จับตากรณีการหาตัวกลางของกัมพูชาในพื้นที่พิพาทริมเขาพระวิหาร
ซีรี่ย์จับตาการเผชิญหน้าของไทย-กัมพูชามาถึงตอนที่ 3 แล้วครับ
อันนี้เป็นความคืบหน้าล่าสุดครับ ข่าวใน Post Today และข่าวใน BBC ทั้งสองข่าวนี้สามารถแยกออกมาพูดได้เลยอีก Blog นึง
เราจะสังเกตุได้ตลอดว่า กัมพูชาพยายามอย่างหนักที่จะให้ประเทศที่ 3 หรือองค์กรนานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นตัวกลาง ในขณะที่ไทยยืนยันที่จะพูดคุยในระดับทวิภาคี
ความเห็นส่วนตัวของผม ผมว่าผมพอจะเข้าใจการเคลื่อนไหวนี้ของกัมพูชานะครับ
ประการแรก .... กัมพูชาประเมินแล้วว่า ถ้าต้องรบกับไทยจริง กัมพูชาจะเสียเปรียบเป็นอย่างมาก โอกาสที่จะชนะมีน้อย และถึงการรบจะยุติ ก็ไม่ได้การันตีว่ากัมพูชาจะได้ดินแดนทั้ง 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เพราะมันก็อาจจะกลับไปเป็นพื้นที่ทับซ้อนเหมือนเดิม ยิ่งถ้ารบแพ้ หรือรบแล้วไม่ได้ดินแดน คะแนนเสียงของพรรครัฐบาลกระจุยแน่นอน การหาบุคคลที่สามเข้ามาเป็นตัวกลาง จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดสงครามซึ่งเป็นสิ่งที่กัมพูชาไม่ต้องการ (และโชคดีที่เราก็ไม่ต้องการสงครามเช่นกัน)
ประการต่อมา .... การนำองค์กรระดับนานาชาติเข้ามา อาจจะสร้างความชอบธรรมให้กับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือดินแดนข้อพิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นได้ เพราะเราต้องอย่าลืมว่า ตอนนี้กัมพูชามี Back up ดี เขาสามารถใช้ Back up ซึ่งเป็นมหาอำนาจทั้งหลายของเขาใช้อิทธิพลเข้าแทรกแทรงกระบวนการเจรจาจนเขาประสบความสำเร็จ โดยมีผลประโยชน์หลายอย่างตอบแทนประเทศเหล่านั้น
ประการสุดท้าย .... กัมพูชาต้องการให้มีการตัดสินอันเป็นที่ยุติในระดับนานาชาติเพื่อปิดโอกาสการเจรจาของไทยและเพิ่มคะแนนนิยมในประเทศ
ฉะนั้นอย่าแปลกใจครับ .... ที่มีข่าวออกมาจากฝั่งกัมพูชาเสมอ ๆ ว่า สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต การเผชิญหน้ารุนแรงและตึงเครียดมาก และกัมพูชาร่อนจดหมายไปทั่ว โดยเฉพาะเนื้อหาในจดหมายต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและอาเซียน หรืออะไรก็ตามในอนาคตที่กัมพูชาจะสามารถส่งข้อความออกไปสู่นานาชาติได้ว่า สถานการณ์อยู่ห่างจากสงครามนิดเดียว นานาชาติเข้ารีบเข้ามาโดยด่วน
ในขณะที่ไทยบอกว่ารอการเจรจาในกรอบคณะกรรมการชายแดนไทยกัมพูชาหลังวันเลือกตั้งของกัมพูชา และกองทัพก็พาสื่อมวลชนเข้าไปดูในพื้นที่ว่ามันไม่มีอะไรรุนแรงเลย มีทหารเขมรผูกเปลนอน นั่งเล่นมือถือกัน
ผมชื่นชมความพยายามสองอันนี้ของเรา
นอกนั้นผมสนับสนุนสถานะของไทยบางประการในตอนนี้ครับ
เช่น การที่ตัวแทนของเราในอาเซียน ย้ำว่าเราต้องการหาข้อยุติในระดับทวิภาคี และเราพูดเสมอ ๆ ว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็น Thai territory (ดินแดนของไทย) ไม่ได้พูดว่า Overlapping zone (พื้นที่ทับซ้อน) ด้วยซ้ำ
อีกประการหนึ่ง ผมสนับสนุนความพยายามของหลายๆ องค์กรรัฐของไทยที่พูดกับชาวโลกว่าเราต้องการเจรจากันระหว่างไทยกับกัมพูชาเท่านั้น ๆ ๆ ๆ ๆ
