space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
14 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน ข้าวหลาม ไม่มีใส้ (1)
    ...วันนี้แย่จังมีแต่ข้าวเหนียว กินไม่ได้ท้องอืด ถ้าไม่ได้ข้าวหลามนี่แย่เลย...หรือ BAMBOO RICE ...นั้นละคงทำให้หลายๆคนนึกถึงอะไรบางอย่างที่เป็นข้าวเหนียว อยู่ในกระบอกไม้ไผ่ รสชาดหวานๆ มันๆ เป็นแท่งๆ ..ประมาณนั้น เพราะนั้นละคือ "ข้าวหลาม" ที่มีชื่อมีอยู่มากมาย ข้าวหลามหนองมน ข้าวหลามท่าวังผา นั้นละข้าวหลามที่มีชื่อเสียงเรียงนามหากใครผ่านไปทางนั้นต้องแวะกินและเอามาฝากคนอื่นๆ 
      ไม่อยากจะบอกว่าเราเป็น "มือเผา" อันดับหนึ่งของหมู่บ้านเราเลยละ เพราะเป็นคนที่ชอบกินข้าวหลาม ชอบทำข้าวหลาม ชอบเผาข้าวหลาม วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าข้าวหลามของบ้านเรานั้นเป็นอย่างไร รับรองไม่เหมือนข้าวหลามที่เคยซื้อกันเลยละ มาดูฝีมือมือเผาอย่างเรากันนะ 
      หลายคนคงไม่รู้ว่าการ "ทำ" ข้าวหลามบ้านของเราจะทำกันเฉพาะหน้าหนาวเท่านั้น เพราะอะไรหรือ ก็เพราะว่าเป็นช่วงที่เราได้ข้าวใหม่ หมายถึง เราเพิ่งนวดข้าวเสร็จเอาข้าวขึ้นยุ้งเอาข้าวไปสี นี่ละเป็นข้าวแรกของปี เดือนแรกของปี มื้อแรกของปี ก็ว่าได้ เป็นข้าวที่มันมาก หอมมาก อร่อยมาก ดังนั้น ใครที่อยากกินข้าวเหนียวที่อร่อยที่สุดต้องกันข้าวเหนียวใหม่น่ะ มันจะออกใสๆ เหลื่อมๆ มันๆ รับรองไม่ผิดหวัง กับเหตุผลหนึ่งคือ ไม้ไผ่ที่เราเอามาทำข้าวหลามก็ "อ่อน" กำลังดี เยื่อไผ่กำลังหอมและแน่นดี สุดท้าย เราทำไปวัด ไปทำบุญ บุญนี้พวกเราเรียกว่า "บุญเดือนสาม" ที่ต้องเอาข้าวหลามไปถวายพระที่วัดกันทุกบ้านเลยละ เห็นมัย "ข้าวหลาม" บ้านเราทำได้ปีละครั้ง ช่วงที่มีข้าวใหม่ มีไผ่ใหม่ และ ทำบุญเดือนสาม เท่านั้นเอง..ส่วนเดือนอื่นๆ ช่วงอื่นๆ นั้นคือพวกที่อยากมากๆ แบบเรานี่ละ แต่ต้องมีไม้ไผ่อ่อนนะ หากไม่มีก็ไม่ครบองค์ประกอบ ส่วนคนอื่นๆบ้านอื่นๆเขาไม่ทำกันหรอกไม่นอกเวลา 555 

