Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
1 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ผลิตคนเสริมแบรนด์ด้วยบุคลิกภาพสร้างได้



สูตรปั้นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ต้องกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงชัดเจน
แนะผู้บริหารเร่งแปลงโฉมตนให้เป็นต้นแบบ
ชี้ HR ต้องรู้ทัน 5 อุปนิสัยคนเพื่อจูงใจในการพัฒนา

หัวใจสำคัญในการสร้างแบรนด์องค์กรให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
ต้องเกิดจากบุคลิกของคนภายในที่จะสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมา
ซึ่งการจะสร้างพนักงานให้เป็นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ (Ambassader) ให้กับบริษัท
จะถูกระบุเป็นแผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แม้ต้องใช้ต้นทุนสูงแต่นับว่าทรงอานุภาพมากยิ่งนัก

หากมองในบุคลิกภาพรายบุคคลที่อยู่ในหน่วยงาน
ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะให้ เอกลักษณ์ของคนหนึ่งใกล้เคียงกับอีกหลายคน
เพราะแต่ละคนต่างได้รับการปลูกฝังที่แตกต่างกัน
ดังนั้นผู้ที่เข้าไปบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ยิ่งต้องมีความเข้าใจอย่าง ชัดเจน


ดร.ประณม ถาวรเวช

"ดร.ประณม ถาวรเวช" ผู้บริหาร สถาบัน จอห์น โรเบิร์ต เพาเวอร์ส (ประเทศไทย)
ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 23 ปี ในการเป็นอาจารย์ด้านการสร้างบุคลิกภาพ
จะเป็นผู้ไขความลับในการสร้าง บุคลากรให้เป็นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์...

ขมวดปมคิด
ปั้นบุคลิกให้ตรงแบรนด์


ในสถาบัน จอห์น โรเบิร์ต เพาเวอร์ส (ประเทศไทย) พื้นที่ถูกซอยย่อยเป็นห้องใช้ในการฝึกอบรม
ไม่ต่างอะไรจากสถาบันอื่น แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือมีพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกแบ่งให้เป็นห้องตัดผม
ซึ่ง ดร.ประณม เล่าว่า เพื่อการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้เป็นคนใหม่จริงๆ ต้องเปลี่ยนทั้งทรงผมและการแต่งกาย
ซึ่งทางสถาบันจะออกแบบทรงผมให้ตามความ เหมาะสมกับบุคลิกภาพที่ลูกค้าต้องการ

ซึ่งเดิมคนที่เข้ามาอบรม ส่วนมากต้องการพัฒนาทักษะด้านบุคลิกให้กับตน
เพื่อ ส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงาน เช่นเดียวกับขณะนี้ที่มีหลายองค์กรพยายามส่งเสริมให้พนักงาน
เข้ามาอบรมเพื่อ เป็นตัวแทนในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์หรือแบรนด์แอมบาสซาเดอร์

แต่การสร้างบุคลิกภาพของคนให้เหมาะสมกับแบรนด์ ไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้ เวลาในการทำงาน
เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรเหล่านี้ให้คงอยู่ภายในหน่วยงาน ซึ่งต้องเริ่มจากการวางทิศทางของแบรนด์ที่ชัดเจน
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ภายนอกเช่น การตัดผม แต่งตัว หรือการแต่งหน้า ฯลฯ
ให้เหมาะสมกับบุคลิกของแต่ละบุคคล

ขณะที่การปรับเปลี่ยนความคิดทัศนคติภายในยังเป็นเรื่องที่ยาก
และต้องใช้เวลา มากกว่าการเปลี่ยนบุคลิกภาพภายนอก เนื่องจากหลายครั้งที่องค์กรส่งคนเข้าอบรม
เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ดีขึ้น แต่พอกลับไปทำงานเมื่อเจอสภาพแวดล้อมเดิมๆ
อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนนั้นกลับมาทำในบุคลิกภาพแบบเดิม
ซึ่งสภาพแวดล้อมมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมาก

ดร.ประณม เล่าว่า หลายคนยังมองข้ามการสร้างบุคลิกภาพเนื่องจากมองว่า งานของตนไม่ต้องพบปะกับผู้คน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น พนักงานรับโทรศัพท์
แต่จริงๆแล้ว น้ำเสียงที่ออกมาเป็นเหมือนการบ่งบอก บุคลิกภาพของคนนั้น ดังนั้นการมีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสม
ต้องประกอบด้วย กาย วาจา ใจ เมื่อพนักงานมีสิ่งเหล่านี้ครบ ย่อมเป็นผลดีต่อองค์กร

