Bloggang.com : weblog for you and your gang
ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ
https://www.facebook.com/skymantaf
หรือ Follow ได้ที่ Twitter
https://twitter.com/skymantaf
หรือที่
http://www.thaiarmedforce.com
นะครับ
Group Blog
เทคโนโลยีทางทหาร
กองทัพไทย: ประวัติการรบและศาสตร์ทางทหาร
ข้อมูลกองทัพทั่วโลก
Off Topic: เรื่องอื่น ๆ
Welcome
ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญของโลก
Temp Group: For Testing
การบินพลเรือน: เทคโนโลยี ข่าวคราว รูปภาพ
ณ ดินเเดนเเห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า \'โลก\' (หัสนิยายเชิงสารคดีโลกร้อนแนวหว้ากอ)
-+=สารบัญบทความ=+-
รายชื่อ-จำนวนยุทโธปกรณ์ในกองทัพไทย
Politic & Social Talk: การเมืองและสังคม กรุ๊ปนี้เต็มที่
<<
สิงหาคม 2552
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
28 สิงหาคม 2552
พาไปชม UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทย โดยกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
All Blogs
รมต.กลาโหม กินข้าวบนเขาพระวิหารและปราสาทพระวิหาร
กฏหมายไทย กองทัพไทย ต้องสนับสนุนอาวุธไทย ไม่ใช่ต่างชาติ
GT-200 ยังใช้กันอยู่ .. นี่คือการตบหน้าประชาชน
บ้ากันไปใหญ่แล้วเรื่องอู่ตะเภา
ก้าวพ้นมโนภาพในสงครามเย็น - ภัยคุกคามจากสังคมออนไลน์
หา! รมต.กลาโหมจะเอา GT-200 กลับมาใช้!?!
สิ่งใหม่ ๆ ในงาน Defense & Security ปีนี้ที่เมืองทอง
เบา ๆ มือกับผู้ก่อการร้ายหน่อยนะคร๊าบ
Offset: การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบกลาโหม
น้ำท่วม 54: ผิดหวังกับการจัดตั้งศูนย์ของกลาโหมและกองทัพไทย
เครื่องบินนานาชนิดในภารกิจช่วยน้ำท่วม!
ประเด็นเรื่องข้อกล่าวหาเรือดำน้ำและการชี้แจง กรณีศึกษาที่ดีของงานกิจการพลเรือนสมัยใหม่
อธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด
สถิติการสูญเสียอากาศยานของหน่วยงานราชการไทย 10 ปีย้อนหลัง
พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จากการสูญเสีย Huey และ Black Hawk
ขอแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่อง Black Hawk ตกนิดนึงครับ
มองไปข้างหน้า กับคำสั่งคุ้มครองของศาลโลก
มรดกโลก ศาลโลก ไทย กัมพูชา และระเบิดเวลาที่รออยู่
คำแถลงส่วนตัวของผมต่อกรณีเรือดำน้ำ Type-206A
Short Update: กรณีเขมรกล่าวหาไทยใช้อาวุธเคมี
Type-206A มือสอง 6 ลำ vs. Type-209 มือหนึ่ง 2 ลำ
เอาจริงเหรอครับ?!? - ทบ.จัดหารถถัง T-84 Oplot
การปะทะกันระหว่า่งไทยและกัมพูชา
กองพลทหารม้าที่ 3 ไม่มีความจำเป็นกับกองทัพบกไทย
ขอต้อนรับ Saab 340 AEW
ระบบอำนวยการรบ 9LV สำหรับเรือชุดเรือหลวงนเรศวร
งาน 30 ปี C-130 แห่งกองทัพอากาศไทย วันที่ 8 กันยายนนี้
กองพลทหารราบที่ 7 กองพลทหารม้าที่ 3
JAS-39 Gripen: (มติชนยก 4) ราคากริพเพนกับเรื่อง Saab 340 อีกแล้ว
JAS-39 Gripen: (มติชนยก 3) เรื่อง Erieye ของทอ.ไทย
JAS-39 Gripen: (มติชนอีก 1 ยก) แก้ไขความเข้าใจที่เกือบจะถูกแล้วแต่ก็ยังผิดอยู่ดีของมติชน
JAS-39 Gripen: (มติชนอีกแล้ว) แก้ไขความเข้าใจผิดพลาดของข่าว Gripen ในมติชนวันนี้
Girpen & Argus ... It's Your Pride. It's Your Wings.
กองทัพบกอาจยอมรับมอบเรือเหาะ A40D Skydargon????
ภาพการฝึก CARAT 2010 ของกองทัพเรือ ณ อ่าวไทย
JAS-39 Gripen: นักบินไทยเริ่มทำการบินบน Gripen C
JAS-39 Gripen: การฝึกบินกับกริพเพนของนักบินไทย
ผบ.อนุพงษ์สั่งยกเลิกเรือเหาะตรวจการณ์
ไว้อาลัย จ่าเพียรมือปราบ
JAS-39 Gripen: กริพเพนลำที่สองและสามของกองทัพอากาศไทยขึ้นบินครั้งแรก
กองทัพแถลงข่าว GT200: ไม่ชัดเจน ประชาชนสับสน!!!
"วันนี้ที่ปัตตานี เจ้าหน้าที่รอดตาย เพราะไม่มี GT200"
ผลการทดสอบ GT200
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการทดสอบ GT200
ภารกิจและการปฏิบัติการจริงของ ทหารพรานและหน่วยแพทย์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ปรากฏการณ์ GT200 .... โอกาสที่ดีที่สุดของกองทัพ
ภารกิจและการปฏิบัติการจริงของ กองพันทหารม้าลาดตระเวนที่ 127 จังหวัดยะลา
บ้านของนักรบ
สังคมหวาดระแวง(คุณหมัดเหล็ก ไทยรัฐ): Blog ตอบโต้ข้อมูลผิดพลาด
JAS-39 Gripen: ล็อตสองอนุมัติพร้อม MLU
JAS-39 Gripen: ช่างอากาศกองทัพไทยเข้ารับการฝึกที่สวีเดน
วันเด็กแห่งชาติ - อู่ตะเภา & ดอนเมือง
ตรวจข้อสอบ ผบ.เหล่าทัพ ใครสอบผ่าน-สอบตก! ปีที่สอง
อาวุธเกาหลีเหนือ .... ดราม่าขั้นเทพ!!
Datalink และสงครามเครือข่ายไทย ลืมอะไรไปหรือเปล่า? ภาค 2
Peacemaker ติดกล้อง FLIR ที่บินในงานไทยเข้มแข็ง
Datalink และสงครามเครือข่ายไทย ลืมอะไรไปหรือเปล่า?
การสาธิตการปฏิบัติการด้วยกระสุนจริงของกองทัพบกและกองทัพอากาศ
JAS-39 Gripen: เที่ยวบินแรกของ Saab 340 AEW&C ของกองทัพอากาศไทย
วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลก เชิดชูวีรกรรมทหารไทย
JAS-39 Gripen: ซาบร่วมลงทุนกับบริษัทไทยพัฒนาระบบ Datalink
การฝึก PASSEX ของกองทัพเรือไทยและเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของสหรัฐ
ทอ.ซื้อ "โรงพยาบาลสนาม" จาก EADS
โต้แย้งข่าว "ซื้อฮ.ซีฮอว์ค เรือรบทร.ใช้ไม่ได้" ในนสพ.ไทยรัฐ
ภาพการต้อนรับ ATR-72-500 เครื่องบินพระราชพาหนะสำรอง
JAS-39 Gripen: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ไทยจะได้รับจากการจัดหากริพเพน
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของราชนาวีไทย
JAS-39 Gripen: กริพเพนไทย ขึ้นบินเที่ยวแรก
ATR-72-500 เครื่องบินพระราชพาหนะลำใหม่ของกองทัพอากาศไทย
รายละเอียดการปรับปรุงเรือหลวงกระบุรีและเรือหลวงสายบุรี
VDO สวย ๆ จากกองทัพเรือไทย
พาไปชม UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทย โดยกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
เบื้องหลัง Fantrainer - มันเป็นอย่างงี้นี่เอง T_T
อาวุธปล่อยนำวิถี C 802A เขี้ยวเล็บใหม่ของกองทัพเรือ
อัตราความต้องการฝูงบินของทอ.ไทย
ซื้อเรือเหาะ 350 ล้าน ปราบโจรใต้! ภาค 3
การฝึกค้นหาและกู้ภัยอากาศยานและเรือที่ประสบภัย .... SAREX2009
CARAT2009: ชวนไปเที่ยวชายหาด แต่ก้มต่ำ ๆ นะ ... ระวังระเบิด!