         ไม้ไผ่ที่เรามาทำ "ป๋อง" ข้าวหลาม เราเรียกว่า "ไผ่ใหญ่" ภาษากลางจะเรียกอะไรเราไม่รู้ บางคนว่า ไผ่สีสุก อาจจะใช่กก็ได้ ช่างมัน ส่วนเราเรียกไผ่ใหญ่ เป็นลำใหญ่ ปล้องใหญ่ไม่ยาว ข้อใหญ่ สูงมาก ลำใหญ่ มีหลามตรงโคนลำหรือกอมากและคมและใหญ่ปักเจ็บมากได้เลือกเลยละ  ดังนั้นเวลาจะลุยเอาไผ่แต่ละลำต้องสางหนามออกเป็นช่องๆให้เข้าไปได้ หรือบางที่เข้าไม่ได้ก็เป็นช่องให้ปีนขึ้นไปด้านบนให้พ้นดงหนามไผ่ก่อนค่อยตัดเอา การปีนลำไผ่คงงงกันนะสิ ก็ลำไผ่ใหญ่มันจะมีตาแต่ละข้อ ตานั้นละแตกออกมาเป็นแขนงใหย่ๆเล็กๆแล้วแต่ตรงโคนก็ใหญ่ ตรงปลายก็เล็ก เอาก็เหยียบตรงแขนงนี่ละ ทั้งแขนงตาย แขนงเป็นมีหมดนะ จึงทำให้กอไผใหญ่นี้เป็นกอใหญ่มากมีหนามคลุมทั้งเก่าและใหม่ ลำไผที่ตัดแล้วจะแตกแขนงและทยอยตายไปจากบนลงล่าง กอไผ่จะเป็นที่อยู่ของนก หนุ งู แมงน้อย เพราะมันรกห้วยหนามไม่มีอะไรเข้าไปได้ง่ายๆ แถมหนามไผ่นี่ยังยื่นเป็นแขนงออกเป็นเป็นแส้หนามเลยทีเดียวทั้งแบบแส้ฟาดหรือแบบกิ่งหนามนะ โอยกอไผ่นี่ละมีแต่หนามทั้งนั้น เวลาต้องไปเอาไผ่ใหญ่นี่ลำบากมาต้องลุยต้องสางต้องฟันต้องใส่เกิบฟองน้ำต้องโดนเกี่ยวโดนตำทุกครั้ง มีหลายครั้งขนาดเดินผ่านกอไผ่ที่อยู่ริมถนนโดนหนามเกี่ยวและเหยีบหนามไปก็หลายคราทีเดียวนะ ไม่ว่ารองเท้าอะไรก็ทะลุหมดรับรองได้ พอตัดได้ลำไผ่ก็ต้องดึงลงข้างล่างนะมันไม่ได้ล้มเหมือนต้นไม้่ หากโชคร้ายก็ร่วงลงไปในกอ ต้องดึงย้นขึ้นมาแล้วเบี่ยงออกนอกกอให้ได้ แล้วดึงหรือกระชากลำไผ่ออกจากกอมัน ด้านบนก็มีกิ่งไผ่จนถึงปลายลำเลยละ มันเกี่ยวมันพันกันเป็นปุ่มๆต้องออกแรงกันอย่างมาก บางครั้งต้องช่วยกันหลายๆคนเพราะมันพันกันแน่น หรือดังซวยจริงๆ ลำไผ่มันขัดกัน มันสอดมันส่ายกันดึงอย่างไรก็ไม่ลงมา ก็ต้องขึ้นไปกอไผ่และตัดออกเท่าที่เอาได้นะ ดังนั้นกอไผ่ใหญ่จึงไม่ใช่กอไผ่ที่สะอาดหรือสะดวกเลย  ไผ่ใหญ่นี่เขามีประโยชนหลายอย่าง (แต่ไม่ใหญ่เท่าไผ่ยักษ์เมืองน่านนะ ) เอามาจักสานได้ทุกอย่าง ทำเสา ทำคาน ทำคื่อ ได้หมด ทำฝาก ทำเป็นบันใดปีนขึ้นหรือลงได้ (เหยียบแขนงมัน เห็นพวกปีนตัดตาล ตัดพร้าว ชอบเอามามัดกับต้นตาล ต้นพร้าวปีนกันนั้นละ เขาเรียกว่า "พะอง") ฯลฯ สารพัดประโยชน์ทีเดียว 
