Angel Thunder '08: การแข่งขันใช้อาวุธของกองทัพอากาศไทย ตอน อาวุธตั้งแสดง
ภาคแรกครับ
"Angel Thunder '08: การแข่งขันใช้อาวุธของกองทัพอากาศไทย ตอน การแสดงการบิน"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=06-11-2008&group=2&gblog=108
ภาคสองมาแล้วครับผม ^ ^ ........ หลังจากที่เจอฝนไปจนเครื่องบินแทบบินไม่ได้แล้วกลับฐานไป เราเลยมาเดินดูอาวุธตั้งแสดงดีกว่าครับ!
ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นอาวุธที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีครับ เพราะไปงานวันเด็กทีไรก็เห็นทุกที แต่คราวนี้ได้เดินดูอย่างใกล้ชิดหน่อยครับเพราะผมเดินไปพร้อมกับท่านผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) ประธานในพิธี
ตัวแรกก็นี่เลยครับ RBS-70 .......... RBS-70 เป็นจรวดต่อสู้อากาศยาน (Surface-to-Air Missile: SAM) ระยะใกล้ซึ่งผลิตโดยบริษัท Bofor ประเทศสวีเดนครับ RBS-70 มีระยะยิงไกลสุด 8 กม. บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมมันมีระยะยิงใกล้จัง เหตุผลที่มีระยะยิงแค่นี้เพราะบทบาทของจรวดต่อสู้อากาศยานของกองทัพอากาศก็คือการป้องกันฐานบินและสนามบินครับ จึงต้องจัดหาจรวดต่อสู้อากาศยานพิสัยใกล้เพื่อป้องกันเครื่องบินที่จะมามิ้งระเบิดสนามบิน ส่วนจรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกลเป็นหน้าที่ของกองทัพบกที่จะต้องจัดหาครับ
นี่ครับ ตัวจรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ โดยเจ้าเครื่องกำเนิดเลเซอร์ตัวนี้จะยิงลำแสงเลเซอร์ไปหาเครื่องบินข้าศึกเพื่อให้จรวดวิ่งไปตามแสงเลเซอร์ครับ
และพลยิงก็จะมองดูในจอภาพจนเครื่องบินเข้ามาสู่ระยะยิง เมื่อยิงออกไปแล้วพลยิงมีหน้าที่เล็งตามไปจนจรวดกระทบเป้าหมายครับ หลักการทำงานแบบนี้มีข้อเสียก็คือถ้าพลยิงเล็งไม่ดีจรวดก็พลาดเป้า แต่ข้อดีของมันคือมันแทบจะไม่มีอะไรลวงได้เลยครับเพราะมันวิ่งตามแสงเลเซอร์ของตัวฐานยิงอย่างเดียว!
งานนี้จึงขึ้นอยู่กับฝีมือของผลยิงล้วน ๆ ครับ ซึ่งปกติแล้วกองทัพอากาศจัดซ้อมยิงจรวด RBS-70 และ QW-2 ทุกปี ผมเลยถามพี่เขาว่างานนี้พี่ไม่ยิงโชว์สักนัดล่ะ? พี่เขาตอบว่าไม่ไหวนัดละ 3 ล้านน้อง .......... จ๊ากกกกกกกกกกก ถ้ายิงทีนึงนี่ C-Class 1 คันหายไปกับตา!!!