RTAF 40Th Year Anniversary of Huey #2
JAS-39 Gripen: Powerpoint ของกองบิน 7 เกี่ยวกับโครงการ Gripen
โครงการจรวดเพื่อความมั่นคง
JAS-39 Gripen: ภาพ Gripen ไทยในสายการผลิต
RTAF UH-1H 'Huey' 40th Year Anniversary
ซื้อเรือเหาะ 350 ล้าน ปราบโจรใต้! ภาค 2
ภาพบางส่วน .... 40ปี UH-1H ของกองทัพอากาศไทย
รายละเอียดการปรับลดงบประมาณกลาโหมครั้งล่าสุด
พูดถูกใจน่าให้กิ๊ฟ
แก้ไขความเข้าใจผิดของกมธ.ทหารสภาฯ+ข้อฝากถึงกองทัพ
เยี่ยมชมเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ NWS980 ผลงานการพัฒนาของกองทัพเรือไทย
40 ปี เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ (UH-1H Huey) แห่งกองทัพอากาศไทย
ความล่าช้าในการจัดหา BTR-3E1 จบลง
ความล่าช้าในการจัดหา BTR-3E1
วิจารณ์ วิเคราะห์ ... การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. เม.ย.52
จับตาการปะทะครั้งล่าสุดระหว่างไทย-กัมพูชา เม.ย. 52
การเมือง-การทหาร ตอน รายละเอียดการช่วยเหลือของสหรัฐต่อไทยในปี 2552
กองทัพบกรับมอบปืนใหญ่อัตตาจร Caesar จำนวน 6 ระบบ
ซื้อเรือเหาะ 350 ล้าน ปราบโจรใต้!
ทบ.เตรียมซ่อมรถถัง Scorpion
ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ: กองทัพเรือไทยทำพิธีปล่อยเรือพ.ลงน้ำ
JAS-39 Gripen: ช่างเทคนิคของไทยเริ่มเข้ารับการฝึกที่สวีเดน+กริพเพนเฟสสอง
กองทัพอากาศไทยรับมอบ F-16 สองเครื่องสุดท้ายที่เข้าปรับปรุง Falcon Up
Harpoon Launch! .... In The Gulf of Thailand
การฝึกของเรือหลวงจักรีนฤเบศรและกองเรือยกพลขึ้นบกประจำปี 2552
วันเด็ก | 2552 | อู่ตะเภา | ดอนเมือง | ภาคจบ
วันเด็ก | 2552 | อู่ตะเภา | ดอนเมือง | ภาคสอง
วันเด็ก | 2552 | อู่ตะเภา | ดอนเมือง | ภาคแรก
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์กรมหาชน)
ประมวลการจัดหาอาวุธของกองทัพไทยปี 2551 - Thai Armed Force 2008 Year In Review
VDO อากาศยานของกองทัพอากาศไทย
น้ำ น้ำมัน และรถเกราะคันนั้น
รายงานประจำปี 2551 ของกองทัพบก
Angel Thunder '08: การแข่งขันใช้อาวุธของกองทัพอากาศไทย ตอน ไฟล์พาเด็กเที่ยว
90 ปีสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง - รำลึกวีรกรรมทหารอาสาสยาม
กองทัพอากาศไทยจัดหา DA42 Twin Star และ ATR-72-500
Angel Thunder '08: การแข่งขันใช้อาวุธของกองทัพอากาศไทย ตอน อาวุธตั้งแสดง
Angel Thunder '08: การแข่งขันใช้อาวุธของกองทัพอากาศไทย ตอน การแสดงการบิน
การซ้อมพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระพี่นาง วันนี้
อีกครั้งกับ Mi-17V5 ของกองทัพบก
กองทัพบกจัดซื้อ Mi-17V5 จากรัสเซีย
จับตาเกมส์การฑูตวันนี้+กัมพูชาอาจซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่
จับตาแผนจักรีภูวดลและแผนสุรนารี กองทัพไทยเตรียมรับมือกัมพูชา!
จับตาการขีดเส้นตายต่อไทยของกัมพูชา
แอบมอง Thai Aviation Industry (TAI) ... บริษัทอุตสาหกรรมการบินของคนไทย
ภาพการฝึกทร.ไทยและทร.สิงคโปร์ใน SINGSIAM 15/08
เกาหลีอีกแล้ว แม้แต่ทหารก็ไม่เว้น!
กองทัพเรือไทยร่วมลาดตระเวนในช่องแคบมะละกา
Walk Around - บ.ชอ.2 เครื่องบินฝึกต้นแบบฝีมือคนไทย
จีนไทยใช่อื่นไกล; Thai massage for China's military muscle
เปิดรายละเอียดการจัดหาอาวุธใหม่ของกองทัพบกและกองทัพเรือ
สัตว์เลี้ยงของทหาร ในกองทัพบกไทย
ตรวจข้อสอบ ผบ.เหล่าทัพ ใครสอบผ่าน-สอบตก!
NWS980 .... โปรแกรมฝึกจำลองการรบของกองทัพเรือไทย .... "ฝีมือคนไทย"
"ถ้ากองทัพไทยต้องการซื้อรถถังใหม่ ควรซื้อแบบไหนดีครับ"
ทบ. ลงนามจัดหา BTR-3E1 จากยูเครน: ข้อวิจารณ์และบทเรียนสำคัญต่อกองทัพไทย
แอบมอง ต. 227 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งของกองทัพเรือไทย
จับตาการเลื่อนเสนอญัตติของกัมพูชาเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
จับตากรณีการหาตัวกลางของกัมพูชาในพื้นที่พิพาทริมเขาพระวิหาร
จับตากรณีข้อพิพาษพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาหลังการประชุม GBC
จับตาข่าวการเสริมกำลังประชิดชายแดนของไทยและกัมพูชา
20 ปี ของ F-16 แห่งกองทัพอากาศไทย - RTAF 20th Anniversary of F-16
กองทัพอากาศไทย ในการฝึก Pitch Black 2008 ณ ประเทศออสเตรเลีย
ข้อตกลงทางด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์และโคลัมเบีย
พิธีพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ต. กฤตติกุล บุญลือ (หมวดตี้)
เครื่องบินสวย ๆ และทะเลงาม ๆ ณ สนามบินหัวหิน ... กับงาน "SAREX 2008" ภาคการแสดงของ Green Hawk
เครื่องบินสวย ๆ และทะเลงาม ๆ ณ สนามบินหัวหิน ... กับงาน "SAREX 2008" ภาคการฝึก
เครื่องบินสวย ๆ และทะเลงาม ๆ ณ สนามบินหัวหิน ... กับงาน "SAREX 2008" ภาคอากาศยานตั้งแสดง
JAS-39 Gripen: Air force to finally receive early warning eyes in the sky
ภาคใต้ ..... Once Again
กองทัพเรือไทย ในการฝึก MSP Information Sharing Exercise
JAS-39 Gripen: Gripen Demo กับกองทัพอากาศไทย
เฮลิคอปเตอร์กองบินตำรวจ ในการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008
กองทัพเรือจัดสร้างยานใต้น้ำลำแรกของไทย
แอบดู ... ร่างแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 51 - 54 ตอนที่ 1
ทำอย่างไรไม่ให้มีสงคราม?
