Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
5 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

วัดแววความสามารถ ช่องทางเสริมไอคิว-อีคิว



"เด็กทุกคนเกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเรียนรู้และศักยภาพภายในที่ซ่อนอยู่ในแต่ละเรื่อง
และเด็ก 1 ในหมื่นคนของแต่ละสาขาต้องเป็นอัจฉริยบุคคลได้
ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องสอนจากสิ่งที่เขาเก่ง ค้นพบจุดเด่นว่าเด็กเก่งจริง
ส่วนโรงเรียน ต้องมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับ ศักยภาพของเขาให้มากที่สุด"
เป็นคำพูดของ ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์
อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
ผู้กล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการด้านเด็กอัจริยะ ที่มีชื่อคนหนึ่งของประเทศไทย
ปัจจุบันเป็นประธานศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว ศูนย์แห่งนี้ จะทำการวัดแววความสามารถของเด็ก
เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมความรู้ความสามารถของเด็ก ได้ตามศักยภาพที่แท้จริง

ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์

ความสามารถของมนุษย์นั้น ผศ.ดร.อุษณีย์ บอกว่าจัดได้ 10 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษา กลุ่มคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหว ดนตรี ศิลปะ สังคม อารมณ์ การช่างและอิเล็กทรอนิกส์ และญาณปัญญา
โดยทั่วไปเด็กอัจฉริยะนั้นจะต้องแสดงความโดดเด่นออกมาอย่างน้อย 1 ด้าน
ซึ่งบางคนอาจจะมีความโดดเด่นเพียงด้านเดียวหรือหลายด้านก็ได้

การวัดแววความสามารถของเด็กนั้น
จะนำไปสู่การส่งเสริมการเรียนการสอนตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน
เพราะหากลูกมีแววอีกด้านหนึ่ง แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเป็นอีกอย่างหนึ่ง
จะเป็นการทำร้ายลูกไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้

วิธีการวัดแววความสามารถเด็กก็ไม่ได้ยุ่งยาก
แค่เพียงพ่อแม่ ผู้ปกครอง พาเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก
เจ้าหน้าที่จะให้เด็กเล่นตามความสนใจในมุมต่างๆ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ มุมสังคมศึกษา
มุมภาษา มุมดนตรี มุมอารมณ์และสังคม ฯลฯ
โดยทุกมุมได้ออกแบบสื่อและกิจกรรมที่ใช้ทฤษฎีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการพัฒนาความคิดระดับสูง ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา
เพื่อกระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมและความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายใน ให้ออกมาปรากฏอย่างเป็นธรรมชาติ
โดยไม่มีการสอบที่ถือเป็นการรีดเค้นทักษะศักยภาพ และไม่ใช่ความสามารถที่แท้จริง

แต่ละมุมจะมีเกม จิ๊กซอว์ ของเล่น เช่น กล้องจุลทรรศน์ โน้ตบุ๊ค สัตว์ ผลไม้
รวมถึงภาพโปสเตอร์ แผนที่ หนังสือที่มีภาพประกอบ ฯลฯ
เพื่อสังเกตถึงแววความถนัดและภาวะอารมณ์และสังคมของเด็ก
รวมถึงข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปกครอง เพื่อทดสอบระดับสติ ปัญญา (ไอคิว)

ที่สำคัญศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เน้นตรวจสอบไอคิวอย่างเดียว
แต่เน้นตรวจสอบเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ และสิ่งที่เด็กแสดงออกในศูนย์
เด็กแต่ละคน จะเข้ามาทำกิจกรรมในศูนย์ประมาณ 12 ครั้ง ตามความสะดวกของผู้ปกครอง
ซึ่งศูนย์จะมีชุดแบบสำรวจแววอัจฉริยะจำนวน 3 เล่ม ได้แก่
1. รู้จักและเข้าใจอัจฉริยะจิ๋ว 2. สำรวจแววลูกน้อย และ 3. แบบสำรวจแววอัจฉริยะ
พร้อมซีดี และเอกสารวัดแววความสามารถเด็กทั้ง 9 แวว ให้ด้วย

เมื่อทำกิจกรรมครบ 12 ครั้ง จะมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย แพทย์ นักจิตวิทยา นักการศึกษาพิเศษ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และนักวิชาการประจำศูนย์ รวมทั้งนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันประเมินผลความถนัดและภาวะอารมณ์ สังคม ความคิด ความถนัดพิเศษและจิตใจของเด็ก
หากพบผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ จะบอกให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้ส่งเสริมให้ถูกทางต่อไป
และให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความถนัดของเด็ก
รวมถึงการพัฒนาทางอารมณ์ สังคมและจิตใจในกรณีของเด็กปกติด้วย

