space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน ฝุ่น
      สมัยนั้นจนสมัยนี้ (จะพูดทำไม) พวกเราทำนาปีกันอย่างเดียว คทอทำนาปีละครั้ง อาศัยน้ำจากฟ้า อาศัยปุ๋ยจากน้ำหลากจากแม่น้ำที่พัดความสมบูรณ์มาให้  อาศัยนกหนูอย่ากินเม็ดข้าว กัดข้าวมากเกินไป อาศัยเพลี้ยกระโดอย่าลงนาข้าว อาศัยปูอย่ากัดข้าว นั้นละการทำนาปีของพวกเรา คงไม่กล้าบอกว่า "แล้วแต่วาสนา" เหมือนเพลงพี่พรศักดิ์ ส่องแสง หมอลำดังสมัยนั้นนะ เพราะก็มีการป้องกัน การกำจัดอยู่เป็นบางครั้ง
      "ปุ๋ย" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการทำนา แน่นอนว่าสมัยก่อนเราทำปุ๋ยใช้เอง ทำอย่างไร ปุ๋ยหมักหรือ ไม่ไม่รู้จักปุ๋ยหมัก น้ำอีเอ็มหรือนำ้สกัดหรือ ไม่ไม่รู้จัก น้ำฮอโมนหรือ ไม่ไมู่้จัก ...เรารู้จักแต่  "ฝุ่น" หรือ "ปุ๋ยคอก" บ้านเรา น่าแปลกใจมัยว่า สมัยพวกเราไม่รู้จักปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยเม็ด แต่การทำนาของเราใช้ "ฝุ่น" กัน วันนี้เลยถือโอกาสมาย้อนเรื่องราวของของ ฝุ่น นี้ให้ฟัง
          สมัยนั้นพอพวกเรา "ขนข้าวขึ้นบ้าน" เสร็จแล้ว (ขนข้าวเปลือกจากนาเข้ายุ้งฉางที่บ้านตัวเองแล้ว) เป็นช่วงของกลางหรือปลายหน้าหนาวพอดี ขึ้นกับว่าใครมีนามากหรือน้อย ได้ข้าวมากหรือน้อย นาไกลนาใกล้ นาโคกนาทุ่ง มีคนช่วยนวดข้าวมากหรือน้อย เพราะมีผลต่อเวลาในการ "ขนข้าวขึ้นบ้าน"ของแต่ละครอบครัว 
        พอช่วงหน้าร้อนเมษายน หรือพฤษภาคม พวกเราจะจ้างรถกะบะหรือสี่ล้อขนาดกลาง หรือ อีแต้ก ขนเอา "ฝุ่น" หรือ ปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ควาย ขี้ไก่ แกลบ กิ่งไม้ ต่างๆจากบ้านเราหรือที่เราไปซื้อเขา ขนไปที่นาของเรา เรียกว่า "ขนฝุ่น" ไปใส่นา เรียกเพื่อนๆ หรือเรียกมา "เอาแรง" ขนฝุ่น มาช่วยกันหลายๆคน หลายนา จะได้ไปช่วยกันขนคืนตอนพวกเขาขนกันด้วย
          เริ่มจากการบุก "คอกควาย" แน่นอนควายจริงๆ แต่เราบุกตอนที่เอา ควาย ออกไปเลี้ยงแล้วนะ เดี๋ยวจะทะเลาะกับ ควายเอา ..เราก็เอา "บักจก" หรือจอบ เอาเสียม เอา "คราด" เอา "บุ้งกี้" ไปในคอกกัน ทั้งขุดบ้าง  ตัก กวาดบ้าง ฝุ่นแห้งบ้าง ฝุ่นเปียกบ้าง มี "ขี้แกลบ" ผสมบ้าง (ขี้เก่า ขี้ใหม่นั้นละ บางเจ้าก็เอาแกลบมาโรยเอาไว้ให้ผสมกับขี้ไปเรื่อยจะได้ปุ๋ยมากขึ้น แห้งเร็วขึ้น แต่ทำมาตลอด ไม่ใช่มาโรยตอนจะขนนะ มันจะได้ฝุ่นเยอะๆ ผสมขี้งัย แถมยังไม่เหม็นด้วย ป้องกันแมงวันด้วย หรือบางคนก็เอาไว้ขายก็มี สมัยนั้นขี้แกลบฟรี ขอที่โรงสีข้าวได้) ขนใส่รถจนเต็มที่ต้องการหรือฝุ่นหมด จากนั้นก็ขึ้นรถขนฝุ่นนั้นละไปที่นา ก็ใช้ทางที่เขาตัด "คันแท" นานั้นละมุ่งไปที่ทุ่งนาของเรา โยกคอนกันไปตลอดทาง เป็นบ่อ เป็นหลุม เป็นร่อง ร้อนก็ร้อน แต่ก็สนุกดี เพราะอะไรหรือ ก็เพราะได้ขี่รถยนต์งัยละ (สมัยก่อนไม่ค่อยได้มีรถยนต์ขี่กันมากมายนักร้อก จักรยาน มอเตอไซค์ หรือเดิน เป็นส่วนใหญ่ เพราะได้ขี่รถนี้มันสนุกและเทห์จริงๆ ทั้งนี้รถเก่าๆ พุๆน่ะ)  พวกเราก็นั่งบนฝุ่นที่ขนนั้นละ เทห์ระเบิด เวลาผ่านหมู่บ้านหรือเห็นคน เขาก็จะมองเรา และทักทายกันว่า ...ไปทำไร.... ขนฝุ่นหรือ..ไปนาใคร...กี่เที่ยว....มิน่าละนานี้ถึงได้ข้าวหลาย ข้าวงาม ใส่ฝุ่นนี่เอง ...ประมาณนั้น ไม่รู้ว่าอยากหรือไปทำไม 5555 แต่มันก็ถามกันเป็นปกติ พอเราเจอเราก็ถามเหมือนกันนะ  555 สงสัยมันเป็นมารยาท 
   