อันว่าด้วย .... "กองบัญชาการกองทัพไทย"
ชุดลายพรางดิจิตอลใหม่ของกองทัพบก+ปืน TAR-21 Tavor
JAS-39 Gripen: กริพเพนล็อตที่สอง?
กองทัพเรือ ทำพิธีปล่อยเรือหลวงพฤหัสบดีลงน้ำ ณ อู่ยูนิไทย
JAS-39 Gripen: ไทยกับสวีเดนลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อกริเพน
เครื่องบินรบแห่งกองทัพอากาศไทย: F8F Bearcat
การเมือง-การทหาร ตอน เมื่อลุงแซมกับอาตี๋เลือกคบเพื่อน
JAS-39 Gripen: จะเรียกกริเพนว่าอะไรดี?
เกิดอะไรขึ้นเมื่อ 95 ปีก่อน? ..... เรื่องจริงข้างหลัง "รักสยามเท่าฟ้า"
กองทัพอากาศแลกเปลี่ยนอะไหล่ OV-10C กับ F-5 ของทอ.ฟิลิปปินส์
JAS-39 Gripen: ครม. สวีเดน อนุมัติการขายกริเพนให้ประเทศไทย
JAS-39 Gripen: ครั้งแรกที่ ...........
JAS-39 Gripen: ... คำชี้แจงอย่างเป็นทางการของกองทัพอากาศ+สาระสำคัญของข้อตกลงเฟสแรก
JAS-39 Gripen: ครม. อนุมัติกริพเพนแล้ว รอเซ็นสัญญา
=== ลาก่อน F-5B The Oldest Tiger ในพิธีปลดประจำการ F-5B อย่างเป็นทางการ ===
กองทัพเรือไทย ..... ต่อเรื่องเองทำไม? ...... ล้าสมัยหมดแล้ว
JAS-39 Gripen: ตอนนี้เขาทำอะไรกันอยู่
พระราชดำรัส วันที่ 4 ธ.ค. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ
JAS-39 Gripen: วิเคราะห์โครงการตอบแทนทางอุตสาหกรรมที่ไทยจะได้รับหลังการจัดหากริพเพน
JAS-39 Gripen: บาร์เตอร์เทรด vs. จ่ายเงินสด
บ๊ายบาย "F-5B The Oldest Tiger" ... F-5B ลำแรกของโลกของกองทัพอากาศไทย
=== แจก E-Book: ยุทธเวหาเลือดเหนือสนามบินวัฒนานคร ===
==รวมภาพ Patch ของกองทัพอากาศ จาก Operation Angel Thunder 07: RTAF Personnel & Patch==
การแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศของกองทัพอากาศไทย: "Operations Angel Thunder 07"
อิทธิพลของกองทัพที่เข้มแข็ง กระตุ้นความรักชาติได้รึป่าว
JAS-39 Gripen: คำชี้แจงอย่างเป็นทางการของกองทัพอากาศไทย
ไทยส่งทหารไปรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์
ข่ายการป้องกัยภัยทางอากาศของกองทัพไทย
ไว้อาลัย......"ร.ต.อ.ธรณิศ ศรีสุข" ผู้เสียชีวิตจากการซู่มโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้
รวบรวมข่าว การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพ
"อาวุธ...ซื้อมาไม่ได้ใช้.....แล้วจะซื้อทำไม?"
การรบที่ช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี
ครั้งแรก.......กับการฝึกร่วมของหน่วยรบพิเศษของไทยและจีน
การเตรียมการใช้กำลังเมื่อเกิดความขัดแย้งของไทย
วิธีปกครองชนกลุ่มน้อยของจีน...กรณีศึกษาต่อปัญหาภาคใต้
เกร็ดความรู้...ที่คุณอาจจะยังไม่รู้...เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย
สงครามปฏิวัติ : ไฟที่ยังไม่มอดเชื้อ....โดย นาวาเอก ทวีชัย บุญอนันต์
มุมมองของคนในพื้นที่ ต่อปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้
ทหารพราน ดับไฟใต้ ผู้กล้าอาสา พลีชีพ เพื่อแผ่นดิน
ม็อบภาคใต้..อีกบริบทหนึ่งของโจรใต้
กองทัพเรือ ส่งมอบเรือหลวงนาคา คืนให้กับกองทัพเรือสหรัฐ
วีรกรรมของทหารอาชีพไทย..."ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก"
รู้จัก....ยุทธเวหา 5 ต่อ 21 เหนือนครลำปาง ของกองทัพอากาศไทย
ปรับนโยบายสมานฉันท์....ถูกต้องนะคร้าบบบ
"ทหารพรานหญิง"....เทคนิคใหม่ในการสกัดกั้นม็อบในภาคใต้
สมานฉันท์......คือทางออกจริงหรือ?
สรุปสถานการณ์ใต้ในภาพรวม
31 ปี วีรกรรมดอนแตง: *"ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป"
"ตำนานมีชีวิต"ยังจำแม่น 66 ปี...ยุทธนาวีเกาะช้าง!
ระเบิดกลางกรุง: พิเคราะห์ตามหลักวิชาการ
กรณีใต้: "สมานฉันท์กับปฏิบัติการทางทหาร" หลักการที่ต้องไปด้วยกัน
ผมเห็นด้วยกับคำ "ขอโทษ" ของท่านสุรยุทธ์
เหตุการณ์ กระเหรี่ยงก็อดอาร์มี่ จับตัวประกันที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
การรบที่บ้านร่มเกล้า
โปสเตอร์การรบของราชนาวีไทย "ยุทธนาวีเกาะช้าง"
###ขอประกาศปิด Blog เทคโนโลยีทางทหารชั่วคราว###
กว่าจะมาเป็น "นักบิน F-16 แห่งกองทัพอากาศไทย"
สื่อเทศมองใต้ไทย: บทความน่าสนใจจาก BBC ตอนสุดท้าย
สื่อเทศมองใต้ไทย: บทความน่าสนใจจาก BBC ตอนที่ 4
สื่อเทศมองใต้ไทย: บทความน่าสนใจจาก BBC ตอนที่ 3 สัมภาษณ์พูโล
สื่อเทศมองใต้ไทย: บทความน่าสนใจจาก BBC ตอนที่ 2
สื่อเทศมองใต้ไทย: บทความน่าสนใจจาก BBC ตอนที่ 1
คลองไทยกับมิติด้านความมั่นคง (ในมุมมองผมนะ)
เหลือเชื่อ!! F-5 ของไทยโดน SAM ยิงเครื่องพังยังบินกลับฐานได้
ประวัติการรบของทหารไทยในเวียตนาม ภาคสอง
ประวัติการรบของทหารไทยในเวียตนาม ภาคแรก
สามจังหวัดภาคใต้ ผ่านสายตา "ชาวต่างชาติ" ที่ไม่ใช่สื่อ ภาค 1
แผนปฏิบัติการช่วยคนไทยจากกัมพูชา
พาไปชม UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทย โดยกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
UAV (Unmanned Aerial Vehicle) หรืออากาศยานไร้คนขับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะของอาวุธและดวงตาในสนามรบที่ทรงประสิทธิภาพ หลังจากประเทศไทยเริ่มจัดหา UAV มาใช้งานตั้งแต่สมัยสงครามร่มเกล้า ถึงวันนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของการออกแบบและผลิต UAV ขึ้นใช้งานด้วยตนเอง และยิ่งถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล การจัดหา UAV จากต่างประเทศก็จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกเป็นจำนวนมาก ทีมงาน TAF ได้เดินทางไปสังเกตุการณ์การทดสอบและปฏิบัติงานของกลุ่มวิจัยเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้าง UAV ของตนเอง ด้วยการสนับสนุนของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ หน่วยพร้อมรบสมบูรณ์แบบแห่งหนึ่งของกองทัพบกไทย จากเครื่องบินบังคับวิทยุธรรมดาที่ทุกคนมองข้าม ในอนาคตมันกำลังจะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกองทัพบกไทย .... ด้วยฝีมือของคนไทยเอง
