ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
 
เมษายน 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
12 เมษายน 2549
 
All Blogs
 
แผนปฏิบัติการช่วยคนไทยจากกัมพูชา



ได้ฤกษ์เขียนในหัวข้อนี้ซะที

ผม copy มาจากเว็บบอร์ดนึงครับ ถ้ายังจำกันได้ที่ชาวเขมรบุกเผาสถานฑูตไทย รายละเอียดเชิญติดตามครับ


เปิดแผน"โปเชนตง 1" เบื้องหลังพาคนไทยกลับบ้าน
เหตุการณ์ คอมมานโด-รบพิเศษ-บก.ลอยฟ้า และบทบาท"วิชิต ยาทิพย์"เจ้าหน้าหมู "เฮอร์คิวลิส" หรือเครื่องบินลำเลียง C-130 ของกองทัพอากาศ กลายเป็นพระเอกอีกครั้งในการเหินฟ้าไปรับคนไทยราว 700 คน ที่หนีไฟแค้นจากเกมการเมืองภายในเขมร จากกรุงพนมเปญ กลับบ้านอย่างปลอดภัย แต่กว่าที่ทุกอย่างจะออกมาอย่างสำเร็จและสวยงาม ดั่งฉากหน้า ก็ย่อมมีฉากหลังที่ต้องเตรียมการกันเป็นอย่างดี
ราว 4 ทุ่มของวันพุธที่ 29 ธันวาคม ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วางหู ภายในไม่กี่นาที ทั้ง บิ๊กอ้วน พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกลาโหม บิ๊กแอ้ด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผบ.สส. บิ๊กเกาะ พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ ผบ.ทบ. บิ๊กช้าง พล.ร.อ.โสมาภา และบิ๊กบิ๊กพล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผบ.ทอ. ก็มาถึงทำเนียบรัฐบาลพร้อมด้วย พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ ประธานคณะที่ปรึกษา ทบ. และบิ๊กแบ็งค์ พล.ท.ประพาฬ นิลวงศ์ ผบ.ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรก.) และติดตามด้วย บิ๊กจิ๋ว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
พ.ต.ท.ทักษิณ นั่งหัวโต๊ะ หารือเครียดเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ท่ามกลางเปลวเพลิงที่เผาผลาญสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ โรงแรมของคนไทยอย่าง รอยัล พนมเปญ, รีเจ้นท์ ปาร์ค และจูเลียน่า ไปจนถึงอาคารของ สามารถ เทเลคอม, ซีพี และชินวัตร
และมอเตอร์ไซค์ไล่ล่าถามหาคนไทย ณ เวลานั้น ดูเหมือนจะมีเพียง พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชาเท่านั้นที่รับสาย ส่วนนายกฯ ฮุน เซน นั้น เก็บตัวเงียบ จึงมี พล.อ.วิชิตในฐานะเพื่อนรักเพื่อนซี้คอยโทรศัพท์ประสานกับพล.อ.เตีย บันห์ อยู่ตลอดเวลา
แม้จะถูกมองว่ามีปัญหาคาใจกัน แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทุบโต๊ะแต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะการรับคนไทยจากกัมพูชากลับประเทศแม้ใจจริงที่แสนจะร้อนเร่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องการให้เครื่องบิน C-130 พร้อมคอมมานโดบินด่วนกลางดึกไปยังกรุงพนมเปญ ตามที่ตะโกนใส่หูนายกฯ ฮุน เซน เลยก็ตาม แต่ที่ประชุมต่างชี้ให้เห็นถึงข้อเสียมากกว่า และต้องให้เวลา พ.อ.วัลลภ รักเสนาะ ผู้ช่วยทูตทหารบกไทยประจำกรุงพนมเปญ และ นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ในการรวบรวมและนัดแนะคนไทย เพื่อเตรียมไปขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน และเรื่องอธิปไตยของเพื่อนบ้านทุกอย่างจึงเตรียมพร้อมสำหรับการบินไปรับคนไทยกลับบ้าน ทันทีที่รุ่งสาง ที่มิได้หมายความว่ารุ่งสาง ณ บางกอก แต่เป็นรุ่งสาง ณ พนมเปญ...
ในฐานะที่เคยเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ 24 มกราคม 2542 มาแล้ว ครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็รับบทสำคัญอีกครั้ง ด้วยการวางแผนอย่างใกล้ชิดกับสามเหล่าทัพโดยมีการนำเอาแผนการเตรียมพร้อมในการอพยพนอกราชอาณาจักรที่มีอยู่แล้ว มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยใช้กำลังร่วมของทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. โดยมี บก.สส. เป็นผู้บัญชาการ

