Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
23 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

กลยุทธ์มัดใจลูกน้อง ครองใจลูกค้า

กลยุทธ์มัดใจลูกน้อง ครองใจลูกค้า

ความสำเร็จของบุคคลหรือองค์กร อาจไม่ได้วัดกันที่ตัวเลขของผลประกอบการอันมากมายมหาศาล
หากแต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรหรือบริษัทประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับจากสังคมนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับการสร้างภาพลักษณ์ หรือแบรนด์ขององค์กรให้เป็นที่จดจำของ ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ...

ในงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "สุดยอดกลยุทธ์มัดใจลูกน้อง ครองใจลูกค้า" (Employment Branding)
จัดโดยโครงการศศินทร์ สู่สังคม สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาหลักสูตร สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้หยิบยกกลยุทธ์ในการสร้างภาพลักษณ์หรือแบรนด์ขององค์กร
เพื่อดึงดูดพนักงาน รวมถึงส่งเสริมแบรนด์ของสินค้าต่อสายตาผู้บริโภค
ซึ่งการผลักดันให้แบรนด์สินค้าเป็นที่จดจำนั้น ต้องมีการวางแผนระยะยาว ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง


mm...ทุกองค์กรจำเป็นต้องสร้างแบรนด์

การสร้าง "แบรนด์"
มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับองค์กรในด้านการบริหารคนและองค์กร
อันดับแรก แบรนด์นั้นจะต้องมีความชัดเจนในการสื่อว่า สินค้าหรือบริการของตนเองคืออะไร
ใช้แล้วมีประโยชน์แค่ไหน ความต้องการของลูกค้าตรงกับสิ่งที่บริษัทอยากขายหรือไม่
และมีคุณค่าต่อลูกค้าอย่างไร องค์กรจะต้องตอบปัญหาเหล่านี้ให้ได้
เช่นเดียวกับการบริหารบุคคลที่องค์กรจะต้องทำให้พนักงานรู้ว่า บริษัททำธุรกิจอะไร มีผลตอบแทนอย่างไร
มีการสร้างผลงานให้ภาคภูมิใจแค่ไหน บริษัทเหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอย่างไร
เช่น มีสวัสดิการ หรือการฝึกอบรมต่างประเทศหรือไม่ เหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้พนักงานผนึกใจกันเป็นหนึ่งเดียว

"คำว่า Employment Branding เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
และเป็นความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ตลอดจนลูกค้าและคนในสังคม เมื่อเราต้องการให้ลูกค้าประทับใจ-
ในสินค้า พนักงานทุกคนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดัน ให้ลูกค้าสัมผัสถึงความรู้สึกนั้นได้" ผศ.ดร.ศิริยุพา กล่าว


mm...จะสร้างแบรนด์อย่างไร

ในการสร้างแบรนด์ให้กระทบใจลูกค้า และลูกจ้างจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ผศ.ดร.ศิริยุพา ระบุว่า
ต้องค้นหาว่าองค์กรสัญญาอะไรไว้กับลูกค้า เช่น สัญญาว่าสินค้าจะใช้ได้นาน หรือให้บริการที่ดี
ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสัญญาที่จะต้องทำให้ได้
ทั้งนี้ องค์กรจะต้องวิเคราะห์ว่า Employment Branding เข้ากับกลยุทธ์ในการบริหารงานของบริษัทหรือไม่
ขณะเดียวกันนโยบายด้านบริหารงานบุคคล ก็จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องค่าตอบแทน, การประเมินผล,
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน

"ไม่เพียงแต่การสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้น แต่เราต้องรักษาแบรนด์นั้นให้คงอยู่
เรื่องของการส่งสารสามารถทำได้ทั้งภายในและภายนอก บางบริษัททำอินเทอร์เน็ตและแฮนด์บุ๊กให้พนักงานรับรู้
หรือบางแห่งส่งชื่อบริษัท เพื่อเข้าประกวดชิงรางวัลชนะเลิศในด้านต่างๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างแบรนด์ในทางอ้อม"
ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาหลักสูตร สถาบันศศินทร์ กล่าว



mm...กลยุทธ์มัดใจต้องใช้ความรัก

การก้าวผ่านการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรต้องใช้กลยุทธ์และเทคนิคอันเหนือชั้น
ซึ่งจากประสบการณ์ในการทำงานเกือบ 20 ปีของ ปณิธาน เศรษฐบุตร
อดีตผู้บริหารสูงสุดของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
เครือข่ายฟาสต์ฟู้ดแถวหน้าของเมืองไทยอย่าง เคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ระบุชัดเจนว่า
สิ่งที่จะสามารถมัดใจลูกน้องและลูกค้าได้นั่นคือ การใช้ "ความรัก"
แต่การจะทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ดังนี้