และนี่คือ RDF Thai Tactical UAV ฝีมือคนไทยครับ
กองทัพไทยจัดหา UAV มาใช้งานตั้งแต่สมัยการรบที่บ้านร่มเกล้า โดยจัดหา UAV จากบริษัท BAE Systems ประเทศอังกฤษ รุ่น R4D SkyEye จำนวน 7 ลำเข้าประจำการในฝูง 402 กองบิน 4 ตาคลี กองทัพอากาศ เพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์และถ่ายภาพ หลังจากนั้นกองทัพบกได้จัดหา UAV รุ่น Searcher Mk.I จากบริษัท IAI ประเทศอิสราเอลเข้ามาใช้งานในกองพลทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์เพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์ ชี้เป้า และเป็นผู้ตรวจการณ์หน้าในการยิงปืนใหญ่ และล่าสุดกองทัพบกยังได้จัดหา UAV ขนาดเล็กรุ่น RQ-11 Raven จากสหรัฐอเมริกามาใช้ในการตรวจการณ์ของหน่วยทหารในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกองทัพอากาศเลือกที่จะจัดหา UAV รุ่น CyberEye จากมาเลเซียจำนวน 3 ลำ ในงบประมาณ 35 ล้านบาท
แต่ปัญหาที่กองทัพบกพบก็คือ UAV ที่จัดหาจากต่างประเทศโดยเฉพาะ Raven นั้นมีราคาแพง แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากประสบปัญหาในการทำงานภายใต้อุณหภูมิและความชื้นของประเทศไทย การปฏิบัติงานจึงไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ รวมถึงสามารถจัดหาได้ในจำนวนน้อย ไม่เพียงพอที่จะใช้ฝึกกำลังพล
ในอีกแง่มุมหนึ่ง มีหน่วยงานของกองทัพบกสองหน่วยงานที่กำลังวิจัยและพัฒนา UAV ด้วยตนเอง UAV ของทั้งสองหน่วยงานนี้มีจุดกำเนิดคล้าย ๆ กันก็คือ เป็นโครงการวิจัยของกองทัพบกที่ถูกลืมเลือนและมองข้าม แต่ทั้งสองทีมก็ยังไม่ได้ล้มเลิกความตั้งใจ ยังคงพัฒนา UAV ของตนเองต่อไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด UAV ทั้งสองระบบก็ได้พิสูจน์ตัวเองในภารกิจต่าง ๆ จนผู้บังคับบัญชาระดับสูงเกิดความเชื่อมั่น และกำลังดำเนินการเพื่อผลิตเข้าประจำการต่อไปในอนาคต หน่วยงานดังกล่าวก็คือ กรมการข่าวทหารบกและกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (RDF) ซึ่งพัฒนา UAV ในขนาดที่ต่างกัน คือกรมข่าวทหารบกพัฒนา UAV ขนาดกลางในมิติที่ใกล้เคียงกับ Searcher ส่วนกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์พัฒนา UAV ขนาดเล็กในมิติที่ใกล้เคียงกับ Raven แต่ประสิทธิภาพของ UAV ของทั้งสองหน่วยงานนั้นพิสูจน์แล้วว่าดีกว่าคู่แข่งของตนอย่างสิ้นเชิง
ทีมงาน TAF สองคนคือผม Skyman และคุณ CoffeeMix จึงได้เดินทางไปสังเกตุการณ์หนึ่งใน UAV ที่กำลังพัฒนาถึงกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ และเก็บภาพพร้อมเรื่องราวมาฝากกัน ซึ่งเราเดินทางไปจังหวัดลพบุรีในวันที่ 23 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ในช่วงจังหวะเดียวกับการฝึกระดับหมวดของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ โดยได้รับความกรุณาจากพันเอก จิระพันธ์ มาลีแก้ว ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ หนึ่งในตัวจักรสำคัญของการพัฒนา UAV ไทย ให้เกียรติต้อนรับและพูดคุยกับพวกเราครับ
ผู้การฯ จิระพันธ์ เล่าให้เราฟังว่า ทางหน่วยมีแนวคิดที่จะพัฒนา UAV มาใช้งานนานแล้ว โดยได้ส่งกำลังพลเข้าร่วมอบรมตามโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานขนาดเล็กอเนกประสงค์บังคับระยะไกล (Mini UAV) ของสำนักวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหมจำนวน 12 นาย และทำการฝึกกำลังพลให้มีความคุ้นเคยกับการบิน UAV ตั้งแต่การบินด้วยเครื่องฝึกจำลองการบิน ความรู้เกี่ยวกับการบิน ลักษณะของเครื่องบินและการบังคับเครื่องบิน และฝึกกับเครื่องบินบังคับวิทยุ (RC) เพื่อทำการบินกับ UAV ที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยมีคุณชลธิศ เขียวลงยา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องบินบังคับวิทยุทำหน้าที่ฝึกสอนให้ ซึ่งต่อมาเมื่อเห็นศักยภาพของทีมงานจึงมีแนวคิดที่จะทำ UAV ขนาดเล็กที่บินขึ้นโดยใช้คนปาขึ้นฟ้าจากเครื่องบินบังคับวิทยุ โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ทางหน่วยพัฒนากันเอง ด้วยความสามารถของทีมงานที่เข้าร่วมกันตั้งแต่ครั้งแรก ทางกองทัพบกที่กำลังดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกองทัพนั้นมีแนวคิดที่จะจัดชุด UAV ลงประจำหน่วยในระดับกองพันและระดับกรมซึ่งทางกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ได้เคยเสนอแบบแผนการจัดกำลังของชุด UAV ไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปที่ลงตัว
ในช่วงสายของวันนั้นทางกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์อยู่ในช่วงของการฝึกระดับหมวดในสถานการณ์จำลอง และทำการทดสอบ UAV ขนาดเล็กของทางหน่วยเองเพื่อเข้ารับการประเมินค่าจากกรมยุทธการทหารบกในวันที่ 26 สิงหาคม 2552 ทางเราจึงได้ติดตามการทดสอบของทีมงาน UAV ไปด้วยทั้งวัน
ชุด UAV หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ตอนลาดตระเวนเครื่องมือพิเศษ (Mini UAV) ของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์นั้นมีกำลังพลจำนวน 12 นาย แบ่งเป็นชุดปฏิบัติการ 2 ชุด ชุดละ 6 นาย ประกอบด้วยนักบิน ผู้ช่วยนักบิน ช่างเครื่อง และนายทหารระวังป้องกัน เราเดินทางโดยใช้รถฮัมวี่หนึ่งคันที่บรรทุกกำลังพลทั้งหมดพร้อมอุปกรณ์สนับสนุนต่าง ๆ เข้าไปทำการทดสอบการลาดตระเวนถ่ายต่อหมู่บ้านเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งการปฏิบัติงานจะต้องเริ่มจากการวางแผนการบินและกำหนดเป้าหมายจากแผนที่ทางทหารทั้งบนกระดาษที่สิบเอกสมชาติ พนะสันถืออยู่และในคอมพิวเตอร์ที่ติดอุปกรณ์รับสัญญาณ GPS เนื่องจากต้องใช้พิกัด GPS ในการอ้างอิง สำหรับ UAV ที่จะบินในวันนี้เป็น UAV ต้นแบบตัวเก่าซึ่งเป็นเหมือน "เครื่องบินสาธิตเทคโนโลยี" (Technology Demonstrator) ซึ่งใช้ในการทดสอบและหาจุดลงตัวในการพัฒนา UAV ตัวจริงที่ก็จะขึ้นเป็นบินครั้งแรก (First Flight) ในวันนี้เช่นกัน
