาพ ที่ชัดเจนกว่าเช่นเดียวกับการใช้คำว่า “การก่อการร้าย หรือ การกบฏ” เมื่อต้องการอธิบาย ให้เห็นว่ามีการกระทำที่ต่อต้านอำนาจรัฐ ด้วยวิธีการรุนแรง

เมื่อกล่าวถึงยุทธวิธีหรือรูปแบบของการต่อต้านรัฐบาล (Insurgency) โดยพิจารณาจาก ระดับความรุนแรงของการดำเนินการแล้ว อาจแบ่งรูปแบบออกเป็น ๖ รูปแบบ กล่าวคือ การ ต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรง (Non – Violent Resistance) การยึดอำนาจรัฐด้วยการทำ รัฐประหาร (Coup) การทำสงครามกองโจร (Guerrilla Warfare) การก่อการร้าย (Terrorism) การก่อการจลาจล และการปฏิวัติ (Riot / Revolution) และประการสุดท้าย คือ การทำสงครามการเมือง (Civil War) อย่างไรก็ดี บทความนี้มุ่งเน้นการทำสงครามปฏิวัติ (Revolutionary Warfare) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการต่อต้านรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยน แปลงด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม โดยใช้ความรุนแรงและมวลชนเป็นฐานในการดำเนิน การ ซึ่งตลอดบทความนี้ จะใช้คำว่า “การต่อต้านรัฐบาล” แทนคำว่า “สงครามปฏิวัติ” ใน บางตอน

รากฐานแนวความคิดของสงครามปฏิวัติ

กล่าวกันว่า แนวความคิดในทำนองเดียวกันกับการทำสงครามปฏิวัตินั้น มีมาช้านานก่อน คริสตกาล โดยปรากฏหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งบอกกล่าวถึงการที่ชนชาวอิสราเอลโดย การนำของโจชัว ได้ใช้ยุทธวิธีกองโจร ทำการสู้รบเอาชนะฝ่ายศัตรูที่ Canan ต่อมาภายหลัง ชาวยิวได้รวบรวมกำลังต่อต้าน การรุกรานของอาณาจักรโรมันที่ปรากฏเด่นชัด คือการทำ สงครามป้องกันป้อม Mazada เมื่อ ๖๖ ปี ก่อนคริสตศตวรรษ

แนวความคิดเกี่ยวกับการทำสงครามปฏิวัติ ได้รับการปรับปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ เหมาะสมสอดคล้องกับกาลสมัย แต่แนวความคิดที่ถือว่าเป็นรากฐานของสงครามปฏิวัติสมัย ใหม่ที่จะขอกล่าวถึงในที่นี้ ก็คือ

ลัทธิมาร์กซิสต์

คาร์ล มาร์กซ์ ผู้ให้กำเนิดลัทธิมาร์กซิสต์เป็นชาวยิว เกิดในเยอรมัน เป็นปัญญาชนหัว รุนแรง เคยถูกจับฐานก่อการกบฏและถูกเนรเทศหลายครั้ง จากประสบการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มาร์กซ์ได้ร่วมกับเฟเดอริค เองเกิลล์ได้อธิบายแนวความคิดของลัทธิ คอมมิวนิสต์แผนใหม่ในหนังสือ Communist Manifesto ซึ่งกล่าวถึงแนวปรัชญาใหม่เกี่ยว กับลัทธิวัตถุนิยมโดยกระบวนการทางปฏิวัติศาสตร์ปรัชญา ระบบเศรษฐกิจการเมืองและ ปรัชญาว่าด้วยรัฐและการปฏิวัติ ภายใต้หลักการของลัทธิ ดังกล่าวนี้ มาร์กซ์มีความเห็นว่า จะต้องใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลนายทุนที่ครองอำนาจการปกครอง และชนชั้นกรรมกรทั่วโลก จะต้องลุกฮือขึ้น ร่วมกันต่อต้านพวกนายทุนและรัฐบาลให้หมดสิ้นเพื่อให้เข้าสู่ยุคสังคมนิยม

ลัทธิเลนินิสต์

เลนิน เป็นชาวรัสเซีย และเป็นนักศึกษากฎหมายชั้นเยี่ยมผู้หนึ่ง ซึ่งมีหัวปราดเปรื่องทาง เศรษฐกิจและการเมืองอยู่ไม่น้อย ในปี พ . ศ . ๒๔๖๐ เลนินได้ก่อตั้งพรรคบอลเชวิคและเป็น ผู้นำการปฏิวัติครั้งงใหญ่ในรัสเซีย เลนินเป็นผู้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ยกย่องและนับถือมาก โดย เทิดทูนว่า คาร์ล มาร์กซ์ เป็นนักทฤษฎี แต่เลนินเป็นนักปฏิวัติ แต่อย่างไรก็ตามเลนินได้นำ ทฤษฎีของมาร์กซ์มาดัดแปลงเพิ่มเติมหลายประการ เพื่อให้ทฤษฎีของมาร์กซ์เป็นความจริง ขึ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการปฏิวัติที่เลนินได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “จะทำอะไร ” (What is to be done ?) อาทิ ยุยงให้เกิดการจลาจลขึ้นระหว่างกรรมกรกับ นายจ้างในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ก่อสงครามกลางเมืองในอาณานิคมและประเทศที่ด้อย พัฒนา ยุยงชนกลุ่มน้อยและชนชาติพื้นเมืองให้ร่วมทำสงครามกลางเมืองต่อต้านรัฐบาล จัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศต่างๆ ทุกประเทศ หาทางบ่อนทำลายรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในโลกเสรี ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อและการดำเนินการใต้ดินของพรรคคอมมิวนิสต์ และนัก ปฏิวัติอาชีพ การก่อการร้ายเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะบีบบังคับให้ประชาชนเชื่อฟังเป็นต้น

