|
Model วังหาด..การจัดท่องเที่ยวถิ่นก่อนประวัติศาสตร์ |
|
พี่ครับที่บ้านมีวัดเก่ามากมายเลย พี่ครับที่บ้านมีของเก่ามากมายเลย แต่ไม่มีจะจัดการท่องเที่ยวหรือเอามาทำมาหากินอะไรได้ นี่ละเป็นคำถามบ่อยๆที่เจอมา กับชุมชนที่เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยทวราวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ..... เพราะเมืองไทยอุดมไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร หรือแนะนำอย่างไร จนกระทั่งมาได้ MODEL การจัดการท่องเที่ยวในแหล่งโบราณคดี ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง.. ที่สามารถนำอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของตนเอง ที่มีแหล่งโบราณคดีหลายพันปี มาจัดการจนเกิดเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน ได้ ลองติดตามกันครับ.. 🌈เมื่อสมัยที่มาทำงานจังหวัดสุโขทัยปี 2558 ได้อ่านเรื่องราวทางโบราณคดีของจังหวัดสุโขทัย ที่โดดเด่นและจำได้หมายตามี 2 เรื่อง คือ แห่งโบราณคดีก่อนยุคหล็กบ้านบึงหญ้า อำเภอคีรีมาศ และ แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย (ประมาณนั้น) แต่หากเปรียบสองแหล่งนี้ที่จำลึกในใจคือ แหล่งบ้านวังหาด 🌈เพราะว่า เป็นแหล่งที่ค้นพบขวานหินขัดจำนวนมาก และพบลูกปัดทวารวดี อยู่มากมาย ซึ่งผมอยู่กับเรื่องราวทวารวดีมาตั้งแต่ปี 2555 ตอนที่อยู่ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยุคทวราวดีเช่นกันนั้นเอง เลยมีความระลึกเสมอว่าสักวันจะไปบ้านวังหาด ไปดู ไปเห็น ไปสำรวจของจริงกัน 🌈วันนี้เลยมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการพัฒนาท่องเที่ยวในแหล่งโบราณคดี ซึ่งในที่นี้คือ บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างจนบ้านวังหาดกลายมาเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน 💥ตอนบ่ายวันหนึ่งในปี 2559 หรือ 2560 นี่ละ จำไม่ได้ชัดเจนนั่ง เสี่ยแอร์แห้งลานหอยคอนกรีต โทรมาหาว่าพี่ช้างอยู่สำนักงานมัยผมอยากพาชาวบ้านบ้านวังหาด ที่อำเภอบ้านด่านลานหอยไปพบ เพราะเขาอยากจะทำการท่องเที่ยว แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี อยากให้พี่ช่วยให้คำแนะนำหรือเสนอแนะพวกเขาหน่อย 💥พอบ่ายแก่ๆ เสี่ยวแอร์พร้อมชาวบ้านก็มาถึงสำนักงานเลยได้มีโอกาสพูดคุยกับคนบ้านวังหาดกันได้ความว่า คนที่มามีเสี่ยแอร์ มี อบต. มีกลุ่มนักวิจัยชาวบ้านที่ได้เงินทำวิจัยจาก สกว. ตอนนี้มีข้อมูล มีเนื้อหา มีการค้นคว้าเครื่องโบราณคดี เรื่องประวัติศาสตร์แล้ว ต่อไปอยากจะยกระดับสู่การจัดการท่องเที่ยว เลยมาหารือกับ อพท. นั้นเอง ประกอบกับชาวบ้านไปไถไร่เลยค้นพบหน้า "กลองมโหระทึก" อันหนึ่ง ซึ่งเป็นของโบราณ เป็นตัวแทนหนึ่งของอารยธรรมและวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว เลยมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี จะส่งต่อและส่งมอบให้กับใครดี พร้อมกับเล่าเรื่องราวของหมู่บ้าน ของพื้นที่ ของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของตนเองให้ฟัง เลยได้ให้คำแนะนำและแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวและการจัดการกับกลองโบราณ และนัดหมายในการลงไปเยี่ยมหมู่บ้านดูพื้นที่จริงๆ 💥พอได้ฟังเรื่องราวของบ้านวังหาด พอสรุปได้ว่า 1.