"... ตัวนี้ไปลุยใต้มาแล้ว ตอนนั้นทางหน่วยได้รับมอบหมายงานให้ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ภาคใต้ ทางผู้การฯจึงให้ชุดลงไปปฏิบัติงานที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เป็นเวลา 6 เดือน ..." คุณชลทิศ หรือที่นายทหารทั้งชุด UAV เรียกว่าครูเล่าให้ฟัง
"... ทางชุดไปทำงานในพื้นที่ ภารกิจที่เห็นได้ชัดว่าประสบความสำเร็จคือการทำแผนที่เร่งด่วน ในแผนที่ทหารเราจะไม่เห็นว่ามีสิ่งปลูกสร้างอะไร แต่เมื่อเราใช้ UAV เราก็สามารถทำแผนที่เร่งด่วนการปฏิบัติภารกิจได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทำให้เราเห็นตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน..." สิบเอก ธีรชัย ตรีโอษฐ์ นายทหารในชุด UAV ที่รับผิดชอบกับงานด้านแผนที่และการจัดการกับข้อมูลที่ได้รับจาก UAV เล่าให้เราฟังพร้อมกับเปิดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้เราดูไปด้วย
การทำงานในวันนี้คล้ายกับการทำงานจริงในพื้นที่ ต่างกันที่ว่าวันนี้นายทหารในชุด UAV ไม่ต้องถือปืนคอยระวังป้องกันแต่อย่างใด
องค์ประกอบของ UAV ระบบนี้ถูกแสดงไว้ในภาพนี้ โดยปกติแล้วตัวของ UAV จะเก็บแยกกับปีกที่เก็บเอาไว้ในลังพลาสติกทำจากฟิวเจอร์บอร์ด แบ็ตเตอร์รี่ให้พลังงานในการบินราว 1 ชั่วโมงและอาจจะมากกว่านั้นถ้าสภาพอากาศเป็นใจ ผู้ช่วยนักบินจะมีจอภาพและถือเสาอากาศรับสัญญาณเอาไว้รับสัญญาณภาพที่ส่งมาจาก UAV ตลอดเวลา ซึ่งภาพนั้นถ่ายจากกล้องดิจิตอลคอมแพ็กธรรมดา ๆ ทั่วไปที่ถูกปรับปรุงให้รับสัญญาณการลั่นชัตเตอร์จากที่บังคับได้ การบังคับใช้ที่บังคับในลักษณะที่คล้ายกับที่บังคับเครื่องบินบังคับวิทยุ
และจุดสูงสุดของเทคโนโลยีของ UAV ระบบนี้คือ "หนังยาง" ซึ่งใช้รัดลำตัวเข้ากับปีก
"... หนังยางช่วยให้ปีกมันไม่ติดกับลำตัวมากเกินไป เวลาตกปีกมันก็จะบิดได้ ไม่ได้หักไปเลย บินแรก ๆ ต้องตกอยู่แล้ว ไม่มีใครบินแล้วไม่ตก ดังนั้นต้องทำให้เครื่องมันซ่อมได้ง่าย เครื่องเราราคาถูก ต้นทุนราว 5 หมื่นบาท ซ่อมพอไหว คนบินก็ไม่เกร็งนัก ฝึกบินได้เต็มที่ ..." ซึ่งในรุ่นที่จะใช้งานจริงนั้นจะใช้สกรูพลาสติกในการยึดลำตัวเข้ากับปีกแทนเพื่อความมั่นคง
และนี่คือการบินขึ้น แม้ว่า UAV ตัวนี้จะไปลุยภารกิจจริงในภาคใต้มาแล้วแต่ก็ยังทำการบินได้ดีอยู่
การบินขึ้นใช้การปาขึ้นฟ้าซึ่งทำพร้อมกับการเร่งเครื่องสูงสุด
ตัว UAV ลอยขึ้นไปบนฟ้าอย่างง่ายได้ เมื่อขึ้นไปสูงในระดับหนึ่งเพียงไม่กี่สิบเมตรก็ไม่ได้ยินเสียงมอเตอร์อีกเลย เมื่อมองจากพื้นดินแล้วมันดูคล้ายนกอพยพตัวโต ๆ มากกว่า สำหรับ UAV ตัวต้นแบบนี้นักบินยังต้องมองไปที่ตัว UAV ตลอดเวลาเพื่อบังคับทิศทาง ทำให้มันยังมีพิสัยบินที่จำกัดอยู่เพียงระยะสายตาของนักบินคือ สิบเอกเกียรติสรณ์ ทุนอินทร์ หรือคิดเป็นระยะปฏิบัติการสูงสุดราว 2 กิโลเมตรรอบตัวนักบิน
ในมือของจ่าสิบตรีธีระยุทธ แดนทองคือจอภาพที่รับสัญญาณจากตัว UAV ซึ่งส่งมาสู่เสาอากาศที่จ่าสิบตรีเอกรัตน์ ดิเรกศรีถืออยู่ในทิศทางที่หันหน้าเข้าสู่ตัว UAV ตลอดเวลา เมื่อได้มุมมองภาพที่ครบถ้วน จ่าสิบตรีธีระยุทธจะให้สัญญาณสิบเอกเกียรติสรณ์ซึ่งเป็นนักบินในการกดชัตเตอร์หรือกดถ่าย VDO เพื่อบันทึกลงไปใน SD Card บนกล้อง
ส่วนนี่คือภาพสด ๆ ที่ได้จากตัว UAV ซึ่งเป็นถนนที่อยู่ห่างออกไปราว 1 กิโลเมตร ที่นราธิวาสภาพที่ได้จากการถ่ายต่อเนื่องถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกันเพื่อทำแผนที่เร่งด่วนก่อนที่ชุดปฏิบัติการจะเข้าไปในพื้นที่ไม่เพียงกี่ชั่วโมง
การลงจอดนั้นนักบินจะใช้วิธีการบินวนเพื่อลดระดับลงมาจนใกล้ถึงพื้นและให้เครื่องบินเอาท้องไถลไปกับพื้น ไม่ได้ลงแบบ Deep Stall หรือลงปักหัวลงไปตรง ๆ ให้แตกออกเป็นชิ้น ๆ เหมือนระบบของต่างประเทศ
สภาพหลังลงจอด จะสังเกตุว่าตัว UAV มีรอยขีดข่วนทั่วไปเนื่องจากใช้งานมานาน
เมื่อเก็บข้อมูลได้ครบแล้ว จ่าสิบตรีมนตรี ผลาชีวะ พลขับของวันนี้ก็พาเราไปอีกตำแหน่งนึงที่ถูกกำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นบ้านที่ตั้งอยู่กลางลานโล่ง และเราต้องตรวจการณ์ทำแผนที่ในบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงนี้
ที่นี่มีอุปสรรคอยู่คือตรงข้างถนนมีเสาไฟฟ้าอยู่ ทำให้นักบินต้องวางแผนการบินขึ้นและลงจอดเพื่อไม่ให้ตัว UAV บินเข้าไปชนเสาไฟฟ้า รวมถึงต้องหาทิศทางลมที่เหมาะสมสำหรับทำการบิน โดยการโปรยใบไม้แถวนั้นลงพื้น
การบินขึ้นเป็นไปได้ด้วยดี ส่วนการบนลงนั้น นักบินเลือกที่จะลงบนถนนจึงต้องอาศัยนายทหารในชุดคอยดูไม่ให้รถเข้ามาในขณะที่บินลง ตัว UAV บินหลบเสาไฟฟ้าลงสู่พื้นถนนได้อย่างปลอดภัย
ที่หมายสุดท้ายที่เราไปในวันนี้อยู่บริเวณทุ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ห่างจากตัวเมืองลพบุรีพอสมควร ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติงานอยู่มักจะเห็นทหารของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ที่อยู่ในระหว่างการฝึกถือ ปลย.50 (TAR-21 Tavor) เดินลาดตระเวนหรือตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ตามวัดและโรงเรียนอยู่ทั่วไป
