Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

" Cresitive Thinking " อาวุธลับ (สมอง) ของคนทำงาน



คนหรือทรัพยากรบุคคล เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร ได้มีการศึกษาเจาะลึกลงไปว่า
ในทรัพยากรบุคคลแต่ละคนนั้น อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ทรัพยากรบุคคลสร้างประโยชน์
ให้แก่องค์กร สังคม ตนเอง และครอบครัวได้มากที่สุด คำตอบคือ ความคิด
การคิดที่ทรงคุณค่าซึ่งสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเองและสังคมคือ การคิดอย่างสร้างสรรค์
ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลักที่สำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์

"คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์อยู่ที่ ความใหม่..."

บางบทบางตอนจากหนังสือ ความคิดสร้างสรรค์ทางบวก หรือ Cresitive
(Creative + Positive) Thinking โดย รัศมี ธันยธร ผู้อำนวยการ
ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ บอกเล่าถึงคุณค่าแห่งความคิดที่สามารถเพาะบ่มได้
โดยไม่ต้องรอคำว่า "พรสวรรค์"

เธอบอกว่า 3 ปัจจัยนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ต้องประกอบด้วย
1.ข้อมูลมาก เรียกว่าชุดกล่องข้อมูล ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
2.พลังสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดแรงหนุน
3.ทักษะสร้างสรรค์ หรือการเชื่อมโยงข้อมูลกล่องหนึ่งไปยังอีกกล่องหนึ่ง
โดยผ่านอารมณ์ขันและจินตนาการ

อย่างไรก็ดี ผู้ก่อการร้ายของความคิดสร้างสรรค์ ที่ถือว่าเป็นตัว block ความคิดอย่างรุนแรงที่สุดคือ การยึดติดรูปแบบ (stereo type)
ซึ่งเป็นความเคยชินที่ทำมาช้านาน เช่น การให้ค่านิยมกับวันเกิด หรือวันวาเลนไทน์

อีกประเด็นที่ล่อแหลมไม่แพ้กันคือ การตกอยู่ในหลุมพรางแห่งความฉลาด
(intelli gence trap) ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ขั้นตอนคือ ชอบโต้แย้ง
(defensive) รู้สึกว่าเหนือกว่า (superior) ทะนงตน (arrogant)
และปิดใจ ลังเล (skeptical)

สัญญาณที่บ่งชี้ว่ากำลังตกหลุมพราง จากงานเขียนของดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
ผู้ค้นคว้าเครื่องมือคิด คือ ความรู้สึกอยากแย้งคน มองว่าคนอื่นไม่ได้เรื่อง
และไม่อยากฟังความคิดใคร

เธอบอกว่าความเรียบง่ายของการฝึกความคิดสร้างสรรค์คือ ให้ลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ
แต่เป็นเรื่องง่ายๆ เช่น เปลี่ยนเมนูมาทานอาหารที่ไม่เคยทานมาก่อนมื้อกลางวัน
ชื่นชมและให้กำลังใจคนรอบข้าง รับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับคนอื่นโดยไม่วิจารณ์
โดยยึดหลักคิดว่า คำพูดบางอย่างถ้าพูดไปแล้วจะเหลืออะไร?
(what's less?) ถ้าไม่มีสาระอะไรแล้วจะพูดทำไม?

"การสร้างกล่องข้อมูลใหม่ๆ เป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะยิ่งมีข้อมูลสะสมไว้มากเท่าไร
พฤติกรรมก็ยิ่งจะเหมาะกับสถานการณ์และกาลเทศะมากขึ้น
ขอให้รู้ว่าโลกนี้มีโอกาสของความสำเร็จและความงอกงามอีกเยอะ"

รัศมีเปรียบเทียบการเพิ่มพูนความคิดสร้าง สรรค์แบบง่ายๆ ผ่านหนังตลกขบขันอย่าง
Mr.Bean ซึ่งใช้ big idea แก้ปัญหาการปรุงอาหารกลางวัน ด้วยการใช้บัตรเครดิต
ปาดเนย ใช้ส้นรองเท้าบดพริกไทย และกระเป๋าน้ำร้อนแทนกาต้มชา
ทั้งหมดนี้คือความคิดสร้างสรรค์ทางบวกที่มาพร้อมๆ กับอารมณ์ขัน
"ความคิดสร้างสรรค์ ทำงานเหมือนกับอารมณ์ขัน ถ้าปราศจากอารมณ์ขัน
cresitive thinking จะยากมาก"