ลัทธิสตาลินิสต์

โยเซฟ สตาลิน เจ้าลัทธิสตาลินิสต์เกิดในครอบครัวยากจน บรรพบุรุษเคยเป็นทาสมาก่อน หลายชั่วคน ต่อมาเข้าร่วมกับคณะบอลเชวิค และได้รับตำแหน่งหน้าที่ในพรรคคอมมิวนิสต์สูง ขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้นำ คนสำคัญ สตาลินดัดแปลงวิธีการของลัทธิคอมมิวนิสต์ตาม แบบของมาร์กซ์ และเลนินเสียใหม่ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ ต้องจัดระบอบการปกครองของ รัฐให้เข้าสู่ระบอบทรราชแบบรัฐตำรวจลับ ต้องมีการ ทำนารวม มีการควบคุมเครื่องอุปโภค บริโภค ต้องสร้างอุตสาหกรรมหนัก

โดยสรุปแล้ว รากฐานแนวความคิดของสงครามปฏิวัติสมัยใหม่เกิดขึ้นจากลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งคาร์ล มาร์กซ์ และเฟเดอริค เองงเกิลส์ สถาปนาขึ้น โดยมีเลนินเป็นผู้พัฒนารายละเอียดและ นำมาใช้ปฏิวัติ และมีสตาลินเป็นผู้ปรับปรุงแก้ไข และขยายวิธีการออกไป

แนวความคิดของสงครามปฏิวัติภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์ดังกล่าวนั้น มีผู้นำคนสำคัญ ๆ ในประเทศต่างๆ นำไปดัดแปลงแก้ไขวิธีการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ และ แต่ละสมัย เรียกกันโดยทั่วไปว่า เป็นแขนงต่างๆ ของลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่น นิกิตา ครุสชอฟ เสนอหลักการอยู่ร่วมกันโดยศานติ (Peaceful Co – existence) แทนที่จะใช้วิธีก้าวร้าว รุนแรง กลยุทธ์การทำสงครามปฏิวัติที่เรียกกันว่า “กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง” ของเหมาเจ๋อตุง แนวทางการต่อสู้โดยผสมผสานระหว่างหลักการของเลนินและเหมาเจ๋อตุงของโฮจิมินต์ ที่รู้จัก กันดีว่า “กลยุทธ์ป่าประสานเมือง” ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีในสงครามเวียดนามหรือ การทำสงครามกองโจร (FOCO) เพื่อล้มล้างรัฐบาลประธานาธิบดีบาติสต้าของฟิเดล คัสโตร เป็นต้น อย่างไรก็ดีการทำสงครามปฏิวัติตามหลักการของเหมาเจ๋อตุงดูเหมือนว่าจะมีผู้นำไป ประยุกต์ใช้และเกิดผลสำเร็จมากที่สุด


สงครามปฏิวัติจีน

เหมาเจ๋อตุงเป็นลูกชาวนาที่ร่ำรวยเกิดเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๖ บริเวณหมู่บ้าน เชาชาน มณฑลหูหนาน ประเทศจีน เหมาเจ๋อตุงเป็นคนหัวแข็งและดื้อรั้น แต่ชอบศึกษาหา ความรู้และอ่านหนังสือ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยครูของมณฑลหูหนานแล้วเขา เข้าทำงานที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยปักกิ่งจึงทำให้มีโอกาสอ่านหนังสือทั้งของจีนและต่าง ประเทศมากมาย

เหมาฯ ได้เริ่มวิถีชีวิตทางการเมืองโดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งได้ ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์โดยการนำของหวังหมิงเฉินตู้ซิว และจูเต้ พยายามทำการปฏิวัติจนเกิดสงครามกลางเมืองครั้งแรกระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๐ – ๒๔๗๗ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใช้หลักการและวิธีการตามแนวทางของลัทธิมาร์กซ์ – เลนิน กล่าวคือ ให้ความ สำคัญแก่การต่อสู้ของชนชั้นคนงานในตัวเมืองใหญ่ๆ เพื่อทำการยึดอำนาจรัฐ แต่ต้องประสบ ความพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมา เหมาฯ ได้จัดทำรายงานการสำรวจการเคลื่อนไหวของ ชาวนาในมณฑลหูหนาน ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งการเคลื่อนไหวของชาวนาที่ภายหลังเรียกกันว่า “การลุกฮือขึ้นต่อสู้ในหน้าเก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วง” โดยเหมาฯ ได้จัดตั้งฐานที่มั่นที่จิ่งกังซาน ซึ่งเป็นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลจากอำนาจรัฐ และประชาชนมีความยากจน การจัดตั้งฐานที่มั่น แห่งนี้ ได้กลายเป็นต้นแบบของการสร้างที่มั่นในระยะยาว โดยเหมาฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ ของฐานที่มั่น ซึ่งเป็นรากฐานแนวความคิดในการทำสงครามปฏิวัติ ดังนี้

๑ ) การต่อสู้เพื่อทำการปฏิวัตินั้นต้องเป็นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ และฝ่ายปฏิวัติจำเป็น ต้องสร้างกองทัพขึ้น จนมีความเข้มแข็งทัดเทียมกับข้าศึก

๒ ) การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธนี้อาศัยชาวนาเป็นพื้นฐาน และฐานที่มั่นของการทำสงคราม ปฏิวัติจะมีขึ้นได้แต่ในบริเวณพื้นที่ที่ห่างไกลออกมาจาก ตัวเมืองมาก และ การคมนาคม ลำบาก จนกองทัพข้าศึกไม่สามารถทุ่มกำลังบุกเข้าไปเป็นจำนวนมากได้

๓ ) การปฏิรูปที่ดินกับความสามารถในการเลี้ยงตนเอง มีความสำคัญต่อแผนยุทธศาสตร์ ทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและชาวนาต้องมีบทบาท มากที่สุด กำลังคนที่จะเข้าร่วมต้องมี ความสำนึกทางการเมืองสูง ซึ่งหมายถึงนักปฏิวัติอาชีพและปัญญาชนที่มีจิตใจสู้รบที่อยู่รอด ชีวิตจากการปราบปราม ในตัวเมือง และยึดมั่นในอุดมการณ์ลัทธิมาร์กซิสต์

๔ ) จะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจปกครองท้องถิ่นก่อน โดยยังคงดำเนินไปในแนวทาง เดียวกันกับของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต

๕ ) การต่อสู้เป็นการต่อสู้ในระยะยาวหมายถึงว่า จะต้องอาศัยอาณาบริเวณชนบทซึ่งมี เงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เพราะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ ส่วนในตัวเมืองนั้นมีปัญหามาก เช่น ปัญหาการจ้างงาน เศรษฐกิจ และการค้าขาย เป็นต้น