          เราจะเลือกเราลำไผ่อ่อน หรือไม้ไผ่อ่อน ดูจากยังสีคราบสีขาวๆเราเรียกว่า "นวลไผ่" ติดอยู่ ดูว่ามีกาบไผ่ติดอยู่ ดูว่ายอดไผ่มีแขนงหรือใบแล้ว ปล้องยาว ใหญ่เล็กตามชอบ นับจำนวนปล้องได้มากมัยคุ้มกับการลุยไปตัดไหม หากมันไผ่อ่อนเกินไปก็ไม่มีรู หากแก่เกินไปเผายาก เยื่อยไผ่ไม่มีไม่หอมไหม้ง่าย เราจึงเอาไผ่อ่อนไปจนถึงกำลังหนุ่ม อยู่ในช่วงนี้จะได้ ปล้องสวย เผลือกหนา ไม่ไหม้ไฟง่าย หอม เยื่อดี .เราจะตัดไผ่ก็ต่อเมื่อเราจะทำข้าวหลามนะ ดังนั้น การทำข้าวหลามต้องไปสำรวจว่ามีลำไผ่อ่อนได้ขนาดหรือได้ระยะที่ทำข้าวหลามได้หรือไม่ จึงทำการ "หม่าข้าวสาร" หรือแช่ข้าวเหนียวนะ ไม่มีบั้งข้าวหลามละยุ่งเลย ทำไม่ได้นะ ..แล้วเราจะไม่ตัดทิ้งไว้ข้ามวันนะเดี๋ยวไม้จะเหี่ยว แห้ง เสียรสชาด และเผาไม่ได้ น้ำในไผ่จะหายไป เผาแล้วไหม้ง่ายมา แถมเหี่ยวๆด้วย 5555 ..นี่คือ ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งนะ...ขนาดของลำไผ่ไม่กะเกณฑ์นะขอให้มีไผ่ที่อ่อนกำลังดีได้หมด แต่ไม่เล็กเกินไปนะ เปลือง ใหญ่ไเท่าแขนกำลังดี หรือเท่าเขาก็ไม่มีปัญญา ขอให้มีไผ่เถอะว่างั้น...หากขนาดใหญ่ก็เรียกข้าวหลาม "บอกใหญ่" หากเล็กก็เรียก "ข้าวหลามบอกเล็ก" นั้นละ....นี่ละไผ่ที่เราต้องการ เมื่อได้ลำไผ่มาแล้วก็ลากมาที่บ้านน่ะมีเทคนิคอย่างหนึ่งคือเราจะไม่ "ข้าม" ลำไผ่นี่ไม่ว่าตอนลากที่ตอนวางไว้ เพราะอะไรหรือก็เพราะว่าเราเชื่อว่าหากข้ามลำไผนี้จะทำให้ "ข้าวหลามเผาไม่สุก" คือ เผาอย่างไรก็ไม่เป็นข้าวหลาม นั่นคือความเชื่อของเรา ส่วนคนอื่นๆจะว่าอย่างไรอันนี้ก็ไม่รู้นะ
          คราวนี้ก็เป็นการทำ "บั้งข้าวหลาม" คือ การตัดปล้องไผ่นั้นเอง เอาจะพร้าตัดนำมีโต้ใหญ่คมๆนั้นละ เราจะตัดจากยอดลำไปทางโคนลำ ในแต่ละปล้องจะตัดโคนปล้องทุกปล้อง คือ ตัดส่วนที่ใหญ่ให้เป็นปากข้าวหลาม ต้องปลายปล้องให้เป็นโคนข้าวหลาม ดังนั้น บั้งข้าวหลามที่ว่าของพวกเราจะเป็นปลายใหญ่ โคนเล็ก เหตุผลคือ มันเผาง่าย กรอกข้าวสารง่าย สุกง่าย นี่คือ ภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่ง เราจะตัดบั้งข้าวหลามก่อนที่จะกรอกข้าวสารนะไม่ตัดตัดไว้นาน เพราะเยื่อยมันจะแห้ง ไม่ติดข้าวหลาม แย่เลยละ   เมื่อได้ตัดบั้งข้าวหลามแล้วก็เอาใส่ในคุถังเอาไว้ไม่มัดอะไรหรือกองไว้นะ รักษาอย่างดีเลย หงายปากเอาไว้อย่างนั้นละไม่ได้ปิดอะไร เพราะส่วนมากเราก็ทำกัน 1 ลำไผ่ หรือ 2 ลำไผ่ มันก็แค่ 10 บอก หรือ 20 บอก (บั้ง/ปล้อง) เท่านั้นเองไม่ได้มากอะไร 