การวิพากษ์ วิจารณ์ โต้แย้ง อนุมัติว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ถูกหรือผิด เป็นอีกกระบวนการ
ตัดสินที่เธอบอกว่า เป็นตัวสกัดความคิดใหม่ๆ ไม่ให้ออกมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
การตั้งคำถามของผู้ใหญ่ว่า ทำไมต้องทำอย่างนั้น ทำไมต้องทำอย่างนี้ เป็นความคิดที่แสดง
ออกว่าไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีการพูดให้ชัดออกมา ขณะที่คำถามของเด็กๆว่า ทำไมถึงเป็นอย่าง
นั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เป็นคำถามที่อยากรู้จริงๆ
ดังนั้นการจะกลั่นไอเดีย (extract idea) จะต้องสนุกสนานกับความคิดในทุกอย่าง

"เวลาเรามีความคิดสร้างสรรค์ เราจะถอยออกมาจากความสมบูรณ์แบบ
เส้นทางสายนี้ไม่ต้องการความ perfect เพราะเวลาคิดเราไม่ได้เสียตังค์
ขอให้ตัวเองเลือกที่จะดูแลและควบคุมตัวเองดีกว่าให้ใครมาบงการ
คนที่เขามีความรู้เยอะไม่ได้แปลว่าเขาจะต้องคิดเก่ง"

รัศมีกล่าวต่อไปว่า ความคิดสร้างสรรค์ทำให้คนเราสามารถแก้ปัญหาได้ เหมือนกับสิ่งที่
Mr.Bean ลงมือทำ เรียกว่า นวัตกรรม "make it happened ทำอากาศให้เป็น
นวัตกรรม" เป็นไอเดียที่นำไปสู่ไอเดียอื่นๆ ไม่ใช่เพียงแค่ฝันกลางวัน
ทุกวันนี้ Mr.Bean ขายลิขสิทธิ์หนังชวนหัวของเขาไปทั่วโลก
และกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้านที่เงินไม่เคยหมดจากกระเป๋าเสียที

คิดนอกกรอบหรือบางทีก็เรียกว่า การตัดข้ามรูปแบบความคิด (cut a cross the
pattern) ต้องใช้ความคิดเชิงบวกเป็นกุญแจเปิดใจ และปิดก๊อกความไม่พอใจต่างๆ
ด้วยการให้อภัยคน เพื่อสู่กระบวนการเจริญงอกงามในใจ เธอบอกว่า หลังอายุ 25
ปีไปแล้วร่างกายหยุดเจริญเติบโต แต่จิตใจและสติปัญญายังพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีขีด
จำกัด "ความงอกงามไม่มีโควต้า" เธอชี้ชวน

กว่าจะตกผลึกมาเป็นประสบการณ์ของคนคิดบวกได้นี้ ผู้เชี่ยวชาญความคิดสร้างสรรค์คนนี้
ต้องหลังขดหลังแข็งอ่านหนังสือมากกว่า 200 เล่ม และการเรียนรู้ที่เกินเลยจากใบปริญญา
การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นการเรียนรู้เพื่อ
ยืดวิสัยทัศน์ให้เหยียดยาวออกไปไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ไม่มีวิชาไหนในห้องเรียน
สอนเรื่องวิสัยทัศน์ และไม่มีใครมาบอกว่าจะ how to ได้อย่างไร?

"องค์กรจะแข่งขันกับคนอื่นได้คือ เปิดโอกาสให้พนักงานนำศักยภาพของตัวเองมาทำ
ประโยชน์ให้องค์กรมากที่สุด และพนักงานเองก็มีความพึงพอใจในงาน
ศักยภาพของมนุษย์ คือ การคิดและสร้างความคิดใหม่ๆ ทำให้องค์กรมีทางเลือกในการทำ
สิ่งใหม่ๆ แตกต่างจากคนอื่น เป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาทั้งระดับบุคคลและองค์กร"

เธอย้ำว่า เมื่อคนเราเติบโตสูงสุดจนถึงระดับผู้นำก็จะกลายเป็นคนธรรมดา
หมดความต้องการในชื่อเสียงเงินทอง แต่มุ่งที่จะให้และอยู่เพื่อทำประโยชน์ให้คนอื่นๆ




 

Create Date : 28 มกราคม 2552
0 comments
Last Update : 28 มกราคม 2552 18:28:27 น.
Counter : 1286 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.