จากการที่ต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการสู้รบที่มณฑลเกียงสี พรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ ยอมรับแนวความคิดของเหมาฯ แต่เนื่องจากกำลังทหารฝ่ายรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เข้าโจมตีและ ล้อมปราบขนาดใหญ่ต่อกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จิ่งกังซาน ประกอบกับการขาดแคลน เสบียงอาหาร ทำให้เหมาฯ ต้องรวบรวมกำลังทหารล่าถอยจากมณฑลเกียงสี ไปยังเมือง เยนอาน มณฑลเสียนซี ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าหนึ่งหมื่นกิโลเมตร การสร้างวีรกรรม ” การล่า ทัพครั้งใหญ่ ” ของเหมาฯ ดังกล่าวนั้น ทำให้เขามีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ฐานที่มั่นของเหมาฯเริ่มสัมฤทธิ์ผล เมื่อเขานำกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์ เข้าทำการต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองจีน ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เหมาฯ พิจารณา เห็นว่า จีนมีอาณาเขตกว้างขวาง มีจำนวนทหารมากมาย แต่เทคนิคและการฝึกสอนทหารไม่ดี พอ ดังนั้น การที่จะเอาชนะกำลังของฝ่ายรัฐบาลก๊กมินตั๋งและทหารญี่ปุ่นซึ่งมีทหารที่ผ่านการ ฝึกมาอย่างดีและมีอาวุธที่เหนือกว่าได้นั้น จำเป็นต้องทำสงครามยืดเยื้อในทางยุทธศาสตร์และ หลีกเลี่ยงการทำสงครามขั้นแตกหัก ซึ่งเหมา ฯ ได้พัฒนาหลักนิยมในการต่อสู้ไว้ ๓ ขั้นตอน โดยเขียนไว้ในหนังสือ “On the Protracted War” หลังจากสงครามสิ้นสุดลงและญี่ปุ่นเป็น ฝ่ายแพ้ เหมา ฯ มีกำลังประชาชนที่จัดตั้งอย่างเป็นขบวนการระหว่างสงครามต่อต้านญี่ปุ่นถึง ๑๖๐ ล้านคน (ในจำนวนนี้เป็นกองทัพประชาชน ๑ ล้านคน และทหารบ้านอาสาสมัคร ๒ ล้าน คน) เข้าทำการต่อสู้กับทหารฝ่ายรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ซึ่งมีกำลังทหารถึง ๘ ล้านคน และสนับสนุน ทางการเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐ ฯ โดยการทำสงครามขั้นแตกหักที่เมืองซูโจว ใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ และกองทัพฝ่ายรัฐบาลก๊กมินตั๋งต้องพ่ายแพ้ เหมาฯและกองทัพ ประชาชนได้เคลื่อนทัพเข้ายึดกรุงปักกิ่ง เมืองเทียนสิน นานกิง และเซี่ยงไฮ้ได้สำเร็จในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของรัฐบาลก๊กมินตั๋งส่วนประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค กองทัพที่เหลือและประชาชนที่ภักดีหนีไปตั้งรัฐบาลอยู่ที่เกาะไต้หวัน ต่อมาในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ เหมา ฯ ได้ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน


ทฤษฎีสงครามปฏิวัติตามแนวทางของเหมาเจ๋อตุง
ในการทำสงครามต่อสู้ญี่ปุ่นและรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เหมาฯยึดหลักพิชัยสงครามของ ซุนวู ปราชญ์ นักรบจีนโบราณที่ว่า ต้องเอาชนะจิตใจประชาชนต้องเอาแหล่งที่มาของเสบียงอาหาร และพิชิตป้อมปราการต่างๆ ให้จงได้โดยที่เหมาฯมีเหตุผลที่ว่า “ทหารเปรียบเสมือนปลา ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ ปลาถ้าขาดน้ำก็ตายฉันใด ทหารถ้าอยู่ห่างประชาชนก็ย่อมตาย ฉันนั้น ”

เหมา ฯ ได้เขียนหนังสือชื่อ “On the Protracted War” โดยเหมาฯ กล่าวว่า การระดม กำลังทางการเมืองหมายถึงการบอกให้ประชาชน และกองทัพทราบถึงวัตถุประสงค์ทางการ เมืองในการทำสงครามนอกจากนั้นยังต้องวางกำหนด ขั้นตอนพร้อมทั้งจุดมุ่งหมาย ในการนำ ไปสู่วัตถุประสงค์อันนี้ไว้ให้ชัดเจนด้วย แนวความคิดของเหมาฯ ดังกล่าว ถือว่าเป็นรากฐาน ของการกำหนดยุทธศาสตร์สงครามปฏิวัติเพื่อยึดอำนาจรัฐด้วยมวลชนหรือ เรียกว่า “ สงคราม ประชาชน (People's War) โดยมีหลักนิยมในการดำเนินการรวม ๓ ขั้นตอน คือ ปฏิวัติ ประชาชาติ ประชาธิปไตย ปฏิวัติสังคมนิยม และปฏิวัติไปสู่คอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ

ในการแย่งชิงอำนาจรัฐ จากรัฐบาลจะต้องใช้วิธีปลุกระดมมวลชน ให้ลุกขึ้นต่อสู้โดย เงื่อนไขประชาธิปไตย และเงื่อนไขประชาชาติ โดยรวมกำลังผู้รักชาติขับไล่จักรวรรดินิยมให้ หมดไปจากแผ่นดิน และใช้เงื่อนไขต่างๆ เช่น เงื่อนไขเศรษฐกิจเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมใน สังคม เป็นเครื่องมือในการรุกทางการเมือง เพื่อเตรียมมวลชนปฏิวัติ ทำสงครามประชาชนด้วย กองกำลังติดอาวุธ ตามกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองทำการต่อสู้แบบยึดเยื้อยาวนานจนกว่าจะได้รับชัย ชนะ แบ่งยุทธวิธีออกเป็น ๓ ขั้นตอน

