space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตำนานรถเกี่ยวข้าว
              การเกี่ยวข้องของบ้านเราจะเป็นการเกี่ยวข้อวแบบใช้มือเกี่ยวตั้งแต่เกิดเราก็เกี่ยวกันแบบนี้ ใช้ "เคียว" เกี่ยวข้าว เคียวใหญ่บ้าง เคียวเล็กบ้าง แล้วแต่ว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กเกี่ยว คนที่เกี่ยวข้าวเป็นและเก่งจะเกี่ยวได้วันละหลายไร่หรือเกี่ยวไว ทำให้เสร็จไว หรือมีคนมากก็จะเสร็จไวเหมือนกัน ถามว่าเกี่ยวข้าวเหนื่อยมัย ไม่เหนื่อย ร้อนมัยไม่ร้อนเพราะมันเป็นหน้าหนาวแล้ว แต่ที่ลำบากตอนเกี่ยวข้าวคือ "ข้าวล้ม" หรือ "ข้าวพันกัน" นั้นละทำให้มันปวดหลังต้องก้มจนสุดเกี่ยวเอาจากพื้นดินโน้นเลย หรือ มันพันกันต้องตักได้ทีละไม่มีรวง กว่าจะได้ทั้งกอหรือได้เป็นกำต้องเกี่ยวหลายครั้้ง ทำให้ช้าไปในตัวด้วย  ที่สำคัญอย่าเพลอๆเมื่อไรได้แพลจาก เคียว นี้ละ เวอะหวะเลยทีเดียว มันจะเฉือนเอาที่ข้อนิ้วมือเรานั้นเอง 
         
        การเกี่ยวข้าวด้วยมือจึงเป็นวิถีการดั้งเดิมของพวกเรา คงเ็นแบบนี้มาแต่เดิมนั้นละน่ะ แต่เทคนิคต่างกันในแต่ละจังหวัดแต่ละประเทศขึ้นกับวิถีของแต่ละแห่ง เช่น เคยเห็นภาคใต้เกี่ยวข้าวแบบเด็ดเอาแต่รวงข้าว เคยเห็นชาวนาญี่ปุ่นเกี่ยวยันโคนกอข้าวเลยละ เป็นต้น นี่แค่ตัวอย่างของการเกี่ยวข้าว ยังไม่รวมพิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเกี่ยวข้าว แต่ของเราไม่เคยเห็นคนตาหรือน้าทำพาทำอย่างไร หรือเขาทำกันแต่เราไม่เห็น ก็ได้ อันนี้ขอไม่มั่นใจนะ  
          ช่วงที่ข้าวพร้อมที่จะเกี่ยวจะเป็นช่วงที่น้ำลดลงเก็บหมดละ แต่มีขังในบางแห่งที่เห็นที่ลุ่มหรือเป็นร่องๆ เม็ดข้าวจะออกเป็นสีเหลืองเกือบจะทั้งรวงหรือทั้งกอนะ ใบก็เริ่มแห้งแล้ว เพราะหากข้าวยังไม่แห้งจะทำให้ข้าวลีบ บาง มอดกัดกินได้ เสียหายไปเวลาที่ทำเป็นข้าวเปลือก น้ำหนักไม่ดี กินไม่ดี ไม่อร่อย ขายก็ไม่ดี เก็บเอาไว้ก็ไม่ได้นาน ขนาดเราเลือกหรือดูดีแล้วก็มีหลุดมาบ้างเพราะบางครั้งมีบางกอหรือบางต้นมันเพิ่งออกมาทีหลังเพื่อนงัย  (กลับไปอ่านตอนนาผาย ขะเข้าใจได้มากขึ้น) 
         ต่อมามีคนนำ "รถเกี่ยวข้าว" เข้ามาในพื้นที่เพื่อบริการเกี่ยวข้าว พวกเราตื่นเต้นกันมากว่ามันเกี่ยวข้าวได้อย่างไร แบบไหน เวลามีการเกี่ยวข้าวพวกเราก็ตามกันไปดู ไปพิสูจน์เป็นของแปลก เพราะเราไม่เชื่อว่ามันจะเกี่ยวได้ ต้นข้าวจะไปไหน เม็ดข้าวไปไหน เฟียงไปไหน เกี่ยวหมดไหม เกี่ยวได้ไหม ฯลฯ นับว่าเป็น"นวัตกรรม" ทางเกษตรเลยละในตอนนั้น "รถเกี่ยวข้าว" นี่ สอบถามได้ว่ามาจากภาคกลางที่เขา "นาปรัง" กัน พอว่างก็เลยมาหาบริการทางจังหวัดอื่นๆ (การทำนาปรังของพวกเราก็เพิ่งจะเคยได้ยินนะ เป็น "นวัตกรรมอีกอย่างเลยละในการทำนา เรื่อง นาปรัง แต่บ้านเราไม่มีนะตอนนั้น เพราะไม่มีองค์ความรู้ และไม่มีน้ำด้วย ว่าทำอย่างไรนาปรัง เคยได้ยินพระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ที่จังหวัดลพบุรี เขาทำนากันปีละ 2-3 ครั้ง เขาทำข้าวเอาไว้ขายกัน) 
       ตอนที่รถเกี่ยวข้าวมาใหม่ๆนั้น ยังไม่สามารถบริการได้ทั่วทุกผืนนาด้วยลักษณะสภาพพื้นที่เป็นหลักเพราะทางไปไม่มี ต้องผ่านนาคนซึ่งยังไม่แก่ หรือมีน้ำขังสูง เลยเข้าไปตะลุยได้ไม่เต็มที่ อีกอย่างคนบ้านเรายังติดกับการเกี่ยวข้าวด้วยตนเองอยู่ด้วย การใช้รถเกี่ยวข้าวเลยยังไม่แพร่หลาย (ในยุคนั้น)  มีอีกเหตุผลหลักที่คนเขาไม่ใช้รถเกี่ยวข้าว คือ ชาวนาเราเชื่อว่ามันเกี่ยวข้าวได้ไม่หมด มันเหยียบกอข้าว มันได้ข้าวน้อย มันทำให้หญ้าข้าวนกแพร่กระจาย นั้นละเห็นผลหลักของการที่รถเกี่ยวข้าวยังไม่ตอบโจทย์พวกเรา  จริงเท็จจอย่างไรเจ้าของรถเกี่ยวก็พยายามชี้แจงเต็มที่  
        สุดท้ายรถเกี่ยวข้าวเป็นอย่างไรบ้างเราไม่รู้ได้ แต่ในปี 2536 นั้น รถเกี่ยวข้าวยังไม่เป็นที่นยมของชาวนาในแถบบ้านเรา ยังคงการเกี่ยวข้าวแบบดั้งเดิมอยู่ อาจจะเป็นเพราะว่า มันต้องจ่ายค่ารถเกี่ยวข้าวเพิ่ม หรือการไม่มีงานอื่นๆทำนอกจากทำนาเลยไม่รู้ว่าจะรีบไปไหนทำไม  คนบ้านเราก็ไม่มีคนซื้อรถเกี่ยวข้าวเอาไว้บริการนะ เพราะไม่คุ้มที่จะทำ..... นี่ละรถเกี่ยวข้าว ที่อยู่ในแถบบ้านเรา
         



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 15 เมษายน 2563 19:18:18 น. 0 comments
Counter : 726 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space