การใช้ชีวิตประจำวันบุคลิกภาพก็มีส่วน ในการส่งเสริมความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
หรือการแต่งชุดทำงานออกมาจากบ้าน เมื่อคนเห็นว่าพนักงานบริษัทนี้มีการแต่งกายที่เรียบร้อย
ย่อมส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรที่เสมือน "รักแรกพบ" ที่ใครๆหลายคนอยากคบค้าด้วย

ดังนั้นการเปลี่ยนปรับเปลี่ยนบุคลิกของคนในองค์กร ให้ประสบความสำเร็จต้อง เริ่มจากผู้บริหาร
ที่ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพราะหากผู้นำมัวแต่ออกแผนนโยบายเพียงอย่างเดียว โดยไม่ลงมาทำจริง
การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิดขึ้นหรือ หากเกิดขึ้นจะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาไม่นาน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นมีการพัฒนาด้านทักษะความคิดการทำงานเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน
ซึ่งหากผู้ บริหารไม่มีความเข้าใจนโยบายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ก็อาจไม่ตรงกับทิศทางของคน ภายในองค์กร

ตลอดจนต้องสร้างคนต้นแบบ ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับตำแหน่งของพนักงาน
เพราะจะเป็นเหมือนการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนในองค์กรเดิมได้ ทำตามอย่าง ไม่เคอะเขิน
และยังเป็นแนวทางชัดเจนที่ทำให้บุคลากรเห็นผลดีของการ เปลี่ยนแปลง

"ในการฝึกอบรมเพื่อเปลี่ยนบุคลิกภาพ เราจะแบ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารระดับบนถึง กลาง และระดับล่าง
เพราะคนใน 2 กลุ่มนี้มีความคิดค่อนข้างแตกต่างกันในกระบวนการทำงาน
ซึ่งจะเป็นการง่ายในการสื่อสารทำความเข้าใจ
เพราะในขั้นเริ่มต้นเพื่อให้ผู้ ฝึกอบรมเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง
เราใช้นักจิตวิทยาที่ลงในรายละเอียดของพฤติกรรมบุคคล ซึ่งทุกวันนี้มีความซับซ้อน
และผู้สอนต้องพยายามวิเคราะห์ พฤติกรรมเป็นรายบุคคล เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดความยั่งยืน"

อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการสร้างบุคลิกภาพ ต้องมีการบอกเป้าหมายแห่งความสำเร็จ อย่างชัดเจน
เช่น การสร้างแบรนด์ของธนาคารต้องการให้ดูเป็นคนสุขุมรอบคอบ
ซึ่งมีการแต่งตัวที่สุภาพและมีการแต่งหน้าพอสมควร โดยไม่ต้องฉูดฉาดมากเกินไป เป็นต้น


HR กับแนวทาง
กุญแจสู่ความยั่งยืน


การจะสร้างให้บุคลิกภาพที่ดีนั้นคงอยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน ดร.ประณม ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า
HR เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ โดยต้องมีบทบาทในการส่งเสริม
และช่วยเหลือพนักงานให้ตระหนักถึงเป้าหมายที่ องค์กรต้องการจะไปถึงอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ
ตลอดจนช่วยประสานงานกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆภายใน ให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ ส่งเสริมการสร้างทัศนคติ
ที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์


ตรรกะ เทศศิริ

ตรรกะ เทศศิริ อาจารย์พิเศษประจำสถาบัน จอห์น โรเบิร์ต เพาเวอร์ส (ประเทศไทย) เสริมว่า
HR ต้องสร้างแรงจูงในการเปลี่ยนแปลงผ่านการให้รางวัลตอบแทน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนอื่นได้ปฏิบัติตาม
เช่น การให้แต้มกับผู้ที่มีบุคลิกสอดคล้องกับแบรนด์ ทั้งในบริษัทและนอกบริษัท
ซึ่ง การให้แต้มเหล่านี้จะมีผลต่อการปรับขึ้นเงินเดือน

อีกด้านหนึ่งผู้บริหารควรให้อำนาจและอิสระกับ HR ในการวางแผนสร้างแรงจูงใจต่างๆ
เพราะบ่อยครั้งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลพยายามสานต่อ สิ่งที่ได้จากการอบรม
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของพนักงาน แต่ผู้บริหารกลับไม่เห็นความสำคัญ
เพราะคิดว่าการเปลี่ยนแปลงหลังเข้าฝึกอบรม จะคงอยู่กับองค์กรอย่างยืนยาว

HR ควรจะมีความรู้พื้นฐานด้านอุปนิสัยของคนที่มีความแตกต่างกัน
ซึ่งจะส่งผลดี ต่อการทำกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยบุคลิกดังนี้
1. สง่างามและชอบความหรูหรา
2. เป็นคนเก่งมีความสามารถที่ดี
3. มีความจริงใจในการคบกับคนอื่น
4. กล้าหาญบุกบั่นชอบลุย
5. กระฉับกระเฉง