1. วัฒนธรรมองค์กร
สิ่งแรกคือพนักงานจะต้องสนุกกับงาน มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความคลั่งไคล้ลูกค้าสุดชีวิต
นั่นหมายถึงอะไรก็ตามที่ทำให้ลูกค้ามีความสุขจะต้องทำทันที หากพนักงานทุกคนรักลูกค้าเหมือนพ่อ-แม่
ทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ จนหัวหน้างานแทบไม่ต้องสอนอะไรเลย เพราะทุกคนจะทำด้วยหัวใจที่รัก
ถัดมาคือ การสำนึกต่อหน้าที่ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ต้องรู้บทบาทว่าตนเองต้องทำอะไร
มีความรับผิดชอบในการทำงานเหมือนตนเองเป็นเจ้าของ

นอกจากนี้คือ ความเป็นทีมเวิร์ก
จะทำอย่างไรให้พนักงานทุกคนเกิดความเชื่อมโยงในหัวใจ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ท้ายสุดคือ เสาะหาโอกาสในการชื่นชมคนต่อหน้าธารกำนัล
โดยวันหนึ่งควรจะตั้งเป้าชื่นชมคนให้ได้ 3 คน (แต่จะต้องเป็นไปอย่างจริงใจ)


2. ทุกอย่างในโลกนี้สามารถทำได้

ปัจจัยที่จะทำทุกอย่างให้ประสบความสำเร็จ มี 3 อย่าง คือ เวลา เงินและคน
ดังนั้น การพัฒนาจะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทุกคนจะต้องคิดว่า วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน
ถ้าเป็นคนหาเงินก็ต้องคิดว่าวันนี้ต้องหาได้มากกว่าเมื่อวาน
หรือถ้าสร้างร้านยังไม่ดี ต้องคิดเสมอว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้


3. ภาวะความเป็นผู้นำ

หัวหน้างานที่ดีจะต้องเป็นโค้ชที่ดี นั่นหมายถึงการสอนไม่ใช่การสั่ง
ผู้นำองค์กรต้องมีความรู้และค้นคว้าสิ่งใหม่เสมอ เพื่อใช้เป็นข้อแนะนำให้กับลูกทีม
ทั้งนี้ อดีตผู้บริหารสูงสุดเคเอฟซีและพิซซ่า ฮัท ยกตัวอย่างการสั่งกับการสอนแบบเห็นภาพชัดเจนว่า
"สมมติเราบอกพนักงานว่า ให้นำเฟรนช์ฟรายด์ขึ้นจากน้ำมันทอดได้แล้ว นั่นคือการสั่ง
แต่ถ้าเป็นการสอนจะต้องบอกเขาว่า
เหตุผลที่เราต้องนำเฟรนช์ฟรายด์ขึ้นเวลานี้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะอมน้ำมันและไม่กรอบ เป็นต้น"

ไม่เพียงแค่นี้ หัวหน้างานจะต้องทำทุกอย่างแทนพนักงานได้ทุกเวลา
ไม่ว่าจะเก็บขยะ ปีนหลังคา หรือเวลาที่พนักงานไม่พอ ก็จะต้องสามารถช่วยงานได้ทันที
ซึ่งภาพเหล่านี้จะทำให้พนักงานเกิดความเชื่อมโยงในหัวใจ นอกจากนี้คือจะต้องพูดและลงมือทำ ไม่ใช่ดีแต่พูด
รวมถึงการอยู่แถวหน้าตลอดเวลา ไม่ใช่คอยสั่งการอยู่แต่ข้างหลัง
และสิ่งสำคัญคือ "ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักถ่อมตัว และเปิดใจกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง"

หลักการต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ระดับหัวหน้างาน และผู้บริหารขององค์กรจะนำไปประยุกต์ใช้เท่านั้น
พนักงานทุกระดับสามารถนำไปเป็นอาวุธทางปัญญา ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีชั้นเชิง


ที่มา : //www.jobjob.co.th




 

Create Date : 23 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 23 พฤษภาคม 2553 20:43:54 น.
Counter : 2829 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.