กรณีใต้: "สมานฉันท์กับปฏิบัติการทางทหาร" หลักการที่ต้องไปด้วยกัน
"สมานฉันท์กับปฏิบัติการทางทหาร" สองคำนี้มันดูต่างกันอย่างสิ้นเชิงนะครับ เพราะมันเป็นแสดงการแก้ปัญหาของสองหลักคิดคือ สันติและความรุนแรง
แต่สองสิ่งนี้จะไปด้วยกันได้อย่างไร???
ตอนนี้ เราอยู่ในสงครามการก่อการร้าย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการดึงประชาชนเป็นพวก แม้ว่าประชาชนจะสำคัญในสงครามทุกแบบ แต่ประชาชนนั้นสำคัญที่สุดในสงครามการก่อการร้าย เพราะไล่ตั้งแต่น้ำเลี้ยงไปจนถึงกำลังรบ มาจากประชาชนที่เข้าร่วมทั้งนั้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือในอิรักไงครับ ที่ไม่มีใครเอาสหรัฐ ชาวบ้านตายเพราะผู้ก่อการราย ก็โทษสหรัฐ เรื่องนี้เป็นเพราะสหรัฐล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในด้านของกิจการพลเรือน สหรัฐไม่เคยคิดจะทำให้ชาวอิรักมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองเลย กลับกัน ตัวเองใช้แต่วิธีรุนแรงเข้าว่า เอาแต่คิดเค้าอาวุธใหม่ ๆ เพื่อสังหารผู้ก่อการร้าย แต่ลืมคิดถึงประชาชนชาวอิรักไป
ปัญหาภาคใต้คราวนี้มันรุนแรงกว่าทุกครั้งครับ เพราะเรากำลังอยู่ในโลกของการก่อการร้าย ซึ่งเทคโนโลยี ความเชื่อ รวมถึงอุดมการณ์ผิด ๆ มันแพร่ไปได้เร็ว เราจะเห็นได้ชัดถึงยุทธวิธีหลายอย่างที่คล้ายกับการก่อการร้ายระดับโลก เช่น การซุ่มโจมตี หรือระเบิดรถมอร์เตอร์ไซต์ นี่ยังไม่รวมเชื้อปะทุเก่า ๆ คือความอยุติธรรมที่ชาวบ้านในแถบนั้นได้รับ และปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการนำศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือในการปลุกระดม และทำให้ผู้มาใหม่เชื่อว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นบุญกุศลอย่างใหญ่หลวง ทำให้ผู้ก่อการเกิดความกล้าที่จะสละชีพเพื่อความเชื่อของตน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้ยกระดับความรุนแรงในภาพใต้ให้แตกต่างจากในอดีต
สิ่งที่รัฐทำให้เรายังไม่ทำสงคราม (ถ้าเราให้นิยามการสงครามคือการปฏิบัติการทางทหารเต็มรูปแบบ) ก็เพราะเรายังมีเงื่อนไขสำคัญก็คือเรายังต้องการรักษาพื้นที่ตรงนี้ไว้ให้ได้ทั้งดินแดนและคนที่อยู่ในดินแดน รวมทั้งเรายังต้องคำนึงถึงผลทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
ที่สำคัญที่สุด เรายังไม่รู้จะไปทำสงครามกับกลุ่มใด เพราะการก่อการรายในภาคใต้นั้นไม่มีการยึดพื้นที่ที่ชัดเจน ซึ่งต่างจากกรณีของกลุ่มกบฏพยัคทมิฬอีแลมกับรัฐบาลศรีลังกา
สิ่งที่สำคัญคือมวลชนครับ ต้องขอเรียนว่าการยุบศอ.บต.กับพตท.43 คือความผิดพลาด เพราะเราขาดช่องทางในการติดต่อกับชาวบ้าน แต่กลุ่มต่าง ๆ ยังมีช่องทางอยู่ ทำให้กลุ่มเหล่านั้นสามารถฉีดความคิดในเรื่องของความอยุติธรรม ศาสนา และการแบ่งแยกดินแดน พอมวลชนหาย ความรุนแรงก็มาเยือน
นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไมเราถึงต้องชูธงสมานฉันท์ เพราะมวลชนสำคัญที่สุดในสงครามลักษณะนี้อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผมเคยได้ยินคนในอินเตอร์เน็ตคนหนึ่งพูดไว้ว่า "The national security count on its people, not their weapon" ซึ่งผมว่าไม่มีอะไรจริงไปกว่านี้แล้วล่ะครับ การดึงมวลชนเป็นฝ่ายเรา นอกจากจะตัดน้ำเลี้ยงจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว เรายังได้รับการข่าว ได้รับการสนับสนุน อันจะนำไปสู่ชัยชนะในที่สุด
แต่ทั้งนี้ เราจะมานั่งสมานฉันท์อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเราต้องแยกว่าใครที่สามารถสมานฉันท์ได้ ใครที่จำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาด อย่างชาวบ้านนี่ชัดเจน จำเป็นต้องสมานฉันท์ แต่บางพวกที่มันกู่ไม่กลับแล้ว คือมีความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดนชัดเจน และไม่ฟังอะไรทั้งนั้น สมานฉันท์ไปก็ไร้ผล มันก็ต้องมาลงที่วิธีอื่น
สมานฉันท์กับปฏิบัติการทางทหาร จึงต้องทำควบคุ่กับ และมันไม่ใช่เส้นขนานอีกต่อไป
Create Date : 02 มกราคม 2550 |
Last Update : 2 มกราคม 2550 1:34:13 น. |
|
5 comments
|
Counter : 1654 Pageviews. |
|
|
|