จับตาเกมส์การฑูตวันนี้+กัมพูชาอาจซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่
ถ้าทุกท่านได้มีโอกาสติดตามซีรี่ย์ชุดเขาพระวิหารในภาคแรกนั้น อาจจะพอเห็นนะครับ เนื่องจากผมย้ำเสมอว่า สันติภาพเท่านั้นคือคำตอบ และเราต้องหลีกเลี่ยงสงครามไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม อีกทั้งเรายังต้องตั้งรับทางการฑูตอย่างรัดกุมที่สุด เนื่องจากเมื่อกลางปีที่ผ่านมานั้นมันไม่ใช่เวลาที่เราจะรุกทางการฑูต เราต้องรอครับ
โชคดีที่เราผ่านช่วงนั้นมาได้ และยังได้สร้างรากฐานและเกราะป้องกันตัวเองทางการฑูตเอาไว้ เราจึงค่อนข้างสบายใจได้เปลาะนึงว่าอย่างน้อยเรามีเพื่อนและมีกลไลที่พร้อมจะช่วยเหลือเราเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้นในอนาคต
และเมื่อมาถึงวันนี้ ... สิ่งที่เราทำมาเมื่อกลางปีกำลังจะช่วยเราครับ ... จากการที่เรายืนยันมาตลอดว่า เราต้องการสันติภาพ เราจะไม่รุกรานใคร และเราเชื่อมั่นในการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชาโดยไม่จำเป็นต้องนำเรื่องเข้าสู่ UN ... ทำให้เมื่อกัมพูชาออกมาขีดเส้นตายและประกาศต่อชาวโลกว่าจะทำให้พื้นที่เขาพระวิหารเป็นดินแดนแห่งความตายถ้าไทยไม่ยอมถอนทหารนั้น "เข้าทางเราโดยทันที"
คือผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า แปลกใจที่งานนี้ ฮุนเซ็นเดินเกมส์ซึ่งผมว่าพลาดไปหลายจุดครับ พลาดตั้งแต่การประกาศว่าจะทำสงครามแล้ว และก็พลาดตั้งแต่บอกว่าทหารไทยได้ถอนออกไปแล้ว ที่สำคัญ พลาดตรงไทยไปเจอตอ คือ "กับระเบิด" ครับ
ที่ว่าพลาดสองอย่างแรก เพราะมันทำลายภาพลักษณ์ผู้รุกรานของไทยที่กัมพูชาสร้างให้กับชาวโลกลงมาทีเดียวครับ ข้อสังเกตุก็คือ กัมพูชาพูดเสมอว่าไทยรุกรานและยึดครองดินแดนของรัฐที่อ่อนแอกว่าอย่างกัมพูชา ซึ่งเราก็พูดไปว่าเน้นสันติภาพ .... แต่มาวันนี้กลับกลายเป็นว่า รัฐที่อ่อนแอกว่ากลับประกาศที่จะทำสงครามกับไทย
มันเลยเข้าทางเราไงครับ .... เพราะช่วงกลางปี ที่คนทุกคนมักจะบ่น ๆ กันก็คือ ทำไมเรายอมกัมพูชา ทำไมเราเป็นลูกไล่เขา ทำไมเราไม่ยอมตอบโต้ .... ก็เพราะเราตอบโต้ไม่ได้ด้วยเหตุผลทางการฑูตอย่างที่เคยกล่าวมาในซีรี่ย์ที่แล้วครับ ..... แต่มาครั้งนี้ กัมพูชากลับจัดฉากให้เราสู้ได้ ..... จึงได้เห็นการเดินเกมส์ตอบโต้ของไทยซึ่งเชื่อว่าคงได้ใจหลาย ๆ ท่านนะครับ .... แต่อยากจะย้ำว่า ที่กองทัพ นักการฑูตและรัฐบาลของเราทำอย่างนี้ได้ในวันนี้ เพราะพวกเขาอดทนถูกด่ามาเมื่อกลางปีที่แล้วครับ
