|
Model ตลาดโบราณ เพื่อการท่องเที่ยว ..ตลาดน้ำอัมพวา (2) |
|
ในยุค 2550 ต้นๆ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเสียงอยู่แล้ว มีคนมาเที่ยวแล้ว มีตลาดน้ำแล้ว มีเรือพาชมหิ้งห้อยแล้ว มีส้มโอขาวใหญ่แล้ว มีโฮมสเตย์แล้ว มีคนขายของมากมาย มีรถมากมาย ฯลฯ คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งนั้นเอง ช่วงนั้นที่แม่น้ำแม่กลองมีท่องเที่ยวทางน้ำ 3 แห่ง คือ ตลาดน้ำอัมวา ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำท่าคา ห่างกันไม่กี่สิบกิโลเมตร การเดินทางสะดวกสบาย แม้จะอยู่สายน้ำเดียวกัน อำภอติดกัน ห่างกันไม่มาก เดินทางสบาย มีความคล้ายกัน แต่ก็สามารถจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบคล้ายๆกันมากๆ ได้อย่างลงตัว โดยทั้งสามแห่งเปิดปิดไม่เหมือนกัน คือ ตอนเช้าตลาดน้ำดำเนิน ตอนเย็นวันหยุดตลาดน้ำอัมพวา ตอนวันพระตลาดน้ำท่าคา นี่ล่ะวิธีการบริหารจัดการตลาดน้ำที่เกิดจากองค์ความรู้ของคนทำตลาดน้ำ เป็นการใช้เวลา และวัน มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความแตกต่างๆ บทเรียนอันนี้คงเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์คนหลายๆคนแหล่งท่องเที่ยวหลายๆที่ ซึ่งสามารถจัดการท่องเที่ยวได้ ท่ามกลางความ แตกต่างๆ นั้นเอง และต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ ตอนนั้นได้ลงทำทำงานที่อัมพวากับเทศบาลอัมพวาของท่านนายกชาย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาตลาดน้ำอัมพวา ได้รับรู้ถึงขั้นตอนการพัฒนาตลาดน้ำที่นั้นมาส่วนหนึ่ง เลยจะถือโอกาสเอาวิธีคิดมาเล่าสู่การฟัง สิ่งที่ไปทำในแถบนั้นตลอด 3 ปี เห็นจะได้ เริ่มจากการเข้าไปทำความรู้จัก การเก็บรายละเอียดทุกอย่างของอัมพวา ต่อมาก็ทำแผนการพัฒนาหรือกรอบในการพัฒนาอัมพวา จากนั้นก็นำไปสู่การทำกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาท่องเที่ยวอัมพวา นี่ละลำดับขั้นการทำงานร่วมกันมา2-3ปี จึงขอนำบทเรียนของอัมพวามาเล่าสู่กันเป็นลำดับๆนะ ตลาดน้ำอัมพวาตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง สมัยก่อนที่ไม่มีถนนพระรามที่ 2 เป็นชุมทางของการขนส่งทางน้ำอันยิ่งใหญ่จนเกิดเป็นอำเภออัมพวานั้นละ มีตึกราบ้านช่องตามริมแม่น้ำตามปากคลองริมน้ำ มีการค้าขายเจริญรุ่งเรืองขยายต่อเนื่องไปขึ้นบกด้วย มีคลองซอยเล็กๆใหญ่มากมายทั่วทั้งอำเภอ เป็นสวนผลไม้มากมายหลากหลาย ต่อมาเมื่อการคมนาคมเปลี่ยนไปเป็นถนน มีถนนมากมาย มีรถยนต์ ความสำคัญทางน้ำก็ค่อยๆหายไป จนนับว่าเกือบไม่มีเลย ตัวตลาดอำเภอก็เงียบเหงาลงเรื่อยๆ ปิดร้าน ปิดบ้าน ย้ายที่อยู่ที่ทำงาน ลูกหลานไปทำงานต่างพื้นที่เข้าเมืองหลวง หนักสุดๆก็ช่วงต้มยำกุ้งยิ่งซ้ำอัมพวาไปมาก หลังจากนั้น หลังจากนั้น คนอัมพวาและเทศบาล เกิดแนวคิดว่า เอทำอย่างไรอัมพวาจะกลับมาเจริญ มีชีวิตชีวาแบบเดิมนะ เพื่อพัฒนาให้กลับมาเช่นเคยเป็น ประมาณนั้น ขณะเดียวกันก็เห็นคนไปท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกผ่านไปจากอัมพวา มาจากทั่วประเทศและทั่วโลก เกิดเศรษฐกิจที่ดีมากมาย แล้วอัมพวาละจะทำอย่างไร เห้นทุกเช้า เห็นทุกวัน ก็กลับมาคิดถึงบ้าตนเอง (เห็นสองปัจจัยหลักแล้วใช่มัย 1.