Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 
18 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
เทคนิคการฟังสำหรับผู้นำ

เทคนิคการฟัง สำหรับผู้นำ

“คุณเกรียงศักดิ์ ผมจะประชุม กับผู้บริหารระดับสูง
มีเทคนิคอะไร เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ที่ควรแนะนำพวกเขาในช่วงวิกฤตไหมครับ” คุณนทีถาม

“ภาวะวิกฤตแบบนี้ ทักษะการสื่อสารสำคัญมากสำหรับผู้นำ
และพวกพนักงานที่ใช้ความรู้ในการทำงาน (Knowledge Worker)”

“แล้วพนักงานทั่วไปละครับ”

“ที่ผมเน้น Knowledge Worker เพราะว่า พวกเขาต้องทำงานร่วมกับ Knowledge Worker อื่นๆ
พวกเขาแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกันและกัน
ดังนั้น เขาต้องสื่อสารกันมากกว่าพนักงานทั่วไปที่อาจมีขั้นตอนที่ชัดเจนอยู่แล้ว
หรือพนักงานที่แค่ควบคุมเครื่องจักร โดยที่ลักษณะงานไม่ต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นมากนัก”

“โอเค แล้วเจ้าทักษะการสื่อสารที่คุณว่านี้ มันจะเริ่มเรื่องไหนก่อนดีละ”

“เริ่มที่ทักษะการฟังเลย โดยทั่วไป มนุษย์เรานั้นฟังได้ไม่ครบเนื้อหาอยู่แล้ว แต่ว่าผู้นำยิ่งแย่ไปใหญ่ เพราะว่า

1.ไม่มีเวลา
ยิ่งคุณอยู่สูงในองค์กรมากขึ้นไปเท่าใด คุณยิ่งมีเวลาน้อยลง เวลาของคุณเป็นของคนอื่นเสียส่วนใหญ่
โดยที่ความเป็นจริงแล้วเราทุกคนมี 24 ชั่วโมงเท่าๆ กัน
คุณจึงต้องจัดสรรเวลาให้ กับสิ่งที่คุณคิดว่า มันมีคุณค่ากับคุณมากที่สุด
ดังนั้น แทนที่คุณจะตั้งใจฟังพนักงานของคุณอย่างเต็มที่ คุณกลับพยายามเร่งรัดเขา
โดยอาจจะแสดงกิริยาอาการทั้งทางตรง และทางอ้อมไปอย่างไม่รู้ตัว ทางอ้อม เช่น กระสับกระส่าย สีหน้าท่าทาง
หรือชำเลืองดูนาฬิกาบ่อยๆ พอลูกน้องคุณ สังเกตเห็นอาการดังกล่าว เขาก็เริ่มวิตกกังวล
ก็เลยเร่งคำพูดเร็วขึ้นไปอีก พอตื่นเต้นมากขึ้น ไอ้ที่พูดไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว ก็ดูจะยิ่งสับสนมากขึ้น
คนส่วนใหญ่พูดออกมาไม่ได้ดีอยู่แล้ว อาจจะวนไปวนมาไม่เข้าประเด็นเสียที ทำให้คุณสับสน
คราวนี้คุณก็ยิ่งออกอาการหงุดหงิดมากขึ้น เขาก็ยิ่งวิตกจริตไปกันใหญ่ ในที่สุดผู้นำก็ไม่ได้เนื้อหาอะไรไปมากนัก
คำแนะนำสำหรับผู้นำคือ เราไม่มีเวลาฟังให้ครบถ้วนตั้งแต่แรก แต่เราต้องมีเวลาฟังเสมอเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ทั้งๆ ที่หากฟังตั้งแต่แรก ปัญหาก็คงจะไม่เกิด

2.ไม่ให้ความสนใจเพียงพอ
บางคนพอพูดจบแล้วในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูด แทนที่จะฟัง ในใจเขากลับคิดว่าจะพูดอะไรต่อดี
หรือจะทำอะไรต่อหลังจากนี้ ดังนั้น ข้อมูลสำคัญ ก็อาจจะตกหล่นในระหว่างที่จิตวอกแวกอยู่
คำแนะนำสำหรับผู้นำคือ อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับผู้พูดในขณะนั้นทั้งหูและใจ บังคับใจตนเองให้มีสมาธิจดจ่อ

3.มีคำตอบในใจแล้ว
ผู้นำบางคนพอเห็นปัญหาก็มีคำตอบแล้ว แต่ว่าได้รับการอบรมมาว่าต้องบริหารโดยให้พนักงานมีส่วนร่วม
ก็เลยทำเป็นถามความเห็น ด้วยหวังว่าลูกน้องจะตอบตรงใจ
พอเขาเกิดตอบแตกต่างขึ้นมา ก็พยายามต้อนให้ได้ ตรงกับคำตอบที่มีตั้งแต่แรก
วิธีนี้บ่อยเข้าลูกน้องก็จับทางได้ ถามอะไรเขาก็ไม่อยากตอบ เพราะนายมีคำตอบในใจอยู่แล้ว
คำแนะนำสำหรับผู้นำคือ ไม่ต้องทำตัวฉลาดมากหรอก คุณไม่ต้องพิสูจน์อะไร คุณเป็นผู้นำก็เพราะคุณเก่ง
ไม่ต้องโชว์ เงียบๆ บ้าง เปิดใจลองฟังลูกน้องอย่างจริงๆ จังๆ ดูบ้าง

4.ตัดสินคนที่พูดไปแล้ว
มนุษย์เรามีอคติ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต
หากคนไหนที่เขาบอกอะไรแล้วทำตามเสมอ พูดอะไร เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อไปหมด
บางคนไม่ค่อยตรงไปตรงมาในอดีต พอพูดอะไรออกมาทั้งๆ ที่มันดีเราก็อาจจะไม่เชื่อ
เราตัดสินในคำพูดของคน ก่อนที่เขาจะอ้าปากพูดออกมาเสียอีก
คำแนะนำสำหรับผู้นำก็คือ อย่าด่วนสรุปตัดสินก่อนที่คนอื่นจะพูด รับฟังด้วยเหตุและผล
โดยเฉพาะ หากเขาเป็นคนที่เห็นต่างกับเราบ่อยๆ เป็นคนที่เราไม่ชอบหน้า คู่แข่ง หรือนายบางคนที่เราไม่ชอบ

ถ้าจะ สรุปเป็นแนวทางในการฟัง ก็คือ
a) อยู่กับปัจจุบัน ใจจดจ่ออยู่กับผู้พูด
b) ตั้งใจฟังเต็มที่
c) อย่าเตรียมจะพูดเมื่อเราหยุดพูด ฟังทุกๆ คำพูดที่เราได้ยิน
d) ใช้คำพูดตอบรับเป็นสัญญาณว่ากำลังฟังเขาอยู่เช่น ครับ...คะ....อืมม์...
e) อย่าพยายามตัดสินคนพูดก่อน
f) ทบทวนกลับเป็นระยะๆ ว่าเข้าใจเขาถูกต้องไหม
g) จดบันทึก
h) มีภาษากายที่ให้กำลังใจ
i) ถามเมื่อไม่แน่ใจ

โดย เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ที่มา โพสต์ทูเดย์


Create Date : 18 มิถุนายน 2552
Last Update : 18 มิถุนายน 2552 15:42:46 น. 1 comments
Counter : 1041 Pageviews.

 


โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 18 มิถุนายน 2552 เวลา:20:29:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.