Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 
11 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
โรคหลอดเลือดหัวใจตืบ-ตัน



ในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีคนที่ผมรู้จักมักคุ้นดีทั้งในวงการกีฬาและนอกวงการ
กีฬาเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันหลายท่าน บางท่านมาเช็กร่างกายประจำปี
โดยไม่มีอาการใด ๆ มาก่อน บางท่านมีอาการบ้างเล็กน้อย แต่ลงท้ายพบว่าต้องทำการ
รักษาด้วยการใส่บัลลูนขยายหลอดเลือด
บางท่านต้องทำผ่าตัดบายพาส (By-Pass Surgery)
ในวันนี้ผมจึงใคร่ขอนำความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใ จตีบ-ตัน มาฝากท่านผู้อ่าน

หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน ได้อย่างไร?

หลอดเลือดแดง หมายถึง หลอดเลือดที่ออกมาจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
โดยนำออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายรวมทั้งหัวใจเองด้วย
ถ้าท่านแข็งแรงสมบูรณ์ดี หลอดเลือดแดงจะมีผนังที่เรียบ มีความยืดหยุ่นเพื่อปรับขยาย
หลอดเลือด โดยการยืดและหดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตที่มาก
ขณะที่หัวใจบีบตัว และความดันโลหิตลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว

ผนังด้านในของหลอดเลือดอาจมีไขมันมาเริ่มจับเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะรวมตัวกันมากขึ้น
จนเป็นแผ่นค่อย ๆ สะสมพอกตัวหนาขึ้นจนกระทั่งหลอดเลือดจะขาดความยืดหยุ่น
เพราะผนังภายในมีไขมันมาจับมากขึ้น จนกระทั่งผนังหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงหนา
ตัวขึ้นแล ะรูภายในหลอดเลือดตีบลง เปรียบเสมือนท่อเหล็กที่มีสนิมสะสมอยู่ภายใน
การไหลเวียนของเลือดก็จะลดลงไปด้วย เราหวังว่าท่านคงจะเข้าใจดีว่า
หลอดเลือดจะตีบและแข็งตัวจนกระทั่งรูสำหรับการไหลเวียนเลือดตีบตันลงไป
จะต้องเริ่มจากไขมันไปเกาะที่ผนังภายในหลอดเลือดก่อน

ดังนั้นผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติก็จะมีโอกาสเกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ง่ายกว่าคนที่
มีไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอทำให้หัวใจและระบบ
การไหลเวียนของโลหิตมีประสิทธิภาพดีขึ้น ก็จะไม่มีไขมันมาเริ่มเกาะตามผนังหลอดเลือด
แต่อย่างใด โอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดก็มีน้อยลงไป


ผลของหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน

ปกติกล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารมาเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
ตลอดเวลา เพื่อทำหน้าที่ในการบีบตัวและส่งเลือดผ่านหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ของร่างกาย รวมทั้งตัวกล้ามเนื้อหัวใจเองด้วยโดยผ่านทางหลอดเลือดหัวใจ 3 แขนงใหญ่

ไขมันอาจเริ่มจับที่ผนังด้านในหลอดเลือดหัวใจเหล่านี้ ก่อนที่จะรวมตัวกันมากขึ้นจนเป็น
แผ่นค่อยๆสะสม พอกตัวหนาขึ้นจนกระทั่งหลอดเลือดตีบมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาด
เลือดมาเลี้ยงได้ นอกจากนี้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดหัวใจ อาจเกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตัน
หลอดเลือดเหล่านี้ได้ และเมื่อร่างกายของท่านต้องทำงานมากขึ้น
เกิดสภาวะเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หัวใจของท่านจะเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตจะ
สูงขึ้น หัวใจของท่านต้องการเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น แต่หลอดเลือดหัวใจของท่านตีบตันท
ี่เกิดขึ้นก็คือ กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดมาเลี้ยงให้เพียงพอต่อการทำงานปกติ
ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดขึ้นได้ และถ้าหากมีการอุดตันโดยลิ่มเลือด
ในหลอดเลือดหัวใจแขนงใดแขนงหนึ่ง จะทำให้เกิดภาวะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาแนะนำให้ใช้ชื่อว่า “หัวใจพิบัติ”
ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีอันตรายเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ
บางครั้งเกิดขึ้นรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วหรือในทันทีทันใด


ข้อเท็จจริงจากการศึกษาวิจัย

การศึกษาวิจัยที่มีเผยแพร่ออกมาตลอดเวลา ทำให้เรามีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
ในเรื่องของหลอดเลือดที่เกิดมีการตีบตันและขาดความยืดหยุ่นโดยให้ข้อสรุปไว้ดังนี้