เป็นแหล่งผลิตขวานหินขัดสมัยหินใหม่เป็นอย่างน้อย เพราะมีขวานหินทั้งที่ขัด ไม่ขัดมากกมายกระจายตามแหล่งผลิตรอบๆหมู่บ้าน 2. เป็นแหล่งถลุงเหล็ก มีแหล่งแร่เหล็ก มีเตาหลอมเหล็ก มาตั้งแต่ยุคเหล็ก โบราณ พบวัสดุอุปกรณ์การทำเหล็กกระจายอยู่ทั่วๆไปรอบหมู่บ้าน 3. รอบหมู่บ้านเป็นป่าไม้และภูเขา ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม มีทั้งป่าไม้ มีทั้งสัตว์ป่า พืชป่าต่าง สวยงาม 4. มีอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำตลอดป่าคืออ่างแม่ปันลำ เป็นแหล่งให้อาหารจากสัตว์น้ำ 5. ตั้งอยู่ต้นทางของ "คลองแม่รำพัน" ซึ่งเป็นแม่น้ำโบราณไหลต่อเนื่องมาจนถึงเมืองเก่าสุโขทัย โบราณ จนถึงแม่น้ำยม สมัยโน้นมีน้ำมากมาย มีเรือขนส่งสินค้า ค้าขายเป็นปกติ ระหว่างเมืองสุโขทัย และ เมืองอื่นๆของแม่น้ำยม 6. คนที่อยู่ในหมู่บ้านเป็นคน "เมือง" หรือ คน "ล้านนา" ที่โยกย้ายมาจากที่อื่นๆที่ภาคเหนือ มาทำมาหากินตั้งแต่รุ่นปุ่รุ่นย่า ทำให้วัฒนธรรมแบบคนล้านนา ภาษาพูดแบบล้านนา 7. มีงานวิจัยท้องถิ่น ของ สกว. ที่ชาวบ้านเป็นนักวิจัย ได้มีฐานข้อมูลสำคัญเอาไว้แล้ว 8. มีทีมวิจัยหรือมีคนทำงานวิจัย ที่ผ่านกระบวนการทำงานวิจัยเชิงลึกมาเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะต่อยอดออก ไปสู่เรื่องอื่นๆ (อันนี้เป็นความชอบส่วนตนกับ สกว.ท้องถิ่น ที่เชื่อมั่นว่าคนที่ผ่านกระบวนการวิจัย สกว.ท้องถิ่นมาแล้วจะเป็นคนทำงานพัฒนาในพื้นที่และผ่านกระบวนการฝึกมาเป็นอย่างดี) 9. มีพี่เลี้ยงวิจัยท้องถิ่นที่เป็นนักวิชาการ ในระดับภาคและประเทศ มีพี่เลี้ยงดูแลงานวิจัยและทีมวิจัยในชุมชน 💥ต่อมาไม่นานก็นัดแนะกันลงพื้นที่ดูของจริง นั่งรถเข้าไปไกลพอสมควร ออกจากตัวอำเภอบ้านด่านลานหอยก็ 20 กว่ากิโลมเตร ทางตรงเข้าไปสุดในภูเขา อ่างเก็บน้ำเลยละ (คิดตอนนั้นว่า เอไกลขนาดนี้แล้วจะมีคนมาเที่ยวได้อย่างไรหนอ เจองานยากอีกอย่างละสิ) พอไปถึงที่วัดบ้านวังหาด เจอชาวบ้าน เจอพระ(ที่เป็ฯทีมวิจัย เป็นผู้สนใจ เป็นแกนนำ) พอเดินชมพิพิธภัณฑ์ของโบราณ พาไปดูแหล่งขวานหิน แหล่งถลุงเหล็ก อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ และไปครานี้ได้หารือกันว่า หน้ากลองมโหระทึก สมควรจะทำอย่างไรกันหนอ 💥✨ได้ข้อยุติว่า หน้ากลองนี้ควรเก็บเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่วัดบ้านวังหาด แต่ต้องมีขั้นตอนหรือพิธีกรรมกัน นั้นคือ ให้เจ้าของที่พบ มอบให้ ผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านมอบให้นายอำเภอ จากนั้นนายอำเภอมอบให้พระสงฆ์ และเอาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดบ้านวังหาด พอได้ขั้นตอนกันแล้ว ก็นัดหมายดำเนินการสส่งมอบหน้ากลองมโหระทึกดังกล่าวในเวลาต่อไปไม่นาน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ปัจจัยสำคัญคืออย่าง 10. มีพระเป็นแกนนำ 11. มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของตนเองในวัดบ้านวังหาด 12. ข้อจำกัดคือ ไกล จากถนนใหญ่ 20 กม. ⚡⚡กลยุทธ์แรกที่พวกเรากำหนดเอาไว้คือ ทำอย่างไรให้บ้านวังหาดโด่งดังเป็นที่รู้จักของหน่วยงานราชการ เอกชนต่างๆ และให้เขากำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายในการทำงาน (เรายังไม่คิดถึงนักท่องเที่ยว เอาเป็นที่ทำงานของหน่วยงานต่างๆก่อน แล้วนักดูงานและนักวิจัยจะตามมา สุดท้ายนักท่องเที่ยว จะมาเป็นชุดสุดท้าย) ⚡นับจากวันนั้นเป็นต้นมา บ้านวังหาดได้รับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชนเป็น 3 ส่วน 1. ส่วนแรก ภายในชุมชน เป็นการพัฒนาของคนภายในชุมชน จากการต่อยอดงานวิจัย และยังมีงานวิจัยใหม่อยู่ มีการรวมคน แบ่งงาน ทดสอบทดลอง ออกไปข้างนอก ไปประชุม อบรม ดูงาน ขายของ 2. ส่วนสอง ภายนอกเข้าภายใน