         ตอนนที่เราเผาข้าวหลามบ้านเราจะใช้ไม้มาเผานะ ไม้ที่ว่าก็คือ "ไม้ไผ่ใหญ่" นั้นละ เอามาจากกอไผ่ที่ว่ามีหนามแหลมๆเยอะนั้นละ แน่ว่าว่าต้องบุกเข้าไปเอา ต้องตัดออก แล้วดึงลากกันวุ่นวายเลย อย่างที่บอกว่าไม้ไผ่ใหญ่ที่เราตัดไปใช้ทำประโยชน์ทุกอย่างแล้ว เราตัดได้แต่เลยโคนไปเยอะ 2-3 เมตรเลยละ ขึ้นกับหนามในกอมากไหม กอแน่นมัย เมื่อนานไปตอไผ่ที่ว่ามันก็ตาย มันก็แห้ง นั้นละเป็นเชื้อเพลิงในการเผาข้ามหลามอย่างดี มันใหญ่ มันทน มันเปลือกหน้า ติดไฟง่าย ไฟแรง อยู่นาน เบา แต่ไม่เป็นถ่านนะ เวลาที่เราไปหาฟืนก็เหมือนกันไปหาไม้ข้าวหลามนั้นละ ตระเวนไปตามกอไผ่ต่างๆละแวกใกล้เคียง เห็นไผ่ตายแล้วลุยเลยทีเดียว ต้องลากมาไว้ที่เราจะเผานะจะได้จับใส่กองไฟได้ง่าย เราจะไม่ใช้ไม้อย่างอื่นๆนะ ก็แปลกดีเหมือนกันว่าทำไมต้องใช้แต่ไม้ไผ่ 555...
        เมื่อได้ไม้ไผ่ได้ฝืน ตอนไปก็ทำ "ม้า" ม้าอะไรหรือ ก็ม้าที่จะเอามาเผาข้าวหลาม เอยังงัย เวลาเราเผาข้ามหลามต้องหาที่พิงให้กับบั้งข้าวหลามงัยตั้งพิงเอาไว้เราเลยเรียกว่าม้า รูปร่างหน้าตาก็เหมือน "ม้า" งัย มี 4 ขามีตัว เองัยเอ่ย เรากำไปหาม้ากันในป่า "กล้วย" เลือกเอาต้นกล้วยที่เขาตัดเครือไปแล้ว หรือต้นที่ยอดตายแล้ว เอาแบบใหญ่ๆยาวๆนะ เพราะมันต้องตั้งบั้งข้าวหลามหลายบั้งและต้องโดนไฟเผาตลอดเวลาจนข้าวหลามสุข ตัดมาสักท่อนยาว 2-3 เมตร เอาไม้เสียบ 4 แห่งกลายเป็นขาไม้นะ แบบเสียบหัวหางด้านละ 2 ขาคู่กันงัย บางครั้งไม้เสียบหรือขามันยาวก็ทะลุขึ้นมาด้านบนกลายเป็น "หู" ม้าไปก็มี 555 พอเสร็จมันก็จับตั้งได้เลย กลายเป็น "ม้า" เผาข้าวหลามทันที ขี่ไม่ได้นะ 555 ม้าแบบนี้ ไม้ที่เสียบก็ต้องเอาพอดีหน่อยคือ ทำม้าให้สูงพอดี หากสูงไปก็พิงข้าวหลามไม่ได้ หากเตี้ยไปไฟก็ไหม้ม้าหมดเลยสิ 555 ข้าวหลามยังไม่สุข ได้วิ่งไปหาม้าอีกตัวมาแทน ไม่ไหว  พอเผาข้าวหลามเสร็จตรงกลางไม้ก็จะโดนเผาจนหายไปเป็นแหว่งๆตรงกลาง พวกเราจะดูว่าใครทำม้าเก่งหรือเผาข้าวหลามเก่งก็ตรงม้านี่ละ หากม้าโดนเผาไปหมดหรือม้าหัก 555 ฝีมือไม่ดีโดนล้อกันละ ดังนั้น เวลาเผาข้าวหลามไม้าต้องเหลือสภาพที่สมบูรณ์ไม่ใช่ม้าโดนเผานะ 555