โดยจะมีการเชิญผู้ปกครองมาพูดคุยเพื่อแนะนำการพัฒนาลูกเป็นรายๆ ไป
ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะว่าผู้ปกครองอาจจะไม่เข้าใจลูก
บางคนมีความคาดหวังกับลูกสูง บางคนเลี้ยงดูลูกมาผิดๆ
การเปลี่ยนความคิด วิธีการต่างๆ จึงเป็นเรื่องยาก เราต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบจิตใจของผู้ปกครอง
แต่ในขณะเดียวกันต้องหาทางให้พ่อแม่พัฒนาลูกให้ถูกทางด้วย

"เวลาที่เด็กแต่ละคนทำกิจกรรม ในศูนย์จะเล่นโดยอิสระ
โดยมีผู้ปกครองรอด้านนอก และมีแบบสอบถามให้ผู้ปกครองกรอกด้วย
โดยขอความร่วมมือว่าต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
และจะรับเด็กไม่มาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานอย่างละเอียด โดยหนึ่งคนต้องดูแลเด็กประมาณ 5 คน
ถ้ามากกว่านี้อาจจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดได้" ผศ.อุษณีย์ กล่าว

เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ
1. ต้องไม่ตั้งใจให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
2. ต้องดูว่าลูกทำอะไรได้ดีที่สุดพ่อแม่ต้องรีบสนับสนุนทันที
3. อย่าบังคับขู่เข็ญว่าลูกต้องเป็นตามที่พ่อแม่ต้องการ
4.ให้ลูกได้มีโอกาสเจอกับคนอื่น โดยเฉพาะคนเก่งๆ เพื่อให้ช่วยกระตุ้นศักยภาพออกมา

5. พ่อแม่ต้องทุ่มเวลาและความเข้าใจในการเลี้ยงดู
เพราะอัจฉริยภาพนั้นเริ่มจากความรัก ให้ลูกทำในสิ่งที่รักแล้วจะเป็นอัจฉริยะได้อย่างมีความสุข

6. พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกทำงานทุกชิ้นให้สำเร็จ
ฝึกให้เป็นคนทำงานหนัก เพราะในโลกนี้ไม่มีอัจฉริยะคนใดขี้เกียจเลย

และ 7.พ่อแม่ที่ให้ลูกเรียนเก่งอย่างเดียว ท้ายที่สุดจะพบความล้มเหลวในการทำงานในอนาคต
จึงอยากให้พ่อแม่ฝึกให้ลูกรับผิดชอบกับตนเองรอบด้าน ไม่ใช่เรื่องเรียนอย่างเดียว

ขณะเดียวกันโรงเรียนต้องมีส่วนในการพัฒนาแววเด็ก
หัวใจสำคัญคือต้องสร้างโอกาสให้เด็กแสดงออกที่หลากหลาย
เช่น การตั้งชมรมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมมากๆ เช่น ชมรมถ่ายรูป สร้างเวบไซต์ ฯลฯ
2. เปลี่ยนวิธีสอน จากบรรยายมาเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย

ภัทรียา (สงวนนามสกุล) คือแม่ที่นำลูกชายอายุ 7 ขวบมาวัดแววความสามารถ เล่าว่า
ครั้งแรกคิดว่าลูกเป็นอัจริยะทางคณิตศาสตร์
พอมาวัดแววปรากฏว่าลูกชอบศิลปะเขียนรูปสวยมาก และเกลียดคณิตศาสตร์ที่สุด
แต่ที่ทำคะแนนได้ดี และแข่งได้เหรียญทอง เพราะรักพ่อแม่ ไม่อยากให้เสียใจ
เมื่อรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกแล้ว ปัจจุบันเธอจึงให้ลูกเรียนด้านศิลปะควบคู่คณิตศาสตร์
ปรากฏว่าลูกทำได้ดีทั้งสองอย่าง
ทำให้ได้ข้อคิดว่าหากมุ่งเน้นคณิตศาสตร์อย่างเดียว อาจจะเป็นการทำร้ายลูกไป โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

การพาลูกไปวัดแววไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณจะเป็นอัจฉริยะ
แต่อย่างน้อยจะทำให้ได้รู้ว่าลูกของคุณมีแววความสามารถด้านไหน จะส่งเสริมอย่างไรให้ถูกทาง

พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่สนใจพาลูกอายุ 3-15 ปีไปวัดแววความสามารถ
ติดต่อไปได้ที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00-19.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,500 บาท
สอบถามได้ที่โทร.0-2644-1000 ต่อ 5632, 0-2260-2601, 0-2259-6173
ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว ได้เปิดเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2550


ข้อมูลโดย : //www.komchadluek.net
ที่มา : //www.dmh.go.th

ภาพจาก :
//www.fotosearch.com
//www.momypedia.com


สารบัญ แม่และเด็ก




 

Create Date : 05 เมษายน 2554
1 comments
Last Update : 5 เมษายน 2554 21:39:01 น.
Counter : 1827 Pageviews.

 

ดีจังค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

 

โดย: usagimom 8 เมษายน 2554 20:30:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.