1. การที่หลอดเลือดมีไขมันมาพอกที่ผนังภายในหลอดเลือด
จนกระทั่งเกิดการตีบและขาดความยืดหยุ่นนั้น
ในปัจจุบันสามารถพบได้ตั้งแต่คนอายุยังน้อย เช่น ในวัยรุ่นเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. คนส่วนใหญ่ที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
มักจะไม่มีอาการแสดงออกใดๆเลย และตามสถิติพบว่ามีผู้ป่วยถึง 1 ใน 3
ที่เสียชีวิตทันทีภายหลังที่มีอาการครั้งแรกเท่านั้น

3. หากปล่อยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ผลกระทบจากการที่เลือดมาเลี้ยงไม่พอ
จนกระทั่งเกิดมีแผลเป็นอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว
ก็จะเป็นการยากที่จะแก้ไขให้หัวใจกลับมาทำงานได้ 100% เหมือนเดิม
ทำให้ความสามารถในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดน้อยลงไป


โรคหัวใจจากหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งในประเทศไทยด้วยที่มีสถิติคนเป็นโรคนี้
มากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวกันว่าในปัจจุบันโรคหัวใจจากหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เป็นต้นเหตุ
ประมาณ 30% ของการตายทั้งหมด พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
และในประเทศกำลังพัฒนาจะมีปัญหาของโรคนี้น้อยกว่า

สถิติที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ มีผู้ศึกษาวิจัยไว้ในสหรัฐอเมริกาและนำมาตีพิมพ์ในหนังสือของ
แพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งในประเทศไทยก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันดังนี้คือ

1. พบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ กว่าแต่ก่อนมาก ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง
แต่ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีโอกาสเป็นมากขึ้น และผู้หญิงที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
มีโอกาสเป็นโรคนี้พอ ๆ กับผู้ชาย

2. ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคนี้เป็น 2 เท่าของผู้ไม่สูบบุหรี่ และพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะเป็น
โรคนี้เมื่ออายุ 35-45 ปี มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 5 เท่า

3.ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและเป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูง
ส่วนผู้ชายที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคนี้ 2 เท่าของผู้ชายที่ไม่เป็นเบาหวาน
ส่วนผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 5 เท่าของผู้หญิงที่ไม่เป็นเบาหวาน

4.ผู้ที่มีครอบครัวหรือญาติพี่น้องใกล้ชิดเป็นโรคนี้จะ มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่า

5.ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐานจะมีโอกาสเป็นโรคน ี้ได้มากกว่า

6.ผู้ที่ทำงานไม่ได้ใช้แรงงานมาก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ทำงานโดยการใช้กำลังกาย

7.ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี มีประวัติรับประทานยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่า


ปัจจัยเสี่ยงสำหรับท่านมีอะไรบ้าง ?

ในปัจจุบันการค้นคว้าศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ
ที่เป็นผลมาจากเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ-ตัน พบว่ามีหลายสาเหตุ
นับว่าเป็นต้นเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นและยังพบอีกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ
หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตั้งแต่วัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะกล่าวถึงต่อไป
พบว่าหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว


ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญมาก 3 ประการ คือ

1. ผู้ที่สูบบุหรี่ ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้สูบบุหรี่เองหรือผู้ที่สูบบุรี่มือสอง ซึ่งได้แก่
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อยู่ในบ้าน ในที่ทำงานหรือในสถานบันเทิงที่มีการสูบบุหรี่กันอย่างมาก

2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

3. ผู้ที่มีไขมันเลือดสูง

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่

1. ผู้ที่มีประวัติว่าในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่
2. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
3. ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน

ท่านหรือผู้ที่ท่านรักและห่วงใยจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงใดบ้าง ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ท่านสามารถลาออกจากกลุ่มเสี่ยงเหล่านั้นได้ไม่ยาก
ถ้าท่านมีความตั้งใจจริงและแน่วแน่ที่จะประพฤติปฏิบั ติตนเองเสียใหม่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลิกสูบบุหรี่ นอกจากตัวเองจะได้ประโยชน์แล้ว
ท่านยังมีส่วนช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่นที่อยู่รอบข้างท่านด้วย
และที่สำคัญ คือบุคคลในครอบครัวของท่านนั่นเอง
ส่วนเรื่องความดันโลหิตสูงก็คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงของท่านไปได้

น.อ.(พิเศษ) นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ //www.dailynews.co.th/


Create Date : 11 มกราคม 2552
Last Update : 11 มกราคม 2552 10:31:44 น. 1 comments
Counter : 1546 Pageviews.

 
ชอบอ่านเพราะอยากหาข้อมูลเอาไว้เผื่อตัวเองมีปัญหาจะได้รู้แนวทางแก้ไข


โดย: คนความรู้น้อย IP: 118.174.84.95 วันที่: 4 กันยายน 2555 เวลา:10:10:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.