        นอกจากไม้ไผ่ก็สำคัญแล้วว่าจะมีกลิ่นหอมขนาดไหน มีเยื่อหรือเป็นท่อนๆได้ดีขนาดไหน ติดเยื่อมัย แต่ "ข้าว" ที่เอามาทำข้าวหลามนี้ก็สำคัญมากๆ ตรงที่ต้องเป็น "ข้าวเหนียว" จะเป็นตัวบอกว่ามันมัย หอมมัย เม็ดสวยมัย ดังนั้นเราจะเลือกเอาข้าวเหนียวใหม่ หรือข้าวเหนียวที่เกี่ยวเกี่ยวและนวดนั้นละของเด็ดเลยก๋ว่าได้ ข้าวเหนียวใหม่จะเป็นข้าวที่น่ากินที่สุดนะเขาถึงเรียกว่า "ข้าวใหม่ ปลามัน" นั้นละ หากเราเอาข้าวเหนียวใหม่มาทำข้าวหลามนี่ละสุดยอดของข้าวหลามเรา ข้าวเหนียวใหม่ที่ได้มาบางครั้งก็เป็นข้าวของเรา บางครั้งก็เป็นของคนอื่นที่เราเอาข้าวเก่าไปแลกมา หรือไปขอเอานี่ละ 555 พอทำเสร็จก็เอาไปให้เขาสักกะบอกสองกะบอกก็เป็นอันหายกัน นี่ละบ้านเรา เมื่อมีข้าวแล้วก็เอาไป "หม่า" หรือ แช่เอาไว้สักคืนหรือหม่าเอาไว้ตอนเช้าพอตอนเย็นก็ใช้ได้แล้ว บางครั้งก็หม่าสักครึ่งวัน เพราะข้าวเหนียวใหม่มันอ่อนนุ่มอยู่แล้วไม่แข็งเหมือนข้าวเหนียวเก่าเลยใช้เวลา หม่าไม่นานงัยละ หากหม่านานไปข้าวจะอ่อนเกินไปเหนียวเกินไปไม่น่ากินมันจะเละๆนะ   เมื่อได้ทีแล้วได้เวลาแล้ว เราก็เอาออกมาให้สะเด็ดน้ำพักไว้ในหม้อหรือคุรอผสมกับกะทินะ  ตอนที่ "ซาว" ข้าวออกมานี่ละกลิ่นข้าวใหม่นี่หอมชื่นใจมากเลยละ ชอบๆ 555
         สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างเวลาทำข้าวหลามของเราคือ "กะทิ" มะพร้าวแห้งนะต้องแห้งเท่านั้นจึงจะมันดี เก็บเอาตามต้นที่บ้านนั้นละ เรามีอยู่สองสามต้นต่สูงมากต้องรอร่วงหล่นมาอย่างเดียวจึงจะได้กินนะ เราเก็บเอาไว้ทำของหวานหรือขนมต่างๆ เอตอนนั้นพวกเราไม่มีใครรู้จักมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวเตี้ยนะ มีแต่มะพร้าวธรรมดา มะพร้าวไฟ นี่ละที่กินกันใช้กิน ส่วนมะพร้าวน้ำหอมนี่ไม่รู้ว่ามาตอนไหนในชีวิตเรา เราชอบกินมะพร้าวทีเดียวละ ชอบไปปีนต้นมะพร้าวที่ไม่สูงนะเอามากินอ่อนหรือดิบๆ ส่วนมะพร้าวแห้งนี้เก็บไว้นานๆก็มี "จาว" ให้กินนะอร่อยด้วยเลยละ ชอบมากหรือแย่งกันทีเดียวน่ะเพราะมันไม่ค่อยมีให้กินกัน