ปูพื้นก่อนว่า หลังจากกัมพูชาประกาศขีดเส้นตาย ... ไทยได้แสดงความประหลาดใจในท่าทีของกัมพูชา และย้ำถึงจุดยืนที่ว่าไทยจะยังยืนยันที่จะแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีในกรอบของการเจรจาแบบทวิภาคี แต่ก็จะป้องกันอธิปไตยของไทยอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งส่งหนังสือชี้แจงไปสู่เลขาธิการสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และสมาชิกอาเซียนเพื่ออธิบายจุดยืนของไทย และยืนยันอย่างหนักแน่นที่จะไม่ถอนทหารออกจากพื้นที่ซึ่งไทยอ้างสิทธิ์ (ความจริงท่านรัฐมนตรีต่างประเทศต้องการให้สื่อไทยพูดไปเลยว่าตรงนั้นเป็นดินแดนของไทยด้วยซ้ำ ไม่อยากให้พูดว่าพื้นที่ทับซ้อน) .... เพื่อทำให้ภาพลักษณ์และจุดยืนของไทยแตกต่างจากกัมพูชาให้มากที่สุดครับ
หลังจากการปะทะ .... ซึ่งผมมองว่าเป็นจุดสูงสุดของความขัดแย้งในรอบนี้แล้ว .... ท่าทีของกัมพูชาเปลี่ยนไปมากทีเดียวครับ .... แถลงการณ์ที่ออกมาก็คือกัมพูชายึดถือสันติภาพและการเจรจา พร้อมทั้งสงวนสิทธิ์ที่จะป้องกันตนเองเหมือนกัน ซึ่งแตกต่างจากท่าทีเมื่อวันที่ 13 ต.ค. มากทีเดียว
เมื่อกลางปีเราต้องตั้งรับ แต่ในวันนี้เรากำลังสวนกลับนะครับ
ฉะนั้นเกมส์หลังจากนี้ .... คงไม่ต้องพูดมากครับ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของไทยเริ่มเดินเกมส์โต้กลับแล้ว ซึ่งก็คือ ไทยเชิญเจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศและฑูตประเทศต่าง ๆ เข้าชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเตรียมทีมกฏหมายเพื่อที่ว่าอาจจะต้องยืนให้ศาลโลกตีความพื้นที่ทับซ้อนว่าเป็นของใคร ซึ่งผมยังไม่เห็นด้วยนักเพราะไม่มั่นใจในศาลโลกแล้ว แต่การเตรียมตัวไว้ก่อนเป็นสิ่งที่ดีครับ แม้ว่าในทางปฏิบัติจะไม่มีใครสามรถลากคอเราขึ้นศาลโลกได้ถ้าเราไม่ยินยอม
ที่สำคัญ .... กับระเบิดไม่กี่ลูกอาจจะช่วยเราได้มากทีเดียวครับ
จำได้ไหมครับที่ผมเคยพูดในซี่รี่ย์ที่แล้วว่าให้จับตาประเด็นด้านกับระเบิดให้ดี สักวันมันอาจจะกลายเป็นหลักฐานสำคัญอันนึงก็ได้ .... และวันนี้มันกำลังจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ
ไทยมีภาระผูกพันต้องทำตามอนุสัญญาอ็อตตาว่าว่าด้วยระเบิดสังหารบุคคลว่า เราต้องทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ในพื้นดินที่อยู่ในอาณาเขตที่ไทยควบคุมเอาไว้และกฏหมายไทยครอบคลุม นอกจากนั้นประเทศที่ร่วมให้สัตยาบัญในอนุสัญญานี้จะต้องไม่ทำการฝังทุ่นระเบิดเพิ่มเติม .... ในช่วงความขัดแย้งพุ่งถึงขีดสุดเมื่อกลางปี ไทยจึงเปิดปฏิบัติการกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ครั้งใหญ่ครับ
แต่กลับกลายเป็นว่า เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาทหารไทยสองนายเหยียบกับระเบิดขาขาดในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไทยเคยเก็บกู้กับระเบิดจนหมดแล้ว .... เมื่อทำการเข้าพิสูจน์ทราบก็พบกับระเบิด PMN-2 จากรัสเซียถูกฝังอยู่ .... แน่นอนว่าไทยกล่าวหากัมพูชาว่าเป็นผู้วางกับระเบิด และแน่นอนว่ากัมพูชาปฏิเสธ .... ซึ่งหลังจากนำกับระเบิดที่กู้ได้กลับมาตรวจสอบ ทางการไทยยืนยันอีกครั้งว่าเป็นกับระเบิดของกัมพูชาที่ฝังใหม่จริง ๆ
เรื่องนี้มันให้อะไรเราหรือครับ?