ย้ำไปเถอะครับ .... ไม่ต้องกลัวว่าจะมีกองกำลังรักษาสันติภาะเข้ามาในดินแดนพิพาท ไม่ต้องกลัวว่าศาลโลกจะเข้ามาเกี่ยวข้อง ...... สถานะตอนนี้ห่างไกลเกินกว่าที่ UN จะหาเหตุผลส่งกองกำลังเข้ามาได้ และการที่จะเอาคดีขึ้นสู่ศาลโลกนั้น อ้างอิงจากมาตราที่ 36 ย่อหน้าที่ 1 ของกฏบัตรศาลโลกนั้น (article 36 of the international courts statute) คดีใด ๆ ที่ศาลโลกจะพิจารณาได้นั้น ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่ายให้บรรจุคดีเข้าสู่วาระการพิจารณา พูดกันง่าย ๆ ว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจลากคอใครขึ้นพิจารณาคดี ซึ่งถ้าเราไม่ยอมตกลงที่จะให้ศาลโลกตัดสิน มันก็ไม่มีทางที่เรื่องจะไปถึงศาลโลกได้
เรื่องนี้ .... ผมมีข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยว่า
อย่าไปเล่นตามเกมส์ของกัมพูชาครับ
สถานการณ์ตอนนี้ ถ้าเป็นผม ผมจะนิ่งอย่างเดียว เพราะเราต้องยอมรับอย่างนึงครับว่า ตอนนี้เราถือไพ่รองอยู่ เราไม่มีใครสนับสนุนมากนัก ถ้าเรายินยอมพร้อมใจไปศาลโลกหรือไปเล่นกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มันก็จะเข้าล็อกของกัมพูชาพอดี และถ้าเราเอาแต่โวยวายหรือเปิดฉากการรบ ภาพลักษณ์ของเราจะกลายเป็นขี้แพ้ชวนตีอย่างชัดเจน และทำให้ภาพลักษณ์ของเขาชอบธรรมยิ่งขึ้น เมื่อนั้นแหละครับเราจะได้เห็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาแน่นอน และจะได้เห็นธงชาติกัมพูชาถูกชักขึ้นเหนือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลกเมตรนั้นในอีกไม่นานหลังจากนั้น ..... บางองค์กรที่มีอำนาจอย่างอาเซียนและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็เสนอตัวเข้ามาเป็นตัวกลางตามคำร้องขอของกัมพูชา ซึ่งเราก็ต้องดูให้ดีว่าคุยกันในระดับไหน ถ้าคุยกันแบบไม่เป็นทางการหรือไม่ต้องมีการเซ็นข้อสรุปใด ๆ เราก็สมควรคุย แต่ถ้าคุยเพื่อหาข้อยุติโดยต้องมีการยอมรับข้อตกลง เราไม่ควรเล่นด้วยถ้าเห็นแล้วว่าเราเสียเปรียบ ..... ตอนนี้ มีอะไรเราปฏิเสธอย่างเดียว ใครจะลากไปไหนเราก็ปฏิเสธอย่างเดียว ดึงดันจะคุยกันสองคนอยู่อย่างงั้นแหละครับ เชื่อเถอะ หลังเลือกตั้งจบ สถานการณ์จะเบาบางลงมากกว่านี้ เพราะวิกฤตของไทยกับกัมพูชานี่มันมี 4 ปีครั้งอยู่แล้ว เขาเลือกตั้งทีไร เขาก็จะหาเรื่องกับไทยเพื่อปลุกกระแสชาตินิยมเรียกคะแนนเสียงในบ้านเขา กรณีการเผาสถานฑูตเป็นตัวอย่างที่ดีว่าที่สุดแล้วถ้าเราเล่นเกมส์ของเรา เราก็จะชนะในที่สุด แต่ถ้าเรายิ่งเล่นไปตามเกมส์ของเขา นอกจากเขาจะได้ประโยชน์ทางการเมืองแล้ว เราจะเสียประโยชน์ในที่สุด
ส่วนข้อติติงของผมต่อรัฐบาลไทยก็มีหลายข้อเช่นกันครับ
ประการแรก .... การส่งเสียงสู่นานาชาติต้องเข้มแข็งกว่านี้ บอกเขาไปอย่างที่เราคิดนั้นแหละครับว่าเราจะพูดคุยในระดับทวิภาคีมากกว่า แค่ให้เจ้าหน้าที่มาให้สัมภาษณ์สื่อนั้นไม่เพียงพอครับ เราควรทำหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสหประชาชาติหรืออาเซียนในจุดยืนของเรา ถ้าสถานการณ์เอื้อให้
