Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
บริหารความสุขในการทำงานด้วยหลัก “ P-D-C-A ”



ชีวิตคนทำงานไม่มีใครที่ไม่ต้องการความสุข เพราะความสุขที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนน้ำหล่อ
เลี้ยงให้พฤติกรรรมคนปรับเปลี่ยนและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
อันนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานตามที่องค์กรต้องการ ดังนั้นความสุขจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา
การบริหารความสุขในชีวิตการทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
โดยเฉพาะสังคมไทยในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา
เป็นเหตุให้พนักงานทั้งหลายต้องกล้าเปลี่ยนแปลง กล้าคิดใหม่เพื่อทำให้ตนเองมีความสุข

เทคนิคหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้ผู้อ่านทุกท่านลองนำไปปฏิบัติ
ด้วยการบริหารตนเองให้มีความสุขตามหลักของ P-D-C-A นั่นก็คือ

Plan
ในการทำงานหากขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ทำงานไปวันๆ ย่อมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้
พนักงานเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และความรู้สึกเบื่อนี้เองจะเป็นอันตราย
เนื่องจากจะนำไปสู่ผลการทำงานที่ถดถอย หรือเป็นต้นเหตุของการสูญเสียคนดีมีฝีมือ

ดังนั้นการวางแผนผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Performance Planning)
รู้เป้าหมายว่าในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง และเพื่อทำให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ
จะต้องแสดงออกหรือมีพฤติกรรมเช่นไรนั้น จะช่วยทำให้เกิดความคิดที่เป็นระบบ
ทำงานเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น และเมื่องานที่ได้รับมอบหมายบรรลุผลสำเร็จ
ย่อมเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทำงานเกิดความรู้สึกโล่งอก โล่งใจ
ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้มักจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดสิ่งใหม่ ๆ
ที่สามารถนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้การวางแผนงานที่ชัดเจนจำเป็นจะต้องมีการจดบันทึกว่าในแต่ละวันงานที่ต้องทำให้
สำเร็จมีอะไรบ้าง เพราะแผนงานที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นเสมือน
เข็มทิศหรือเครื่องนำทางให้สามารถทำงานแต่ละชิ้นอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน


Do
แผนงานที่ดีย่อมมีการปฏิบัติ การตรวจสอบ การติดตามผลงานที่ทำไปแล้วว่าสำเร็จหรือ
ไม่สำเร็จบ้าง ด้วยการให้ข้อมูลป้อนกลับกับตนเอง (Performance Feedback)
ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอผู้อื่นที่จะมาบอกว่างานแต่ละชิ้นคุณเองสามารถทำสำเร็จหรือไม่
การ Feedback กับตนเองก็คือ การหาโอกาสบอกหรือพูดคุยกับตนเองในแต่ละวัน
ผู้เขียนขอแนะนำว่าควรจะเป็นตอนกลางคืนก่อนนอนจะดีกว่า
เพื่อสำรวจว่าวันนี้คุณได้ทำงานเสร็จไปกี่อย่างบ้าง
และงานใดบ้างที่คุณทำไม่สำเร็จเป็นเพราะเหตุใด เพื่อที่ว่าคุณจะได้นำปัญหาที่เกิดขึ้น
มาวางแผนว่า ควรจะทำอย่างไรให้งานชิ้นนั้นประสบผลสำเร็จในวันถัดไป

ทั้งนี้ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับหลายๆ คนคิดว่าเป็นขั้นตอนที่ยากกว่าการวางแผนงาน
เนื่องจากไม่สามารถทำงานให้บรรลุตามแผนที่กำหนดขึ้น เพราะจิตไม่อยู่กับที่
เกิดความกระวนกระวายใจ จิตไม่สงบ ขาดสมาธิ ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำว่า
ในระหว่างการทำงานแต่ละอย่างนั้น ควรคิดถึงงานชิ้นนั้นอย่างเดียวทั้งกายและใจ
จิตที่มีสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาที่จะบริหารงานแต่ละอย่างสำเร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนดขึ้น
และเมื่อคุณทำงานสำเร็จ
เชื่อแน่ว่าคุณจะรู้สึกภาคภูมใจ รู้สึกมีความสุขกับงานแต่ละอย่างที่สำเร็จลุล่วงไป

Check
ความสุขเกิดขึ้นจากการให้ ให้ในสิ่งที่ผู้รับได้รับประโยชน์จากงานของคุณ ซึ่งการบริหาร
ความสุขของตนเอง ก็คือการบริหารจิตใจของผู้อื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นตัวคุณเองจะต้อง
ประเมินผลงานที่ทำขึ้นมาว่า ผู้รับหรือลูกค้ามีความพึงพอใจกับผลงานแต่ละชิ้นมากน้อย
แค่ไหน การประเมินผลงาน (Performance Appraisal) จึงเป็นขั้นตอนสำคัญ
ที่ผลักดันให้คุณจะต้องปรับปรุงผลงานของตัวคุณเองอยู่เสมอ ด้วยการวางแผนงานใหม่อีก
สักครั้ง หากงานที่ทำไปแล้ว ถึงแม้คุณทำงานได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดขึ้น
แต่ผู้รับไม่ชอบ ไม่พอใจ คุณจะต้องปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่ เพื่อสร้างผลงานให้ลูกค้า
หรือผู้รับของคุณเกิดความพึงพอใจทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณงานที่ส่งมอบ ซึ่งวิธี
การประเมินผลงานที่คุณสามารถทำได้และไม่ยุ่งยากก็คือ การสอบถามและพูดคุยกับลูกค้า
ของคุณว่าเขาชื่นชอบในผลงานที่ทำให้ไปมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้คำว่า “ลูกค้า” นั้นผู้เขียนไม่ได้มองเพียงแค่ลูกค้าภายนอกอย่างเดียวเท่านั้น
ผู้เขียนจะมองไปถึง ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ด้วยเช่นกัน


Act
การปรับเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีการทำงานของคุณว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค้า
ไม่พอใจบ้าง เพื่อที่ว่าคุณจะได้หาวิธีการทำอย่างไรก็ตามในการตอบสนองต่อความต้องการ
ของลูกค้า เพราะหากลูกค้ามีความสุข คุณเองย่อมมีความสุขในการทำงานด้วยเช่นกัน
การสำรวจและจดบันทึกว่ามีแนวทางไหนบ้างในการปรับเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการทำงาน
ของคุณให้ดีขึ้น การพัฒนาผลงานของคุณ (Performance Development)
จะทำให้คุณมีการปรับปรุง และการปรับเปลี่ยนตนเองอยู่เสมอ ไม่ซ้ำซากจำเจกับวิธีการ
ทำงานแบบเดิม ๆ เพราะความซ้ำซากทำงานแต่แบบเดิม ๆ
ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน

สรุปว่าความสุขในการทำงานทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นการได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทุกปีเท่านั้น
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ตัวคุณเองเกิดความสุขได้ก็คือ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ
และการปรับปรุง หรือการปฏิบัติตามหลัก P-D-C-A
ซึ่งจะเป็นหนทางให้ตัวคุณเองและคนรอบข้างเกิดความสุขในการทำงาน

บทความโดย คุณอาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์


Create Date : 27 มกราคม 2552
Last Update : 27 มกราคม 2552 16:06:10 น. 0 comments
Counter : 1058 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.