ให้แน่นอนครับ เพราะถ้าไทยพิสูจน์ได้ว่ากัมพูชาเป็นผู้วางกับระเบิดนั้นจริง จะทำให้เรื่องนี้เป็นหลักฐานที่บ่งบอกทันทีว่ากัมพูชาทำผิดอนุสัญญาอ็อตตาว่าว่าด้วยระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งแม้จะไม่มีบทลงโทษประเทศที่ละเมิด แต่มันก็แสดงให้เห็นว่า กัมพูชาทำผิดกฏหมายระหว่างประเทศ .... อีกทั้งจะทำให้ไทยมีหลักฐานว่ากัมพูชาทำการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในพื้นที่ทับซ้อนซึ่งผิดต่อข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชาในปี 2543 .... และการที่อนุสัญญาอ็อตตาว่าว่าด้วยระเบิดสังหารบุคคลระบุให้รัฐต่าง ๆ ทำการเก็บกู้กับระเบิดในดินแดนของตน การเก็บกู้กับระเบิดในครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการบ่งบอกกลาย ๆ แบบศรีธนชัยว่าตรงนั้นคือดินแดนของไทย
เมื่อเห็นว่าเล่นได้ทั้งตัวตรงและตัวโต๊ตแบบนี้ .... ไทยจึงเตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการอนุสัญญาอ็อตตาว่าว่าด้วยระเบิดสังหารบุคคลที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อกล่าวหากัมพูชาว่าละเมิดข้อตกลงดังกล่าว แม้กัมพูชาจะมีสิทธิปฏิเสธ แต่หลักฐานที่เรามีอยู่ จะช่วยเราในการเจรจายุติความขัดแย้งและปักปันเขตแดน รวมถึงช่วยให้นานาชาติเข้าใจบทบาทของไทยมากขึ้นครับ
เห็นไหมครับ .... ถ้าเมื่อกลางปีเกิดสงครามขึ้นมา เราจะไม่ได้หมัดน็อคพวกนี้แน่นอน ..... เห็นไหมครับว่าทำไมหลาย ๆ คนจึงออกมาต่อต้านสงครามอย่างเต็มที่
ล่าสุดกัมพูชาออกแถลงการณ์ประณามอาเซียนว่าเข้าข้างไทย และเรียกร้องให้ UN เข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย ..... นี่ไงครับที่ผมพูดเมื่อซีรี่ย์ที่แล้วว่า จุดมุ่งหมายของกัมพูชา คือการยืมมือประเทศที่สามเข้าแทรกแทรง วันนี้กัมพูชาพูดอย่างเปิดเผยแล้วครับ
ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปก็คือ .... เตรียมการรับมือในกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงนำเรื่องนี้เข้าหารือ .... ซึ่งครั้งนี้ผมมั่นใจมากขึ้นครับว่าเราพร้อมมากกว่าเมื่อกลางปีที่ผ่านมาพอสมควรเนื่องจากเรามีหลักฐานและมีเงื่อนปมมากมายที่เข้าทางเรา ต่างจากตอนนั้นที่ทุกอย่างไม่เข้าทางเราเลย
ลองติดตามต่อไปครับ .... ประเทศไทยได้รับการรู้จักในระดับนานาชาติในฐานะประเทศเอกราชที่เดินเกมส์ทางการฑูตและการต่างประเทศได้อย่างยอมเยี่ยมมาเป็นเวลาหลายร้อยปี .... ขอให้กำลังใจนักการฑูตและเจ้าหน้าที่ของเราทุกท่าน ผมเชื่อว่าท่านจะทำได้ดีไม่แพ้บรรพบุรุษของเราแน่นอนครับ
