space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน ใส่ไซ
     พอช่วงฝนตกชุกๆและข้าวเจริญเต็มที่ก็เดือนตุลาคม ช่วงนี้ น้ำนองเต็มทุ่งของเราแล้วเพราะปลายเดือนก็จะมีงานลอยกระทงกันละ เรียกได้ว่ามองลงไปในนานี้เห็นน้ำขาวโพลนเลยละ หากสมัยนี้มีโครนบินนะจะเห็นว่า ทั่วท้องนาท้องทุ่งจะมีน้ำเต็มไปหมด แต่ไม่ใช่น้ำท่วมนะเป็นน้ำจริงๆแบบไม่ท่วม 
       พวกเราจะไปที่นากันบ่ยอไบางครั้งไปทุกวันหรือเว้นวัน ไปทำไมนะหรือก็ไป "ยามไซ" ที่เราดักปลาเอาไว้ที่ทางเกวียนนาเรานั้นละ เคยบอกแล้วว่าที่นามีทางเกวียนผ่านตรงขอบๆและตรงเปลายเราจะทำคันแทใหญ่เอาไว้เพื่อกั้นทางเกวียน (ไม่มีคนใช้แล้ว เลยกั้นได้ ทางเกวียนมันจะเป็นร่องยาวๆมาจนถึงคันแทใหญ่นี้ละ) จุดนี้เป็นจุดที่ต่ำที่สุดของนาก็ว่าได้ น้ำจะไหลผ่านไปและไปลง "หนองควาย" (หนองใหญ่มาก มีน้ำตลอดปี มีสระเล็กสระน้ำมากมายวันหลังจะเล่าให้ฟัง) ที่อยู่ห่างสักกิโลกหรือสองกิโลเมตรได้ ปลามันจะจะตามไป คือมันก็ไหลตามน้ำไปลงหนองควายนะ ตรงนั้นก็จะเป็นต้นใหญ่ๆหลายต้นเป็นพุ่มใหญ่ๆน่ากลัวเลยละ  
          เราจะเจาะช่องเอาไว้เล็กๆเป็นรูให้น้ำผ่านได้ เข้าหลักไม้ปัก 2 ข้างให้แข็งแรงไม่ได้คันแทพังหรือน้ำเซาะได้ เพื่อ "ใส่ไซ" จากนั้นจะเอา "ไซ" (เป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ ทำจากไม่ไผ่ สานให้เป็นทรงรี มัดหัวมัดท้าย ป่องตรงกลาง หัวทำเป็นปากเปิดไว้ เพื่อเทเอาปลาที่อยู่ข้างในออกเอาหญ้าปิดไว้เวลาดักปลา ส่วนตรงกลางทำเป็นเดือยหรือสะดือเอาไว้ เพื่อให้ปลาเข้าได้แต่ออกไม่ได้ ต้องติดอยู่ภายใน ขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชอบ หรือน้ำตื้น น้ำมาก น้ำน้อย) ไปใส่ไว้ตรงช่องนั้น วางให้ตรงเดือยมันอยู่ด้านใต้ ให้น้ำไหลผ่านได้สบายๆ เอาหญ้ามาคลุมหลอกปลาให้เข้ามาไม่กลัวไซ ให้ปลาคิดว่าเป็นรูที่มุดเข้าไปได้แล้วจะไปโพล่อีกฝั่งหนึ่ง ต้องไม่ให้น้ำท่วมคันแทนานะ ตรงให้น้ำออกได้เฉพาะตรงใส่ไซเอาไว้ ดูความเรียบร้อยและความแข็งแรงของคันแทใหญ่ ของไม้ ของช่อง ของไซ ของหญ้า เป็นอันเสร็จพิธีการใส่ไซ 
       นอกจากเราใส่ไซไว้ที่างเกวียนแล้ว ก็จะใส่เอาไว้ตามมุมนา หรือ "แกนา" ที่น้ำไหลออกจากนาเรา ส่วนที่น้ำไหลเข้านาเราส่วนมากจะไม่ใส่เพราะถือว่าเจ้าของนาเขาจะเป็นคนมาใส่เอง หากเขาไม่ใส่ก็บอกเขาว่าขอใส่ไซนาเข้าหน่อยนะ (จริงมันป็นเป็นแดนหรือเขตแดนกันแต่เป็นมารยาทว่าน้ำไหลออกจากนาใครให้คนคนนั้นใส่ไซได้นั้นเอง มันเป็นมารยาทในการอยู่ด้วยกันนะ เพราะต้องเกื้อกูล แบ่งปันกันไป) 
