Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
20 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

“5 อาการปวด” ยอดฮิต


อาการปวด สัญญาณอันตรายรีบรักษาก่อนสาย

อาการปวดต่าง ๆ หลายคนมองเป็นเรื่องเล็ก ๆ เพียงซื้อยาแก้ปวดตามร้านมาทานแล้วก็หาย
แต่ใน ความเป็นจริงอาจร้ายแรงกว่าที่คิด โดยเฉพาะกรณีที่มีอาการปวดบ่อยจนเรื้อรังยาวนาน

ล่าสุดมีคำแนะนำถึงอาการปวดยอดฮิตของคนไทย 5 อันดับ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ กล่าวว่า อาการปวดส่วนใหญ่ของคนไทยเกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ทั้งการกินอาหาร และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากการทำงานตอนนี้มีมากขึ้น
และน่าเป็นห่วงหากอนาคตคนไทยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย 5 อาการปวดประกอบด้วย

* 1.“ปวดหัว” ปวดไมเกรน
เป็นอาการปวดที่พบบ่อย หากมีอาการปวดมากเรื้อรัง ทำให้รบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน

บางกรณีมีอาการเตือนด้านการรับรู้ความรู้สึก
เช่น การมองเห็นแสง ชาแขนขา และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ถึงแม้อาการเหล่านี้รักษาไม่หายขาด
แต่การรักษาโดยใช้ยาร่วมกับการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมที่ลดความตึงเครียด จะช่วยทำให้อาการเหล่านี้บรรเทาลง

นพ.วีรชัย กล่ำน้ำผึ้ง กล่าวว่า อาการไมเกรน มีอาการปวดหัวข้างเดียว พบได้ 15% ของประชากรทั่วไป
พบมากในช่วงอายุ 20-25 ปี เพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน
ส่วนใหญ่มีอาการปวด 4-72 ชั่วโมง หากมีอาการปวดเรื้อรังมากกว่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
ด้านการรักษาที่ได้ผล แพทย์ต้องทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความตึงเครียดโดยให้สมุดบันทึก อาการปวด
และปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดแก่คนไข้ เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวทางแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดปัจจัยเหล่านั้นขึ้น


* 2.“ปวดคอ”
นพ.ธีร ศักดิ์ พื้นงาม อธิบายว่า กระดูก สันหลังส่วนคอมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
ตัวหมอนรองกระดูกสันหลังคอและตัวกระดูกสันหลังคอ ต้องรับแรงบิดและแรงกดอยู่เรื่อย ๆ
ยิ่งคนที่มีอายุมากขึ้น ข้อต่อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังจะเสื่อมสภาพภายในข้อต่อ
ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม
ก่อให้เกิดอาการปวดคอ ปวดสะบัก บางครั้งลามไปถึงหลังหู

“คนไข้ที่พบบ่อย ส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน ในสำนักงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าคนที่ทำงานใช้แรงงาน
เนื่องจากวางตำแหน่งเครื่องใช้สำนักงานไม่เหมาะสม จึงทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณส่วนคอต้องทำงานหนัก
ดังนั้นควรปรับเก้าอี้ให้สูงพอดีกับหน้าจอ โดยผู้ใช้ไม่ต้องก้มหรือหันบ่อย ๆ”

บางกรณีเป็นมาก อาจมีหินปูนหรือกระดูกงอกมาเกาะทำให้กดทับเส้นประสาท ไขสันหลังส่วนคอ
ทำให้ปวดไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ตลอดจนมีอาการมือขาชา ไม่มีแรงหยิบจับหรือเดินไม่ถนัด
ถ้ามีการกดทับเส้นประสาทมากขึ้นทำให้เกิดอาการเดินลำบาก เดินเซ ปัสสาวะ อุจจาระลำบาก

อีก กรณี หมอนรองกระดูกสันหลังคอที่เสื่อมอาจกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
ทำให้เกิดอาการมึนงง เวียนศีรษะ เสียงดังในหู ปวดกระบอกตา
อาการเหล่านี้ จะรุนแรงเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของคอ

แนวทางรักษาในกลุ่มที่มีอาการกดทับเส้นประสาทไม่มาก
แพทย์รักษาโดยการให้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด หรืออาจมีการดึงคอร่วมด้วย
ส่วนกลุ่มที่มีอาการกดทับเส้นประสาทมาก ต้องรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อนำหมอนรอง กระดูกที่เคลื่อน
หรือกระดูกที่งอกกดทับเส้นประสาทออก บางครั้งต้องใช้เหล็กดามร่วมด้วย