ถัดจากประเด็นนั้นมาสู่ข่าวนี้ครับ ข่าวนี้ลงในพนมเปญโพสตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 กันยายนแล้ว แต่ผมเพิ่มไปเจอครับ ..... และมันก็น่าสนใจมาก ๆ ทีเดียว
แปลโดยสรุป พนมเปญโพสกล่าวว่า ภาพข่าวจากการเผชิญหน้าในเขาพระวิหาร ทำให้เห็นว่ากองทัพกัมพูชามีอาวุธที่เก่าเกินไป หลาย ๆ อย่างเต็มไปด้วยสนิม เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของกองทัพกัมพูชากล่าวว่ากองทัพกัมพูชาไม่พร้อมที่จะรบและอาวุธอยู่ในสภาพที่ไม่ดี ซึ่งแม้ว่าในปี 2002 งบประมาณทางทหารจะเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณประเทศก็ตาม แต่กองทัพกัมพูชาก็ยังขาดการฝึก ระเบียบวินัยและขวัญกำลังใจต่ำ รวมถึงมีการหนีทัพค่อนข้างมาก อีกทั้งยังกล่าวว่าอาวุธหลายอย่างเพิ่งถูกนำมาทำความสะอาดและตรวจเช็คเมื่อครั้งที่เกิดการเผชิญหน้ากับทางการไทยเท่านั้นหลังจากที่ไม่เคยถูกตรวจเช็คเลย และยังมีเจ้าหน้าที่กล่าวอีกว่า กองทัพกัมพูชานั้นไม่พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสงครามสมัยใหม่ เนื่องจากแม้ว่าจะมีประสบการณ์ แต่ยังใช้ยุทธวิธีแบบกองโจรอยู่ รวมถึงยังไม่มีทรัพยากรและงบประมาณมากพออีกด้วย นอกจากนั้นก็เป็นข้อมูลของกองทัพกัมพูชาซึ่งผมเคยเขียนไว้แล้ว
แต่ข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดก็คือ นายทหารระดับสูงนายหนึ่งในพนมเปญกล่าวว่ากัมพูชากำลังจะได้รับ "เครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัย" (modern fighter planes) ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ .... ซึ่งในข่าวไม่ได้ระบุว่ากัมพูชาจะได้รับมอบเครื่องบินชนิดไหน ได้รับมอบกี่ลำ และจัดหาจากประเทศใด .... และนอกจากนั้นในเวลาเดียวกันกัมพูชาก็จะได้รับมอบ "อาวุธที่ทันสมัย" (modern equipment) ซึ่งรวมถึงปืนประจำกายและปืนใหญ่อีกด้วย
คำถามสำคัญก็คือ ........... ปืนประจำกาย ปืนใหญ่ และเครื่องบินขับไล่ คืออะไร?
ถ้าพูดถึงปืนประจำกายและปืนใหญ่ ผมยังค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะเป็นปืนจากจีนครับ เพราะระบบอาวุธของกัมพูชานั้นใช้ระบบอาวุธจากจีนและรัสเซียเป็นหลัก แต่เป็นรุ่นอะไรนั้นก็สุดที่จะเดาเพราะไม่มีข้อมูลอะไรมากนักให้วิเคราะห์เลย
แต่ถ้าเป็นเครื่องบินขับไล่ล่ะ?
........ กัมพูชาเคยจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21 จำนวน 22 ลำจากรัสเซียในปี 2529 แต่เครื่องบินถูกสั่งกราวน์ทั้งหมดในปี 2535 เนื่องจากขาดงบประมาณ ต่อมาในปี 2539 กองทัพอากาศกัมพูชาว่าจ้างบริษัท Israel Aircraft Industry ให้ทำการปรับปรุง MiG-21 จำนวน 12 ลำ และจัดหา L-39C มือสองที่ได้รับการปรับปรุงอีก 6 ลำ โดยกองทัพอากาศกัมพูชาได้รับมอบ L-39C ทั้งหมดในปี 2540 แต่จากการที่สมเด็จฮุนเซ็นขับเจ้านโรดมรณฤทธิ์ออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้ธนาคารโลกและสหรัฐตัดความช่วยเหลือต่อกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบกับโครงการปรับปรุง MiG-21 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้อิสราเอลส่งมอบ MiG-21 คืนให้กับพูชา 2 ลำ ปัจจุบันเราไม่ทราบสถานะของเครื่องบินทั้ง 2 ลำนี้ แต่คาดว่าไม่สามารถทำการบินได้เนื่องจากขาดงบประมาณและขาดนักบินที่มีความชำนาญ
ดังนั้น ... ถ้าจะให้คาดเดา เครื่องบินขับไล่ที่กัมพูชากำลังจะได้รับมอบในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ก็น่าจะเป็น F-7M ของจีนครับ เพราะ F-7M มีพื้นฐานมาจาก MiG-21 ของรัสเซียซึ่งกัมพูชามีใช้อยู่ และก็เป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้ในราคาไม่แพง คือราว 15 - 25 ล้านเหรียญสหรัฐต่อลำ และกัมพูชาก็คงไม่ต้องเสียงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์สนับสนุนและคงไม่ต้องฝึกนักบินมากนักเนื่องจากเคยมี MiG-21 ใช้อยู่แล้ว
แต่นี่เป็นการคาดเดาล้วน ๆ นะครับ ..... สมมุติฐานนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่ากัมพูชาจัดหาเครื่องบินขับไล่ลำใหม่อย่างรวดเร็วหลังจากการเผชิญหน้ากับไทย หรืออาจจะเป็นการจัดหาที่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยเหลือจากจีนภายหลังจากที่จีนเคยมอบเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กให้กับกัมพูชาจำนวนหนึ่ง
แต่ถ้าคิดไปไกลกว่านั้น กัมพูชาอาจจะไปจัดหา MiG-29 จากรัสเซีย ซึ่งมีเครื่องบินเก่าเก็บไว้อยู่ ในลักษณะที่คล้ายกับที่กองทัพอากาศพม่าจัดหามาจำนวน 12 ลำ ..... แต่สมมุติฐานนี้เป็นไปได้น้อยกว่า เนื่องจาก MiG-29 นั้นมีราคาแพงกว่าและบำรุงรักษายากกว่า MiG-21 หรือ F-7M พอสมควร
ซึ่งถ้ากัมพูชาได้รับมอบเครื่องบินใหม่ในสิ้นเดือนนี้จริง ๆ .... ก็คงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยที่สุดราว 3 - 6 เดือนในการประกาศความพร้อมรบของฝูงบิน .... เพราะว่าการขับเครื่องบินเป็นกับการขับเครื่องบินไปรบเป็นนั้นแตกต่างกันนะครับ เมื่อได้รับมอบแล้วต้องทำการฝึกยุทธวิธีการรบในภูมิประเทศของตนอีกช่วงเวลาหนึ่ง จึงจะถือว่าพร้อมรบโดยสมบูรณ์ เพราะมิเช่นนั้นนักบินก็จะขาดความชำนาญที่จะใช้ในการรบ
วิเคราะห์กันตรง ๆ ...... ถ้าเป็น F-7M เทียบกับ F-5T Tigres ของกองบิน 21 อุบล ..... ต้องบอกตามตรงว่า F-5T ทันสมัยกว่าหลายช่วงตัวทีเดียวครับ .... ส่วนถ้าเป็น MiG-29 กับ F-16A/B นั้น ถือว่าสูสีพอประมาณ แต่ถ้าเทียบกับ F-16ADF นั้น คงต้องถือว่า F-16ADF ทันสมัยกว่าครับ