ขั้นรับ ในขณะที่มีกำลังน้อยกว่ากำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องดำเนินการแทรกซึมบ่อน ทำลาย และปลุกระดมทุกรูปแบบโดยดำเนินการทั้งในเมืองและชนบทเพื่อให้เกิดความแตก แยกในหมู่ประชาชนและข้าราชการ โดยชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอและความล้มเหลวของรัฐบาล สำหรับการสู้รบใช้แบบ จรยุทธ์ (Mobile Warfare) ซุ่มยิง ซุ่มโจมตี หรือยิงรบกวน

ขั้นยัน ในขั้นตอนนี้ฝ่ายที่ทำสงครามปฏิวัติ จะพยายามทำลายเศรษฐกิจของชาติทุก วิถีทาง และสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคม สำหรับในชนบทนั้นจะทำการสู้รบด้วยสงคราม จรยุทธ์เป็นหลัก ด้วยการต่อต้านกำลังป้องกันและปราบปรามฝ่ายรัฐบาลรวมทั้งเข้าครอบครอง พื้นที่ในชนบท บางแห่งเพื่อประกาศเป็นเขตปลดปล่อย และฐานที่มั่น

ขั้นรุก ขั้นนี้เป็นขั้นที่ฝ่ายปฏิวัติจะทำการรุกทางทหารและดำเนินสงครามจิตวิทยาอย่าง กว้างขวาง การเปิดสงครามรบพุ่งจะเป็น การใช้กำลังรบตามแบบ (Conventional Warfare) เพื่อให้ได้ชัยชนะในขั้นแตกหัก ยึดเมืองและทำการปฏิวัติล้มล้างการปกครองและยึดอำนาจรัฐ และบีบบังคับให้รัฐบาลต้อง ยอมจำนนในที่สุด

จากชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการทำสงครามปฏิวัติ จีนและสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้เหมาฯ มีข้อสรุปว่า การนำทฤษฎีของมาร์กซ์ – เลนิน ซึ่งมีรากฐานจากการทำสงคราม ปฏิวัติสำหรับประเทสสังคมอุตสาหกรรมมาใช้กับประเทศ จีนที่เป็นสังคมเกษตรกรรมนั้น ไม่ได้ผล เพราะมีกรรมกรไม่เพียงพอที่จะเป็นมวลชนสนับสนุนการปฏิวัติในเมืองเช่นการปฏิวัติ รัสเซียได้ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ชาวนาชาวไร่ตามกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองแทน

การนำทฤษฎีสงครามปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงไปใช้ในช่วงสงครามเย็น

กลยุทธ์ของการทำสงครามปฏิวัติในช่วงสงครามเย็นนั้น ทฤษฎีสงครามประชาชน (People'War) ของเหมา ฯ นับได้ว่า เป็นทฤษฎีที่โดดเด่นและมีผู้นำไปใช้ หรือนำไปดัดแปลง ใช้เป็นจำนวนมากที่ประสบผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ การทำสงครามกองโจรที่เรียกว่า FOCO เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองของประธานาธิบดี บาติสต้า โดยมี ฟิเดล คาสโตร เป็น ผู้นำและการทำสงครามปฏิวัติโดยใช้กลยุทธ์ป่าประสานเมืองของโฮจิมินห์ นอกนั้นมีเกือบจะ สำเร็จ เช่น กัมพูชา แองโกลา ซิมบับเว นามิเบีย และแอลจีเรีย เป็นต้น จุดเด่นที่สำคัญของ ทฤษฎีสงครามประชาชนของเหมา ฯ ก็คือ การใช้การเมืองนำหน้า การทหาร การจัดตั้งกลุ่ม การเมืองทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อประสานการเคลื่อนไหวทาง การเมืองการทำสงคราม ยืดเยื้อ และใช้ชนบทห่างไกลเป็นฐานที่มั่นในการรุกคืบหน้า เป็นต้น แนวความคิดต่างๆ เหล่านี้ ดูไม่ยุ่งยาก แต่ทำไมการทำสงครามปฏิวัติของเหมาฯ จึงประสบความสำเร็จและมีอุปสรรคค่อน ข้างน้อย ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในช่วงนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ ไม่แพร่ หลาย นอกจากนี้จากการที่ฝ่ายปฏิวัติได้พยายามค้นหาหรือสร้างเงื่อนไขที่เป็นจุดอ่อนแอของ รัฐบาลที่ครองอำนาจรัฐอยู่ในขณะนั้น เช่นปัญหาการไร้ความชอบธรรมในการปกครองประเทศ ความยากจน และความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ดี การทำสงครามปฏิวัติในบาง ประเทศก็อยู่ห่างไกลจากความสำเร็จ เช่นกรณีของ เอล ซัลวาเดอร์


ในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ เอลซัลวาเดอร์ เหมือนกับประเทศอื่นในลาตินอเมริกาที่ ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ ค่อนข้างสูง การจัดสรรและการกระจาย ความมั่งคั่งไม่ยุติธรรมทหารเข้าแทรกแซงทางการเมือง การฉ้อราษฎร์บังหลวง และการใช้ ความรุนแรงของกลุ่มปฏิปักษ์ทางการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ความหนาแน่นของประชากร และการสนับสนุนอาวุธของสหภาพโซเวียตผ่านนิคารากัวเพื่อส่งต่อไปให้กลุ่มกองโจร FMLN (Farabundo Marti de Liberation National) ยังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก สหรัฐฯ จึงเข้าช่วยเหลือ แต่ปรับเปลี่ยนวิธีการโดยอาศัยบทเรียนที่ได้รับจากการทำสงครามกองโจรกับ เวียดกงใน สงครามเวียดนาม ในครั้งนี้สหรัฐ ฯ จัดส่งที่ปรึกษาทางทหารและพลเรือนเข้าไป ให้คำแนะนำ และพยายามสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลเอลซัลวาเดอร์ในขณะนั้น ให้มุ่งเน้น ความอยู่รอดของประชาชน ใช้การเมืองและเศรษฐกิจนำหน้าทหาร ทำสงครามจิตวิทยาด้วย การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อแย่งชิงประชาชน และปฏิรูปการบริหารประเทศ ในขณะเดียวกันก็ ช่วยเหลือปรับปรุงกองทัพให้มีอาวุธที่ทันสมัยและขีดความสามารถในการ ทำสงครามต่อต้าน การปฏิวัติ รวมทั้งทำการปรับปรุงกฎหมาย ปฏิรูปสังคม และส่งเสริมให้มีการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยกลุ่มกองโจรและรัฐบาลร่วมลงนาม หยุดยิงในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๓๕

ปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อสงคราม การสื่อสารคมนาคม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการขนส่งในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ นั้นทำให้การ สื่อสารคมนาคมและการขนส่งกระทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นประชาชนในชนบท ห่างไกลในประเทศด้อยพัฒนาได้รับทราบข่าว สารต่างๆ อย่างทั่วถึง เมื่อพวกเขาเหล่านั้น ทราบถึงความทุกข์ยากและความด้อยกว่าของชีวิตและความเป็นอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับ ประชาชนในส่วนอื่นๆ ของโลก การเรียกร้องจึงบังเกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งเกินขีดความสามารถ ที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้ได้ ทำให้เกิดการผิดหวัง และขยายผลกลายเป็นความรุนแรงทาง การเมืองนอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าของการ สื่อสารคมนาคมในปัจจุบัน ยังเป็นตัวเร่งให้ เกิดกระแสการปฏิวัติสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะพวกผู้ก่อการร้าย (Terrorist) ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงด้วยวิถีทางของการใช้ความรุนแรง เพราะผู้นำการต่อต้านรัฐบาล ในประเทสหรือในภูมิภาคจะสามารถศึกษาทำความเข้าใจ เลียนแบบหรือนำบทเรียนที่ได้รับ มาแก้ไขปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะ การณ์ได้ตามที่ต้องการ

การเมืองและเศรษฐกิจ

นอกเหนือจากการสื่อสารคมนาคมแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและ สังคม ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ในช่วงปลายของศตวรรษที่ ๒๐ นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีก ประการหนึ่งที่มีผลทำให้เกิดสงครามปฏิวัติในอนาคต ประเทศโลกที่ ๓ ที่มีการปฏิรูปทาง การเมือง เพื่อนำไปสู่ความเป็นประเทศประชาธิปไตย ภายใต้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมนี้ บาง ประเทศก็ประสบความสำเร็จ จากการพัฒนาที่เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง แต่บางประเทศก็ ประสบความล้มเหลว ประกอบกับปัญหาความขัดแย้งของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยและ ลัทธิศาสนาที่แฝงตัวอยู่อาจจะนำไปสู่การแตกแยกในสังคมและใน ที่สุดคือการแบ่งประเทศ อำนาจการบริหารปกครองประเทศตกอยู่กับผู้นำที่เป็นเผด็จการหรือผู้นำทางทหาร บ้านเมือง เกิดการกลียุค หรือ อนาธิปไตย (Anarchy) เช่นที่เป็นอยู่ในอัฟกานิสถาน ที่ซึ่งไม่มีแม้กระทั่ง กฎหมาย ไม่มีรัฐบาล หรือแม้แต่ระบบเศรษฐกิจ มีแต่เพียงปืน ยาเสพติด ความโกรธ และ ความรุนแรง ส่วนประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ประเทศโลกที่ ๓ ประสบอยู่ก็คือ อัตราการเจริญ เติบโต ทางเศรษฐกิจสวนทางกับความต้องการของประชาชนที่รุดหน้า อย่างรวดเร็ว หาก รัฐบาลเพิกเฉย หรือไม่สามารถแก้ไขให้สำเร็จอย่างรวดเร็วและเพียงพอแล้ว อาจจะกลายเป็น เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล และกลายเป็นชนวนให้เกิดการทำสงครามปฏิวัติ ก็อาจเป็นได้


ความรุนแรงในสังคม

ในช่วงระยะเวลา ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมาการก่อการร้ายที่ใช้ความรุนแรง และอาชญากรรม ข้ามชาติ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ด้วยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาที่มี ปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงาน การขาดประสิทธิภาพในการรักษาและบังคับใช้กฎหมาย ตำรวจใช้ อำนาจในทางมิชอบ การฉ้อราษฎร์บังหลวงยกตัวอย่างเช่น ประเทศปานามา ที่แม้แต่ร้านขาย ของชำยังต้องใช้คนถืออาวุธดูแลคุ้มครอง หรือนักธุรกิจต้องมีมือปืนคุ้มกันเป็นจำนวนมากเพื่อ ป้องกันปฏิปักษ์ทางการเมืองและทางธุรกิจ เป็นต้นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างๆ ทั่วโลก นี้เป็นปัญหายืดเยื้อและยากที่จะแก้ไข เช่นที่เกิดใน เลบานอนฉนวนกาซา อัฟกานิสถาน กัมพูชา โคลอมเบีย และไลบีเรีย สถานที่ซึ่งเด็กเห็นภาพของความรุนแรงอยู่เป็นประจำจน กลายเป็นความเคยชิน และหล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจที่ชอบความรุนแรงเมื่อโตขึ้น


ชนกลุ่มน้อย
การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ เป็นรากฐานสำคัญของ ลัทธิชนกลุ่มน้อยในส่วนต่างๆ ของโลก เมื่อพิจารณาจากในแง่ของกลุ่มเชื้อชาติแล้ว มีประมาณ ๒๐ ประเทศ จาก ๑๗๔ ประเทศทั่วโลกที่มีการรวมตัวอย่างเหนียวแน่นในเรื่องของเชื้อชาติ และที่น่าสนใจยิ่งขึ้นก็คือ มีประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศเหล่านี้ ที่มีคนเชื้อชาติเดียวกันมาก กว่าร้อยละ ๗๕ ของประชากรทั้งหมดประกอบกับประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักไม่มีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยผู้นำในประเทศขณะนั้นกระทำการกดขี่ ข่มเหงละเมิดสิทธิมนุษยชน ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฝ่ายตรงข้าม จนต้องมีการอพยมหลบหนีไปอยู่ประเทศข้างเคียง ตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดเจนคือเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมเชื้อสายแอลบาเนีย โดยกองกำลังชาวเซิร์บ ในจังหวัดโคโซโว จน NATO ต้องปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในประเทศยูโก สโลวาเกีย เพื่อสร้างแรงกดดันให้พวกเซิร์บยุติการกระทำ พร้อมกับส่งกองกำลังของประเทศ สมาชิก NATO เข้าไปปฏิบัติการรักษาความสงบในโคโซโว