ภาพเก่า ประสบการณ์เดิม อดีตอันรุ่งเรือง คนทันสมัยนั้น 2.มีตัวอย่างใกล้เคียงให้เปรียบเทียบคือตลาดน้ำดำเนินสะดวก) พอตกผลึกความคิดว่าจะทำบ้านตนเองให้เป็นตลาดน้ำเช่นเดียวกับตลาดน้ำดำเนินสะดวก เพราะว่าเห็นคนมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่ก็คิดต่อไปอีกว่า ตลาดดำเนินเปิดทุกวันในตอนเช้าๆ จะต้องไม่ทำซ้ำกันต้องสร้างความแตกต่าง เลยตกลงว่าจะทำตลาดเย็นตลาดค่ำ (ปัจจัยข้อ 3 ความแตกต่าง ไม่ซ้ำ ไม่เหมือน) คิดต่อไปอีกว่า จะทำตลาดน้ำตอนเย็นทุกวันหรือกี่วันดี หลังจากดูแล้วมีคนน้อยที่อยู่เดิม คนในตลาดหรือแม่ค้า พ่อค้าเองก็มีไม่มาก บ้านก็ปิดไว้มากมาย เปิดทุกวันเหมือนตลาดน้ำดำเนินไม่น่าจะได้ เลยเอาเป็นวันเปิดวันหยุด เพื่อคนมาขายจะได้มากขึ้น พวกคนไปอยู่ต่างจังหวัดหรือทำงานวันธรรมดาพอกลับมาบ้านจะได้ขายของเปิดบ้านรับนักท่องเที่ยว ด้วยมากขึ้น เลยตกลงเปิดวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ คือทำในวันหยุดนั้นเอง (ปัจจัยที่ 4 ทำวันหยุด ทำวันศุกร์ วันคนเที่ยว รอคนมาขาย รอคนมาเที่ยว) ใครจะมาขาย ขายอะไร ตอนแรกคนจะขายไม่ค่อยอยากจะลงทุนเสี่ยงกันละ เพราะเป็นตลาดเปิดใหม่เป็นโครงการใหม่ และมีตลาดน้ำดำเนินอยู่แล้วใกล้ๆ คือมันจะเจ๋งมัย คนทำงานเลยเปิดรับคนขายทั่วไปไม่จำเป็นต้องเป็นคนแถวนั้นก็มาขายได้ (ปัจจัยที่ 5 ให้ทุกคนท้องถิ่นก่อน จากนั้นเปิดทั่วไป) ที่สำคัญวันธรรมดาจะพักคนพักของพักสถานที่พักน้ำพักทุกอย่าง และใช้เวลาเตรียมวันหยุดนั้น เอง (ปัจจัยที่ 6 พักน่ะ พักบ้าง) เมื่อทุกอย่างได้แล้วโดยมีเทศบาลเป็นผู้จัดการ ก็เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการ มีกรรมการมีทีมงาน มีพี่เลี้ยง จนสามารถทำการเปิดตลาดได้แล้ว ลองหลายๆแบบ จนท้ายที่สุดก็กลายมาเป็นตลาดน้ำอัมพวา พร้อมกับขยายกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่างปัจจุบันนนี้ ต่อมาเมื่อตลาดติดแล้วทีมทำงานของเทศบาลก็คิดต่อไปว่า เอตอนนี้คนมาเที่ยวตลาดแล้ว มาอยู่ค่ำแล้ว ทำอย่างไรหนอคนจะนอน จะพักเพื่อให้เขาได้เที่ยวและใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะหมุนเวียนและพัฒนามากขึ้นไปอีก จึงได้คิดกิจกรรมโฮมสเตย์และที่พักบริการนักท่องเที่ยวขึ้นมาให้คนได้นอนกัน ตอนแรกไม่มีคนทำลงทุนปรับปรุงบ้านให้เป็นโฮมสเตย์ ผู้นำเลยต้องพากันทำและลงทุนทำที่พักกันก่อน เพื่อให้บริการและให้ชุมชนชาวบ้านได้เห็นกัน (ปัจจัยที่ 7 ผู้นำ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้กล้า ต้องมี) จนประสบความสำเร็จมีคนมาเที่ยวมานอนจริง ชาวบ้านจึงได้ทำตามขยับยายกลายมาเป็นที่พักสวยๆงามๆมากมายในอัมพวาอย่างทุกวันนี้ เรียกว่ามีหลายระดับ หลายๆแบบให้เลือกได้เลย (ปัจจัยที่ 8 เอาให้อยู่นานขึ้น นอนมากขึ้น เพิ่มวันพัก รายจ่ายมากขึ้น