เรื่องนี้ไม่รู้และยากจะคาดเดา ..... เอาเป็นว่ารอเห็นของจริงดีกว่าครัวว่าจะเป็นเครื่องอะไร หรือว่าจะมาหรือไม่มา ..... แต่ทั้งนี้ ผมยังเชื่อว่า ทั้งไทยและกัมพูชาจะมุ่งหน้าเจรจาแก้ไขปัญหาจนทั้งเครื่องบินของไทยและกัมพูชาไม่ได้ออกโรงมารบกันเพราะทั้งสองประเทศไม่มีความตั้งใจที่จะทำสงครามขนาดใหญ่ครับ
J-7G ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ PL-9C
เพิ่มเติมข้อความ
แม้ว่าจะมีการคาดเดากันตามหน้าเว็บไซต์ข่าวว่าเครื่องบินที่กัมพูชาจัดหาอาจจะเป็น J-10 แต่ในความเห็นผมมีความเป็นไปได้ต่ำมากครับ
กองทัพกัมพูชาปีหนึ่ง ๆ ได้รับงบประมาณทางทหารราว 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ลองบวกเล่น ๆ ว่าการปะทะกับไทยอาจจะทำให้งบประมาณทางทหารของกัมพูชาเพิ่มขึ้น ก็ไม่น่าจะพ้นไปกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในขณะที่ J-10 มีราคาแพงมากสำหรับกัมพูชาครับ .... ปากีสถานจัดซื้อ J-10 หรือ FC-10 ในปี 2006 จำนวน 36 ลำในราคา 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลำละ 41 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่รวมอาวุธ (ราคาตัวเปล่า) ถ้าจะหาอาวุธมาติดต้องเสียเงินเพิ่มซึ่งอาจจะเฉลียแล้วลำละ 50 ล้านเหรียญก็ได้ ....... ถ้ากองทัพกัมพูชาหยุดจ่ายเงินเดือน 1 ปี หยุดฝึก หยุดกินอยู่ หยุดทุกอย่าง 1 ปี ...... จะซื้อได้แค่ 3 ลำเท่านั้น ...... เป็นไปแทบไม่ได้เลยครับสำหรับ J-10 กับกองทัพอากาศกัมพูชา ....... ที่น่าจะเป็นไปได้น่าจะเป็น F-7 มากกว่าครับ
ซึ่งสำหรับ F-7 นั้น ผมยังคิดว่าน่าจะเป็น F-7 มือสองที่ปรับปรุงใหม่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น F-7G รุ่นใหม่ล่าสุดเช่นกัน ........ แต่ปัญหาก็คือกัมพูชาจะมีงบประมาณจัดหาหรือไม่ ...... เพราะราคาต่อลำก็ค่อนข้างสูงคือลำละราว 7 ร้อยล้านบาท ..... หรือว่าอาจจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับน้ำมันในอ่าวไทยกับจีน แบบในกรณีของไนจีเรียที่จีนจ่ายค่าสัมปทานน้ำมันให้ในจำนวนมาก ไนจีเรียเลยซื้อ F-7IN ตอบแทน กรณีของกัมพูชานี้จีนอาจจะจ่ายค่าสมัปทานเป็นอาวุธก็มีความเป็นไปได้ ....... ซึ่งทั้งนี้ผมก็ยังไม่อยากตัด Option รุ่นมาตราฐานรวมถึงการซื้อมือสองจากกองทัพอากาศจีนครับ เพราะบางทีถ้าการจัดหานี้เป็นการจัดหาแบบฉุกเฉินจริง ๆ หรือเพิ่งสั่งเมื่อกลางปีนี่ก็อาจจะได้แบบนี้ก็ได้นะ
สรุปคือรอดูครับ
อ่านเพิ่มเติม
ซีรี่ย์เขาพระวิหารตอนแรก
"จับตาข่าวการเสริมกำลังประชิดชายแดนของไทยและกัมพูชา"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=19-07-2008&group=2&gblog=84
"จับตากรณีข้อพิพาษพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาหลังการประชุม GBC"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=22-07-2008&group=2&gblog=85
"จับตากรณีการหาตัวกลางของกัมพูชาในพื้นที่พิพาทริมเขาพระวิหาร"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=23-07-2008&group=2&gblog=86
"จับตาการเลื่อนเสนอญัตติของกัมพูชาเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=24-07-2008&group=2&gblog=87
"แสนยานุภาพกองทัพกัมพูชา"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=11-07-2008&group=3&gblog=109
อ้างอิง
Just how ready to fight are the Royal Cambodian Armed Forces?