ลัทธิและความเชื่อทางศาสนา

แนวโน้มประการสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงก็คือ การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อลัทธิและความ เชื่อทางศาสนาของพวกมุสลิมจีฮัดซึ่งมีแนวโน้ม ที่จะใช้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น (จีฮัด ตาม ศาสนาอิสลาม หมายถึงการต่อสู้ด้วยการใช้มือ ลิ้น ดาบและจิตใจที่เข้มแข็ง) เนื่องจากการ แพร่ขยายของอาวุธสงครามและการที่ผู้นำทางศาสนาชี้นำให้ทำสงครามกับ พวกนอกศาสนา อิสลามมากขึ้น

กลุ่มอิสลามหัวรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน พยายามใช้ความรุนแรงเพื่อแสวง หาอำนาจทางการเมืองในประเทศอิสลาม ซูดาน อียิปต์ แอลจีเรียและตูนีเซีย และขยายอิทธิพล เข้าครอบงำกลุ่มผู้นำอิสลามในอัฟกานิสถาน อินโดนีเซียและปากีสถาน ซึ่งจะนำไปสู่ความ ขัดแย้งทางศาสนา และเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองการ ปกครอง เช่นเดียวกับที่อยาตอลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำทางศาสนาและกลุ่มสาวก ได้ ทำการปฏิวัติขับไล่พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน มาแล้ว

รูปแบบของการทำสงครามปฏิวัติในอนาคต

การทำสงครามปฏิวัติตามทฤษฎีของเหมาเจ๋อตุง เป็นผลสะท้อนของยุทธศาสตร์การ แข่งขันต่อสู้เพื่อขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์จีนในยุคสงคราม เย็น แต่หลังจากการล่มสลายของ สหภาพโซเวียตทำให้การต่อสู้แข่งขันระว่างค่ายเสรีประชาธิปไตย และค่ายคอมมิวนิสต์ต้อง ยุติลงไปด้วย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างกว้างขวาง และรวดเร็วในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ หลักนิยมการทำสงครามประชาชนตามทฤษฎีของเหมา ฯ ย่อมต้องเปลี่ยนรูปแบบ (Mutate) ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วย เป้าหมายในการทำสงครามประชาชนของเหมาฯ นั้น อยู่ที่การยึดอำนาจทางการเมือง และการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนทฤษฎี และหลักนิยมที่ใช้คือการบ่อนทำลายทางการเมืองควบคู่ไปกับการทำสงคราม กองโจร และทำ สงครามตามแบบในขั้นแตกหักเมื่อจำเป็นอย่างไรก็ดีภายหลังจากการสิ้นสุดสงคราม เย็น ผู้นำการปฏิวัติคงจะต้องปรับวิธีการดำเนินการใหม่ โดยใช้การปรับเปลี่ยน (Transform) มาก กว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างถอนรากถอนโคนเพื่อสร้างระบบใหม่ตามทฤษฎีมาร์กซิสต์ เช่น แต่ก่อน เพราะการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีนัยของการปฏิวัติอยู่ในตัวเองแล้ว โดยรูปแบบ ของการทำสงครามปฏิวัติในช่วงต้นของศตวรรษที่ ๒๑ นั้น เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว จะมีลักษณะดังนี้

การต่อต้านลัทธิเสรีนิยม (Reactionary Insurgency)
การดำเนินการในแนวทางนี้ยังมีจุดมุ่งอยู่ที่การต่อสู้เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองของ รัฐบาล เช่นเดียวกับที่กลุ่มศาสนาในอิหร่านใช้ในการยึดอำนาจการปกครองจากพระเจ้าชาห์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ แต่คงต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่นหัน มามุ่งเน้นทำสงครามก่อการร้ายบริเวณพื้นที่แถบชานเมือง (Urban Warfare) มากกว่าการ ทำสงครามกองโจรในชนบทรวมทั้งแสวงหาการสนับสนุนด้านการเงิน อาวุธ การฝึกและอื่นๆ จากภายนอก เพื่อให้สามารถทำการต่อสู้ได้ในระยะยาว ขณะเดียวกันก็ต้องใช้กลยุทธ์ทุกวิถีทาง ที่จะทำให้ฝ่ายรัฐบาลเกิดความอ่อนแอ และต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด เช่น การทำสงคราม ต่อต้านรัฐบาลของ Kosovo Liberation Army / KLA ซึ่งจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแบ่งแยกดินแดนโคโซโวออกจากประเทศยูโกสลาเวีย KLA ได้รับการ สนับสนุนเงินและอาวุธจากชนเชื้อสายแอลบาเนียที่อยู่ในประเทศแอลบาเนีย เยอรมันและ สวิตเซอร์แลนด์ ยุทธวิธีที่ KLA มักจะชอบใช้คือ การโฆษณาชวนเชื่อผ่าน สื่อต่างๆ โดย เฉพาะเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อเรียกร้องความสนใจและเห็นใจ ในขณะเดียวกันก็ใช้ยุทธวิธี การก่อการร้ายของหน่วยจรยุทธ์ขนาดเล็กเข้าโจมตีต่อ เป้าหมายพลเรือน และรัฐบาลของ ฝ่ายเซิร์บเฉพาะช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๔ - ๒๕๔๐ KLA ทำการโจมตีเป้าหมาย รวม ๙๐ ครั้ง ในจำนวนนี้ ๒๐ ครั้งเป็นเป้าหมายพลเรือน ๓๙ คน และบาดเจ็บ ๗๐ คน


การปลดแอกอำนาจรัฐ (Secessionist – Separatist Insurgencies)