ราว 23.00 น. แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า "โปเชนตง 1 และ 2" ก็ได้รับการอนุมัติ...

พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ สั่งให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยัง จ.ตราด เพื่อไปลอยลำอยู่ในทะเลหลวงในเขตรอยต่อน่านน้ำไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะบานปลาย และรับคนไทยกลับบ้านในอีกเส้นทางหนึ่ง โดยบนเรือมีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8 แฮร์ริเออร์, ฮ. แบบ Bell 412 ฮ. S-76B และ ฮ.ซีฮอว์ก รวม 7 ลำโดยมีเรือหลวงพุทธเลิศหล้าและเรือหลวงสุโขทัยตามไปเป็นเรือคุ้มกัน และสมทบกำลังกับเรือหลวงสู้ไพรี เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82 ที่รออยู่ในน่านน้ำแล้ว
ส่วน พล.อ.อ.คงศักดิ์ก็สั่งการให้ น.อ.นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผบ.บน.6 เตรียมเครื่องบินลำเลียง C-130 และให้ พล.อ.ท.สมหมาย ดาบเพ็ชร์ ผบ.หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ผบ.อย.) เตรียมกำลังหน่วยคอมมานโด ของกรมปฏิบัติการพิเศษ อย. จำนวน 80 คน และมอเตอร์ไซค์ลาดตระเวน 2 คัน นำทีมโดย น.อ.พีระยุทธ แก้วใส ผบ.กรมปฏิบัติการพิเศษ อย. ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เลือกให้หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF-rapid deployment forces) อันเป็นทหารรบพิเศษหมวกแดงของ ร.31 รอ.ลพบุรี ของผู้การโชย พ.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.ร.31 รอ.เตรียมกำลังหน่วยรบพิเศษแทรกซึม จำนวน 30 คน และรถลาดตระเวน ฮัมวี่ 4 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ยุทธวิธี 2 คันเพียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำสั่ง กำลังทหารรบพิเศษ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จากลพบุรี ก็เดินทางมาถึงที่กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อสมทบกำลังของ อย. โดยที่ พล.อ.ต.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (ผบ.ดม.) รับผิดชอบการ รปภ. ในพื้นที่สนามบิน ห้ามไม่ให้คนนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้ามา เนื่องจากไม่ต้องการให้เห็นภาพการนำกำลังรบ เพราะอาจจะดูเหมือนไปบุกรุกเพื่อนบ้าน โดยเปิดให้เข้าเมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้ว
การประชุมวางแผนการปฏิบัติการตามแผน "โปเชนตง1" และ "โปเชนตง 2" ในรายละเอียด ก็เกิดขึ้นที่สนามบิน โดยมีเครื่องบิน G-222 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน C-130 อีก 5 ลำเตรียมพร้อมรับคนไทยกลับบ้าน โดยมี พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ ผบ.หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) เป็นผู้บัญชาการการปฏิบัติตามแผน ที่ทำให้เขาได้กลับมาสวมชุดนักบินขับไล่อีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการลอยฟ้า บนเครื่องบิน G-222 ที่จะลอยลำอยู่กลางเวหา เหนือเกาะกง ของกัมพูชา เพื่อบัญชาการและติดต่อสื่อสารกับบิ๊กบ๊อบ พล.ท.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รอง ผบ.บยอ. เป็นผู้บัญชาการภาคพื้น คุมเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ต้องลงจอด โดยมี พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อกัมพูชา อำนวยการเดินทางด้วยตนเองเพื่อรับคนไทยชุดแรก 511 คน กลับบ้านพร้อมด้วยคำสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของกองบิน 1 โคราช เตรียมพร้อมสำหรับแผน "โปเชนตง" หากเกิดเหตุรุนแรงและฉุกเฉินขึ้นภายในไม่เกิน 20 นาที ก็จะถึงที่หมาย
เวลา 05.15 น. เครื่องบิน C-130 ลำแรกก็ทะยานขึ้นฟ้า มุ่งสู่สนามบินโปเชนตง กลางกรุงพนมเปญ ติดตามด้วยลำที่ 2, 3, 4, 5 ที่มีคอมมานโดและหน่วยรบพิเศษ กระจายกันอยู่ทุกลำ และตามด้วย G-222 ที่เป็น บก.ลอยฟ้า โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ มานั่งบัญชาการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ โดยตลอดแผน "โปเชนตง 1" เตรียมไว้สำหรับเหตุการณ์ปกติ โดยเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ลงจอดนั้น จะไม่มีการดับเครื่อง ในระหว่างนั้นหน่วยคอมมานโดและทหารรบพิเศษ รวม 110 คน พร้อมอาวุธครบมือ และเป้สนาม และรถฮัมวี่ ก็วิ่งลงจากเครื่องบิน ออกกระจายโดยรอบสนามบินโปเชนตง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในขณะที่คนไทยก็