         เวลาเราเลือกมะพร้าวจะเอาลูกที่ไม่ "หลอด" เพราะจะไม่มีเนื้อ เอาไว้ทำที่ถูพื้นก็พอ 55 ตัดแบบผ่าครึ่งนะ และไม่มีหน่อ เพราะว่ามันจะมีเนื้อน้อย ไม่ค่อยมัน เพราะหน่อมันดูดกินไปหมด  เราจับมาเขย่าๆ ฟังเสียงน้ำข้างในหากมีน้ำก็เป็นใช้ได้ เพราะไม่น่าจะเสีย ไม่น่าเน่า   วิธีการ "ผ่า" มะพร้าวของบ้านเราก็ใช้มีดโต้หรือพร้านี่ละที่สับท้ายก่อน เป็นแนวขวาง หรือเรียกว่า "ปาดก้น" เหมือนปอกมะพร้าวน้ำหอมนะ จากนั้นก็สับเอาเปลือกออก สับเป็นชิ้นๆตามแนวยาว สับจากหัวหรือขั้วมาก่อนสักสองจึกต่อชิ้น แล้วเอามือดึงออกมาทีละชิ้นๆ จนรอบลูกมะพร้าว บางจุดจะเหลือเปลือกในหรือฝอยมะพร้าว ก็ต้องเอาออกให้หมด หากดึงไม่ออกก็เอามีดนั้นละสับเบาๆ นะ เพราะหากแรงไปก็จะโดนกะลามะพร้าวได้ จากนั้นก็เอามีดขูดเอาฝอยออกให้หมดให้กลิ้งเพื่อที่เวลาขูดมันจะไม่มีขุยออกมาผสมกะทิ เราก็เป็นมือผ่าไม้พร้าวเลยละผ่าเร็วผ่าดีคนเอาไปขูดต่อก็ง่าย 
      บ้านเราไม่เคยไปซื้อน้ำกะทิหรือไม้พร้าวขูด เพราะว่าเราไม่เคยรู้จัก กะทิกล่องก็ไม่มีในสมัยนั้นมั้ง ก็ไม่รู้จักอีกนะ เราใช้การ "ขูด" เอาเครื่องมือก็คือ "กระต่าย" ขูดมะพร้าวนั้นละ เป็นเหล็กตรงๆที่มีปลายแบนๆมีหยักหรือเดือยเอาไว้ขูดมะพร้าว เสียบหรือตอกตะปูกับเก้าอี้ไม้เล็กๆแบบนั่งกับพื้นโดยเฉพาะ กระต่ายบ้านเราไมมีลวดลายหรือรูปทรงสวยๆนะ เป็นแบบธรรมดาๆ การขูดมะพร้าวเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือนะ เพราะต้องขูดให้หมด ไม่เหลือ ขูดให้ละเอียดไม่หยาบๆเป็นชิ้นๆ ไม่ขูดเอากะลาออกมาด้วย ที่สำคัญไม่ให้มืดโดยกระต่ายเลือดไหลได้เลยละ 55555  มะพร้าวที่ปอกเปลือกแล้วจะผ่าครึ่งทางขวาง นั้นก็เป็นตัววัดฝีมืออีกอย่างว่า ผ่าเป็นมัย ต้องผ่าออให้ครึ่งลูก และรอยเรียบตรง ไม่เปรี้ยว ไม่แตก แบบนี้ไม่มีฝีมือ 555  หากมันแตก มันเปรี้ยวมันจะขูดยากนะ ไม่สนุกในการขูดเลยละ คนขูดจะบ่นว่า ใครผ่ามะพร้าวฟ่ะไม่มีฝีมือเลย 555