* 3.“ปวดข้อ”
ผศ.พ.อ. นพ.จิระเดช ตุงคะเศรณี กล่าวว่า โรคเข่าเสื่อมพบบ่อยในคนไทย
เนื่องจากบริเวณปลายกระดูกที่มาชนกันเราเรียกว่า ข้อที่มีกระดูกอ่อนเคลือบอยู่
กระดูกอ่อนมีหน้าที่หล่อลื่น ทำให้ไม่มีอาการเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหว
แต่พออายุมากขึ้นกระดูกอ่อนจะสึกกร่อนหรือมีลักษณะที่บางขึ้น
ทำให้กระดูกจริงที่มีเส้นประสาทอยู่ภายใน เมื่อยามขยับจะรู้สึกเจ็บปวด

แนว ทางแก้ไข
คนไข้ต้องลดน้ำหนักตัวให้มีความพอดี และออกกำลังกายโดยการหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณข้อเท้า
เช่น การปั่นจักรยาน โดยปรับอานให้มีลักษณะพอดีกับการยืดเท้า
ขณะเดียวกันควรหลีกเลี่ยงการยืนเดินหรือเดินขึ้นบันไดบ่อย ๆ
ไม่ควรยกของหนัก นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิเพราะทำให้ต้องงอเข่ามากเกินไป


* 4.“ปวดท้อง”
ผศ.นพ. ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ เล่าว่า อาการปวดท้องมีสาเหตุมาจากอวัยวะภายในช่องท้อง
และสาเหตุจากอวัยวะภายนอกช่องท้อง โดยสามารถแบ่งตามบริเวณการปวดได้ดังนี้

1.ชายโครงขวาคือตับและถุงน้ำดี มักกดเจอก้อนแข็งร่วมกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

2.ใต้ ลิ้นปี่ คือกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับและกระดูกลิ้นปี่
หากปวดประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะ
ถ้าปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ

3.ชายโครงขวาคือม้าม ซึ่งมักคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณนี้

4.บั้น เอวขวาคือ ท่อไต ลำไส้ใหญ่
ถ้าปวดร่วมกับ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดอาจเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ
ถ้าปวดร้าวถึงต้นขาเป็นนิ่วในท่อไต
ถ้าปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น เป็นกรวยไตอักเสบ

5.รอบสะดือ คือลำไส้เล็ก มักพบในโรคท้องเดินหรือไส้ติ่งอักเสบ

6.ท้อง น้อยขวาคือ ไส้ติ่งท่อไต และปีกมดลูก ปวดเกร็งเป็นระยะร้าวมาถึงต้นขาอาจเป็นก้อนนิ่วในกรวยไต
ถ้าปวดเสียดตลอดเวลาแล้วเจ็บมักเป็นไส้ติ่งอักเสบ
หากปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น อาจเพราะปีกมดลูกอักเสบ

7.ท้องน้อย คือกระเพาะปัสสาวะและมดลูก
หากปวดเวลาถ่ายปัสสาวะเป็นผลจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือนิ่ว
ในรายที่ปวดเรื้อรังในหญิงที่ไม่มีบุตรอาจเป็นเนื้องอกในมดลูก

8.ท้อง น้อยซ้ายคือปีกมดลูกและท่อไต
ปวดร่วมกับมีไข้หนาวสั่น ตกขาว อาจเป็นเพราะมดลูกอักเสบ
และหากมีอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ


* อาการปวดยอดฮิต ประเภทสุดท้ายที่มักพบบ่อย คือ “ปวดใจ”
โดย นพ.ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ กล่าวว่า อาการเจ็บแน่นหน้าอกนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผู้ป่วยมักแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดร้าวที่คอ แขนซ้ายหรือกรามร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน
เหงื่อออกผิดปกติ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกาย
พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค คือ
มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็น อายุมาก ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง สูบบุหรี่ เป็นเบาหวาน

วิธีแก้ไขหมั่นออกกำลังกายอย่างพอดี
และลดพฤติกรรมเสี่ยง รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ พร้อมกับตรวจสุขภาพเป็นประจำ


5 โรคปวดดังที่กล่าวมา แม้จะยังไม่ประสบในวันนี้
แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจเช็กร่างกายอยู่เสมอก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป.


บทความจาก เดลินิวส์
ที่มา: //www.thaihealth.or.th/node/11722




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 2 ธันวาคม 2552 3:46:59 น.
Counter : 950 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.