เรียงแถวตอน 1 ขึ้นเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนแบบรวดเร็ว
ส่วนแผน "โปเชนตง 2" นั้น เตรียมไว้สำหรับเกิดเหตุรุนแรง เนื่องจากในค่ำนั้น มีการข่าวรายงานว่าม็อบในกรุงพนมเปญ ซึ่งรับชมข่าวและการรายงานสดทางโทรทัศน์ของไทยได้ล่วงรู้ว่ารัฐบาลไทยจะส่งเครื่องบินมารับคนไทย จึงมีแผนการซื้อน้ำมันเพื่อมาเผาโดยรอบสนามบิน ทำให้ พล.อ.วิชิต ต้องประสานกับ พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา เพื่อนำกำลังทหารมาดูแลโดยรอบสนามบินโปเชนตงเอาไว้แต่กระนั้นหน่วยคอมมานโดและรบพิเศษก็ไม่ประมาท เตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอาจจะต้องถล่มพนมเปญ เพื่อช่วยคนไทยกลับบ้าน จึงไม่แปลกที่ทหารรบพิเศษและหน่วยคอมมานโดทุกคนจะมีเป้สนามติดหลังที่ไม่เพียงมีอาวุธและกระสุนเท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์ยังชีพเผื่อว่าจะต้องอยู่ในพนมเปญมากกว่า 1 วันโดยที่เครื่องบินรบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ที่ลอยลำรออยู่และเครื่อง F-16 ที่เตรียมพร้อมในที่ตั้งพร้อมจะมาสมทบ เพราะงานนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไฟเขียวไว้แล้ว ให้ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของไทยแต่โชคดีที่งานนี้ไม่ต้องใช้แผน "โปเชนตง 2" เมื่อทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมเขมรที่พูดภาษาไทยคล่องปรื๋อ ส่งทหารมาดูแลสนามบินให้
จากเวลา 07.50 น.ที่เครื่องบิน C-130 ลำแรกกลับมาลงจอดที่สนามบินกองทัพอากาศดอนเมือง จนลำที่ 5 ในเวลา 09.30 น. และลำสุดท้าย G-222 บก.ลอยฟ้า ในเวลา 09.40 น. เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่ม พร้อมด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่นำคนไทย 511 คนกลับบ้าน ชุดแรกโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ มารอรับด้วยตนเองจากนั้นในตอนบ่าย เครื่องบิน C-130 อีก 2 ลำ นำโดย พล.อ.วิชิต และทีมเดิมบินไปรับคนไทยที่ตกค้างอีก 192 คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตไทย ผู้ช่วยทูตทหารไทย และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยทั้งหมดจากกรุงพนมเปญอีกครั้ง ก่อนกลับมาถึงอย่างปลอดภัยและความยินดีของญาติๆ พร้อมด้วยคำชื่นชมจากทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม ในความพร้อมรบและศักยภาพของกองทัพไทย ที่ส่งผลให้คะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงความเป็นผู้นำพุ่งขึ้นสูงอีกด้วยเช่นเดียวกับบทบาทของ พล.อ.วิชิต น้องรักของบิ๊กจิ๋ว ก็ถูกจับตามองในฐานะผู้ประสานงานกับกัมพูชาด้วยความสัมพันธ์ที่มีมานาน เพราะครั้งนี้เขาได้กลายเป็นดาวเด่นอีกดวง ด้วยความทุ่มเทเพื่อเคลียร์สถานการณ์ตั้งแต่เหตุการณ์เริ่มอุบัติขึ้น จนเหตุการณ์คลี่คลายไปในระดับหนึ่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือนับร้อยครั้ง ที่ปลายทางจะเป็น พล.อ.เตีย บันห์ เพื่อนรักที่เขาติดต่อพบปะอยู่บ่อยๆ จน นายฮุน เซน หวาดระแวงว่าวันหนึ่งไทยจะหนุน พล.อ.เตีย บันห์ ผู้ถือกำเนิดที่คลองใหญ่ จ.ตราด และเติบโตในเกาะกง คนนี้โค่นอำนาจของเขาก่อนหน้านี้ พล.อ.วิชิต ก็แสดงบทบาทในการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา รวมทั้งพม่า และมาเลเซียหลายครั้ง จนถูกจับตามองว่า ผลงานนี้จะส่งผลต่อโอกาสในการขั้นเป็น รอง ผบ.ทบ. หรือแม้แต่ ผบ.ทบ. ในการโยกย้ายปลายครั้งต่อไปหรือไม่ แม้ว่าตัว พล.อ.วิชิต เองจะทำไปด้วยจิตวิญญาณและความรับผิดชอบ มิได้หวังผลเรื่องตำแหน่งก็ตาม แต่ก็ได้รับคำชื่นชมแม้ปฏิบัติการครั้งนี้จะไม่มีคนไทยเสียชีวิตในเหตุจลาจล แต่ก็มีคนไทยบาดเจ็บจากการเอาชีวิตรอดถึง 8 คน แต่ในส่วนของ ทร. ก็ต้องสูญเสีย ร.ท.ธรรมเนียม โกษาจันทร์ ช่างเครื่องจากเหตุ ฮ. S-76B ตกที่จันทบุรี ในเย็นวันที่ 30 มกราคม ระหว่างที่บินส่งกำลังบำรุงให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ส่วนนักบินและช่างอีก 3 คน บาดเจ็บ


