Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
1 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
เอาอีกแล้ว…ลูกน้องไม่มีใจ

เอาอีกแล้ว…ลูกน้องไม่มีใจ


“ มันอยู่ที่ใจ ”…. แน่นอนว่า หากใจ ( Heart) ไม่อยากทำงาน กาย (ขอเปรียบเป็น Hand)
และความคิด ( Head) ก็ย่อมไม่พร้อมที่จะทำงานให้ได้ดิบได้ดีตามไปด้วย
สักแต่ว่าทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำเท่านั้น ไม่อยากคิดที่จะพัฒนาและปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้นเลย

คุณมีลูกน้องที่กำลังเบื่อและไม่อยากทำงานบ้างหรือไม่
เมื่อลูกน้องเห็นโอกาสที่ดีกว่าก็ขอโอนย้ายงานข้ามหน่วยงานบ้าง
หรือลาออกไปทำงานที่ตนชอบและคิดว่าดีกว่าบ้าง
เหตุที่อลิสหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกัน ก็เนื่องมาจากมีแฟนคอลัมน์เขียน มาปรึกษาอลิสว่า
ตนเองจะทำอย่างไรดี เมื่อลูกน้องขอโอนย้ายข้ามหน่วยงาน จะพูดอย่างไรเพื่อมิให้ตนเองต้องสูญเสียลูกน้องไป
เพราะอุตสาห์ฝึกงานให้เก่ง และเป็นงานแล้ว ตนเองไม่อยากจะเสียเวลาหาคนและฝึกคนใหม่

บอกแล้วค่ะว่า ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่อยากจะทำแล้ว คุณรั้งพวกเขาไว้ก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ
เชื่อหรือไม่ค่ะว่าของแบบนี้ขึ้นอยู่กับบารมี ที่คุณเองสั่งสมมากับลูกน้อง มิใช่สร้างขึ้นมาเพียงแค่วันหรือสองวัน
ต้องใช้เวลาค่ะ บารมีนั่นก็คือความรัก ความเอาใจใส่ และความปรารถนาที่จะฝึกและสอนงาน
เพื่อให้ลูกน้องของตนได้ดิบได้ดี มีความรู้และความสามารถ

มีหลายครั้งนะคะที่บารมีของหัวหน้างาน เป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้ลูกน้องลาจากไป
เหตุเพราะลูกน้องรักและต้องการทำงานร่วมกับหัวหน้างานคนๆ นั้น …
แบบว่าเอาผลประโยชน์อื่นๆ มาล่อก็ไม่ไปค่ะ
ดังนั้นอลิสขอให้ผู้เป็นหัวหน้าทั้งหลายสำรวจและถามตนเองก่อนว่า
คุณได้สร้างบารมีให้ลูกน้องศรัทธา และพร้อมที่จะให้ใจในการทำงานให้กับคุณหรือไม่
อย่ารอเวลาให้ต้องสูญเสียลูกน้องของตนไป ถึงคิดได้ว่าควรจะสร้างบารมีให้เกิดขึ้น ……“ สายเกินไปแล้วค่ะ ”

การสร้างบารมีนั้นเป็นเพียงเครื่องสกัดกั้นเท่านั้นนะคะ มิใช่ว่ามีบารมีแล้วลูกน้องจะต้องอยู่กับเราทุกรายเสมอไป
อลิสขอให้หัวหน้างานเปิดใจและพร้อมรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น แน่นอนค่ะว่า “ มีคนเข้า ก็ต้องมีคนออก ”
ดังนั้นหัวหน้างานที่เก่ง จึงควรพัฒนาและฝึกสอนลูกน้องของตนให้เก่งทุกคนไป
(ไม่จำเป็นจะต้องทำงานเก่งเหมือนเช่นหัวหน้างานก็ได้ค่ะ) พบว่าเมื่อหัวหน้างานมีบารมีและลูกน้องรักแล้วล่ะก็
พวกเขาย่อมเปิดใจเล่าให้คุณฟังถึงเหตุผล ที่จะขอโอนย้ายงานไปยังหน่วยงานอื่น หรือขอลาออกไป

หากหัวหน้างานเจอะเจอสถานการณ์ ที่ลูกน้องมาขอคำปรึกษาว่าจะลาออกหรือขอโอนย้ายงานไปดีหรือไม่
อลิสคิดว่าสิ่งที่หัวหน้างานพึงกระทำนั่นก็คือ

เปิดใจ พร้อมที่จะให้โอกาสลูกน้อง
– หัวหน้างานควรเปิดใจรับฟังข้อมูลต่างๆ จากลูกน้อง ถามเหตุผลว่าทำไมถึงต้องการลาจากไป
ผลประโยชน์อะไรที่ได้เพิ่มขึ้นบ้าง งานที่ลูกน้องไปทำนั้นได้เพิ่มมูลค่างาน ( Job Value) ให้กับตนบ้างหรือไม่
คุณควรรับฟังโดยไม่คัดค้านหรือพูดต่อต้านอะไรในทางลบ …
ขอเน้นค่ะว่ารับฟังก่อน เพื่อเก็บข้อมูลทุกอย่างให้ครบก่อนค่ะ

ชี้แนะถึงข้อดี และข้อเสีย
– ข้อมูลที่รับฟังจากลูกน้องจะทำให้คุณรู้ว่า ควรจะพูดคุยอะไรต่อไปกับลูกน้องของตน
การพูดนั้นขอให้เริ่มต้นว่า “ พี่จะไม่พูดให้เราอยู่หรือไป
แต่สิ่งที่จะพูดนั้นขอให้นำไปคิด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เท่านั้น ”
และสิ่งที่คุณควรจะพูดนั้น ไม่ควรโจมตีถึงข้อเสียหรืออ้างเหตุผลต่างๆ นาๆ
เพียงเพื่อขอให้ลูกน้องอยู่กับตนอย่างเดียวเท่านั้น
อลิสขอแนะนำค่ะว่า คุณควรพูดถึงข้อดีและข้อเสียของการอยู่และการไป พูดให้ลูกน้องคิดจะดีกว่าค่ะ

ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น
– ในบางครั้งบารมีของหัวหน้างานอาจไม่สามารถยับยั้ง หรือเปลี่ยนใจลูกน้องให้อยู่ได้
หัวหน้างานทั้งหลายต้องยอมรับความจริงข้อนี้ค่ะ อย่าพยายามยับยั้งให้ลูกน้องต้องทำงานอยู่กับตน
หากว่าลูกน้องไปที่อื่นที่คาดว่าจะดีกว่าสำหรับพวกเขา คุณต้องยอมและปล่อยไปจะดีกว่า
การไม่อนุมัติให้ไปนั้นไม่มีประโยชน์ค่ะ แบบว่าได้แต่ตัวแต่หัวใจไม่อยากอยู่
ในที่สุดคนที่จะรับปัญหาก็คือตัวคุณเอง เหตุเพราะลูกน้องไม่มีใจอยากทำงานให้


บทความโดย : อาภรณ์_ภู่วิทยพันธุ์
อีเมล : p_arporn11@yahoo.com

ที่มา : //www.hrcenter.co.th


Create Date : 01 มิถุนายน 2553
Last Update : 1 มิถุนายน 2553 20:31:09 น. 0 comments
Counter : 1158 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.