ต่อไปเป็นปืนต่อสู้อากาศยาน Mauser 30 มม. ครับ ....... ปืนนี้ผลิตในประเทศเยอรมันครับผม สังเกตุได้จากยี่ห้อครับ Mauser แถมกระบอกนี้เป็นปืนตัวแรกในสายการผลิตด้วย อิอิ กองทัพอากาศจัดหาปืนรุ่นนี้มาในปี 2531 ครับ
ปืนนี้ทำหน้าที่คู่กับเรด้าร์ควบคุมการยิงแบบ Skyguard ครับ พูดง่าย ๆ ก็คือปืนมันมีเรด้าร์ช่วยเล็งให้นั่นเองครับ
ปืนขนาด 30 มม. ดูกระสุนสิครับ ใหญ่สุด ๆ ปาใส่หัวคนก็ตายแล้วครับ ^ ^
ด้านหนังที่นั่งพลยิงครับผม
ถัดมาเป็นระบบเรด้าร์ Giraffe ครับ ...... Giraffe เป็นเรด้าร์ระยะใกล้ - ปานกลางซึ่งผลิตโดยบริษัท Ericsson หรือปัจจุบันคือ Saab Microwave Systems ครับ ..... โดยปกติแล้ว Giraffe ซึ่งมีระยะราวจจับราว 20 - 40 กม. จะทำงานร่วมกับจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ โดยในกรณีของกองทัพอากาศไทยก็คือจรวด RBS-70 นั่นเองครับ แต่ตัวมันเองมีระบบสั่งการ, ควบคุม, และสื่อสาร (Command, control and communication: C3) ด้วยในตัว มันจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการของระบบป้องกันภัยทางอากาศในพื้นที่ได้ครับ
ทอ. เพิ่งจัดหา Giraffe มาเมื่อราว ๆ ปี 47 นี่เองครับ วันเด็กทอ.มักจะเอาไปโชว์ทุกปีครับ ^ ^
สุดท้าย เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า (Man-Portable Air-Defense Systems: MANPADS) แบบ QW-2 ซึ่งผลิตในประเทศจีนครับ โดยจรวดมีพื้นฐานมาจากจรวด SA-16 ของรัสเซีย ....... แหมดูหน้าน้องคนนี้แล้วอย่างกะจะเบ่งพลังอะไรสักอย่าง 555+ (เขามาถ่ายรายการโทรทัศน์ครับ)
อันนี้คืออุปกรณ์ของชุดยิง QW-2 ครับ ก็จะมีตัวลำกล้องยิง กล้องส่องทางไกลเอาไว้ดูเครื่องบิน มีเข็มทิศ และวิทยุเพื่อสื่อสารกับหน่วยอื่นครับ โดย QW-2 มีระยะยิงราว 500 เมตร - 6 กม.
อันนี้คือส่วนที่ใช้เล็งครับผม
ลูกกลม ๆ นี้คือแบ็ตเตอร์รี่ซึ่งจะให้พลังงานกับเซ็นเซอร์ตรวจจับรังสีอินฟาเรดที่เห็นเป็นกระบอกกลม ๆ ด้านหน้าครับ โดยรังสีอินฟาเรดจะแผ่ออกมาจากแหล่งกำเนิดความร้อนซึ่งก็คือเครื่องยนต์เครื่องบินนั่นเอง และแม้ว่าเครื่องยนต์จะอยู่ข้างหลัง แต่ QW-2 ก็มีความสามารถที่จะตรวจจับรังสีอินฟาเรดได้ไม่ว่าเครื่องยนต์จะหันไปทางไหนก็ตาม ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องยิงไล่หลังเครื่องบินเสมอไปครับ
นายทหารท่านนี้ไหน ๆ ก็มาแล้วเลยขอลองส่องซะหน่อย ^ ^ ...... อ้อ กลม ๆ ที่หัวนั่นคือลูกจรวดปลอมที่มีน้ำหนักเท่าลูกจรวดจริงครับ เพื่อเวลาฝึกพลยิงจะได้รู้สึกหนักสมจริง อิอิอิ
เล็งดี ๆ นะครับพี่อย่าไปเล็งเอา F-16 ที่เพิ่งบินกลับไปล่ะ 555+
พี่เขาเห็นผมถ่ายรูปอยู่ เลยถามว่า "สนใจลองถือมั๊ย?" ........... สนจิครับ 555+ ....... เลยลองถือเล็งดูครับและพี่เขาก็ถ่ายรูปให้ .... หนักจริง ๆ เลยครับเพราะทั้งระบบหนักราว 18 กก. หนักจริง ๆ ^ ^"
สำหรับภาคนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ วันนี้หลังจากบินเสร็จแล้วศิลปินและนักแสดงจากค่าย RS ก็มาเปิดคอนเสิร์ตและพาเด็ก ๆ เที่ยวด้วย ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น รอชมตอนหน้าครับ ^ ^
สำหรับวันนี้จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ ^ ^
Create Date : 07 พฤศจิกายน 2551 |
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2551 23:32:26 น. |
|
10 comments
|
Counter : 5213 Pageviews. |
|
|
|