ในภาวะที่เร่งด่วนที่เคยประสบมาคือในการฝึกครั้งหนึ่งต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ชุด UAV สามารถใช้เวลาเพียง 5 นาทีนับตั้งแต่จอดรถจนถึงส่งเครื่องบินบินขึ้นฟ้า ซึ่งในการปฏิบัติการนั้นสามารถเก็บภาพพื้นที่การรบ (สมมุติ) ได้อย่างครบถ้วน จนได้รับเสียงชื่นชมจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพบกเป็นอย่างดี
พื้นที่ตรงนี้เป็นที่โล่ง ประกอบกับลมเป็นใจ จึงสามารถส่ง UAV ขึ้นฟ้าได้อย่างง่ายดาย ชุด UAV ทำการบินเหมือนที่เคยปฏิบัติมาหลายพันครั้งคือการเก็บภาพเป้าหมายที่ต้องการ
ในการทำการบินกับ UAV ตัวต้นแบบตัวนี้ การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเนื่องจากข้อจำกัดของตัว UAV เอง เพราะนักบินจะต้องมองไปที่ตัว UAV ตลอดเวลา ทำให้ไม่เห็นภาพที่ตัว UAV ถ่ายได้ ผู้ช่วยนักบินจะต้องหันเสาอากาศไปยังตัว UAV ตลอดเวลาพร้อมกับผู้ช่วยนักบินอีกคนที่มองจอภาพต้องสั่งให้นักบินเลี้ยวซ้ายหรือขวาเพื่อให้ได้ภาพเป้าหมายตามที่ต้องการ
หลังจากจบภารกิจ เรากลับที่ตั้งปกติ บริเวณสนามฟุตบอลของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่ที่เราจะทำการบิน UAV รุ่นใหม่เป็นครั้งแรก
UAV รุ่นใหม่นี่เป็นรุ่นที่ใกล้เคียงการทำงานจริงของ UAV รุ่นใช้งานจริงมากที่สุด ถ้าเรียกตามภาษาการผลิตเครื่องบินแล้ว รุ่นนี้คือรุ่นที่เข้าสู่สายการผลิตในแบบจำกัด (Limit Serial Production Prototype) โดยจะมีความแตกต่างจากรุ่นสาธิตทางเทคโนโลยีในหลายจุด นั่นก็คือการยึดปีกกับลำตัวที่ใช้สกรูพลาสติกในการยึด ตัวปีกออกแบบให้มี Winglet สองชั้นเพื่อจะได้เกาะอากาศได้มากที่สุดเนื่องจากต้องทำการบินระยะไกล รวมถึงไม่มี Flap เนื่องจากเครื่องบินจะเป็นตรงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชุดใบพัดและลำตัวยังการออกแบบที่คล้ายกับตัวสาธิตทางเทคโนโลยี
ด้านข้างลำตัวนอกจากสายอากาศแล้วยังมีพอร์ตส่งข้อมูลเพื่อที่จะได้นำสาย USB จากคอมพิวเตอร์ต่อเข้ากับตัว UAV ได้โดยตรงโดยไม่ต้องแกะลำตัวออกมา อีกทั้งด้านบนติดตั้งรับสัญญาณ GPS ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดความสูงด้วย โดยในอนาคตจะติดตั้งเซนเซอร์วัดความสูงแยกออกไปโดยเฉพาะ
ด้านหน้านอกจากช่องวัดความเร็วที่เป็นลักษณะท่อเหมือนเครื่องบินจริง ๆ แล้วยังติดกล้องถ่ายภาพขนาดเล็กซึ่งสามารถปรับมุมได้ที่ส่วนหัวอีกด้วย กล้องนี้นอกจากใช้ถ่ายภาพที่ต้องการแล้วยังส่งภาพกลับมาให้นักบินบินจากภาพที่ปรากฏบนจอภาพได้อีกด้วย ซึ่งรวมถึงระบบนักบินอัตโนมัติมูลค่ากว่าหนึ่งแสนบาทที่ติดตั้งลงในตัวเครื่องบิน เพื่อที่ว่าในบางกรณีจะได้ไม่จำเป็นต้องใช้นักบินในการทำการบิน และในภารกิจที่ต้องการกำหนดแผนการบิน (Flight Plan) ล่วงหน้าก่อนว่าจะไปตรงจุดไหนบ้างโดยการกำหนดพิกัด GPS ที่ต้องการเป็นเวย์พอยต์ต่าง ๆ
และนี่คือภาพวินาทีแรกของ UAV รุ่นใหม่ที่ปาขึ้นฟ้าด้วยฝีมือของสิบเอก ธีรชัย ส่วนนักบินยังเป็นสิบเอกเกียรติสรณ์เช่นเดิม
UAV บินหายลับออกไปจากพื้นที่กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เนื่องจากในรุ่นนี้นักบินไม่จำเป็นจะต้องมองที่ตัว UAV ตลอดเวลา แต่จะใช้การมองที่จอภาพแทน โดยตัวจอภาพนั้นติดตั้งอยู่กับที่นั่งด้านหน้าของรถฮัมวี่พร้อมกับเสาอากาศที่ใหญ่ขึ้นและไม่จำเป็นต้องถือวนตามตัว UAV อีกต่อไป ในอนาคตทางทีมมีแผนจะปรับปรุงระบบการแสดงผลบนจอภาพให้เหมือนกับการมองออกจากจอ HUD (Head-Up Display) บนเครื่องบินรบซึ่งจะบอกตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำการบิน รวมถึงเวย์พอยต์ที่ต้องบินไปทำภารกิจ และจะพัฒนาเสาอากาศแบบ 360 องศาและติดตั้งบนรถฮัมวี่ ซึ่งจะทำให้รถฮัมวี่กลายเป็นฐานปฏิบัติการเคลื่อนที่ของชุด UAV ไปโดยปริยาย
แนวคิดในการออกแบบ UAV ของทีม UAV นี้แตกต่างจาก UAV ของต่างประเทศอย่าง Raven ตรงที่ Raven ใช้การวางแผนการบินล่วงหน้าเพื่อให้ตัว UAV บินไปโดยอัตโนมัติตามแผนการบินที่วางเอาไว้และบินกลับมาที่จุดเดิม แต่ทางทีม UAV ของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์เลือกที่จะใช้คนทำการบินเป็นหลักเนื่องจากมีความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจมากกว่า สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดีกว่าเนื่องจากสามารถเปลี่ยนจุดหมายจากเวย์พอยต์หนึ่งไปยังอีกเวย์พอยต์หนึ่ง บินวนที่จุดที่สนใจ เปลี่ยนเส้นทาง หรือแม้แต่ยกเลิกภารกิจได้เลยโดยไม่ต้องกลับมาตั้งโปรแกรมใหม่ ส่วนระบบนักบินอัตโนมัติจะทำงานก็ต่อเมื่อสัญญาณระหว่างนักบินและ UAV ขาดหายไป โดยมันจะนำตัว UAV กลับมาสู่ที่เดิมที่มันบินขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หรือในกรณีที่ต้องการให้ตัว UAV บินไปในทิศทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ในการบินวันนั้นประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยตัว UAV สามารถบินไกลออกมาถึงสองกิโลเมตรโดยนักบินมองไม่เห็นตัวเครื่อง และสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัยในการบินทั้งสามรอบในวันนั้น
ทั้งหมดนี้คือการบินเตรียมตัวในการรับการประเมินจากกรมยุทธการทหารบกในวันที่ 26 สิงหาคม 2552 โดยคุณชลทิศกลับเข้ากรุงเทพเพื่อแก้ไขโปรแกรมนักบินอัตโนมัติเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนกลับมาที่ในเย็นวันจันทร์ และทางชุดเริ่มเข้าสู่พื้นที่การฝึกในวันอังคารต่อเนื่องจนถึงวันพุธ
ซึ่งในวันนั้น (26 สิงหาคม 2552) นายทหารจากกรมยุทธการทหารบกได้มีโอกาสชมการปฏิบัติงานของ UAV ชุดนี้อย่างใกล้ชิด นี่คือสิ่งที่ผู้การฯ จิระพันธ์พยายามมาตลอดในการที่จะทำให้ทางหน่วยเหนือเห็นคุณค่าของงานวิจัยชุดนี้
ในคืนวันนั้น ผมสอบถามไปทางคุณชลทิศถึงผลลัพธ์ของการบิน ...
