space
space
space
 
มีนาคม 2563
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
28 มีนาคม 2563
space
space
space

เถียง ๒๕๒๘ ตอน ทางเกวียน ทางควาย ทางคน ทางเดียวกัน
       เกวียน ที่ว่า คือ เกวียนเทียมควาย เทียมวัวจริง ควายที่ว่าคือ ควายจริง คนที่ว่าก็คนจริงๆ นะ 5555  ช่วงต้นๆของชีรี่ย์นี้ได้เล่าให้ฝังถึงทางเข้าไร่ กับถนนที่เติมโตหรือเจริญมาจากทางเกวียน มาแวบๆ วันนี้จะขอเล่ารายละเอียดให้ได้อ่านกันก็แล้วกัน บางคนอาจจะคิดภาพไม่ออกว่า มันเป็นอย่างไรหรือทางเกวียน ภาพถ่ายเดี๋ยวจะพยายามค้นเฟสที่ถ่ายเก็บไว้สมัยไปที่ประเทศเมียนมาร์ก็แล้วกัน เอามาประกอบให้ดูได้ชมกันนะ

      สมัยที่จำความได้ที่หมู่บ้านของราไม่มี ตัวเกวียนแล้ว มีการใช้รถยนต์ จักรยาน มอเตอไซค์แล้ว เลยหายไป แต่ตาเคยเป็นนาย "ฮ้อย" ค้า "ควาย" ค้า "วัว" เลยต้องมีเกวียนเอาไว้เดินทางไปตามขบวนนาย ฮ้อย  แต่ตาไม่ได้เก็บเอาไว้ให้ชม สงสัยตอนเราเกิดก็คงมีอยู่ พอจำความได้น่าจะพังไปหมดละ ทั้งหมู่บ้านเราก็ไม่เคยเห็นนะ เกวียนสัก "เล่ม" หมู่บ้านข้างๆของเราจะมี คงพุพังกันตามเวลา

       ที่รู้จักเกวียนนั้นก็เพราะคนแก่คนเฒ่าเพิ่นเว้าให้ฟังว่ามันเป็นล้อใหญ่ๆ 2 ล้อ มีโครงมันแบบสามเหลี่ยม มีไม้กระดานหรือไม่ไผ่สานหรือตีเป็นตัวมันเอาไว้นั่งเอาไว้บรรทุก ใช้ควาย ใช้วัวลากเอา สมัยก่อนเอาไว้ไปไร่ไปนาทำมาหากินเป็นของปกติมีทุกบ้าน  ถนนหรือทางที่เกวียนผ่านจะเป็นร่องลึกๆ สองร่องคู่กัน บางแห่งมันเป็นดินทรายก็กลายเป็นร่องน้ำใหญ่ยาวๆไป เราจะเรียกว่า "ทางเกวียน" หากใช้ กูเกิล เอิท ส่องดู ก็จะเป็นเป็นคันหรือคูหรือต้นไม้เป็นแนวๆๆแถวๆ เป็นเส้นๆๆ คล้ายถนน ออกจากหมู่บ้านไปตามทิศทางแตกต่างกันไปนะ เสียดายสมัยนั้นไม่มีภาพเก็บเอาไว้หรือ กูเกิล เอิท ยังไม่มา
         ต่อมาไม่มีคนใช้เกวียนแล้วแต่ทางเกวียนก็ยังเป็นทางสัญจรของคน กับ วัว กับ ควายอยู่ เอาไว้เดินทางสัญจร เดินบ้าง ปั่นจักรยานบ้าง ขี่มอเตอร์ไซค์บ้าง เราก็ยังเรียกว่า ทางเกวียนนะ ทางเกวียนบางแห่งอยู่รอบหมู่บ้าน บางแห่งแยกออกจากถนนกลางหมู่บ้าน คล้ายๆซอย บางแห่งตัดออกไปตามนา แบ่งเส้นออกไปยังหมู่บ้านอื่นๆ  มีทางเกวียนที่เราคุ้นเคยมากอยู่หลายๆเส้นนะ ที่ใช้สัญจรเป็นประจำ สมัยที่เราจำความได้นี้ทางเกวียนต่างๆมั้งไม่ต่อเนื่องแล้ว มีขาดๆ หายๆ เป็นคนนาบ้าง เป็นพื้นนาบ้าง เป็นถนนบ้าง แต่ยังเห็นเค้าๆเดิมอยู่