เหตุการณ์นี้มันแสดงให้เห็นถึงความพร้อมรบของกองทัพที่อยู่ในระดับที่สูง สามารถตอบรับกับสภานการณ์เบื้องหน้าได้อย่างทันท่วงทีและมีแผนปฏิบัติการที่รัดกุมและชัดเจน มีประสิทธิภาพ คิดดูครับ G-222 บินได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ยังสามารถเอาขึ้นไปเป็น Airborne Command Center ได้ เรือจักรีติดเครื่องลอยลำเตรียมพร้อมได้ภายในเวลาไม่นาน รบพิเศษก็สามารถเตรียมพร้อมได้ภายใน 2 ชั่วโมง นี่อาจจะเป็นการร่วมรบระหว่าง 3 เหล่าทัพครั้งแรกในรอบหลายสิบปีเลยก็ว่าได้


Create Date : 12 เมษายน 2549
Last Update : 12 เมษายน 2549 11:32:35 น. 17 comments
Counter : 6793 Pageviews.

 
นี่แสดงว่า ทร. มีความพร้อมน้อยกว่าเหล่าทัพออื่นหรือป่าว ถึงเกิดการสูญเสียขึ้น

อย่างนี้ ทร. ไม่ขายหน้าแย่เหรอคับ


แต่ยังไงผมก็ขอแสดงความเคารพด้วยใจจริงแด่ ทหารหาญที่พลีชีพในหน้าที่ ครับ


โดย: ped cad IP: 149.166.190.114 วันที่: 18 เมษายน 2549 เวลา:10:02:31 น.  