" ... วันนี้ประสบความสำเร็จเกินคาดครับ เราสามารถบินออกไปจากจุดที่ปล่อยได้ไกลถึง 5 กิโลเมตรและกลับมาได้อย่างปลอดภัย ตอนแรกก็ยังลุ้นอยู่ว่ามันจะกลับมาได้ไหม แต่สุดท้ายก็กลับมาสำเร็จ ผู้การฯ จิระพันธ์ ยิ้มออกเลย ทางยก.ทบ.ประทับใจกับงานวิจัยของหน่วยเรามาก และเริ่มเข้าใจถึงคุณค่าทางยุทธการของการปฏิบัติการในอนาคตตามภารกิจที่กองทัพบกกำลังเผชิญอยู่ บินวันนี้ได้ข้อแนะนำในการปรับปรุงกลับไปเยอะ ในรุ่นต่อไปเราอาจจะเปลี่ยนตำแหน่งของกล้องให้สามารถเห็นมุมได้กว้างขึ้น และจะพัฒนาระบบนักบินอัตโนมัติให้ดีขึ้นกว่าเดิม เชื่อว่าน่าจะได้เข้าประจำการแน่ ... "
แม้ยังมีงานในการพัฒนาที่ต้องทำต่อไป แต่อนาคตของโครงการเริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยการยอมรับจากกรมยุทธการทหารบก และการปรับโครงสร้างกำลังรบใหม่ของกองทัพบกที่จะมีชุด UAV ประจำกองพันและประจำกรมก็น่าจะยิ่งชัดเจนว่าต่อไปงานวิจัยของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์น่าจะได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการ
" ... UAV ตัวนี้ไม่ได้มีประโยชน์แต่เฉพาะภารกิจทางทหารเท่านั้น การลาดตระเวนดูแลป่าไม้หรือแม้แต่การตรวจสอบสภาพการจราจรก็สามารถใช้งาน UAV ได้ ... เราวางแผนที่จะขอเสนอเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติของหน่วยเราในอนาคต ในวันนี้เราคงไม่ต้องพูดแล้วว่าระบบของเราดีกว่าระบบของต่างประเทศหรือเปล่า สิ่งที่เห็นคงเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดีถึงฝีมือคนไทยที่ไม่แพ้ต่างชาติเลย ... "
แล้วยังขาดอะไร?
" ... เรายังไม่มีชื่อเรียก UAV ของเราเลยครับ ตอนนี้ทางหน่วยก็คิด ๆ กันอยู่ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี ... "
ในการปฏิบัติภารกิจจริง UAV ระบบนี้จะรับหน้าที่บินตรวจการณ์เร่งด่วนก่อนที่หน่วยทหารของฝ่ายเราจะเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการเพื่อรวบรวมข่าวกรองของการวางกำลังของฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่รับผิดชอบราว 25 ตารางกิโลเมตรของกองพันทหารราบ 1 กองพัน เพื่อให้การวางแผนการปฏิบัติการขั้นสุดท้ายมาจากข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด โดยมันจะเป็น UAV ประจำหน่วย และกำลังพัฒนาโครงสร้างให้สามารถแบกไปบนหลังของกำลังพลได้
เมื่อเรารู้จักข้าศึก การสูญเสียของฝ่ายเราก็จะลดลง
แม้ยังมีงานที่ต้องทำต่อไป แต่จากการสนับสนุนของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์และกองทัพบก เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็น UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทยเข้าประจำการในกองทัพบกไทย เมื่อนั้นเราคงลืมไปได้เลยว่าครั้งหนึ่งเราต้องผิดหวังกับระบบราคาแพงจากต่างประเทศ เพราะ UAV ฝีมือคนไทย คือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบของต่างชาติซึ่งเราคนไทยพัฒนาได้เอง เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งหมดอยู่ในมือของคนไทย มันจะทำให้เราสามารถรับประกันความมั่นคงของประเทศในระยะยาวได้ในที่สุด
ทีมงาน
ThaiArmedForce.com
ขอขอบคุณ
- พันเอก จิระพันธ์ มาลีแก้ว ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ และกำลังพลของหน่วยทุกคน
- คุณชลธิศ เขียวลงยา ผู้ฝึกสอนการบิน UAV และหนึ่งในทีมวิจัย UAV ของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
- ชุดปฏิบัติการ UAV หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ตอนลาดตระเวนเครื่องมือพิเศษ (Mini UAV) ของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ดังรายนามต่อไปนี้
1. จ.ส.ต. เอกรัตน์ ดิเรกศรี
2. ส.อ. ณัฐพงษ์ ครโสภา
3. จ.ส.ต. สุเมธ ยศธิศักดิ์
4. จ.ส.ต. ธีระยุทธ แดนทอง
5. จ.ส.ต. ภานุวัตร มะลิ
6. จ.ส.ต. สุขุม จีนโน
7. จ.ส.ต. มนตรี ผลาชีวะ
8. ส.อ. สมชาติ พนะสัน
9. ส.อ. อนุทิน คำรังศรี
10. ส.อ. เกียรติสรณ์ ทุนอินทร์
11. ส.อ. ธีรชัย ตรีโอษฐ์
12. ส.อ. เอกลักษณ์ จันทร์โท
ภาคผนวก
ตัวอย่างของภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV รุ่นสาธิตทางเทคโนโลยี
ตัวอย่างการทำแผนที่เร่งด่วนจากภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV รุ่นสาธิตทางเทคโนโลยี
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ RDF Thai Tactical UAV ได้ที่นี่
Create Date : 28 สิงหาคม 2552
Last Update : 28 สิงหาคม 2552 21:24:39 น.
21 comments
Counter : 4272 Pageviews.
Share
Tweet
เครื่องบินลำเล็ก ๆ เหม่งอยากได้
โดย:
น้าหนูนีล_น้องขวัญ
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:1:07:33 น.
เห็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกแฮะ เริ่มต้นจาก 0 แล้ว
ค่อยๆนับ 1 นับ 2 ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ หวังว่าเจ้า UAV ตัวนี้คงไม่ถูก
ดองนะเสี่ย ถามนิดนึงเสี่ย เจ้า UAV ที่กองทัพทำเอง กับของนอก
นี่ราคาต่างกันเยอะไหม แล้วคุณภาพนี่ใช้ได้หรือเปล่า แล้วถ้าทำ
เสร็จแล้วหน่วยอื่นสามารถขอลิขสิทไปผลิตใช้ได้อะป่าว เผื่อพวก
กรมป่าไม้จะได้เอาไปใช้บ้าง ไว้แอดดูพวกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
โดย:
eaknarak
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:3:45:56 น.