การก่อการร้ายตามแนวทางนี้ มักจะเกิดขึ้นในรัฐ หรือ ประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับ เชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อย การเหยียดผิวและศาสนา แม้ว่าผู้นำการกบฏต้องการแบ่งแยกดินแดน เพื่อปกตรองตนเองอย่างอิสระแต่จะไม่ทำการโค่นล้มเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เพียงแต่จัดตั้ง เขตปลดปล่อย (Liberated Zone) เพื่อปกครองตนเอง ซึ่งมีลักษณะเดียวกับการทำสงครามประชาชนของเหมาฯ ที่ใช้เป็นฐานที่มั่นสำหรับการทำ สงครามจรยุทธ์ แต่การแบ่งแยกเขตปกครองตามแนวทางนี้ จะเป็นการสร้างรากฐานเพื่อ ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่มชนเดียวกันมากกว่าที่จะทำสงคราม จรยุทธ์เช่น ที่ผ่านมาในอดีต การปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลจะกระทำได้ลำบากและยากที่จะประสบชัยชนะหากรัฐบาลเห็นว่า ประชาชนที่ให้การสนับสนุน การทำสงครามต่อต้านรัฐบาลเป็นศัตรูและ ทำการปราบปราม อย่างรุนแรง เช่นที่เกิดขึ้นใน เปรู และ กัวเตมาลา ด้วยแล้ว จะทำให้รัฐบาลตกเป็นรอง เพราะ ขาดการสนับสนุนจากประชาชน ส่วนผู้นำกบฏต่อต้านอาจจะหลบหนีเข้าไปในดินแดนของ ประเทศเพื่อนบ้าน และหันมาทำสงครามก่อการร้ายต่อเป้าหมายทางทหารและพลเรือนเต็ม รูปแบบ เพื่อก่อให้เกิดความระส่ำระสายขึ้นในบ้านเมือง และหาทางยึดอำนาจรัฐในที่สุด

การก่อการร้ายทางธุรกิจ (Commercial Insurgency)

เมื่อศตวรรษที่ ๒๐ ใกล้จะปิดฉากลงแต่การทำธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศนั้นกลับมี การแข่งขันอย่างรุนแรง และมีการดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอดของกิจการ และ ความเจริญมั่งคั่งของชาติตนแม้ว่าการก่อการร้ายทางธุรกิจการค้านี้ จะไม่มีการยึดอำนาจ การปกครองตามหลักการสงครามประชาชนของเหมาฯ แต่ก็มีผลกระทบโดยตรงต่อความ มั่นคงของประเทศชาติ

การก่อการร้ายในรูปแบบนี้ อาจจะดำเนินการผ่านองค์การอาชญากรรมในประเทศ และ หรือร่วมกับองค์การอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมีนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจในประเทศให้การ หนุนหลังและคุ้มครองเพื่อแลกกับ ผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบโดยทั่วไปแล้ว ผู้นำ องค์กรไม่ประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แต่ต้องการความคุ้มครองและ ไม่ให้มีการขัดขวางการกระทำที่ผิดกฎหมายจากฝ่าย รัฐบาล แต่ถ้ารัฐบาลต่อต้านหรือทำ การปราบปราม กลุ่มองค์การอาชญากรรมเหล่านี้ จะใช้วิธีการรุนแรงเพื่อบั่นทอนความเชื่อถือ และทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอนและอาจจะล้มไปในที่สุดเช่น การลักลอบผลิตและจัด จำหน่ายค้ายาเสพติด การเคลื่อนไหวเพื่อก่อการกบฏในเซียรา ลีโอน และไลบีเรีย เป็นต้น

การต่อต้านกองกำลังนานาชาติที่ส่งเข้าไปรักษาสันติภาพ

อาจกล่าวได้ว่า ในปัจจุบันนี้มีการทำสงครามที่ใช้กำลังทหารเข้าร่วมทำการต่อสู้ประมาณ ๔๐ แห่ง ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สงครามที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นการต่อสู้ภายในประเทศ โดยมุ่ง ประสงค์ต่อกองกำลังขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ ที่ส่งเข้าไปรักษา สันติภาพและควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศที่มีปัญหา การต่อต้านลักษณะนี้ได้เลียนแบบ ความขัดแย้งที่เกิดจากลัทธิล่าเมืองขึ้นในแอลจีเรีย อังโกลา และการทำสงครามต่อต้านการ ยึดครองฝรั่งเศสในเวียดนาม โดยกลุ่มต่อต้านจะหยิบยกประเด่นการแบ่งแยกผิว เชื้อชาติและ ศาสนาและพยายามชี้ให้ประชาชนเห็นว่าการที่รัฐบาลยอมให้กองกำลัง ต่างชาติเข้ามาปฏิบัติ งานในประเทศ เท่ากับการสูญเสียเอกราช เมื่อมวลชนให้การสนับสนุนแล้วกลุ่มต่อต้านจะ สร้างความวุ่นวาย สับสนและเข้าโจมตีกองกำลังนานาชาติที่ส่งเข้าไปดูแลความสงบและรักษา สันติภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นต้นฉบับของการต่อต้าน และการก่อการร้ายใน ลักษณะนี้ก็คือกรณีของโซมาเลีย

การทำสงครามก่อการร้ายบริเวณชานเมือง (Urban Warfare)

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพของเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมตลอดจนที่ พักอาศัย ขยายตัวไปตั้งอยู่บริเวณชานเมืองมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเมืองใหญ่ๆ ของ เอเชีย ลาตินอเมริกาและยุโรป ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรจากชนบทเข้ามาหางานทำ หรือ ประกอบธุรกิจในบริเวณชานเมือง และมีการคาดหมายกันว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๘ จำนวน ประชากรในแถบชานเมืองจะมีประมาณร้อยละ ๖๐ - ๗๐ ของประชากรทั้งหมด ของโลก การที่ จำนวนประชากรเข้ามารวมกันเป็นจำนวนมากเช่นนี้ จะทำให้บริเวณชานเมืองกลายเป็นชุมชน แออัด ( สลัม ) ที่เต็มไปด้วยคนยากจน แรงงานที่มีรายได้น้อย และมิจฉาชีพ นำไปสู่ปัญหาทาง สังคม ความเสื่อมถอยทาง วัฒนธรรม ยาเสพติดและการใช้ความรุนแรงกลายเป็นจุดศูนย์ดุล (Center of Gravity) ของผู้นำการปฏิวัติหรือผู้ก่อการร้าย เพราะเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและ สังคมที่มีอยู่ภายในชุมชนแออัดเหล่านี้เพียงพอที่จะใช้ ในการปลุกระดมยุแหร่ หรือสนับสนุนให้ ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล การก่อวินาศกรรม หรือการก่อการร้ายเพื่อ ลดความเชื่อถือและความเชื่อมั่นของรัฐบาลลง ในขณะเดียวกันความหนาแน่นของประชากร และที่อยู่อาศัย ตลอดจนสิ่งก่อสร้าง จะเป็นข้อจำกัดต่อฝ่ายรัฐบาลในการใช้กำลังเข้าปราบปราม โดยเฉพาะกรณีของการใช้อาวุธไม่ว่าจะเป็นอากาศยาน ปืนใหญ่ หรือแม้แต่รถถัง ทำให้รัฐบาล ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ


