Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
คุมเกมการ (ถูก) สัมภาษณ์ อย่างมีชั้นเชิง



การสัมภาษณ์งานไม่ใช่การขึ้นศาล ที่จะสามารถตอบคำถามได้ เฉพาะเวลาถูกทนายหรือศาลที่เคารพถามเท่านั้น
แต่การสัมภาษณ์งานถือเป็น การสื่อสารสองทางที่เปิดโอกาสให้เรา ได้ตอบโต้อย่างพองาม และ มีชั้นเชิง
การเตรียมพร้อมที่ดีจะช่วย ลดความประหม่าในการสัมภาษณ์ได้
เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่หลงลืมรายละเอียดต่างๆ ที่เคยโม้ไว้ จึงเป็นการดีหากเราจะลองนั่งทบทวน Resume
ที่เขียนไปอีกครั้งก่อนไปสัมภาษณ์งาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสบการณ์การทำงาน ทักษะความชำนาญ เป้าหมาย
สิ่งที่สนใจ และความสามารถต่างๆ ที่เหมาะสมกับงานนั้น
ถ้าเป็นไปได้ลองฝึกตอบคำถามที่บรรดานายจ้างนิยมถามกัน เพื่อการโต้ตอบอย่างรวดเร็ว อาทิ
“อะไรคือสิ่งสำคัญ ที่คุณใช้ตัดสินใจ ที่จะเลือกสมัครงานที่นี่”
“ถ้าคุณกำลังมองหาใครสักคน มาทำตำแหน่งนี้ คุณคิดว่าคนคนนั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร”
หรือ “อะไรคือปัญหาหนักอกสำหรับคุณ และคุณมีวิธีรับมือกับมันอย่างไร” เป็นต้น
แล้วเตรียมคำตอบที่ฟังดูเข้าทีแบบสั้น กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น หรือบางครั้งอาจยกตัวอย่างประกอบได้

การเตรียมพร้อมที่ดีทำให้เกิดความมั่นใจที่ดีด้วย หากคิดว่าตัวเองยังไม่พร้อม หรือพร้อมแล้ว
แต่ยังไม่ชัวร์ ก็ลองเช็ครายละเอียดต่างๆ เผื่อตกหล่นตามตารางเวลานี้

1-2 สัปดาห์
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทนั้น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ และ บริการของบริษัท
ใครเป็นเจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุด วัฒนธรรมขององค์กร รวมถึงคู่แข่งรายใหญ่ เป็นต้น
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะสมัคร ว่าควรต้องทำอะไรบ้างในจุดเด่นๆ ...คิดล่วงหน้าไว้เลย
ติดตามข่าวสารรอบตัวที่อาจเกี่ยวข้องกับบริษัท หรือ ตำแหน่งที่เราจะสมัคร
ศึกษาแนวคำถามที่จะถูกถาม และฝึกตอบแบบฉลาดๆ เอาไว้

1 วัน
นำ Resume ที่เขียนไว้มาทบทวนอีกครั้ง
เตรียมเอกสารที่ต้องเอาไปเพิ่มเติม เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน
และสำเนา Transcript หรือ เอกสารการจบการศึกษา
หาข้อมูลการเดินทาง รวมถึงประมาณเวลาที่จะไปบริษัทนั้น
เตรียมเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋าให้เรียบร้อย
เข้านอนแต่หัวค่ำ พักผ่อนให้เพียงพอ


การเป็นผู้นำในเกมการสัมภาษณ์ไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ถึงแม้ว่าบริษัทนั้นจะดูอินเตอร์เหลือเกินก็ตามที
หากมีหลักจิตวิทยาหรือหลักปฏิบัติที่ดี เราก็สามารถพลิกสถานการณ์ขึ้นมาคุมเกมได้ไม่ยาก

1. การตรงต่อเวลาเป็นสิ่งที่ดีที่สุดทั้งต่อผู้สัมภาษณ์ และ ผู้ถูกสัมภาษณ์
นอกจากจะทำให้เรามีภาพพจน์ที่ดีแล้ว ยังทำให้เราไม่วิตกจริตจนเกินไปกับสภาพการจราจรที่ย่ำแย่
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเวลานัดสัมภาษณ์ ทางที่ดีควรจะไปถึงที่ห้องสัมภาษณ์ก่อนสักประมาณ 15-20 นาที
เพื่อที่จะได้มีเวลาในการตั้งสติ และ เตรียมตัวกับการบ้านที่ทำมาเป็นอย่างดี

2. เมื่อเข้าไปในห้องสัมภาษณ์ ควรรู้จักมารยาทเล็กๆ น้อยๆ เช่น อย่าเพิ่งรีบนั่งทันทีทันใด
ควรรอให้กรรมการ หรือผู้สัมภาษณ์เชิญให้นั่งก่อน อย่านำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปในห้องสัมภาษณ์เป็นอันขาด
ถึงแม้ว่าจะไม่มีป้ายห้ามก็ตามที อย่าลืมว่าเราไปสัมภาษณ์งาน ไม่ได้ไปเดินห้างสรรพสินค้า
และไม่ควรทำให้การสนทนาดูขัดจังหวะ โดยการนั่งกดปากกา วางกระเป๋าถือไว้บนโต๊ะ หรือนั่งท้าวคาง เป็นต้น