          มะพร้าวที่ขูดออกมาใหม่ๆตรงหน้ามันจะอ่อนๆหวานๆชุ่มน้ำมะพร้าว ไม่มันมาก เราชอบเอามากินกันอร่อยๆดีเหมือนกันนะ เพราะเขาไม่ว่าเอาไปคั้นมันก็ไม่มันก็กินกันได้เลย เอามากินเฉยๆนี่ละ ส่วนเนื้อมันๆก็เอาไปค้นต่อ ส่วนเนื้อที่ติดเปลือกนั้นเป็นตัววัดฝีมือในการขูดนะว่าใครจะหมดมากว่ากันและไม่ขูดเอากะลาออกมา แต่มันจะมันมากกว่าส่วนอื่นๆ คงคล้ายเนื้อติดมันนั้นละ 
          บางครั้งพวกเราอัดใจไม่ไหวหรืออยากจะกินก็เอาเนื้อมะพร้าวที่ขูดแล้วนี่ละ มาทำ "ข้าวเหนียวหัวหงอก" เอามะพร้าวมาผสมกับข้าวเหนียวบี้ให้เข้ากันอย่างดีจนแตกๆเป็นเม็ดหรือให้คลุกให้เข้ากัน บางคนก็โรยน้ำตาลให้หวาน บางคนก็ไม่โรย กินกันแบบนั้นสุดยอดของการกินอย่างหนึ่งของเรา มันอร่อย เราไม่ได้เรียกข้าวเหนียวหัวหงอก เราเรียกว่า "ข้าวเหนียวคลุกมะพร้าว" เป็นของหวานอย่างหนึ่งที่เรากินกันนานๆครั้งละ อาศัยตอนที่เขาขูดกะทินี้ละแอบจิกมาเป็นประจำในการทำข้าวเหนียวกิน 555 เพราะจะให้ผ่ามะพร้าว เพื่อมาทำข้าวเหนียวแบบนี้กินอย่างเดียวก็ไม่คุ้มน้ะ
          เวลาคั้นกะทิก็เอาเกลือโรยหน่อยหนึ่ง ให้มันเค็มๆนิด เราเชื่อว่าจะทำให้กะทิออกมามากขึ้น เราต้มน้ำร้อนเอาน้ำร้อนนี่ละมาเป็นตัวผสมมะพร้าวขูด ทำไมต้องน้ำร้อนเราเชื่อว่ามันจะทำให้กะทิออกมามากขึ้น เพราะโดนความร้อนจึงทำให้น้ำมันละลายออกมาดี นั้นละภูมิปัญญาของเราอย่างหนึ่ง น้ำร้อน กับ เกลือในการคั้นกะทิ  คั้นเอาสักสองหรือสามรอบให้ได้น้ำตามที่ต้องการ ส่วนมากเราทำก็มะพร้าว 2-3 ลูกนะจะได้น้ำเยอะหน่อย ตามแต่ว่ามีมะพร้าวมากขนาดไหน หากมากก็คั้นเอาสัก 2 น้ำ เอาแบบมันๆ น้ำกะทินี่ละจะเป็นตัวตัดสินว่าข้าวหลามจะมันขนาดไปกัน5555  เวลากรองจะมีตะแกงเล็กๆ เอาไว้กรองน้ำกับกาก เป็นอลูมิเนียมเรียก หล็กกรองมะพร้าว" รูปทรงโค้งๆ มีรูๆ มีด้าม มีหู เอาไว้ห้อยจะได้ไม่ต้องจับ เราก็คั้นกะทิใหส่หม้อหรือคั้นใส่ในข้าวที่แช่เอาไว้แล้วและสะเด็ดน้ำเอาไว้แล้วได้เลย ...อ่านต่อ ตอน 2

 


Create Date : 14 เมษายน 2563
Last Update : 21 เมษายน 2563 10:28:45 น. 0 comments
Counter : 1378 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space