space
space
space
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
9 มกราคม 2564
space
space
space

สอบเทียบ ม.ต้น ม.ปลาย 6 เดือนจบ.. ..สมัยนี้ไม่มีละ
  ผมบอกเสมอว่า เป็นเด็ก กศน. ผมสอบเทียบมัธยมปลาย (ม.6) ของ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในขณะนั้น บางคนว่าอ้อเก่งจังสอบเทียบเอาละสิ บางคนว่าอยากเรียนปริญญาไวๆละสิ เปล่าครับ คือ ออกโรงเรียน ม. 4 แล้วไปเรียนช่างและไปบวชเณรครับ เลยไม่ได้เรียน ม. 5 ม. 6   เอ้า จนบางคนบอกว่าเสียเวลาไปสักปีกว่าๆ  เรียนไม่ทันเพื่อนแน่ๆ  
   ย้อนกับไปสมัยนั้นปี 2535 กศน. (สมัยนี้ชื่อว่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.))  ตอนนั้นยังเปิดให้มีการสอบเทียบของ ม.ต้นและม.ปลาย ในกรุงเทพมหานครจะมีโฆษณาตามหนังสือพิมพ์รายวันต่างๆว่า เรียน ม. 3 เรียน ม. 6 จบภายใน 6 เดือน ไม่ผิดครับ จบ 6 เดือนจริงๆ เด็กสมัยนี้ไม่มีโอกาสได้เห็นแล้วล่ะเพราะเขายกเลิกระบบนี้ไปแล้ว ยกระดับไปอีกแบบแล้ว (อันนี้ไม่ได้ตามติดเลยไม่ขออธิบาย ได้ข่าวว่ามี 8 เดือน มีหนังให้อ่าน มีทำรายงาน น่าจะยากขึ้น)  โดย กศน. จะให้หน่วยสอบต่างๆที่กระจายตามทั่วประเทศเป็นผู้จัดการสอบปีละ 2 ครั้ง ให้นักเรียนมาลงทะเบียนและสอบกัน พวกนักเรียนในระบบที่อยากจบเร็ว หรือพวกที่เรียนสายอาชีพก็อยากได้วุฒิมัธยมก็มาสอบเทียบกัน อีกพวกหนึ่งก็พวกเรียนไม่จบอย่างผมนี่ละ คือพวกศึกษาผู้ใหญ่ ใหญ่เกินเรียน หรือตอนนั้นไม่อยากเรียน แต่ภายหลังอยากจะเรียนให้จบมัธยมก็มาสอบเทียบเอา ก่อนสอบก็ต้องมา "เข้ากลุ่ม" มาเจอกันในรุ่นเดียวกัน มาทำกิจกรรมกัน มาเจอกับครูกันสักหน่วยก่อนจะสอบจริง หากไม่มาก็ไม่ได้สอบนะ พร้อมกับมี "วิชาชีพ" มาเทียบโอน ต้องมีการอบรมอะไรมาก่อนเช่น ช่างต่างๆ ของผมนี่คือ ช่างเครื่องยนตฺเล็ก 300 ชั่วโมง หรือ 6 เรียน 6 เดือนเลย ของ โรงเรียน ส.สะพานมอญ ซึ่งเรียนก่อนจะไปบวชตั้งหลายปี  เลยเอาตัวนั้นมาเทียบได้ โชคดีไป ไม่งั้นต้องไปเรียนหรือหามาเทียบอีกยาวเลยทีเดียว
      นี่ละระบบ กศน. แบบสอบเทียบในตอนนั้น สอบวิชาต่างๆ ลืมแล้วว่าก็วิชา นานเกินไปละ เพราะปี 2535 โน้นนะ ไม่ได้หาใบประกาศหรือใบรับรองมาให้ดู ว่างๆ หาเจอจะเอามาให้ดูนะ 
