space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
2 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน เรื่องราวของปลาเป็นแผล ปลาเป็นโรค
         COVID 2019 การระบาดหรือโรคติดเชื้อไวรัสนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่ออดีตที่ผ่านมากว่า 30 ปีมาแล้ว เลยเป็นเหตุที่วันนี้จะมาเล่าหนึ่งเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการทำนาให้ฟัง ซึ่งหลายคนในยุคนั้นหากเป็นชาวนา ชาวประมง คงได้ผ่านมาด้วยกัน แต่กับคนรุ่นใหม่ คนในเมืองคงนึกภาพไม่ออกว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรา    เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วเกิดหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทย ในช่วงนั้นพวกเราเดินไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยหนอง คลอง บึง และแหล่งน้ำที่เราสร้างเอาไว้เองด้วยก็ตาม จะได้กลิ่นเหม็น "คาว" อย่างรุนแรง เดิมไม่เคยมีกลิ่นแบบนี้ ยิ่งหน้าหนาวและหน้าแล้งกลิ่นนี้จะรุนแรงเ็นอย่างมาก 
            เราเรียกมันว่า "ปลาเป็นแผล"  ตามตัวปลาชนิดต่างๆมันจะมีแผลตามลำตัว บางตัวเล็กน้อย บางตัวมาก บางตัวรุนแรง แผลนี้เหมือนกับแผนเน่า โดดน้ำกรดกัด แผลค่อยๆกินเข้าไปในตัวปลา บางตัวหางขาดไปหมด ปลาช่อนนี้ขาดไปเกือบครึ่งตัว บางตัวปากแหว่ง ปากโหว่ ปากสบธงมีแผลแบบตุ่มๆและค่อยกัดเนื้อเข้าไป คล้ายกับมันเป็นหูดติดตัวมันแบบนั้นละ   อาจจะเรียกว่าคล้าย "ปลาเป็นโรค" ติดเชื้อแล้วมันกินเนื้อปลาไป  เวลานั่งอยู่ที่เถียงมองลงไปที่สระข้างเถียงจะเห็นปลามันว่ายบนผิวน้ำแบบหมดแรง ส่ายช้าๆ รอวันตาย ปากตัวก็ปากพงาบๆ เพราะหมดแรงแล้ว ภากแบบนี้จะเห็นตามแหล่งน้ำทุกแห่งก็ว่าได้ เดินไปตามทางเกวียนที่น้ำท่วมก็จะมีปลาเป็นแผลนี้เต็มไปหมด    จากแผลที่ติดตามตัวปลายนี่ละ ทำให้กลิ่นสาปคาวมาก เวลานั่ง และเดินผ่านบริเวณนั้น กลิ่นจะโชยมาให้ได้ดมกันเลย 
         พอแผลขยายและกินไปกว้างๆมากเข้า ปลาก็ตาย และลอยตามแหล่งน้ำธรรมชาติและที่เราขุดเต็มไปหมด แมลงวัน หนอนจับและกัดกินไม่หวาดไม่ไหว กลิ่นเหม็นเน่า บางแห่งกองกันไปกระแสลม คล้ายกับปลาโดนยาพิษนั้นละ เต็มไปหมดไปท้องน้ำต่างๆ กลิ่นเน่ายิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น เดินไปทางทางเกวียน จะเห็นตายนอนตายตามทาง บางตัวไม่ยังไม่ตายก็ดิ้นหรือว่ายเบาๆ 
            แต่ไม่ได้เป็นโรคระบาดที่ติดคนมานะ ส่วนปลามันจะติดกันเองหรือไม่นั้น ไม่เห็นมีใครหรือหน่วยงานใดมาแจ้งพวกเราหรือมาตรวจสอบ หรือเขาอาจจะตรวจสอบแต่เราเป็นเด็กไปเลยยังไม่รู้ความก็ได้ 
      พอเล่าถึงจุดนี้ ภาพสมัยนั้นปรากฏมาชัดเจนเลยละ นั่งเพียงเสาเถียง มองดูปลาที่ว่าในสระ น้ำใสๆ ปลาแต่ละตัวมีแผลบนตัว น้อยบ้าง มากบ้าง เลยเต็มผิวสระเลย