The recent border standoff over Preah Vihear temple threw a spotlight on RCAF by beaming around the world images of flip-flop-wearing Cambodian soldiers with rusty guns
Tanks T-55 tanks and PT-79 light amphibious tanks from Russia, Type 50 tanks and Type 62/63 light tanks from China, and AMX-13 light tanks from France. Aircraft No fighters, no ground attack aircraft, a few former Eastern block transport helicopters, around a dozen MI-17s and MI-8 planes. Light arms Howitzers from Russia and the US, shoulder-fired SAM-7 rockets. Lacks medium and long range offensive support weapons (artillery).
WITH coverage of the Preah Vihear dispute beaming images of soldiers with rusted AK-47s and rubber-band-bound grenades worldwide, questions are being raised about just how prepared the Royal Cambodian Armed Forces (RCAF) would be if called upon to fight.
"[RCAF is] woefully unprepared [and] poorly equipped across the board," one military analyst, who declined to be named as he still works with RCAF, told the Post.
No recent figures were available, but a 2002 report put defence spending at more than half of the national budget. Yet most of RCAF's equipment is outdated kit left over from the Cold War. Soldiers are poorly trained, and discipline is low, with many troops simply refusing to show up for duty.
Analysts say the country needs a well-equiped and organised military to protect national sovereignty and participate in peacekeeping.
"We want to develop and modernise as a state, and defence is part of that," said Council of Ministers spokesman Phay Siphan. "But [our military will develop] with an orientation towards ... peacekeeping work since we have an obligation to help others achieve peace."
Cleaning off the rust
Cambodia's military leadership claims the battlehardy RCAF troops more than make up for their rusting weaponry. "Don't worry about their weapons, the Cambodian soldiers' strength is their experience as they've been in wars for decades," said Dien Den, a former military general who served under Lon Nol from 1970 to 1975.
But observers wonder how much of these proclamations on the prowess of Cambodian troops is hot air to compensate for poor organisation and low morale.
Due to the imminent possiblilty of combat, soldiers have only now started turning up to work, said Uth Sakada, a military engineer officer based along the border with Thailand in Battambang.
Before the border standoff emerged in July, "less than a third of us were at our base at any given time". Now, the base's personnel are all present, on permanent standby, he said.
Moreover, things that should be routine - such as cleaning weapons - have only been carried out after the Preah Vihear skirmish broke out, said Ros Bun Hem, an artillery commander also stationed in Battambang.
The border standoff has focused attention on the condition of weapons, he said, with soldiers now prepping their instruments "to make sure they would fire well".
DON'T WORRY ABOUT THEIR WEAPONS, CAMBODIAN SOLDIERS STRENGTH IS THEIR EXPERIENCE AS THEYVE BEEN IN WARS FOR DECADES.