     คราวนี้อยู่ดีๆจะไปสอบนี่ละลำบากเพราะไม่รู้จะอ่านหนังสือแบบไหน ใครจะช่วยสอน มันก็เลยมีคนหัวธุรกิจการศึกษา ส่วนมากก็โรงเรียนกวดวิชาหรือโรงเรียนเอกชนนั้น จัดการอบรมหรือติวให้ได้เรียนทุกวันสัก 6 เดือนให้ตรงเวลาสอบของ กศน. เขาพอดี เก็บเงินหลายๆพัน ให้พวกเราได้เรียนกัน บอกว่า 6 เดือนจบ หากไม่จบก็มาติวไปเรื่อยๆไม่คิดเห็นเพิ่ม ไม่เสียเพิ่ม เสียเงินครั้งเดียวเรียนจนจบเลยทีเดียว เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่อยากจะสอบเทียบ
      ช่วงกลางปี 2535 พอผู้เขียนลาสิกขาออกมาคุณแม่ก็ไปรับมาจากอุบลราชธานี พาลงมาเรียนหนังสือบอกว่าเรียน 6 เดือนก็จบ ม. 6 หรือมาสอบเทียบ กศน. นั้นละ แม่จะรู้ดีเพราะแม่จบ ปกส. วิทยาลัยครูอุบลราชธานี เป็นครูโรงเรียนประถมมาก่อนนั้นเองเลยเชียวชาญเรื่องนี้  พอมาถึงกรุงเทพก็หาที่เรียน แม่หาให้ที่โรงเรียนสิริโรจน์พานิชย์ (ผู้เขียนก็ถือว่าตนเองเป็นศิษย์โรงเรียนนี้นะ แม้จะมาติวเพื่อสอบเทียบ) อยู่ข้างวังสวนจิตรลดา น่าจะค่าเรียนสัก 3-4 พันบาทนี่ละ เพื่อจะติวไปสอบเทียบ กศน. นั้นละ ตอนนี้บ้านอยู่แถววัดลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ซอย 41 หรือซอยภาวนา ส่วนโรงเรียนนี้อยู่แถววังสวนจิตรลดา เขตดุสิต ห่างไกลกันพอสมควรแต่อาศัยรถเมล์สาย 92 สาย 8 สาย 44 นี่ละมาเรียนทุกครั้ง แล้วเดินเลาะถนนริมสวนจิตรลดามาเรียน มองดูปลา มองดูเต่า มองดูตำรวจวัง มองดูวังตลอด 6 เดือนทีเดียว ใครถามว่าไปเรียนที่ไหนก็บอกว่า เรียนข้างวังสวนจิตรลดา 
    เพื่อนร่วมชั้นก็มีแต่พวกรุ่นใหญ่คือพวกที่เรียนไม่จบ ม.ปลาย ทำงานกันแล้วทุกคน มีแต่ผู้เขียนนี่ละที่ไม่ได้ทำงาน  เลยได้รู้จักเพื่อนอีกหลายๆคน แต่ก็ไม่ได้แบบลุกซื้งเพราะว่าการติดต่อสื่อวารสมัยนั้นไม่มีอะไรนอกจากโทรศัพท์บ้าน มือถือนี่ยังไม่เห็นใครพก มันแพงโตครๆเลยละ  เลยไม่ได้ติดตามกันอย่างใกล้ชิด มีแต่พบเจอตอนมาเรียน พูดคุยสอบถามกันเป็นวันๆไป ยกเว้นใครจะมีการนัดแนะกันต่อมาอันนี้ก็มีน่ะ มีคนหนึ่งที่เรียนติวด้วยกัน สอบด้วยกัน แต่ไม่ได้สนิทอะไรมากมาย มาเจอกันอีกครั้งคือ ตอนรับปริญญาตรี ม.รามคำแหง เรียนจบ 3 ปี เหมือนกัน เรียนรามเหมือนกัน เลยได้ถ่ายรูปและซักถามกันต่อๆ แต่คนอื่นๆก็ไม่มีใครได้สืบทอดกันต่อ 