      พอไปถึงนาก็ใช้ "บักจก" หรือ จอบนี่ละ โกยลงมาจากรถ ทำเป็น "กอง" ไว้เรียกว่า "กองฝุ่น" เป็นจุดๆ ไม่ได้กระจายในคราเดียวนะ เอเราก็งงเหมือนกัน สุดท้ายได้คำตอบว่า ให้โรยไปทั่วเลย มันช้า รถต้องทำเวลา ต้องขนมาจากคอกให้เสร็จก่อน ให้ทั่วนาก่อน ค่อยมากระจายหรือ "ยายฝุ่น" ทีหลัง ทำแบบนี้ได้วันละหลายเที่ยวจนฝุ่นหมดหรือมืดก่อน ก็เป็นคนจบกัน  เจ้าบ้านหรือเจ้าของนาจะทำอาหารเที่ยงไว้ให้กินนะ ก็ ข้าวเหนียว ตำบักหุ่ง หากดีขึ้นมาหน่อยก็ต้มไก่บ้าน ให้กับคนมาช่วยได้กินกัน พร้อม "สาโท" หรือ เหล้าวขาวผสมกระทิงแดง นะ เป็นอันเสร็จกระบวนการในการ "ขนฝุ่น" ขนที่มาช่วยพวกเราก็ต้องจำเอาไว้นะไว้ใครบ้าน นาผืนใหน บ้านไหน เราจะได้ไปคืนแรงเอา หรือไปช่วยเขาทำงาน ซึ่งเขาจะมาบบอกว่าเขาจะทำอะไร วันไหน เมื่อไหร่ ให้มาช่วยหน่อยนะ  
      จากนั้นพอพักหลายๆวันเสร็จเจ้าของนาหรือเรานี่ละก็จะพาออกไปกันเอา"กระจก" หรือ จอบ บุ้งกี้ ไป "ยายฝุ่น" คือ ขนเอาฝุ่นจากกองที่กองเอาไว้ตามนาเป็นจุดๆ เอาไปโรยไปเทให้ทั่วท้องนา ยิ่งตรงไหนดินไม่ดี ข้าวไม่ได้ ไม่งาม ก็ใส่มากหน่อย โรยกันไปเรื่อยๆจนทั่วนา หรือฝุ่นหมดกอง จนเสร็จงาน "ยายฝุ่น" 
     พวกเราที่เป็นเด็กๆ เห็นที่ไหนเขากำลังขนฝุ่น เราก็ไปช่วยเขานะ เพราะไม่มีอะไรทำอยู่แล้ว ไปช่วยเขาขนฝุ่น ได้นั่งรถด้วย ได้กินข้าวด้วย ได้เล่นด้วย ได้ไปทุ่งนาด้วย ได้ไปหากิน หายิงอะไร เรื่อยเปื่อย ได้ไปฟังคนใหญ่ผู้ใหญ่เขาคุยกัน หรือฟังเรื่องราวของเขา หรือไปเห็นนาเขา เห้นทาง เห็นสาวๆ เห็นหมู่บ้านที่ผ่านไป แต่หากเด็กเล็กมากเขาก็ไม่ให้ขึ้นรถไปด้วยนะ กลัวตก มันอันตตรายด้วย เดี๋ยวพ่อแม่เขาว่า เกิดตกรถมา ก็ให้ทำงานเล็กๆน้อยๆ ขนเล็กๆน้อย แล้วก็กินข้าว กินขนม กินลุกอม กินไอติม กินน้ำอัดลม กับน้ำแข็ง แค่นั้นก็สุดยอดแล้ว 
     แล้วทำไมเราไม่ขนหน้าอื่นละ มันจะได้อย่างไร หน้าหนาวข้าวยังไม่เกี่ยว หรือไม่เสร็จ ดินเป็นโคลนติดหล่ม หน้าฝนก็ติดน้ำท่วมน้ำหลาก จะเอาฝุ่นไปได้อย่างไร ไม่ใช้ ข้าวปลูกนิ จะได้หาบไปตามทางเกวียนหรือ คันแท ได้ 555  
     เราจะทำแบบนี้ในทุกๆปี หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป ทำนาเสร็จก็ใส่ฝุ่น ใส่ฝุ่นเสร็จก็ไถนา ว่านข้าว ดูแลข้าว เกี่ยวข้าว ฟาดข้าว ขนข้าว ขนฝุ่น เป็นแบบนี้มาตลอด  
         พอต่อมาคนไม่ค่อยเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงไก่ "ฝุ่น" นี้ก็เริ่มหายากมากขึ้น ประกอบกับคนไม่หันไปใช้ "ปุ๋นเม็ด" หรือ ปุ๋ยเคมีกัน การใช้ "ฝุ่น" ใส่นาข้าว จึงค่อยหายไปเนื่องจากหลายๆสาเหตุ เช่น เหม็น ไม่สะอาด หายาก ต้องขนต้องยาย ข้าวงามช้า ทำ เฉพาะหน้าแล้ง หน้าหนาว ฯลฯ ขึ้นกับเหตุผลของแต่ละคน  
        หลายคนคงเคย ขนฝุ่น ยายฝุ่น กันนะ...อยู่กับบ้านช่วง โควิดนี้ก็ทำให้คิดเห็นสมัยก่อนที่พวกเราอยู่กับบ้านกันตลอดเวลา..มีความสุข และสนุกกันไปแต่ละวัน.....ดูแลสุขภาพครับ..



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 17 เมษายน 2563 11:52:54 น. 0 comments
Counter : 893 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space