3. เมื่อเริ่มการสนทนา อาจจะต้องใช้เวลาสักพัก ในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับผู้สัมภาษณ์
เพื่อที่จะได้ลดความประหม่า หรือ ความตื่นเต้นลงได้บ้าง
ในวันนั้นคนที่มาสัมภาษณ์อาจไม่ใช่ผู้อาวุโสอย่างที่เราคิดไว้ เผลอๆ อาจอายุน้อยกว่าเราเสียอีก
แต่อย่างไรก็ดี เราควรให้เกียรติคณะกรรมการ หรือผู้ที่จะมาดำเนินการสัมภาษณ์ไว้ก่อน
จงระลึกว่าอย่างไรเราก็เป็นรองเขา ต้องระวังกิริยามารยาท ไม่ให้นอบน้อมหรือเย่อหยิ่งจนเกินไป

4. ระหว่างที่การสัมภาษณ์ดำเนินไป ต้องแสดงให้เขาเห็นว่า เราเป็นนักฟังที่ดี
และในขณะเดียวกันก็เป็นนักพูดที่ดีได้เช่นกัน การฟังที่ดีไม่ใช่แค่พยักหน้า แต่ต้องมี Eye Contact
และ Body Language ประกอบด้วย นั่นก็คือแววตาที่มองไปยังฝ่ายตรงข้าม สีหน้า การยิ้ม
หรือแม้กระทั่งการโต้ตอบอย่างถูกจังหวะจะโคน เช่น
ในขณะที่เป็นผู้ฟัง ก็ไม่ควรพูดแทรกขึ้นมากลางคันให้การพูดของเขาต้องสะดุด
เอาเป็นว่าถ้าเป็นอย่างนี้สู้เงียบๆ เอาไว้คงจะดูดีกว่า แล้วค่อยพูดออกไป ตอนที่เขาเปิดโอกาสจริงๆ
ซึ่งช่วงนี้ก็ถือเป็นโอกาสทอง ที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์เกิดความประทับใจได้ โดยการยิงคำถาม
หรือ แสดงความคิดเห็นแบบมีกึ๋นสุดๆ ของเรา สรุปแล้วก็ต้องเป็นคนช่างสังเกตสักหน่อย ควรรู้ว่าในเวลานั้น
บรรยากาศระหว่างการสนทนาเป็นเช่นไร แล้วจึงปรับตัวให้สอดคล้องกับอารมณ์นั้น
โดยซ่อนอารมณ์โกรธ กลัว เสียใจ หรืออารมณ์อื่นๆ เอาไว้ให้หมด

5. นอกจากนั้น ควรทำให้การสนทนาเป็นไปแบบธรรมชาติมากที่สุด เป็นตัวของตัวเอง
ไม่ควรท่องจำ หยุดคิดได้บ้าง เวลาจะตอบอะไรออกไป แต่ก็อย่าหยุดนานเกินจนน่ารำคาญ
ที่สำคัญไปกว่านั้น อย่าพูดจาโอ้อวด อย่าพูดถึงที่ทำงานเก่า หรือเจ้านายเก่าในแง่ไม่ดี
ควรพูดถึงทุกๆ อย่างในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ และ อย่าคาดหวังว่าคุณจะต้องเป็นฝ่ายตอบอย่างเดียว
ควรเตรียมคำถาม เพื่อที่จะถามคณะกรรมการกลับไปบ้าง

ท้ายสุด...อย่าลืมที่จะจบการสัมภาษณ์แบบน่าประทับใจ ควรกล่าวขอบคุณ
พร้อมทั้งส่งยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์และคณะกรรมการด้วย

ที่มา กุลสตรีเล่ม 877



Create Date : 16 เมษายน 2552
Last Update : 16 เมษายน 2552 19:44:10 น. 2 comments
Counter : 1443 Pageviews.

 
มาอ่านครับ


โดย: byonya วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:10:05:19 น.  

 
ตอนนี้มีการสัมภาษณ์ โดยนำ Competency มาใช้เพื่อ
เลือกผู้สมัครให้มีความสามารถตรงกับองค์กร
ทำให้เลือกคนได้เหมาะสมยิ่งขึ้นค่ะ เคยไปฝึกงานที่
ธนาคารฯ และ ได้ฟัง อ.อุไรวรรณ อยู่ชา บรรยายหลักสูตร Competency Based Interview ให้แก่ผู้บริหาร อาจารย์
เจาะลึกถึงการตั้งคำถามเชิงวิเคราะืห์พฤติกรรม และฝึก
ให้ผู้เข้าอบรมฝึกทั้งสัมภาษณ์ ฝึกสังเกต และเจาะคำถาม
ดีมาก ๆ เลยค่ะ อาจารย์เก่งมาก ให้คำแนะนำผู้เข้าอบรมได้ดี
ทำให้ผู้เข้าอบรมถูกใจกันมาก อาจารย์สอนจากประสบการณ์จริง ที่เป็นผู้จัดการสรรหาของบริษัทใน SCG ทำให้การ
ถ่ายทอดชัดเจนและได้ประโยชน์มาก


โดย: จุ๊บแจง IP: 124.121.197.13 วันที่: 2 มิถุนายน 2553 เวลา:22:37:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.