      ครูที่สอนก็จะสอนแบบเน้นๆแต่ละวิชาเพื่อให้ตรงกับที่คาดว่าจะออกข้อสอบและพื้นฐานวิชาการให้สมกับคนจะจบ ม.ปลาย แล้วเดาข้อสอบว่ามันเคยออกอะไรบ้าง พาลองทำและอธิบายเพิ่มเติมให้กับพวกเราได้เข้าใจ เอาไปใช้ในชีวิตและการสอบเทียบนั้นเอง พวกเราส่วนมากก็พยายามอย่างเต็มที่เพราะเสียเงินมาแล้วและอยากให้จบภายใน 6 เดือนอย่างที่ตั้งใจมา ผู้เขียนเองก็ตั้งใจเต็มที่อยากจบเต็มที่คต้องสอบได้ เพราะช้าก็เพื่อนร่วมรุ่นที่บ้านมาปีกว่าๆ ต้องไล่ให้ทันเขา 
       พอครบกำหนดและตารางของ กศน. ครูก็ให้พวกเราไปเข้ากลุ่มที่ หน่วยจัด "โรงเรียนวัดน้อยนพคุณ" อยู่ไม่ไกลกันนัก ละแวกนั้นละ เพื่อสอบเทียบ ตั้งแต่สมัคร-เข้ากลุ่ม-ทำรายงาน-สอบ ก็ที่โรงเรียนวัดน้อยนพคุณนี่ (ผู้เขียนเองก็ถือว่าเป็นศิษย์วัดน้อยนพคุณนะ แม้จะเป็นเพียงการสอบเทียบก็ตามที) ตอนที่พวกเรามาเข้ากลุ่มทำกิจกรรมของ กศน. ได้เห็นพวกนักเรียนมัธยม กับ พาณิชย์ก็มาเข้ากลุ่มเพื่อสอบเทียบ ประเภทว่าอยากจบและอยากได้วุฒิ ม.ปลายกัน ซึ่งแน่นอนว่ายังเด็กๆกว่าพวกเรานักเรียนโข่งกันอยู่เยอะเลย   เมื่อถึงเวลาสอบก็มาสอบที่โรงเรียนนี้และมารับเอกสารจบทั้งใบรับรองทั้งใบประกาศนี้ใบวุฒิที่โรงเรียนนี้ ผลปรากฎว่าสอบผ่านได้ในครั้งเดียว ทุกวิชา เลยจบภายใน 6 เดือนจริงๆ มารู้ภายหลังจากเพื่อนที่มาเจอกัน ม.รามคำแหงว่า เราจบกันสองสามคนเอง เพราะเขาสอบไม่ผ่านในครานั้น ต้องพยายมกันคนละหลายรอบ มีพวกเรานี้ละที่ผ่าน ตอนนันก็นึกว่าทุกคนคงผ่านหมด เลยรู้ว่ามันยากจริงนะ "สอบเทียบ" 
       นั้นละที่ทำให้ ผู้เขียนเป็นศิษย์ กศน. มาจนทุกวันนี้ เพราะว่าเรียนไม่จบเลยต้องมาสอบเทียบ สอบครั้งเดียวรู้ผล ประหยัดเวลาไปมากมาย สามารถไล่ตามคนรุ่นเดียวกันเหลืออีก 1 ปี เดิมตาม 1 ปี ครึ่ง ต้องขอบคุณ กศน. เป็นอย่างยิ่ง ที่เปิดโอกาสให้กับพวกเรานักเรียน "โข่ง" ครับ มี กศน. มีเรา มีอนาคต ..         



Create Date : 09 มกราคม 2564
Last Update : 9 มกราคม 2564 17:51:12 น. 1 comments
Counter : 3778 Pageviews.

 
เครดิตฟรีสล็อต ของเราเปิดโอกาสให้ผู้เล่นใหม่หรือนักพนันที่ต้องการทดลองเล่น สล็อตเครดิตฟรีไม่ต้องฝาก สามารถสมัครเล่น สล็อตเครดิตฟรีล่าสุด แบบฟรีๆได้เลย


โดย: princess lover (สมาชิกหมายเลข 6208967 ) วันที่: 9 มกราคม 2564 เวลา:21:12:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space