Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
20 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

ความผิดพลาด 8 ประการ ที่นักธุรกิจมือใหม่ควรเลี่ยง

ความผิดพลาด 8 ประการ ที่นักธุรกิจมือใหม่ควรเลี่ยง


1. ไม่ทำการวิจัยหรือสำรวจตลาดเพื่อดูว่า แนวคิดธุรกิจของเราสามารถพัฒนาหรือโตได้ไหม
อันนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาด
9 ใน 10 นักธุรกิจที่ประสบความล้มเหลว อาจเกิดจากสายป่านไม่ยาวพอหรือได้บุคลากรไม่เก่งมาร่วมงาน
แต่ 9 ใน 10 ของนักธุรกิจที่ล้มเหลว ก็มาจากไอเดียธุรกิจไม่เวิร์ก ต่อให้เก่งกล้าสามารถแค่ไหน ก็ " ล้ม " ได้
หากแนวคิดในการทำธุรกิจนั้นมีจุดอ่อนเพียบ


2. ประเมินสถานการณ์พลาด
ไม่ว่าจะเป็นขนาดของตลาด ช่วงจังหวะเวลาและการทำส่วนแบ่งตลาด
โดยส่วนใหญ่นักธุรกิจหน้าใหม่ มักตื่นเต้นที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการ จึงทุ่มลงทุนไปมหาศาล
โดยลืมนึกไปว่ามีลูกค้าสักกี่คนที่จะซื้อสินค้าของเรา
สมมติว่าตลาดแห่งหนึ่งมีลูกค้า 50 ล้านคน บางคนคิดว่าขอแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ของ 50 ล้านก็พอ
แต่รู้หรือไม่ว่าการทำ 2 เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องหมูๆ


3. มองโลกในแง่ดีเกินไป
นักธุรกิจมือใหม่ มักคำนวณค่าใช้จ่ายต่ำและไปคาดหวังกับยอดขายงามๆ แบบพุ่งกระฉูด
ยิ่งไปประกอบกับปัจจัยอื่นชวนล้มเหลว เช่น จ้างบุคคลากรเกินความจำเป็น
และทุ่มค่าใช้จ่ายไปที่สิ่งอำนวยความสะดวกในออฟฟิศมากเกินไป
หากยอดขายไม่เป็นดังคาด ขณะที่ค่าโสหุ้ยบานตะไทแล้วละก็ อย่างนี้มีแต่ต้องม้วนเสื่อสถานเดียว


4. จับคู่กับหุ้นส่วนที่ไม่จำเป็น
สมมติคุณต้องการทำธุรกิจตัวหนึ่ง จึงกวาดต้อนเพื่อนๆ มาถือหุ้น เพียงเพื่อต้องการเงินมาลงทุน
หากธุรกิจไปได้ดีเพราะมันสมองของคุณ
แทนที่ผลกำไรเป็นกอบเป็นกำจะตกเป็นของคุณหรือหุ้นส่วนสำคัญบางคน
แต่กลับต้องเฉลี่ยให้หุ้นส่วนจำนวนมากมายเหล่านั้นอย่างน่าเสียดาย
และในการทำธุรกิจแบบถือหุ้นกันมากหน้าหลายตา แต่ภายหลังกลับพบว่าแนวคิดไปกันไม่ได้ แบบนี้ก็อันตราย


5. จ้างคนเพราะเอาสะดวกเข้าว่าโดยไม่คำนึงถึงทักษะและความสามารถ
หลายคนใช้วิธีจ้างญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักมาทำงานเพราะเป็นวิธีที่ง่ายดี
แต่ถ้าคนเหล่านี้ทำงานไม่เป็น ก็จะกลายเป็นปัญหาทันที แล้วก็เป็นเรื่องยากซะด้วยที่จะยื่นซองขาวเชิญออก
ฉะนั้น ยอมเสียเวลาเฟ้นหาคนที่มีความสามารถตรงกับงาน แบบ " put the right man on the right job "
จะทำให้แบ่งเบาภาระลงได้เยอะ


6. ท้อแท้ง่ายเกินไป
มักจะชอบตอกย้ำคำพูดและความคิดที่ว่า " เป็นไปไม่ได้ " ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ
แทนที่จะมองหาหนทางอื่นในการแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้น
ไม่ว่าใครจะพูดกรอกหูให้ได้ยินว่า " อุ๊ย .. ทำไม่ได้หรอก " อย่ายอมรับมันง่าย ๆ ขอให้เชื่อมั่นในตนเอง
นักธุรกิจที่ดีจะต้องคิดหาทางออกอยู่เสมอ แม้จะเจอกับทางตันแล้วก็ตาม


7. ในการบริหารงาน มุ่งเน้นไปที่การทำยอดขายและการขยายขนาดของบริษัทมากกว่าการทำกำไร
หลายคนมักจะภาคภูมิใจกับการสร้างอาณาจักรทางธุรกิจให้ใหญ่โต มีพนักงานจำนวนมาก
เพราะทำให้ได้หน้าได้ตาในสังคม ยิ่งโตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี
แต่นักธุรกิจที่ฉลาดปราดเปรื่อง ต้องไม่ละเลยเรื่องการสร้างกำไรให้องค์กรด้วย


8. ขาดการวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจนในระยะยาว
ต้องรู้ว่าคุณต้องการให้บริษัทเติบโตในระดับไหน จะได้ประเมินสถานการณ์ถูก
เช่น ลืมไปเลยหากจะสร้างบริษัทที่ทำยอดขายเป็นพันล้านเพราะสินค้าตัวนี้
แต่ถ้าเป็นเรื่องระดับไม่เกิน 10 ล้านบาท ก็ยังอาจจะพอลุ้น


ข้อมูลจาก : นิตยสาร SME Thailand
ที่มา : //www.raidai.com




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 20:32:06 น.
Counter : 1098 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.