ประการต่อมา .... เราควรหาพันธมิตรต่างชาติ เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะให้ไปหาพันธมิตรแบบกัมพูชานะครับ ตอนนี้เราพูดออกนอกหน้าหรือหาพันธมิตรแบบเปิดเผย เราไม่ได้ใครมาเป็นพวกแน่นอน เพราะภาพลักษณ์ของกัมพูชา "ดูเหมือน" จะชอบธรรมกว่า ไม่มีใครอยากเสี่ยงแทงฝั่งรองหรอกครับ แต่ผมอยากให้เราพูดคุยกันเงียบ ๆ ในช่องทางทางการฑูตที่เรามีอยู่ คุยกับจีน คุยกับสหรัฐ คุยกับรัสเซีย เพราะประเทศอื่น ๆ เขาก็รอดูสถานการณ์อยู่ (Wait and see) ไม่ได้แสดงการสนับสนุนกัมพูชาหรือไทยอย่างชัดเจน สังเกตุได้จากข้อความที่เขาแถลงมาครับ (เขาพูดว่าต้องการให้มีข้อยุติโดยสันติ) อย่างน้อย การพูดคุยเงียบ ๆ อธิบายสถานการณ์ให้เขาฟัง ตอนที่เราต้องการเขา มันก็จะง่ายยิ่งขึ้น
ประการสุดท้าย .... เราควรเร่งแต่งตั้งรัฐมนตรีต่างประเทศโดยเร็ว จะได้มีผู้รับผิดชอบในการพูดคุยอย่างชัดเจนครับ
เกมส์มันมีช่องที่พร้อมจะพลิกอยู่แล้ว .... ขอเพียงให้เราเดินหมากให้ดี ๆ ก็พอครับ
UNถกด่วนแก้ข้อพิพาทไทย-เขมร 28 กค. โดย Post Digital วันที่ 22 กรกฎาคม 2551
รมว.ต่างประเทศเผย ยูเอ็น จัดประชุมฉุกเฉิน กรณีข้อพิพาทกับไทย 28 ก.ค.นี้ เล็งร้องศาลโลกช่วยชี้
นายฮอร์ นัมฮอง รมว.ต่างประเทศของกัมพูชา กล่าวว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะจัดการประชุมฉุกเฉินในวันที่ 28 ก.ค.นี้ เพื่อหารือมาตรการคลี่คลายความตึงเครียดในประเด็นข้อพิพาทระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา
"ตามข้อมูลที่เราได้รับจากนิวยอร์คนั้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะจัดการประชุมฉุกเฉินในวันจันทร์หน้า" หนึ่งวันหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา ท่านเอกอัคราชทูตกัมพูชาประจำสหประชาชาติได้ส่งจดหมายไปยังประธานคณะมนตรีความมั่นคงและประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการเรียกร้องของกัมพูชาสำหรับการจัดประชุมดังกล่าวแล้ว" นายฮอร์ ระบุ
นายเขียว กัณหะริด โฆษกรัฐบาลกัมพูชา กล่าวว่า ปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาจำเป็นต้องมีมือที่ 3 เข้ามาช่วยยุติการเผชิญหน้าทางทหารที่บริเวณพรมแดน หลังการเจรจาแก้ไขวิกฤติระหว่างสองฝ่ายล้มเหลว โดยในวันนี้ยังมีทหารไทยกว่า 500 นาย และทหารกัมพูชาอีกอย่างน้อย 1 พันนายตรึงกำลังอยู่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร
ทั้งนี้ นายเขียว อ้างด้วยว่ารัฐบาลไม่สามารถถอนกำลังทหารออกไปได้ในทันที เนื่องจากกระแสรักชาติต่อกรณีความขัดแย้งปราสาทพระวิหาร และว่าตอนนี้กัมพูชากำลังหารือกับชาติสมาชิกอาเซียนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ และอาจจะต้องยื่นต่อศาลโลกที่นครเฮกของเนเธอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อให้กำหนดเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชา
//www.posttoday.com/topstories.php?id=251061
UN help sought over temple row
Cambodia has asked the UN Security Council for an emergency meeting to resolve a tense stand-off with Thailand near the site of an ancient temple.
For the past week, more than 500 Thai and 1,000 Cambodian soldiers have been stationed on opposite sides of disputed land near Preah Vihear temple.
The standoff began when the UN approved Cambodia's application to have the complex named a World Heritage Site.
Bilateral talks on Monday failed to resolve the row.
A quickly-arranged foreign ministers' lunch on Tuesday on the sidelines of the Asean regional meeting in Singapore also failed to produce any agreement, officials said.
Cambodia is seeking third-party mediation, but Thailand wants to resolve the dispute at a bilateral level, officials from both sides said.
'Utmost restraint'
At the heart of the dispute is a 4.6 sq km (1.8 sq mile) area around the 11th Century temple.
The International Court of Justice awarded Preah Vihear to Cambodia in 1962, but areas around it remain the subject of rival territorial claims.
Earlier this month Unesco listed the temple as a Cambodian World Heritage Site, reigniting nationalist tensions, particularly in Thailand.
Opposition forces there have been using the issue to attack the government - which initially backed the heritage listing. Foreign Minister Noppadon Pattama has resigned over the issue.
Thai troops moved into the area more than a week ago, after Cambodian guards arrested three Thai protesters, and since then both sides have increased their military presence.
The two nations attempted to reach an agreement on Monday, during bilateral talks on the opening day of the Asean regional summit in Singapore.
But officials said the discussions stalled over which maps should be used to settle ownership.
Singapore Prime Minister Lee Hsien Loong told the Asean meeting that both nations had promised to exercise "utmost restraint" and abide by international laws to resolve the issue amicably.
Shortly after that, Cambodia appealed to the United Nations to resolve the row "in order to avoid armed confrontation".
The dispute comes at a difficult time for Thailand, which is due to take over the rotating chairmanship of Asean next week.
//news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7518741.stm
Create Date : 23 กรกฎาคม 2551 |
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 0:40:58 น. |
|
12 comments
|
Counter : 1644 Pageviews. |
|
|
|
เอาผลประโยชน์ส่วนตัวมาเล่นเป็นผลส่วนรวม โดยไม่ใส่ใจกะผลส่วนรวมจะพินาศเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว
เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น