 
เยี่ยมครับ ถ้าเป็นการรบที่เปิดแนวรบชัดเจน รู้ฝ่ายแน่ชัด แต่การส่งกำลังทหารลงไป 3 จ.ชายแดนใต้ ไม่ว่าหน่วยรบพิเศษใดก็รบยากมาก เพราะว่าไม่รู้ว่าศัตรูเป็นใคร รบกับใคร เดินไปไหนมาไหนอยู่ ๆ ก็ชักปืนออกมายิง เหมือนกับไปเป็นเป้านิ่ง ยิงเสร็จแล้วก็เดินเล่นอยู่ในเมือง ในหมู่บ้านเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นผมว่าเป็นโจรแทบหมดเมืองนั่นแหละครับ โดยเฉพาะ ตันหยงลิมอ


โดย: รัก หน่วยรบพิเศษผู้กล้าหาญ IP: 203.188.53.215 วันที่: 9 พฤษภาคม 2549 เวลา:16:52:13 น.  

 
ผมอ่านแล้วประทับใจมากครับ
บอกได้เลยว่าขนลุกซุ่ ถึงความภาคภูมิใจในไทย
และน้ำตาคลอเบ้า อย่างบอกไม่ถูก


โดย: master IP: 203.144.252.241 วันที่: 16 พฤษภาคม 2549 เวลา:17:05:27 น.  

 
ภมิใจแทนคะ..สามี..บินให้ flight นั้น..


โดย: lucky_family IP: 58.8.119.131 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:22:04:54 น.  

 
น่าภูมิใจครับที่กองทัพมีการเตรียมพร้อมสูงมาก


โดย: คิง IP: 58.136.70.73 วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:5:11:02 น.  

 
ภูมใจที่สุดในชีวิตที่เกิดมาเป็นคนไทย


โดย: คนไทยรักชาติ IP: 203.113.39.8 วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:16:28:03 น.  

 
เป็นเหตุการณ์ที่ผมติดตามมาโดยตลอดแต่พอมาอ่านแล้วรู้สึกว่าภาคภูมใจมากกับทหารของชาติทุกนายครับ อ่านแล้วเหมือนหนังสงครามที่ฝรั่งสร้างมาให้เราดู แต่นี่คือความจริงที่ฝรั่งและคนทั่วโลกต้องดูว่าคนไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก


โดย: แนวหลังรักชาติ IP: 124.120.18.253 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:1:09:40 น.  

 
รักทหารไทยมากที่สุด ไม่มีทหารที่ไหนโนโลกที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวและรักเพื่อนพ้องของชาติเท่ากับทหารไทยแล้ว เกิดมาไม่เคยเห็นจริงจริง ประเ่ทศอื่ีนทำเพื่อความยิ่งไหญ่ส่วนตัว แต่ทหารไทยทำเพื่อประเทศชาติและรักษา ชีวิตเพื่อนร่วมขาติโดยมีสิ่งตอบแทนอันน้อยนิดจริงจริง ดีใจที่เกิดเป็นคนไทย อยากไห้คนรุ่นไหม่รักชาติเหมือนทหารไทย มาก มาก หน่อย


โดย: คนไทย IP: 124.121.137.46 วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:15:19:23 น.  

 
น่าเห็นใจทหารทุกท่านที่ต้องเสียสละความสุขส่วนตัว มาทำหน้าที่เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข


โดย: รักชาติ 1 IP: 202.129.38.10 วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:17:47:47 น.  

 
//www.rtn-seal.com/webboard/index.php?topic=421.15


โดย: prempcc วันที่: 11 มกราคม 2552 เวลา:18:29:25 น.  

 
•อาจจะต้องถล่มพนมเปญ เพื่อช่วยคนไทยกลับบ้าน•
แรงไปไหมครับ แต่ทหารไทยสุดยอด


โดย: 000 IP: 118.174.147.221 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:19:19:53 น.  

