space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 เมษายน 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน สีข้าว
       แม้ตอนนั้นบ้านเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ที่หมู่บ้านก็มี "โรงสีข้าว" ล่ะนะ เป็นโรงสีที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงานไม่ใช่ไอน้ำ (ไม่เก่าขนาดนั้น 555) ลักษณะของโรงสี ้เป็นส่วนหัวจักร ส่วนสายพาน และส่วนเครื่องยนต์มีถังน้ำหล่อเย็นเอาไว้ด้วย น้ำที่ไหลออกจากเครื่องจะอุ่นๆ เราชอบไปจับดูมันแปลกดีนะ เวลาจะเริ่มต้นต้องหมุนเครื่องยนต์ก่อน หมุนแบบเป็นล้ำเป็นสันมาก ต้องใช้แรงหนักๆเลยละ เราชอบไปดูตอนเขาสตาร์ทเครื่องนะ ใช้ด้ามเหล็กหมุนไปช้าๆจากนั้นเร็วขึ้นตนเครื่องมันติดเป็นอันใช้ได้ ฟังเสียงหมุน กับเสียงตอนติดครั้งแรกก็เพลินดี ตอนหมุนจะได้ยินเสียงจานหมุน วืดๆๆ พอเครื่องติดจะคล้ายๆมันระเบิดออกมาก่อน หากให้เปรียบเทียบก็เหมือนคูโปต้ารุ่นแรกๆหรือเดี๋ยวนี้ก็มีมั้งแบบใช้มือหมุน แต่โรงสีมันจะหนักมือหรือฟิดกว่ามาก เราลองหมุนบ้างแต่ไม่รอดนะ แรงไม่พอ 
      เมื่อเครื่องเดินแล้วก็พร้อมสีข้าวละ เทข้าวเปลือกไปที่ถาดใหญ่ๆตอนบนโรงสีให้มันไหลเข้าหินโม่ จนออกมาเป็นข้าวสาร ปลายข้าว รำแก่ รำอ่อน แกลบ แยกไปตามช่องที่กำหนดเอาไว้ให้แล้ว ส่วนข้าวสารหากยังมีข้าวเปลือกผสมมากเกินไปก็สีอีกรอบจนพอใจ จึงเสร็จ
      พวกเราว่าโรงสีมีคุณภาพมากน้อยขนาดไหน คือ ใครสีได้ข้าวสารมากกว่ากัน ใครไม่มีหินมากกว่ากัน (หินที่ว่าคือหินขัดที่หลุดออกมาจากโรงสี เวลาเคี้ยวนี้ฟันแตกเลยละ ของเรานี้หลายครั้งนะที่ฟันแตหก หมดอร่อยไปเลยละ 55) ใครเร็วกว่ากัน เราก็จะไปสีที่โรงสีนั้นนะ เพราะว่าการสีข้าวสมัยเริ่มแรกเขาไม่คิดเงิน แต่เขาจะเอาปลายข้าว แกลบ รำข้าว เอาไปขายหรือเลี้ยงหมูของเขา เลยไม่ได้คิดเงินจากคนเอาไปสีข้าว  ส่วนมากโรงสีก็จะเลี้ยงหมูของตัวเองเอาของที่ได้นั้นละไปเลี้ยง
       แกลบที่ได้จากโรงสีนั้นสมัยก่อนเขาให้เอาฟรี ใครอยากได้ก็ไปใสกระสอบขนกันเอาไป พวกชาวบ้านต้องแย่งกันเลยนะแกลลเอาไปใส่สวนหรือคอกควาย ทำเป็นปุ๋ยต่อไป หรือเอาไปเผาถ่านไม้นะ ส่วนโรงสีก็ยินดีเพราะมันกินพื้นที่ ยิ่งสีข้าวมากแกลบยิ่งมาก เสียพื้นที่ไปเปล่าๆ จึงเอื้อประโยชน์กันนั้นละ
       เวลาเอาข้าวไปสีจากยุ้งก็ใส่กระสอบไป บางคนก็เขียนชื่อ ไม่เขียนชื่อ แต่เจ้าของโรงสีเขาก็จำได้นะ เพราะเวลาสีต้องแยกกันสีอยู่แล้วละ ไม่มีใครโมเมเอาของคนอื่นๆ เพราะทุกคนก็มีข้าวของตนเอง ส่วนมากใช้เวลาสีสองสามว้นนะหรือไปถามบ่อยๆเขาก็จะสีให้เองละ 555 แล้วก็เอา "รถชุก" ไปขนเอากลับมาที่บ้าน
        ต่อมาเพื่อมีไฟฟ้าเข้าไปในหมู่บ้านก็เริ่มมีโรงสีไฟฟ้า เพิ่มขึ้นมากอีก ทำให้มีโรงสีหลายๆที่ บางแห่งเริ่มเก็บเงินค้าสี เพราะลูกค้าน้อย ได้รำ ได้ปลายข้าวน้อย ไม่คุ้ม ต่อมาแกลบก็ขาย เพราะไม่คุ้มเหมือนกัน ต้องหารายได้เพิ่มมาเดินเครื่องว่างั่นเถอะ ต่อมาพ่อเจ้าของโรงสีแก่เฒ่ามาก็ไม่มีลูกหลายต่อยอดก็พังไปโรงสีก็หยุดกิจการกันไปหลายโรงนะ เพราะมันไม่คุ้มที่ต้องมาสีข้าว ไม่ได้กำไรอะไร  แรกๆก็ดีแต่ต่อมาก็เป็นกิจการที่ไม่ดี พวกเราไม่ได้เดือดร้อนอะไรเพราะปีหนึ่งๆก็สีข้าวกันไม่กี่ครั้ง จ่ายเงินก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก นานๆทีว่าอย่างนั้นละ บางครั้งโรงสีเสียเราก็ย้ายข้าวไปสีที่โรงอื่นได้เขาไม่ว่าอะไร
       โรงสีกลายเป็นจุดเล่นหรือจุดไปเที่ยวกันของพวกเราเด็กๆสมัยนั้น เพราะได้เห็นมันสีข้าวหรือไปเล่นกองแกลบก็มีความสุขแล้ว อีกอย่างส่วนมากที่โรงสีเขาจะปลูกมะม่วงเอาไว้ เราก็ไปยิง ไปสอย ไปปีนมะม่วงกินกัน เขาก็ไม่ว่าอะไรนะ นี่ละ ....โรงสีข้าว...      



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 17 เมษายน 2563 11:52:29 น. 0 comments
Counter : 264 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space