ซึ่งหาก HR ดีไซน์กิจกรรม หรือรูปแบบการส่งเสริมการทำงานที่ตรงกับบุคลิกภาพของคนเหล่า นี้
ที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ย่อมก่อให้เกิดความยั่งยืน

ขณะเดียวกันเมื่อ HR มีความเข้าใจในเป้าหมายของการสร้างบุคลิกภาพของคนในองค์กรแล้ว
ควรจะคัดเลือก คนที่จะเข้าทำงานใหม่ให้มีทัศนคติ ที่สอดคล้องเพื่อง่ายแก่การพัฒนาคนเหล่านั้น
ให้มีศักยภาพการแข่งขันกับองค์กรอื่น เนื่องจากจุดเริ่มต้นของความสำเร็จจะต้องเริ่มที่ใจ
เมื่อใจเข้าพร้อมและยอมรับในสิ่งที่องค์กรกำลังจะไปให้ถึง ย่อมไปสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่รวดเร็ว

"การคัดเลือกคนเข้าทำงานบางที่ HR อาจต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาพฤติกรรม
เพราะบางคนในเวลามาสัมภาษณ์อาจเป็นที่เราต้องการ
แต่พอนานเข้าเขาเริ่มรับไม่ได้ในภาพลักษณ์ของแบรนด์เราก็มี
โดยเฉพาะคนในเจเนอเรชั่น Y ที่มีอัตตาในตัวเองสูงทั้งการใช้ชีวิตหรือการแต่งกาย
ทำให้ผู้ที่คัดเลือกต้องถี่ถ้วนไตร่ตรองก่อนรับเป็นพนักงานประจำ"

ฉะนั้น การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยการสร้างเสริมบุคลิกของพนักงานให้เหมาะสมได้ นั้น
ทุกคนในหน่วยงานต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ที่จะร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์ สูงสุด

***************

แต่งตัวอย่างฉลาด
กับนักสร้างบุคลิก


ดร.ประณม ยกตัวอย่างว่า
การแต่งตัวเพื่อเสริมสร้างบุคลิกอาจแยกง่ายๆได้เป็นแบบ ทางการและแบบทันสมัยดังนี้

1.แบบทางการ
ผู้ชายต้องตัดผมรองทรงหรือทำผมสั้นให้สุภาพเรียบร้อยโดยใส่สูท กับเนคไทน์ที่ลวดลายไม่ฉูดฉาดมาก
ด้านผู้หญิงอาจตัดผมบ๊อบหรือไว้ผมหน้าม้า แต่งกายใส่กระโปรงสีเดียวกับเสื้อและกระเป๋า
ขณะที่แว่นตาใส่สีพื้นๆไม่มีลวดลายมากเกินไป

2. แบบทันสมัย
ผู้ชายหวีผมให้ดูตั้งๆหรือไว้ผมรากไทรตามสไตร์เกาหลี
เสื้อผ้าเป็นเสื้อเชิดไม่ผูกเนคไทน์กางเกงยีนส์หรือกางเกงผ้าธรรมดา
ด้านผู้หญิงสไลด์ผมปล่อยให้เรือนผมปะบ่ากระโปรงบาน หรือรัดรูปที่มีสีแตกต่าง จากเสื้อและกระเป๋า
และแว่นตาต้องมีสีสันตัดกันให้ดูสดใส


ที่มา : //www.manager.co.th




Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 20:55:17 น. 1 comments
Counter : 1549 Pageviews.

 
บางทีเราทุกคนก็ต้องเจอกับความเครียด ท้อแท้ สิ้งหวัง
นั้นไม่ใช้อะไรที่แปลกไม่ได้หมายความว่าคุณอ่อนแอ แต่การที่คุณยอมรับว่ากลัวสิ่งนั้นต่ะหากละ
ที่เรียกว่าความกล้า กล้าทีจะยอมรับในสิ่งที่คุณกลัว กล้าจะยืนหยัดเเละต่อสู้กับมัน
แต่วันนี้ถ้าสิ่งที่คุณแบบรับไว้นั้นมันเกินกว่าที่คุณจะทนได้ ถ้ายังงั้น
วันนี้คุณลองเปิดใจให้ พระเจ้าเข้ามามีส่วนช่วยคุณคลายปัญหาของคุณได้มั้ย
ลองดูสิเเล้วคุณก็จะผ่านทุกอย่างไปได้อย่างแน่นอน!!
เหมือนที่ฉันได้ผ่านมานมาจนได้!


โดย: da IP: 124.120.7.136 วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:54:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.