 
รบพิเศษก็สามารถเตรียมพร้อมได้ภายใน 2 ชั่วโมง

ไม่ได้เตรียมพร้อมได้ใน 2 ชั่วโมงนะครับ แต่พร้อมตลอดเวลา จริงๆ ไม่เกิน10 นาทีรวมพลได้ครับ แต่ 2 ชั่วโมงเป็นเวลาเดินทางจากลพบุรีมา บน.6 ต่างหากครับ


โดย: เด็กน้อย IP: 203.113.106.102 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:14:32:54 น.  

 
รบพิเศษ รับคำสั่ง ทำทันที ทำดีที่สุด


โดย: incubus IP: 125.26.211.140 วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:2:51:26 น.  

 
ชอบอ่านครับ เอามาลงบ่อยๆนะ




โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:52:45 น.  

 
ผมเป็นเคยหนึ่งที่อยุ่ในเหตุการณ์นั้น ได้นั่ง C-150 ลำที่สองกลับมา ต้องขอบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น ในค่ำคืนที่ถนนหนทางมืดมิด แต่ท้องกลับกลายไปสีแดงจากเพลิงโหมไหม้จากสถานทูตไทยที่เคยยิ่งใหญ่ มีโทรศัพท์จากเมืองไทยโทรเข้ามาถามเป็นระยะๆ ผมเองก็ทำอะไรไม่ถูกเช่นกัน ได้แต่เก็บตัวเงียบอยู่ที่บ้าน วางแผนกันเพื่อนๆว่าจะต้องขับรถหนีออกมาทางพระตะบองตัดขึ้นไปไพลินแล้วเข้ามาทางอรัญ แต่ทันใดนั้นก็มีโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่สถานทูตว่าให้ไปเจอกันที่โรงแรม intercont ตอนตีสี่จะมีเครื่องบินมารับกลับ พวกเราดีใจมาก รีบนัดคนขับรถเพื่อนชาวกัมพูชาให้มารับหน้าบ้าน ระหว่างนั้นเราได้เห็นสภาพสองข้างทางเงียบเชียบ ซากรถยนต์ถูกเผาทิ้งไว้ที่ข้างถนนหลายคัน ร้านค้าถูกรื้อของออกมาเผา เมื่อถึงโรงแรม ก็พบคนไทยหลายคน บางคนร้องไห้ กลัว บางคนขาหักจากการที่กระโดนหนีออกมาจากออฟฟิสของสามารถเทเลคอม แต่โชคดีมากที่ไม่มีคนไทยเสียชีวิต
ต้องขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ตัดสิ้นใจรับคนไทยกลับในครั้งนั้นด้วย จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รู้ว่่า จริงๆแล้วคนกัมพูชาส่วนมาก ก็มีน้ำใจช่วยเหลือ และก็ไม่เห็นด้วยกับการเผาทรัพย์สินของคนไทย แต่บางคนกลับหนีเอาตัวรอด ซึ่งหลังจากนั้นเดือนเศษ ผมก็กลับไปพนมเปญอีกครั้งแล้วก็ไม่จ้างคนๆนั้นทำงานให้อีกเลย จ่ายเงินเดือนให้คนขับรถที่พาพวกผมมาที่โรงแรมเพิ่มอีกสองเท่า


โดย: smivanov IP: 202.4.210.150 วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:12:05:30 น.  

 
ส่วนกองทัพเรือ ไม่น้อยน้อยหน้าหรอกครับ เพราะว่าNavySeal ถือเป็นไพ่ใบสุดท้าย

แล้วส่วนที่เรือลอยลำอยู่ที่จันทบุรี เขาเข้าไปไม่ได้ไงครับ มันไม่ใช่น่านน้ำเรา เรือมันแล่นช้ากว่าเครื่องบิน!!



โดย: Charoenwit IP: 125.26.195.228 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:50:36 น.  

 
นี่คือนายกทักษิณ ไม่ใช่นายกคุณหนู


โดย: บอล IP: 10.179.23.31, 10.176.253.226, 203.155.29.220 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:01:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.