Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
สงสัยไหมว่าอะไรคืออุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพพนักงาน




ลึกๆ แล้ว พนักงานทุกคนต่างก็ต้องการเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ
และเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์การด้วยกันทั้งนั้น
ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะมันเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลน่ะสิ
เมื่อผลประกอบการขององค์การดีขึ้น พนักงานก็มีโอกาสได้โบนัส และเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น
และนั่นก็หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปด้วยเช่นกัน
ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมการพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ในบางองค์การถึงไม่ประสบผลสำเร็จล่ะ

สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มผลผลิตของพนักงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน

การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล :
บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่ เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้
แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพียงเพราะสิ่งที่เขาเรียกร้องนั้นมากเกินไป

แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าตลาดแรงงานจะอยู่ ในภาวะฝืดเคืองแค่ไหน
จะต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่เรียกร้องมากไป อยู่ตรงไหนสักแห่ง
จริงอยู่ว่าทักษะทุกอย่างเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและสร้างขึ้นใหม่ได้
แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากสิ่งเหล่านั้นมีอยู่แล้วในตัวพนักงานที่คุณรับเข้ามา


การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ :
มีแนวโน้มว่าพนักงานหนึ่งในสามของตลาดแรงงานในปัจจุบันนั้น เป็นพวกที่เปลี่ยนงานปีต่อปี
ข้อสังเกตนี้ทำให้ผู้ประกอบการมองว่า
การฝึกอบรมให้กับคนที่ไม่รู้ว่าจะอยู่กับองค์กรอีกนานเท่าไหร่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า
เมื่อไม่มีการพัฒนาบุคลากร ความผูกพันกับหน่วยงานของพนักงานก็ยิ่งน้อยลง
ความทุ่มเทให้กับงานและหน้าที่ก็ยิ่งน้อยลงไปด้วย
ทำไมผู้บริหารไม่ลองคิดเสียใหม่ล่ะว่าการฝึกอบรมคือ การลงทุน ไม่ใช่เพียงค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า


การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ :
บ่อยครั้งพนักงานที่ทำงานดี มักจะได้รับมอบหมายงานเกินกว่าหน้าที่
เพียงเพราะเจ้านายคาดหวังว่างานที่ออกมาจะดีกว่าให้คนอื่นๆ ทำ
จำไว้อย่างหนึ่งว่า เราไม่สามารถเติมน้ำสามลิตร ลงในภาชนะสำหรับบรรจุน้ำเพียงหนึ่งลิตรได้
บางครั้ง พนักงานบางคนอาจจะทำงานได้ดีขึ้น ถ้าถูกกระตุ้นให้ทำงานเยอะขึ้นก็จริง
แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างมีขีดจำกัดด้วยกันทั้งนั้น


การวางนโยบายขององค์การ :
ทุกองค์การมีเป้าหมายในการดำเนินงาน แต่ว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนก็มีเป้าหมายในชีวิตของตนเช่นกัน

หากพนักงานมองว่า ตำแหน่งที่เขามีงานที่ทำอยู่
เป็นเครื่องมือในการพาเขาก้าวไปสู่เป้าหมายทางการเงิน ความมั่นคงทางอาชีพและสังคมที่ตั้งไว้
นั่นจะช่วยทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
และอยากจะทุ่มเทกับการพัฒนาผลิตภาพในองค์การมากขึ้น



"หมดไฟ" :
ในภาวะเศรษฐกิจปกติการออกจากงานของพนักงานส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ
และสาเหตุหลักก็คือ "การหมดไฟ" อาการเบื่องานของพนักงาน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดเพียงข้ามคืน
แต่เป็นกระบวนการที่อาศัยเวลา และเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะมีความเกี่ยวข้องมาจากสาเหตุสี่ประการข้างต้น

ดังนั้น หน้าที่ของผู้บริหารก็คือ คอยสังเกตสัญญาณเตือนเพื่อหาโอกาสในการป้องกัน ตอบโต้และแก้ไข
เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไป


ข้อมูลโดย : //www.ismed.or.th
ที่มา : //www.raidai.com


Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 12 มิถุนายน 2553 21:02:07 น. 0 comments
Counter : 1454 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.