       พอผ่านไปคืนหนึ่งวันหนึ่งเราก็จะเดินไปที่นา ไป "ยามไซ" ถือ "ค่อง" หรือ กระสอบปุ๋ยไปด้วย เพื่อใส่ปลา เดินลุยน้ำนั้นละไปหลายกิโลเมตร ลัดเลาะไปเรื่อยๆ แต่หากน้ำมากเกินไปก็จะยืมเรือชาวบ้านเขาหรือญาติกันที่มี "เรือไม้" เอาไปพายไปยามไซ วิธีพายเรือก็จะไม่เหมือนกับคนภาคอื่นนะ เพราะน้ำที่บ้านเราไม่ได้ลึกมาก จะเอาเป็น "ไม้ถ่อ" เรือเอาเป็นไม้ไผ่เป็นลำๆขนาดพอเหมาะ ยาวสัก 4-5 เมตรได้ เวลาพายก็เอาไม้ถ่อไปเรื่อย ยันกับพื้นดินนั้นละแล้วยันไปเรื่อยให้เรือยแล่นไป บังคับซ้าย ขวา หน้าหลัง ก็ใช้ไปถ่อนี้ละบังคับ และเบียดกับท้ายเรือให้เรือไปทิศทางที่ต้องการ เพราะเฉพาะหากมาเจอน้ำลึกเกินความยาวไม้ถ่อ เราลำบากเลย ตรงใช้มือละ 555 เพราะมันถ่อไม่ถึงพื้นดินเรือก็ไม่ไปงัยละ พวกเราไม่ได้ใช้ใบพายเหมือนกับที่อื่นนะ  แต่มีใบพายมัย มีแต่เป็นเรือพวกที่หากินน้ำลึก ห้วยผับ แม่น้ำมูล หนองควายเป็นต้น ไม้ฝายคือไม้จริงๆมาทำรูปร่างให้เป็นใบฝายนั้นละ แต่ทำจากไม้เนื้อแข็ง  เราพายเรือลัดเลาะไปตามทุ่งนาของคนอื่นๆได้เพราะมันน้ำท่วมมากจึงพายเรือผ่านทุ่งข้าว หรือมีร่องที่ข้าวไม่เกิดก็มีอยู่มากมายเลยพายไปได้สบายๆ
         พอไปถึงก็ไป "กู้ไซ" คือ ไปเอาดินออก เอาหญ้าออกจากบนตัวไซ แล้วยกเอาไซออกจากช่องที่เราทำไว้ เอาไซมาล้างน้ำ เขย่าๆกับน้ำให้ดินออกหมด แล้วเอาหญ้าที่อุดปากไวเอาไว้ออก เทปลาใส่ค่อง ใส่เรือ ใส "ถุงปุ๋ย" (กระสอบใส่ปุ๋ยเคมี) แล้วแต่ว่าเอาอะไรไปและได้อะไร ในช่วงแรกของการใส่ไซจะได้ปลามาก บางครั้งเต็มไซเลยทีเดียว แต่พอนานๆปลาหมดหรือปลารู้แกวรู้แนว มันก็จะไม่ลงหรือผ่านมาทางนี้จะไปทางอื่นๆหรืออยู่ตามนาต่างๆไม่ยอมลงหนองควายหรือเข้าไซ ปลาที่ได้ส่วนมากจะเป็ฯปลาตัวเล็กนะ ไม่ได้ตัวใหญ่ พวกปลาซิว ปลาขาว ปลาสบทง ปลาช่อนเล็กๆ ฯลฯ เพราะรูไซมันเล็กไม่ได้ใหญ่  ภายในไซของเรานอกจากมีปลาแล้ว ก็มีปู ปลาไหล งู เต่า แมลงน้ำต่างๆ แมงดา ตัวอ่อนแมงปอ แมงตับเต่า ฯลฯ   
      เมื่อกู้ใซเสร็จแล้วเทปลาออกหมดแล้วก็ทำการ ใส่ไวหใม่เอาไว้ตามช่องเดิมและทำวิธีการแบบเดิม แต่คราวนี้ต้องดูคัยแทนาที่กั้นน้ำมันมันพัง มันรั่ว มันขาดตรงไหนมัย เดี๋ยวปลามันออกไปทางนั้น นอกจากดูตรงใส่ไซต้องเดินตามคันแทรอบนานนะไม่ให้รั่วออกไปได้ ให้ออกตรงใส่ไซไว้อย่างเดียว
       พอยามใส่หมดทุกหลังแล้วก็พายเรือหรือเดินกลับบ้าน ลากหรือขนปลาที่ได้นั้นกลับบ้านแล้วเอาปลาไปทำอาหารหรือไปทำปลาร้ากันต่อไป หรือเอาไปแจกจ่ายคนอื่นๆได้ตามสะดวก  พวกเราจะไปยามไซโดยดูจากปลาที่ได้นะ หากมันได้มากจะยามไซทุกวันทุกเช้า แต่หากไม่ค่อยได้ก็ สองสามวันไปทีหนึ่งนะ เพราะมันได้น้อยไม่คุ้มค่าเหนื่อย
        ตัวไซนี้มันอยู่ได้สัก 2 ปีนะ เดี๋ยวไม้ไผ่ก็ขาดหรือหัก แล้วเราก็ทำใหม่แทน เพราะมันจมอยู่กับน้ำ  โชดีที่คุณตาเป็นคนสานไซเองเลยทำได้ตลอดเวลาในเวลาว่าง แต่เรานี่้ทำไม่เป็นนำ สานไซ 555
           นี่ละการ "ใส่ไซ" ของบ้านเรา  อุปกรณ์ในการหากินหน้าน้ำที่ได้ปลากมากที่สุด ส่วนมากจะเอามาปลาร้าเป็นหลัก



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 9 เมษายน 2563 6:14:22 น. 0 comments
Counter : 468 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space