How well equipped? Cambodian soldiers in a trench with a rusty artillery piece in Preah Vihear earlier this year. RCAF lacks medium- and long-range offensive support weapons. RCAF is not short of manpower or light arms but as the military analyst said, "small arms are small arms". Up-to-date estimates of RCAF troop figures were not available but the government in 2001 estimated it has some 140,000 soldiers.
"It would be in the area of offensive support weapons (artillery) and air support that the Thais would completely outclass RCAF," he said.
The air force's "fleet" stationed in the capital amounts to about a dozen Russian-made MIGs whose flat tyres and dented panels can be seen when landing at the commercial airport.
It might also have several planes at air bases in Battambang and Sisophon.
But things may be changing. According to a high-ranking military official based in Phnom Penh who declined to be named, Cambodia will receive shortly a shipment of "modern fighter planes".
He would not specify the number or type of planes, or where they were coming from. "We currently have peace but when our country faces a threat, new and modern aircraft fighters are needed for national defense," he said.
Another senior army official based in the capital claimed a large shipment of "modern equipment" - including guns and artillery - would be received at the end of October.
"We are not competing with other countries for weapons, but without them we could become a victim," he said.
Weaponry
The bulk of Cambodia's current military stocks come from China and Russia, with a few also coming from the United States and France.
An estimated several hundred post-WWII-issue tanks compose Cambodia's limited ground arsenal, of which only about half are believed to be functional.
Cambodia's artillery is compromises an array of old howitzers from Russia and the US, while shoulder-fired SAM-7 rockets are its most formidable anti-aircraft defence. And the handful of serviceable helicopters from France are only enough for shuttling around generals.
Just 15 years ago the beneficiary of what was at the time the UN's largest peace keeping commission, Cambodia has begun to offer limited military services abroad, providing deminers in peacekeeping missions in Sudan, Iraq and Afghanistan. "[We] are especially pleased to see them participating in peacekeeping missions when just a few short years ago they were beneficiaries of such forces," said US embassy spokesman John Johnson.
China has stepped up its military assistance to Cambodia in recent years, most notably providing the Kingdom's nearly non-existent navy with five warships in 2005 and nine patrol boats in November 2007.
The development has increased questions about how superpowers will compete for influence.
Just earlier this month, the US treated Cambodian government and military officials to a rare tour of one of its aircraft carriers when it sailed through the region on its way home from Iraq.
The first tour by Cambodian officials of a US aircraft carrier, the Cambodian officials were dazzled by what they had seen previously only on television. The US embassy called the junket "another step in the growing military-to-military relationship" between the two countries.
Shopping around
While Western countries, notably Australia, have expanded aid to Cambodian law enforcement for combating the trafficking of people and narcotics as well as for monitoring potential terrorist activity, they have been hesitant to supply lethal materiel. Last year the US lifted a ban on military aid to Cambodia, but has only provided non-lethal assistance.
Asked about the future of military-to-military ties between the US and Cambodia during his visit earlier this month to Phnom Penh, US Deputy Secretary of State John Negroponte mentioned only non-combat related cooperation.
Even if boosted by a couple new shipments of materiel, what CPP parliamentarian Cheam Yeap described as "the many guerrilla strategies of Cambodia's troops who have fought in many battles" may be insufficient to compensate for poor resources.
"These are modern times, most countries use computers and advanced systems," said SRP parliamentarian and former chairman of the National Assembly's defense committee Yim Sovann, who said corruption over military spending plagued an already rag-tag group.
"Yes, Cambodian troops have experience, but without resources, without salaries they can survive on, they can't do much. This is not an army for modern times."
//www.phnompenhpost.com/index.php/2008093021899/National-news/Just-how-ready-to-fight-are-the-Royal-Cambodian-Armed-Forces.html
Create Date : 17 ตุลาคม 2551 |
Last Update : 18 ตุลาคม 2551 13:10:09 น. |
|
29 comments
|
Counter : 5534 Pageviews. |
|
|
|