         เส้นแรกอยู่หนังสวนของเราตัดออกจากมาจากถนนก่อนเข้าหมู่บ้านและอ้อมทางทิศใต่ของบ้านมาที่สวนเราพอดี ระยะทางสัก กิโล 1 เห็นจะได้ เส้นนี้ใช้เวลาเดินไปกลับโรงเรียน เพราะไปโพล่ตรงใกล้ทางเข้าโรงเรียนพอดี หากไม่อยากเดินผ่านหมู่บ้านก็๋จะตัดผ่านทางเกวียนนี้แทน นอกจากนั้นไฮไลท์ของทางเกวียนนี้ยังมีหลายอย่าง อันแรกมีผลไม้ท้องถิ่น เราเรียกมันว่า "ต้นไขสู่" ผลคล้ายเสาวส (มั้ง) กินเม็ดในเหมือนกันแต่หวาน ไม่เปรี้ยว ต้นไม่สูงสัก 3 เมตรได้ เอาไม้ตีเอาได้ มีต้นหนึ่งริมทางเกวียนของญาติกัน เขาไม่หวง เดินผ่านไปมาก็ส่องดูว่ามีลุกสุกใหม หากสุกจะสีแดง ขาดไม่เกินกำปั้นเรา ทุกวันนี้ผลไม้นี้คงไม่มีให้เห็นละ หายไปละ  อันต่อมาคือ ทางเกวียนนี้ผ่านต้นไม้ใหญ่ๆ และหลังวัด แน่นอน "ผี" จึงเป็นสิ่งตามมานั้นเอง เวลากลางคืนหรือค่ำๆเราจะไม่ผ่านทางเกวียนนี้เพราะกล้ว ผี เขาเล่าว่าเดี๋ยวผีจะมาหลอก มาโน้มต้นไม้มาเล่นด้วย แบบนี้ เสียวเลย  อันสุดท้ายของทางเส้นคือ ด้านข้างมีกอไผ่ใหญ่ หรือไผ่เผาข้าวหลาม ขนาดใหญ่ๆหลายกอ มีหนามแหลม คมๆ ร่วงมาตามทางเกวียน ทำให้เวลาเดินต้องระวังมาก เคยโดนหนามไผ่ตำและเกี่ยวเป็นประจำ  พื้นรองเท้าฟองนำ้นี่ละตัวโดนประจำ หนามเสียบเข้าไปจนเม็ด โพล่มาแต่ปลายหนามไผ พอให้เจ็บ พอให้คัน   
         ทางเกวียนต่อมา คือ ระหว่างบ้านค้อกระบือกับบ้านก่อ ระยะยาวนะ 10 กม. เห็นจะได้ ทางเกวียนผ่านข้างโรงเรียน ข้างป่าช้า ข้างวัดป่า เป็นเส้นทางออกจากหมู่บ้านติดไปตามทุ่งนา เอาไว้สัญจรข้ามหมู่บ้านกับไปทำนา ทำสวน ไปวัด ไปป่าช้า เอาควายเอา วัว ไปเลี้ยงกลางทุ่ง  ทางเกวียนเส้น นี้จะเป็นพื้นทรายหมดเป็น สัญจรมากจนกลายเป็นร่องลึกมีทราย มีน้ำขัง สองข้างเป็นคันนาใหญ่ๆ จนหากคนไม่รู้จะสงสัยว่าเขามาขุดคลองเอาไว้แล้วมันพังหรือ  ไฮไลท์ของเส้นทางนี้ เขาลือว่า ผีมีนะ โดนกันมาหลายคนแล้วว่าอย่างนั้น มาขย่มต้นไม้ มาหลอกว่ากัน อันนี้เขาเล่ากันต่อๆมา เราเองก็ไม่เคยพิสูจน์ เพราะว่า พอกลางคืนหรือหัวค่ำเราก็ไม่ผ่านกันแล้วละ 
          ทางเกวียนอีกเส้นคือทางเกวียนไปนาเรา ยาวสัก 3-4 กม.  กว่าจะถึงนา แต่ก็ใช่ว่าจะไปถึงนาเราเลยต้องต่อไปตามคันนาอีกทีหนึ่ง เป็นทางเกวียนที่ออกจากหมู่บ้านอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นทางไปทำนาของคนที่อยู่นาทุ่งน้ำหลาก คล้ายกับทางเกวียนที่แล้วคือเป็นร่อง เป็นทราย มีคันดินสองข้างทาง คล้ายกับขุดเลยทีเดียว มีบางช่วงมันลึกมากจนเราเดินในร่องนั้นไม่ได้ต้องมาเปิดทางเดินกันริมๆนั้นละ ต่างคนต่างเดิน ต่างควายต่างเดิน จนดินเละไปเลย ต้นข้าวเขาก็เหยียบไป เขาก็ไม่ว่า (ม้ัง) เพราะมันไม่มีทางให้ผ่าน พอน้ำมามากๆจะท่วมทางเกวียนนี้ต้องลุยน้ำกันเดินเลยละ ระวังปลิงด้วย ระวังจรเข้ด้วย (ซึ่งไม่เคยเห็นแต่กลัวเอไว้ก่อน) นอกจากความลำบากแล้ว ไฮไลท์ของเส้นนี้คือ ระหว่างทางจะมีผลไม้ให้กินนะ "บักแซว" หรือมะกอกน้ำ ลูกเล้ก ก้นแหลมๆ กินได้ท้องอ่อน หนุ่ม แก่ และสุก บีนเอา เขย่าเอา หรือหากมันสุกก็จะลอยน้ำมาก็สบัดและกินได้เลย  ไม่กลัวสกปรก นะตอนนี้ ผลไม้อีกชนิดคือ "บักผีผ่วน" อันนี้เรียกกลางว่าอะไรไม่รู้ ลืมละ สอยกินโน้มกินเอาตามข้างทาง ยังมีอีก "บักหว้า" ลูกเล็กลุูกใหญ่ "บักหว้าน้อย" ลูกเล็กๆ "บักหว้าชมพู" ขะลุกใหญ่สีออกชมพูหน่อยๆ เก็บกันปีนต้นกิน ปากดำปากแหล่หมดเลย ดำยันตอนออกมานะ แต่ต้องแย่งกับนกกับหนูกันหน่อยหนึ่งละ เพราะมันก็ชอบกินเหมือนกัน 
            อีกเส้นหนึ่งเป็นทางเกวียนข้างที่นาเรา อันนี้สัก 300 เมตรนี้ล่ะ มันเป็นร่องลึกจนกลายเป็นคลองเลยทีเดียว มีต้นไม้ระหว่างทางน้อยๆกระจายกัน เป็นคันนา สองฝั่งที่เป็นเขตแดนนาพอดี เวลาหน้าฝนนี้หญ้าขึ้นเต็มไปหมดคลุมเกือบเต็มทาง เดินแทบไม่ได้ ตรงปลายจะเป็นที่ลุ่มมีต้นไม้มากๆ ปลาชอบมาอยู่ มากองรวมตัวกัน เราก็ไปขุดสระขนาดใหญ่เอาไว้ เป็นสระที่ขุดแรงงานเราสองคนนะล฿กและหว้างยาวทีเดียว สระนี้ขุดตอนปี 2532 นี่ละ เพราะออกโรงเรียนพอดี ทำให้ปลามาอยู่มาอาศัยได้มากขึ้น ตรงปลายทางเกวียนที่ผ่านข้างนาเรานี้จะทำเป็นผนังไม้หรือคันดินเอาไว้ดักปลา ด้วย "ไซ" นะ เพราะเลยไปอีก สัก 2 กิโลจะเป็น "หนองควาย" ที่ใหญ่มาก ปลาจะไปกองไปรวมกันอยู่ที่นั้น เราเลยดักปลากัน บางครั้งได้มากๆเต็ม "ไซ" เลยทีเดียว ทั้งปลา ปู งู แมง ต่างๆ บางครั้งมีปลิงด้วย  ที่เราชอบที่สุดคือตอนเกี่ยวข้อง น้ำในทางเกวียนนี่จะ "ขอด" ลงจนแห้ง ปลาต่างๆติดตามร่องน้ำ ติดตาม "บวก" ต่างๆ ส่วนมากเป็นปลา "สูตร" ปลา "สบทง" เต็มไปหมด เราชอบไปจับไป "สระ" หรือ วิด กันจนหมด ช่วงนี้คงเป็นช่วงที่สนุกที่สุดของการทำนานะ 
        นอกจากจะไปทางเกวียน ทางควาย ทางคน แล้ว "ทางเกวียน" ที่ว่าทั้งหลายยังเป็นแหล่งทำมาหากินของพวเราชาวนาด้วยนะ เพราะตามทางเกวียนต่างๆมี น้ำ มีคันนา มีต้นไม้ ดังนั้นจะกลายเป็นแหล่งอาหารของพวกเราทั้งหลายเลย ไม่ว่าจะไปจับปลา ไปใส่เบ็ด ไปวิดปลา ไปส่องปลา ไปหามิ้ม ไปเก็บเห็ดผึ้ง ไปยิงกะปอม ไปยิงหนู ไปยิงนก ไหหางูสิง ไปหาหมากไม้กินกัน  ทางเกวียนที่ว่าสามารถตอบโจทย์พวกเราได้เป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตาม ทางเกวียนทุกแห่งจะเปลี่ยวนะและได้ข่าวว่ามีผีทุกแห่ง ตรงไหนผ่าวัด ผ่านป่าช้า ผ่านต้นไม้ใหญ่ บอกเลยว่ามีเรื่องเล่าไม่สิ้นสุด ขึ้นกับว่าใครจะเจออะไร ไปช่งกลางวัน หรือ กลางคืน ก็ตัวใจตัวมัน  