เงินมากขึ้น) พร้อมกับสร้างกิจกรรมกลางคืนมารองรับต่างๆมากขึ้นเช่นนั่งเรือชมหิ่งห้อยต้นลำภูนั้นเอง เป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของอัมพวาเขาล่ะ ตลาดน้ำอัมพวาติดตลาดการท่องเที่ยวที่ช่วงวันหยุดยาวนี้จะรถมาก คนมากแน่นไปหมด แต่คนก็ยังคงไปท่องเที่ยวได้ไม่เบื่อหน่าย กิจกรรมการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นและขยายพื้นที่การท่องเที่ยวไปทั่วๆอำเภอทีเดียว เรียกว่าสร้างระบบเศรษฐกิจของทั้งอำเภอทีเดียว (ปัจจัยที่ 9 ทำเป็นขึ้น ) ส่วนเราเข้าไปช่วงที่เจริญเติบโตแล้วก็เข้าไปศึกษารายละเอียดกับเทศบาลก่อน จนกำหนดแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอัมพวาขึ้นมาเป็นทิศทางในการทำงาน แล้วลงมือทำหลายๆกิจกรรม โดยสิ่งที่โดดเด่นที่อย่างจะทำคือ ส่งเสริมให้ใช้เรือไฟฟ้า แทนเรือน้ำมัน แต่งานนี้ตอนนั้นเทคโนโลยียังไปไม่ถึง จึงไม่สามารถทดแทนเรือน้ำมันไม่ได้ ปัจจุบันนี้คงมีเรือไฟฟ้าแล้วละในประเทศไทยเรา (ปัจจัยที่ 10 มีแผนงาน มีโครงการ) กับอีกชิ้นงานหนึ่งที่พวกเราจัดเวทีประชาคมและสำรวจพื้นที่กันรายหมู่บ้า รายตำบลทั้งในอัมพวาและรอบๆอัมพวา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การได้ข้อมูล ได้แกนนำ ได้เส้นทาง ได้การขยายพื้นที่ท่องเที่ยวไปสู่ส่วนอื่นๆของอำเภอ นับได้ว่า 2-3 ปีที่ทำกันได้ผลได้ของมากมายเลยทีเดียว (ปัจจัยที่ 11 ทำงานลึก จริง) ในช่วงนั้นและต่อมาเกิดตลาดน้ำตามแม่น้ำ ตามคลองต่างๆ มากมาย ทั้งที่จุดนั้นเป็นจุดค้าขายดั้งเดิมหรือคิดกันใหม่ หรือเป็นย่านชุมชนปัจจุบัน หรือบางแห่งสร้างเอาเลย แบบว่าใครทำก่อน ใครทำดี ใครทำสวย ใครทำเด่น ได้เปรียบ ประมาณนั้น หากมองย้อนกับไปในตอนนั้นไม่ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับความชิวๆซิกๆเลยนะว่าต้องมีจุดแบบนันกระจายๆ เหมือนปัจจุบัน เอาแบบธรรมชาติ เอาแบบดั้งเดิมนั้นละแหล่มที่สุด แปลกดีเหมือนกัน ทุกอย่างมันไม่เที่ยง มันแปรเปลี่ยนไปจริงๆ หากไปทำแบบนั้นในสมัยโน้น ไม่รู้จะมีคนชมหรือคนว่ากันแน่นะ นั้นละการทำงานแบบลึกๆของพวกเราในเขตตลาดน้ำอัมพวาที่มีคนเก่งๆมากมายที่เข้ามาทำงานพัฒนาบ้านตนเองให้กลับคืนชีวิตแบบดั้งเดิมในอดีตได้เป็นอย่างดียิ่ง สำหรับผู้เขียนนั้น ตลาด้ำอัมพวา ยังเป็นต้นแบบการจัดการตลาดน้ำที่สามารถไปท่องเที่ยวและเรียนรู้ได้โดยตลาดน่ะ ไปหรือยังละ อย่าลืมทุกวันหยุดเจอกันที่ อัมพวา
Create Date : 25 มกราคม 2564 |
Last Update : 28 มกราคม 2564 9:22:42 น. |
|
0 comments
|
Counter : 319 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
ฝากข้อความหลังไมค์ |
|
Rss Feed |
| ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ - ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ - ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร - ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด - เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม
|
|
|
|