        ปลาเป็นแผลหรือปลาเป็นโรคนี้ ไม่ได้เกิดกับหมู่บ้านหรือนาเราอย่างเดียว คนเดดียวนะ แต่หมู่บ้านรอบๆ แหล่งน้ำรอบๆ เป็นเหมือนกันหมด จนช่วงนั้นหรือปีนั้น พวกเราหาปลากินกันลำบาก เพราะจะกินเฉพาะตัวที่ไม่เป็นแผล ซึ่งก็สังเกตเอาตอนที่จับได้นั้นละ เราดูว่ามีแผลมัย มีรอยแผลมัย หากเห็นจ้ำๆ เราก็ไม่เอาทิ้งไปถือว่าเป็นโรคแล้วไม่กล้ากิน 
          จำได้ว่ามีครั้งหนึ่งไปหาปลาที่หนองน้ำของหมู่บ้านอื่น กับลุงข้างบ้าน ตึกแหไปตึกแหมาได้ปล่าข่อตัวหนึ่งปากเป็นแผลเหวอะวะ เลยไม่เอา กำลังจะขว้างทิ้งลุงข้างบ้านบอกว่าไม่เอาก็เอามานี่เดี๋ยวเอาเอง เอาไปแกง น่าจะกินได้ แผลนี้น่าจะติดเบ็ดมาแล้วปากขาดไป ไม่น่าจะใช่เป็นโรค
          พวกเราก็คิดกันไปต่างๆนานาว่าปลามันเป็นอะไร มันเป็นโรคมัย มันติดกันมัย มันติดคนมัย มันกินได้มัย หากกินได้กินได้หมดหรือตัดทิ้งก็กินได้ มันโดนความร้อนแล้วจะกินได้มัย มันเกิดจากอะไร ฯลฯ เป็นที่วิพากย์วิจารณ์กันเป็นวงกว้างในแต่ละหมู่บ้าน แต่ก็ไม่ได้ความจริงชัด สรุปว่า หากปลามีแผลเราก็ไม่กิน ไม่ว่าแผลเล็ก แผลใหญ่ เราไม่กินหมด ไม่เคยมีคนติดเชื้อจากปลาเป็นแผล 
     เหตุการณ์ปลาเป็นแผลเกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี จำไม่แน่ชัดว่า 3-4 ปีนี้ละจนสุดท้าย  "ปลาก็เลิกเป็นแผล" ทำให้พวกเรางงกันมากว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ที่อยู่ๆปลามันไม่เป็นแผลแล้ว แปลกมาก ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ 
       ท้ายที่สุดพวกเรานักวิชาการแบบชาวบ้านได้ข้อสรุปว่า "ปลาเป็นแผล" มันเกิดการการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะปีแรกที่ชาวบ้านชาวนาใช้ปุ๋ยเคมี เป็นปีแรกที่เกิดเหตุการณ์นี้ เราเชื่อว่าสารเคมีมันไปกัดเนื้อปลาหรือเป็นพิษต่อสัตว์น้ำนั้นละ ทำให้ปลาเป็นแผลมากบ้างน้อยบางแล้วแต่ความต้านทานของสัตว์น้ำ และเหตุผลอื่นๆ (ซึ่งไม่มีคนมาบอกเรา)  พอใช้ปุ๋ยเคมีไปเรื่อยสุดท้ายสัตว์น้ำมันปรับตัวเอง หรือรอดพ้นได้ ก็ไม่เป็นแผลอีกแล้ว กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม นี่ละคือสาเหตุที่พวกเราสรุปกันเอง ใครรู้ก็บอกด้วยนะว่าอย่างไร แต่นี้พวกเราคิดแบบนั้น หลักฐานคงไม่มีให้พิสูจน์กันแล้วละ อ้อตอนที่ใช้ปุ๋ยเคมีแรกๆเราก็คิดกันอยู่นะว่าเจ้าปุ๋ยเคมีที่ทำมาจากสารเคมีต่างๆนั้นมันตกค้างในดิน ในนา ในข้าว ในสัตว์น้ำ สัตว์ต่างๆ มากมายขนาดไหน แล้วมันกินกันได้หรือเปล่านะ ตอนนั้นบอกตามตรงว่าพวกเรา "กลัวมาก" แต่ก็ไม่มีคนมาบอกเรานะ 555 จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีคนตอบว่ามันตกค้างหรือสะสมมากมายขนาดได้  วันหลังจะมาเล่าให้ฟังว่าการปรับเปลี่ยนจาก "ปุ๋ยคอก" เป็น "ปุ๋ยเคมี" นั้น และ ปรับจาก "ปุ๋ยเคมี" เป็น "ปุ๋ยอิทรีย์ "เป็นอย่างไรกันบ้าง.....สู้กันต่อไป...สุดท้ายทำเกษตรอินทรย์  ใช้ธรรมชาติ ดีที่สุด จร้า...



Create Date : 02 เมษายน 2563
Last Update : 3 เมษายน 2563 22:00:34 น. 0 comments
Counter : 341 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space