Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
27 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

เทคนิคการสัมภาษณ์และการสังเกต

เทคนิคการสัมภาษณ์และการสังเกต

การสัมภาษณ์เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ไม่ใช่ใครๆ ก็เป็นผู้สัมภาษณ์ได้
สถานประกอบการบางแห่งมีการฝึกผู้ประเมิน (Assessor) เป็นเวลาถึง 3 ถึง 5 วัน
เพื่อสอนวิธีการสัมภาษณ์แบบใหม่ วิธีประเมิน (Assess) ความรู้ความสามารถของผู้สมัคร
โดยจัดให้มีโรงงานจำลอง (Production Exercise) หรือเกมธุรกิจ (Business Game)
วิธีการอ่านพฤติกรรมจากแบบจำลอง (Behavior Simulation) เป็นต้น โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

เหตุที่สถานประกอบการต่างๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจและยอมทุ่มเทงบประมาณและเวลา
เพื่อใช้ในการคัดเลือกมากกว่าแต่ก่อนหลายเท่า
เนื่องจากเห็นว่าการคัดเลือก เป็นด่านแรกของกลยุทธ์ใช้คนสร้างข้อได้เปรียบ
เพราะถ้าปล่อยให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมกับงาน และเหมาะกับองค์การเข้ามาคนแล้วคนเล่า
โอกาสที่จะทำได้ดีเท่าหรือดีกว่าคู่แข่งเป็นไปได้ยาก เพราะยุคนี้แข่งกันหรือเฉือนกันที่คน

ผู้สัมภาษณ์ที่ดีจะต้องรู้จักสร้างบรรยากาศ รู้จักซักถามและค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักฟังและอดทนฟัง รู้จักวิเคราะห์คำตอบ รู้จักสังเกตคำพูด การแสดงออกทางสีหน้า และกิริยาท่าทาง
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรู้จักวิธีขจัดความลำเอียง

เมื่อผู้สมัครเข้ามาในห้องสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์จะต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่ง เพื่อช่วยให้ผู้สมัครผ่อนคลายความวิตก กังวล ความประหม่า
หรือความตรึงเครียดซึ่งมีอยู่ด้วยกันทุกคน และถือว่าเป็นธรรมชาติเพราะต้องเผชิญกับคนแปลกหน้า
ไม่คุ้นเคยกับสถานที่ รู้ว่าตัวเองจะต้องถูกตรวจสอบ แข่งขันกับผู้สมัครอื่น หรือกลัวว่าจะไม่ได้รับการคัดเลือก
ทั้งนี้ ผู้สัมภาษณ์อาจหาเรื่องอื่น หรือชวนผู้สมัครคุยเรื่องอื่นไปสักระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะวกเข้ากรอบการสัมภาษณ์ที่วางไว้ มิใช่อยู่ๆ ก็จู่โจมจนผู้สมัครตั้งตัวไม่ติด
การชวนคุยเรื่องอื่นเรียกว่า Ice Breakers เช่น อาจจะคุยเรื่องดินฟ้าอากาศ การเดินทางและการจราจร
หรือเรื่องที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ หรือกำลังฮือฮากันอยู่ เช่น ไข้หวัดนก เป็นต้น
แต่คงไม่ถึงขนาดปัญหาชายแดนภาคใต้ คดีอุ้มหรือเรื่องหนักๆ
ทั้งนี้ ผู้สัมภาษณ์จะต้องแสดงความเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส และแสดงความจริงใจ

เป้าหมายสำคัญของผู้สัมภาษณ์ก็คือ การค้นหาว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติตรงกับงานที่สมัครหรือไม่
พูดถึงคุณสมบัติก็ขอเน้นย้ำกับผู้สัมภาษณ์มือใหม่ว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องรู้ว่า
คาดหวังให้ผู้ที่จะมาทำงานในตำแหน่งนี้บรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง (Goals to be Met)

และการที่ผู้ที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งจะทำงานได้โดยเป้าหมายดังกล่าว
จะต้องทำชิ้นงานอะไรบ้าง (Tasks to be Performance)

เมื่อทราบทั้ง 2 อย่างแล้ว จะต้องรู้ว่าผู้สมัครควรมีคุณสมบัติเช่นใดบ้าง
ที่แน่ๆ ก็คือ ไม่ใช่แค่ระดับการศึกษา (Education) และประสบการณ์ (Experience)
แต่ยังรวมถึงความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills)


ข้อมูลอ้างอิง : //www.siamhrm.com
ที่มา : //www.lionjob.com




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 20:29:59 น.
Counter : 1840 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.