Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
18 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

การสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

มูลเหตุจูงใจขณะบรรยายเรื่องการสอนงาน (Coaching) ณ ห้องพิจารณาคดี การละทิ้งหน้าที่ของบริษัทแห่งหนึ่ง

“พี่ผมขอลาออกครับ ผมคงทำงานที่นี่ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ผมอายคนอื่นเขาครับ
และไม่อยากให้พี่ต้องมาเสียเพราะผมด้วย” พนักงานพูดด้วยอาการหดหู่

“ถ้าลาออกแล้วจะไปทำอะไรต่อล่ะ ได้งานแล้วหรือไง” หัวหน้างานถามขึ้น

“ยังไม่ได้ลองไปสมัครที่ไหนเลยครับพี่ แต่ถึงอย่างไรผมอยู่ไม่ได้จริงๆ ครับ” พนักงานตอบ

“เอาอย่างนี้แล้วกัน ผมจะให้โอกาสคุณในการปรับปรุงตัว เรามาหาทางออกร่วมกันดีกว่า คุณว่าไง ...”
หัวหน้างานพูดขึ้นเพื่อพยายามหาทางช่วย

ถ้าสามารถเลือกได้ คงไม่มีใครอยากมีลูกน้องที่คอยแต่สร้างปัญหาให้กับเราใช่ไหมครับ?

สภาพการทำงานของเรานั้น ลูกน้องของเราแต่ละคน ก็จะมีนิสัยใจคอหรือพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
บางคนขยัน บางคนขี้เกียจ บางคนชอบปฏิบัติตามกฏ
แต่บางคนก็ขอแหกกฏบ้าง (ไม่รู้เป็นไงเหมือนกัน) จริงไหมครับ?

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แต่มักจะพบจะเกิดขึ้นกับพนักงาน คือ
1. การขาดงาน ลางาน มาสาย ด้วยเหตุผลที่ไม่สมควร
2. สร้างความขัดแย้งและต่อต้าน
3. แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความเคารพ เชื่อฟัง
และ 4. ฝ่าฝืนกฏระเบียบบริษัทเป็นประจำ เป็นต้น

อย่างไรก็ดีละครับ เราในฐานะที่เป็นหัวหน้าก็ต้องหามาตรการ เพื่อจัดการกับปัญหาที่ไม่พึงประสงค์นี้
วันนี้ผมเลยอยากจะแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนงาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อง ดังนี้

ขั้นตอนการสอนงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1. สร้างบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ
การสร้างบรรยากาศไว้เนื่อเชื่อใจควรเลือกสถานที่และเวลาให้เหมาะสม “กาละเทศะ”
เพื่อทำให้มีความรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัว
และมีความรู้สึกว่าเรื่องนี้จะเป็นความลับระหว่างเราเท่านั้น จะไม่ไปบอกใครโดยเด็ดขาด

2. เปิดประเด็นและกำหนดวัตถุประสงค์
โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการพูดคุยครั้งนี้ให้ชัดเจน เช่น
“ต้องการให้คุณเปลี่ยนพฤติกรรมการมาสายเป็นประจำ ไปเป็นมาทำงานตรงต่อเวลาทุกวัน” หรือ
“ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ให้ความร่วมมือ ไปเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
และให้ความร่วมมือทุกครั้งที่ช่วยได้”
การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนนี้ช่วยทำให้ไม่สับสนระหว่างการสนทนา

3. แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างเปิดอก
โดยพูดด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้งและพูดแต่เรื่องจริง โดยควรยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น
What ทำอะไร Who ใครเกี่ยวข้องบ้าง Where ที่ไหน When เมื่อใด Why ทำไมถึงทำ และ How ทำอย่างไร ประกอบ
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงระหว่างกัน เพื่อใช้ในการหาสาเหตุหรือต้นตอที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น

4. หาทางออกและกำหนดแนวทางเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
โดยเป็นการหาทางออกที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน หรือ WIN WIN และกำหนดแผนการปรับปรุงร่วมกัน
โดยกำหนดสิ่งที่ต้องปฏิบัติ และระยะเวลาการติดตามผลการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน
เพื่อทำให้ง่ายและสะดวกต่อการติดตาม และประเมินผล
นอกจากนี้ต้องกำหนดผลลัพธ์ รางวัล ถ้าหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามเป้าหมาย
หรือการลงโทษ ถ้าหากไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

5. ติดตามและประเมินผล
โดยเป็นการติดตามผลการปรับเปลี่ยน เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เราได้กำหนดเอาไว้
ถ้าหากพนักงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ ก็ให้รางวัล เช่น คำชม ขนม
ยกเป็นตัวอย่างกับพนักงานคนอื่น หรือเลื่อนตำแหน่ง
แต่ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ก็ลงโทษ เช่น ใบเตือน พักงาน ไล่ออก ตามความเหมาะสม



ยกตัวอย่างเช่น การปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานที่มักไปสูบบุหรี่ในเวลาปฏิบัติงาน (ละทิ้งหน้าที่)

1. สร้างบรรยากาศ โดยการเรียกพนักงานผู้นั้นไปพูดในห้องประชุมส่วนตัว (ห้องเย็น)

2. เปิดประเด็นและกำหนดวัตถุประสงค์
คืองดการสูบบุหรี่เวลาปฏิบัติงาน เนื่องจากมีผลกระทบต่อเวลาการปฏิบัติงาน
เอาเปรียบผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ทำลายสุขภาพตนเอง ผิดกฏระเบียบบริษัทเรื่องการละทิ้งหน้าที่

3. แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างเปิดอก
พูดคุยถึงปัญหาอย่างเปิดเผย ทั้งเหตุและผล เหตุการณ์ที่เราพบว่าเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551 เวลา 10.00 น.
พนักงานไปสูบบุหรี่ตั้งแต่เวลา 10.00-10.30 บริเวณหลังโรงงาน
ทำให้เพื่อนคนอื่นต้องมาทำงานแทนตนเอง ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ ผิดกฏบริษัท

4. หาทางออกและกำหนดแนวทางเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
พนักงานห้ามไปสูบบุหรี่เด็ดขาด กรณีที่ต้องการไปสูบบุหรี่จริงๆ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้างานก่อน
ถ้าหากฝ่าฝืน จะลงโทษโดยการตักเตือนด้วยวาจา ผิดกฏบริษัทเรื่องการละทิ้งหน้าที่ส่งผลเสียหายต่องาน

5. ติดตามและประเมินผล โดยติดตามระยะเวลา 2 เดือน โดยหัวหน้างานจะสุ่มดูพนักงานอย่างใกล้ชิด


สรุป
ขั้นตอนการสอนงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการทำงาน
การสอนงานที่ดีต้องอาศัยความมานะ อดทนและพยายาม
ก็ขอเป็นกำลังใจให้หัวหน้างานทุกคนนะครับ ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกน้องให้ดีขึ้น
เพื่อผลลัพธ์สุดท้ายคือ พฤติกรรมที่ดีขึ้นของพนักงาน ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
แต่ถ้าหากพนักงานกลับมาทำพฤติกรรมแบบเดิมอีกละก็ ต้องใช้ไม้แข็งกันละครับคราวนี้
เพราะถ้ามิเช่นนั้นจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีกับคนอื่นๆ ได้
สุดท้ายก็ขอฝากว่าการให้โอกาสคน ถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ โชคดีนะครับพี่น้อง..........


บทความโดย : ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
ที่มา : //www.hrcenter.co.th





 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 18 พฤษภาคม 2553 21:21:40 น.
Counter : 1048 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.