        บรรยากาศและอารมณ์ในการเดินหรือใช้ทางเกวียนนั้น มันเป็นอีกอารณ์นะ หน้าแล้ง หน้าฝน หน้าน้ำท่วม หน้าหนาว แม้จะเป็นทางเดิม แต่สภาพทางจะต่างๆกัน ต้นไม้หรือฝลไม้ข้างๆทางก็ต่างกัน ความยากในการเดินก็ต่างกัน ความระวังก็ต่างกัน วิวทัศนืก็ครนละอย่าง แม้จะไกลหลายกิโลเมตร ก็ไม่เคยบ่นหรือท้อนะ ทั้งที่แบกของไปนากันมากมาย ก็ไม่ได้คิดว่ามันไกลนะ เพลินๆไปจนถึงนาเราละ  กลิ่นของโคลนจากทางเกวียนนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง  มันจะมาจาก ดินโคลน น้ำขัง หญ้าเน่า ต้นข่าวเน่า ขี้ควาย ขี้วัว ใบไม้เน่า น้ำ กลิ่นคาว กลิ่นนี้จะเปลี่ยนไปตามช่วงน่ะหน้าร้อนกลิ่นหนึ่ง ฝนกลิ่นหนึ่ง หนาวกลิ่นหนึ่งนะ ต้องลองไปย้ำไปเดินกันดู 
        เรื่องของเกวียน ทางเกวียน การใช้เกวียน จะยังไม่ชัดเจนหากไม่ได้มีโอกาสไปดูงานเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พม่าตอนกลางแถวลุ่มน้ำอิริวดี แถวมรดกโลกพยู เมืองฮาลิน เมืองไบถาโน เมืองศรีเกษตรนะ เพราะคนที่นั่นเขายังใช้เกวียนในชีวิตประจำวันกันอยู่เป็น "ปกติ" ตามหมู่บ้านต่างๆมีางเกวียนแบบที่กล่าวมาเหมืนอที่บ้านตอนนั้น สองข้างทางลาดยาง มีรอยเกวียนทั้งซ้ายและขวา  ตอนเช้าจะเห็นชาวนาเอาขี่เกวียนไปทำงานทำนาทำไร่ ตอนเย็นจะขี่เกวียนกลับมาพร้อมกับบรรทุกของจากนาจากไร่มาด้วย หรือมีวัวฝึกหัดเกวียนเดินลองเกวียนเต็มไปหมด มีภาพหนึ่งที่ประทับใจมากคือ ตอนเย็นๆ จะมีขบวนเกวียนเดินต่อแถวกันมาบรรทุกด้วยข้าวจากนาเต็มลำหรือหญ้าหรือฟางเต็มลำเกวียน กำลังเข้าหมุ่บ้าน ผ่านเจดีย์โบราณสมัย 1000 ปีที่ผ่านมา ผ่านวัดต่างๆที่โบราณ จนเข้าหมู่บ้าน มีเสียงกระดิ่งวัวดังเป็นจังหวะ ตามการก้าวของวัว บนท้องฝ้าเหนือหมู่บ้านจะมีควันไฟพวยพุ่ง ล่องลอยจากเตาฟืน เตาถ่านที่ทำอาหารเป็นเส้นสาย กลิ่นควันไฟชัดเจน มันคล้ายกับภาพวาดงานศิลปะชั้นครูเลยทีเดียว (พยายามค้นภาพในเฟสบุกอยู่ว่ามันอยู่ไหน น่าจะปี 2557 หรือ 2558 นี่ละ)  ทุกวันนี้ก็สามารถไปดู ไปชมได้นะ น่าจะเป็นเมืองมรดกโลก "ฮาลิน" ตรงปลายของแม่น้ำอิระวดี ไม่อยากบอกว่า "เมืองฮาลิน" เป็นเมืองในฝันสำหรับเราเลยละ วันหลังจะมาเล่าสู่กันฟังนี้ แต่คงอีกนานอยู่ ดูภาพไปก่อนก็แล้วกัน
        ทางเกวียนเดิมจากสมัยก่อน ตอนนี้เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นถนนหนทางเป็นซอยไปหมดละ คนทุกวันนี้คงมองถาพไม่ออกกันแล้วว่ามันเคยเป็ฯทางเกวียนนะ ลองนึกพัฒนาการของมันดูจาก เริ่มจากการตกลงด้วยวาจาว่าเว้นทางเดินเอาไว้ จากนันมีมีเกวียน มีคน มีสัตว์เดิน กลายเป็นแนวทาง กลายเป็นร่อง พอเกวียนหมดก็กลายเป็นางคน ทางควาย ทางวัวเดินไป จากนั้นก็ถมกลายเป็นถนน เป็นซอย สุดท้ายลาดยางมะตอย ลาดคอนกรีต จนกลายสภาพอย่างปัจจุบัน



Create Date : 28 มีนาคม 2563
Last Update : 31 มีนาคม 2563 14:32:56 น. 0 comments
Counter : 915 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space