เป็นการนำโครงการพัฒนาหรือกิจกรรมพัฒนาต่างๆ ของทุกหน่วยงานทั้งราชการ และเอกชน และบุคคล เข้าไปทำงานกับบ้านวังหาด ระยะสั้นบ้าง กลางบ้าง ยาวบ้าง แล้วแต่งานของใครของมัน ที่จำได้ เช่น กศน. พช. เกษตร ที่ว่าการอำเภอ อบต. /ทต. มหาวิทยาลัย ฯลฯ ส่วนนี้ละ คนทำงาแทบไม่ได้พัก ต้องประชุม อบรม ดูงาน กันกระหน่ำ มากมาย 3. ส่วนที่สาม นโยบาย ของจังหวัดและอำเภอ ได้กำหนดให้บ้านวังหาดเป็นพื้นที่ในการทำงานต่างๆของอำเภอและจังหวัด ในโครงการต่างๆ คือ บ้านวังหาดกลายเป็นตัวแทนของอำเภอบ้านด่านลานหอยไป ✨ทั้งสามส่วนได้ทำงานแบบเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในหลากหลายโครงการและนโยบาย จนทำให้บ้านวังหาดเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว แหล่งทำงาน แหล่งดูงาน แหล่งสินค้า ที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง ในปัจจุบัน 💥รูปแบบบการทำงานมี สองส่วน คือ ส่วนแรกภายในชุมชน มีการทำงานอย่างเต็มที่ แก้ไขปัญญหาอุปสรรค ต่างๆเป็นระยะ มีการพัฒนา การต่อยอดในประเด็นต่างๆออกมาก ที่โดดเด่นที่สุด คงเป็นผ้าดินแดง หรือ ผ้าย้อมดินแดง กับ แปลงเกษตรอินทริย์แบบแปลงรวม ส่วนที่สอง ภายนอกชุมชน เป็นการออกไปเชื่อมโยง ทำการตลาด การประชาสัมพันธ์ การขายตัวชุมชนตามงานต่างๆ ทั้งอำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ 🌈หากจะดูที่บ้านวังหาดจะเห็นอะไรในปัจจุบัน บอกได้เลยว่ามากมาย เช่น ผ้าหมักดินแดง กิจกรรมสสร้างสรรค์ การจัดการป่าชุมชน การจัดการอ่างเก็บน้ำ เกษตรอินทรีย์ แหล่งโบราณคดี แหล่งต้นลาน แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ที่สำคัญ คนบ้านวังหาดสามารถคิดและทำ พร้อมการบริหารการท่องเที่ยวและชุมชนของตนเองได้ละ หลายอย่างได้ทดสอบ ทดลองทำด้วยตัวเอง จนตึกผลึกในการทำ 🌈สถานะของบ้านวังหาดตอนนี้ คือ พื้นที่ทำงานของทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง และเอกชนที่สนใจ คงเป็นเรื่องหนักของบ้านวังหาดที่ต้องรับแขกแทบทุกวัน แต่ทุกหน่วยเข้าไปก็ด้วยความโด่งดังของบ้านวังหาดนั้นละ ถือว่าบรรลุผลของกลยุทธ์ที่พวกเรากำหนดเอาไว้ ว่าต้อง มีชื่อเสียงก่อน ... ซึ่งคนวังหาดคงเจรจากับทุกหน่วยงานที่เข้าไปให้ดำเนินงานตามแนวทางของบ้านวังหาดที่ต้องการ และภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ ด้วย อันนี้ขึ้นกับบ้านวังหาดว่าจะสามารถขนาดไหนในการให้หน่วยงานต่างๆมาทำตามความต้องการและสภาพเท็จจริงในพื้นที่ต่างๆ หากเป็นไปตามที่ตั้งใจเอาไว้ บ้านวังหาดจะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ กลายเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ สวยงาม ยั่งยืน เหมาะสมที่จะเปิดรับให้คนมาดูงาน มาอยู่ มาเที่ยว ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้...🍏🍏🍏 #ท่องเที่ยว #ท่องเที่ยวชุมชน https://www.facebook.com/2010004702641526/videos/246510236819502   
Create Date : 25 ธันวาคม 2563 |
Last Update : 29 ธันวาคม 2563 9:21:32 น. |
|
1 comments
|
Counter : 873 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|
 | |
 |
ฝากข้อความหลังไมค์ |
 |
Rss Feed |
 | ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ - ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ - ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร - ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด - เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม
|
|
 |
|