สวัสดียามเช้าครับพี่โย
โดย:
กะว่าก๋า
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:7:14:33 น.
ประหยัดกว่าเยอะเลย และก็ได้วัตถุประสงค์เหมือนกัน
เหมาะสำหรับหน่วยขนาดกองพัน
โดย:
เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:7:58:04 น.
ต่อไปน่าจะพัฒนาให้ติดอาวุธได้นะครับ
ถ้าโจมตีได้ด้วยนี่ นึกไปแล้วน่ากลัวมากเลยทีเดียว
มาแบบเงียบๆ อยู่ดีๆก็ตูม!!
โดย:
NATSKI13
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:11:15:18 น.
โหเก่งมากเลย เมื่อก่อนเห็นพี่ๆ เค้าประดิษฐิลักษณะนี้ไว้เล่นเองเหมือนกัน แต่เวลาบินเสียงดังเหมือนกันนะ
โดย:
no filling
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:11:57:30 น.
อิอิ เข้ามาชมค่ะ แฟนเราก็เป็นคนหนึ่งในทึมวิจัย uav เหมือนกัน ภูมิใจๆๆๆๆ
โดย:
ไม่ได้เจ้าชู้แค่เอ็นดูชายทุกคน
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:12:46:36 น.
แจ่มอะ
โดย:
น้องผิง
วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:13:21:50 น.
ราคาของระบบนี้ ผมให้เต็มที่ก็สามแสนบาทต่อลำ เทียบกับ RQ-11 Raven ที่ลำละตั้ง 10 ล้าน แถมระบบของเราประสิทธิภาพดีกว่า ยังไงก็ Work กว่าครับ
โดย: Skyman (
Analayo
) วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:10:01:40 น.
จะดูรูปป๋าปืน
โดย:
น้าหนูนีล_น้องขวัญ
วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:8:31:44 น.
แล้วจะส่งไปให้ หึหึหึ
โดย: Skyman (
Analayo
) วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:14:18:45 น.
หายไปไหนคุงน้อง ข้อความที่อยู่บนหัวบล๊อคนะ
เขียนให้ซอฟดีไหม
คนเรานานาจิตตัง ความคิดความอ่านแตกต่างกัน
พี่ว่าโยเพิ่มช่องทางติดต่อโยในนี้ดีไหม
คำประกาศสิทธิ์พี่ก็อ่านแล้วจ้า
แต่ทางปฎิบัติเราเลือกถ้อยคำสื่อสารได้นะ
ไม่ได้ว่าโยผิดนะ แต่จะเพิ่มความน่ารักขึ้นมาเยอะนะ
ไม่ได้ว่าความคิดโยผิดนะ ยังไงพี่เข้าข้างโยเพราะพี่ลำเอียง
เห็นน้องตัวเองสำคัญอยู่แล้ว
การสื่อสารที่ดี มิตรจะเกิดขึ้นคร๊าบ ^^
โดย:
จูหน่านพ
วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:23:02:09 น.
อยากเพิ่มความน่ารักอยู่เหมือนกันนะป้า
แต่เพิ่มไม่ไหวแล้วล่ะ แค่ตอนนี้ก็น่ารัก unlimit แล้ว
โดย: Skyman (
Analayo
) วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:1:00:30 น.
สวัสดียามเช้าครับพี่โย
โดย:
กะว่าก๋า
วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:7:44:54 น.
เสี่ยงานเข้า เสี่ยงานเข้า เสี่ยงานเข้า เสี่ยงานเข้า
20 จ่ายมะ
โดย:
บิน102
วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:9:58:58 น.
ให้รู้ว่าแต่อ่านบล๊อคฉัน ทดสอบเว้ย
โดย:
จูหน่านพ
วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:12:12:08 น.
น้าโย ข้อมูลเพียบ ภาพคมชัด
โดย:
แม่น้องขวัญ_ซาแมนต้า
วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:20:30:53 น.
น่าสนใจดีแท้ๆเลยโย
ตกลงว่าลิมิตคือ 5 กม เหรอโย
ปล
วันที่ 12-13 มีงานแอร์โชว์ที่ซาคราเมนโต้
จะพาเด็กๆไปดู แต่ไม่กล้าซื้อตั๋ววีไอพี
แพงง่ะ
โดย:
เพลงเสือโคร่ง
วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:23:14:25 น.
limit มันมากกว่านั้นครับพี่ แต่ตามหลักแล้ว เราก็ไม่ควรบอกสเปคที่แท้จริงใช่ไหมครับ เพราะถ้าเราไปทำงานในที่ที่ไม่เป็นกับเรา เขาจะได้ไม่รู้ว่าเราจะทำอะไรได้บ้างครับ
โดย: Skyman (
Analayo
) วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:0:08:08 น.
สวัสดียามเช้าครับพี่โย
สบายดีนะครับ
โดย:
กะว่าก๋า
วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:5:59:34 น.
พี่หมีขอบคุณมากนะคะ คุณโย สำหรับคำอวยพร ดีใจและมีความสุขมากค่ะ^^
โดย:
หมีสีชมพู
วันที่: 5 กันยายน 2552 เวลา:5:48:31 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [
?
]
หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X
Friends' blogs
*คุณวรมัน*
sirpass
ดนย์
ผีกองกอย
อาซิ่ม
UVPhenix
pooktoon
icy_CMU
นางน่อยน้อย
Glitter Maker
เซียงยอด
laughingbug
เพลงเสือโคร่ง
กะว่าก๋า
นภานุภาพ
คนไม่เจียม..
หมีสีชมพู
Warfighter
helldiver
น้องผิง
picmee
Mr.Terran
MeMoM
FW190
เฉลียงหน้าบ้าน
labelle
AW Milan
ลูกกวาดจัง
-=Jfk=-
Jump.Jr
unsa
Vitamin_C
azuma304
น้าหนูนีล_น้องขวัญ
ลูกไก่พองลม
pattapon
จูหน่านพ
แม่น้องขวัญ_ซาแมนต้า
Aerospicy
001 JZ Team
Noahdaddyboy
ขอบฟ้าบูรพา
บิน102
พี่เปิ้ลจ๋า
spetsnaz
archawin
Webmaster - BlogGang
[Add Analayo's blog to your web]
Links
หลังไมค์ถึง Skyman (Analayo)
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
อากาศยานานุสรณ์ อากาศยาน รุ่นต่าง ๆ ของ ทอ.
F-35 JSF Official Site
"นิตยสารนาวิกศาสตร์" นิตยสารของกองทัพเรือ
Eurofighter Typhoon - Nothing Coming Close
F-16.net - The F-16 Community
Sukhoi Design Bureau: สำนักแผนแบบซูคอย
JAS-39 Official Site [Gripen International]
Thaifighterclub.org - เว็บบอร์ดทางทหารของไทย
Wing21 - เว็บบอร์ดทางทหารของไทย
Airliners.net - รวมภาพอากาศยาน
JetPhotos.Net - รวมภาพอากาศยาน
คลับหน้าต่างโลก - เรื่องราวน่าสนใจจากทั่วโลก การเมือง ความเป็นอยู่ ประเทศต่าง ๆ
Wing of Siam : โดยท้าวทองไหล
Blog ภาษาอังกฤษ thaimilitary.wordpress.com
OA Military Books - รวบรวม E-Book ทางทหารทั่วโลก
Warfighter - ข้อมูลเทคโนโลยีทางทหาร
Thai UAV Group ... UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทย
ตำนาน C-130 ของกองทัพอากาศไทย
ThaiArmedForce.com - เว็บบอร์ดและแหล่งความรู้ทางทหาร
NWS 980 - เครื่องฝึกจำลองการรบทางทะเลฝีมือคนไทย
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.