อย่างไรก็ดีการทำสงครามปฏิวัติโดยใช้บริเวณชานเมืองเป็นฐานที่มั่นนั้น ยังคงต้องได้รับ การสนับสนุนจากประชาชน เพื่อทำสงครามยืดเยื้อตามทฤษฎีของเหมาฯ แต่วิธีการอาจจะแตก ต่างออกไป สิ่งที่ผู้นำการปฏิวัติจะต้องกระทำคือ สร้างแรงกดดันให้รัฐบาลปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์โดยใช้การททหารนำการเมือง และยั่วยุให้ใช้อาวุธเข้าปราบปรามผู้ก่อการปฏิวัติ และประชาชนที่ให้การสนับสนุน หากการปราบปรามเพิ่มความรุนแรงและขยายตัวออกไป อาจ ทำให้ประชาชนหันมาสนับสนุนฝ่ายปฏิวัติมากยิ่งขึ้น นั่นคือ การบรรลุผลสำเร็จตามขั้นตอนการ ทำสงครามประชาชน

การทำสงครามบริเวณชานเมืองนี้หากมองย้อนไปในอดีตจะเห็นได้ว่า มีการนำมาใช้ใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ หลายแห่ง อาทิ การต่อสู้ของทหารรัสเซียเพื่อป้องกันเมืองสตาลินกราด จากการโจมตีของทหารเยอรมัน และการการต่อต้านกำลังทหารอเมริกันของทหารญี่ปุ่นใน การบุกเพื่อปลดปล่อยกรุงมะลิลา ซึ่งในครั้งนั้นทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไปถึง ๑,๐๐๐ นาย การทำสงครามในลักษณะนี้ กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ของกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการแบ่งแยก ดินแดนเรียกร้องเอกราชและเสรีภาพในยุโรปเช่น ในเชซเนีย ไอร์แลนด์เหนือ และบอสเนีย เป็นต้น สำหรับในลาตินอเมริกานั้นการทำสงครามบริเวณชานเมือง ที่ผ่านมามักจะไม่ได้รับ ผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นพวกผู้ก่อการร้ายจึงหันกลับไปใช้การทำสงครามประชาชนโดยจัดตั้ง ฐานที่มั่นใน ชนบทโดยใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง และเป็นสงครามยืดเยื้อตามแนวความคิดของ เหมาฯ แทนอย่างไรก็ดีหากสภาพเศรษฐกิจ สังคมและลักษณะทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลงใน ลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการทำสงคราม บริเวณชานเมืองแล้ว พวกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอาจจะหัน กลับไปใช้วิธีการต่อสู้โดยยึดชานเมืองเป็นฐานที่มั่น มากขึ้นก็เป็นไปได้

บทสรุป

การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนอกจากจะทำให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วยังทำให้ความ เลื่อมใสศรัทธา และความเชื่อมั่นที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ของประชาชนในส่วนต่างๆ ของโลก ต้องเสื่อมถอยตามไปด้วยแต่อย่างไรก็ดีแนวความคิดในการต่อต้านรัฐบาลที่จะนำ ไปสู่การทำ สงครามปฏิวัตินอกจากจะดำรงอยู่มิได้สูญเสียหรือเสื่อมถอยลงไปด้วยแล้ว ยังมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ตราบเท่าที่การใช้อำนาจรัฐเพื่อบังคับขู่เข็ญ และกดขี่ข่มเหงประชาชน ตลอดจนความ เหลื่อมล้ำของสังคม ความยากจนและการว่างงานยังคงมีอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ประเทศในโลกที่ ๓

ในการทำสงครามปฏิวัติที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ และยุทธวิธียังคงมีความ สำคัญ ต่อความสำเร็จและความล้มเหลวบทเรียนในอดีตจะเปรียบเสมือนกุญแจที่นำไปสู่ความ สำเร็จของการทำสงครามปฏิวัติในอนาคต นอกจากนี้การจัดกลุ่มเพื่อรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทาง การเมืองการทำสงครามกองโจร และการก่อการร้ายยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการ ต่อต้านรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของการปฏิบัติการ ยังคงขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้นำการปฏิวัติที่จะปรับเปลี่ยนทฤษฎีให้เหมาะสมกับ สภาวการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิศาสตร์ สำหรับทฤษฎีหลักนิยม และอุดมการณ์ที่กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขวาจัด หรือกลุ่มคลั่งลัทธิศาสนาหรือกลุ่ม เชื้อชาติ จะนำมาใช้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น จะยังคงวนเวียน อยู่กับการยุทต์ทฤษฎีของมาร์กซ์ เลนิน และเหมาเจ๋อตุง ซึ่งที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามี ประสิทธิภาพสำหรับสงครามปฏิวัติ

สำหรับการต่อต้านการทำสงครามปฏิวัตินั้น ประเทศต่างๆ จะต้องศึกษาและทำความ เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการทำสงครามปฏิวัติ ต้องพยายามขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่สถาน การณ์ ปฏิวัติ ใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ทาง การเมือง การทหารเศรษฐกิจหรือแม้แต่ทางสังคม ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการต่อสู้ โดยผสมผสานกันทั้งในระดับยุทธศาสตร์และยุทธวิธี การใช้ปฏิบัติการทางทหารแต่เพียง อย่างเดียวอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวและพ่ายแพ้



Create Date : 11 มิถุนายน 2550
Last Update : 11 มิถุนายน 2550 22:09:26 น. 1 comments
Counter : 1987 Pageviews.

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.120.15.123 วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:1:53:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.