JAS-39 Gripen: คำชี้แจงอย่างเป็นทางการของกองทัพอากาศไทย
Press conference on 17 Oct 2007
สมุดปกขาวของกองทัพอากาศ ชี้แจงโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-5
//www.rtaf.mi.th/news/n07/gripen/rtaf_whitebook_f5_replacement.pdf
รวมถึง VDO Clip ของโครงการครับ
หรือโหลดได้ที่นี่
- แบบ 64 Kb //www.rtaf.mi.th/news/n07/gripen/rtaf_gripen_64k.wmv
- แบบ 256 Kb
//www.rtaf.mi.th/news/n07/gripen/rtaf_gripen_256k.wmv
การจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทน บ.ข.๑๘ ก/ข (F-5 B/E)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้กองทัพอากาศดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ระยะที่ ๑ จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝึกอบรม การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน และอาคารสถานที่ ระหว่างปี ๒๕๕๑ ถึงปี ๒๕๕๕ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๙,๐๐๐.- ล้านบาท โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศที่ได้รับการจัดสรรตามปกติประจำปี นั้น
กองทัพอากาศขอชี้แจงสาระสำคัญของความเป็นมา และความจำเป็นในการจัดหา ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานจัดหาเครื่องบิน และประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ สรุปได้ดังนี้
ความเป็นมาและความจำเป็นของโครงการ
กองทัพอากาศได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร รวมทั้งการพัฒนาประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของชาติ จึงเป็นความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ ในการดำรงขีดความสามารถและเสริมสร้างกำลังทางอากาศ ให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณาภาพแห่งดินแดน และความมั่นคง รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของชาติให้ปลอดภัยจากการคุกคามในรูปแบบต่างๆ กองทัพอากาศต้องเตรียมกำลังทางอากาศให้พร้อมปฏิบัติการเพื่อป้องกันประเทศ ในมิติของการป้องกันทางอากาศ กองทัพอากาศจึงต้องมีเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีจำนวน และคุณภาพที่เพียงพอ เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจ ในช่วงเวลาที่ผ่านมากองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) เข้าประจำการ โดยเครื่องบินดังกล่าวถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีของยุคเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา และได้ประจำการปฏิบัติภารกิจมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาระบบส่งกำลังและซ่อมบำรุง ส่งผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ และความปลอดภัยในการบิน ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ที่ประจำการอยู่นั้น ใกล้จะครบกำหนดอายุการใช้งาน และจำเป็นจะต้องปลดประจำการในปี ๒๕๕๔ กองทัพอากาศจึงได้เตรียมการจัดหาอากาศยานทดแทนที่เป็นเครื่องบินรบยุคใหม่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีศักยภาพเชิงคุณภาพทดแทนการจัดหาเชิงปริมาณ ซึ่ง กองทัพอากาศได้เริ่มโครงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ และ ได้วางแผนไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงเลื่อนมาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑
การดำเนินงานโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์
กองทัพอากาศได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่เหมาะสมเป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่ทันสมัย ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) โดยกำหนดกรอบหลักเกณฑ์เครื่องบินรบที่จะจัดหาต้องมีสมรรถนะ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในการวางกำลังทางภาคใต้สำหรับภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ สามารถสนับสนุน และปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ตลอดจนคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจะต้องมีระบบควบคุมการบิน การสื่อสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ และสามารถติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัย รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน และระบบบัญชาการและควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเครื่องบินรบดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นฐานการพัฒนากองทัพอากาศในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษา เพื่อให้สามารถดูแล และบำรุงรักษาได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วกองทัพอากาศจึงเลือกเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ JAS-39 Gripen ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ผลิตโดยบริษัท Saab ประเทศสวีเดน ที่ถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจการป้องกันประเทศ เครื่องบินแบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และการซ่อมบำรุงโดยรวมที่ต่ำกว่าเครื่องบินในประเภทเดียวกัน ตลอดจนสามารถปฏิบัติการได้โดยไม่พึ่งพาอุปกรณ์สนับสนุนภายนอกมากนัก
กองทัพอากาศได้ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเริ่มโครงการได้ในปี ๒๕๕๑ โดยแบ่ง การจัดหาเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ จัดหาเครื่องบินจำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ และการฝึกอบรม วงเงิน ๑๙,๐๐๐.-ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ ๕ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ถึงปี ๒๕๕๕ และระยะที่ ๒ จัดหาเพิ่มอีกจำนวน ๖ เครื่อง ในโอกาสต่อไป สำหรับการบริหารงบประมาณนั้น ใช้งบประมาณของกองทัพอากาศในกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีที่ได้รับ
ประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ
การจัดหาเครื่องบินดังกล่าวจะสามารถเข้าประจำการได้อย่างเร็วภายในปี ๒๕๕๓ ซึ่งจะสามารถเริ่มทำการฝึกบินได้ โดยต้องใช้เวลาในการฝึกนักบินอีกเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี จึงจะมีขีดความสามารถเพียงพอ และพร้อมปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศได้ในปี ๒๕๕๔ ซึ่งจะเป็นระยะเวลาที่พอดีกับการปลดประจำการของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ในส่วนของข้อเสนอ และเงื่อนไขในการจัดซื้อครั้งนี้ประเทศสวีเดนได้เสนอโครงการขายเครื่องบินพร้อมการซ่อมบำรุง และอะไหล่ ๒ ปี มีการเสนอให้ผลประโยชน์อื่นๆ กับประเทศไทยลักษณะความร่วมมือไทย - สวีเดน ที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวม เช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ความร่วมมือทางด้านการซ่อมบำรุงและการส่งกำลังบำรุง การถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลสวีเดน ความร่วมมือด้านการลงทุน การส่งสินค้าออก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ครั้งนี้ เป็นการสร้างกำลังทางอากาศไว้เป็นรากฐานด้านความมั่นคงให้มีอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ในการรักษาอำนาจอธิปไตยให้มั่นคง ยั่งยืนต่อ
Create Date : 24 ตุลาคม 2550 |
Last Update : 24 ตุลาคม 2550 17:45:16 น. |
|
2 comments
|
Counter : 2607 Pageviews. |
|
|
|