Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
หลัก 9 ข้อสังเกตสมองเสื่อม




บรรดาโรคยอดฮิตในปัจจุบันนี้ มี ‘โรคสมองเสื่อม’ติดอันดับอยู่ด้วยค่ะ และนับวันก็ยิ่งมากขึ้น
เพราะโรคสมองเสื่อมมักเกิดกับผู้สูงอายุ ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาการสมองเสื่อมนี้ต่างจากอาการหลงลืมตามวัยของผู้สูงอายุ เพราะอาการหลงลืมตามวัย เช่น
ลืมของทิ้งไว้แล้วจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ใด จำชื่อเพื่อนเก่าซึ่งไม่เคยพบกันมานานไม่ได้ เป็นต้น
อาการหลงลืมตามวัยนี้จะสามารถช่วยให้ดีขึ้นและเกิดน้อยลงได้
ถ้าผู้สูงอายุมีสมาธิดีขึ้นหรือมีความตั้งใจที่จะจดจำสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างจริงๆจังๆ
ข้อสำคัญอาการหลงลืมตามวัยนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

แต่อาการหลงลืมถึงขั้นเกิดภาวะสมองเสื่อมนั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองโดยรวม
จึงมีผลให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
เกิดการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและพฤติกรรมอย่างชัดเจน
อาการผิดปกติจะเกิดขึ้นอย่างน้อยเป็นเวลานานถึง 6 เดือน
แพทย์จึงจะสามารถวินิจฉัยว่าเกิดจากภาวะสมองเสื่อมได้


หลัก 9 ข้อ สังเกตสมองเสื่อม
อาการของโรคสมองเสื่อมที่สามารถสังเกตเห็นได้แก่

1.อาการจากความจำสิ่งใหม่ๆบกพร่อง ในขณะความจำเรื่องเก่าๆยังปกติดี
ทำให้ผู้สูงอายุนั้นถามซ้ำๆ ซากๆ ในคำถาม เดิมบ่อยๆ พูดซ้ำประโยคเดิมบ่อยๆ

2.บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น จำคำพูดระหว่างสนทนากันไม่ได้
จึงถามซ้ำๆ ออกมา หรือพูดวกวนเรื่องเก่าวางสิ่งของไม่เป็นที่แล้วลืมว่าวางไว้ที่ใด โดยลืมของหลายสิ่งมากขึ้น
จำเหตุการณ์ปัจจุบันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น กินข้าวเช้าแล้วก็บอกว่ายังไม่ได้กิน จึงเรียกหาอาหารอยู่เรื่อยๆ

3.บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ ซับซ้อนหลายขั้นตอน เช่น เคยจ่ายกับข้าวมาประกอบอาหารได้
ก็กลายเป็นซื้อส่วนประกอบขาดๆเกินๆหรือปรุงอาหารใช้ส่วนผสมแปลกๆ หรือไม่สามารถกดเงิน จากตู้เอทีเอ็มได้
หรือไม่สามารถต่อโทรศัพท์เองได้ทั้งที่เคยทำได้ หรือไม่สามารถซื้อของแล้วทอนเงินได้ถูกต้อง เป็นต้น

4.บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา เช่น นั่งดูน้ำล้นอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร
ไม่กล้าตัดสินใจ หรือตัดสินใจผิดพลาดในหน้าที่การงาน แม้ในเรื่องเล็กๆ น้อย
หรือไม่สามารถทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้

5.หลงทาง เช่น เดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก
หรือเมื่อขับรถไปในถิ่นที่คุ้นเคยก็จำทางไม่ได้จนขับรถหลงทาง

6.บกพร่องในการใช้ภาษา ได้แก่ พูดตะกุกตะกัก หรือพูดเพี้ยนไปเพราะนึกชื่อสิ่งของที่จะเรียกไม่ได้
เช่น เรียกเสื้อเป็นแสง เรียกเตียงเป็นตู้ หรือเรียกกระเป๋าว่าไอ้นั่นอยู่ตลอด พูดซ้ำๆถามซ้ำๆในระหว่างการสนทนา
บ่อยๆ หรือพูดไม่เป็นประโยค ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งอาจพูดน้อยลงจนถึงขั้นเกือบไม่พูดเลยก็ได้

7.บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน
เช่น เคยเปิดโทรทัศน์ได้ก็ไม่สามารถหาวิธีเปิดดูช่องที่ต้องการได้ แต่จะพูดให้คนอื่นมาเปิดให้ดูแทน
เคยใช้เตารีดได้ก็ทำไม่ได้ เคยเล่นดนตรีได้ก็เลิกเล่น เป็นต้น

8.มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองบกพร่อง
เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัว ญาติต้องคอยเตือนให้ทำอยู่เสมอ กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
ปัสสาวะราดหรือปัสสาวะในที่ที่ไม่ควรปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะข้างเตียงนอนหรือเก้าอี้นั่ง
กินอาหารมูมมาม หกเรี่ยราดทั้งที่เคยเป็นคนเรียบร้อย เลือกเสื้อผ้า รองเท้า แต่งตัวไม่สมเหตุสมผล เช่น
ใส่รองเท้าหนังขึ้นเตียงนอน แต่งชุดนอนออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ เป็นต้น
เคยขึ้นรถเมล์ หรือแท็กซี่คนเดียวได้ ก็ไม่สามารถทำได้

9. พฤติกรรมแปลกๆ และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง กลายเป็นคนเฉยเมย ไม่กระตือรือร้น
โมโหฉุนเฉียวง่ายเมื่อใครทำอะไรให้ไม่ถูกใจ หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูงทั้งที่เคยไปมาหาสู่กันอยู่เสมอๆ
เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย ทำอะไรซ้ำซาก เช่น รื้อหาสิ่งของ เปิดตู้ เปิดลิ้นชักหาของอยู่หลายวัน
อาจมีอาการคล้ายโรคจิต เช่น เห็นภาพหลอน หรือมีความเชื่อ ความคิดหลงผิดจากการคิดไปเองได้เป็นครั้งคราว
หรือชั่วขณะหนึ่ง นอนไม่หลับหรือลุกขึ้นมากลางดึก แล้วเดินไปเดินมา แต่ก็มีบางรายนอนทั้งวันทั้งคืน
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับก็ได้


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงมีทั้งส่วนที่ป้องกันได้หรือ หลีกเลี่ยงได้ แต่บางสิ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์
ปัจจัยของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น เคยเป็น อัมพฤกษ์ หรืออัมพาตมาก่อน
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจเต้นผิดปกติ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ
หรือขาดสารอาหารบางชนิด พันธุกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ง่าย เช่น มีญาติใกล้ชิดมีภาวะสมองเสื่อม

ภาวะหรือโรคใดที่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง ก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นๆ รวมถึงควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจร่างกาย เรื่องความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ ตับ ไต ตรวจเบาหวาน
สม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

เมื่อผู้สูงอายุมีอาการที่สงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม ควรรีบนำไปพบแพทย์ เพราะภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลาย
สาเหตุ เช่น โรคสมองฝ่อจากโรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะน้ำในโพรงสมองมีมากเกินไป
เนื้องอกในสมอง โรคพาร์กินสัน โรคสุราเรื้อรัง โรคติดเชื้อ เรื้อรังในสมอง เป็นต้น

ผู้สูงอายุอาจมีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ หรือป้องกันได้ แพทย์จะเป็นผู้ตรวจหาว่าอาการเหล่านี้
เกิดจากสาเหตุใด สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ เช่น เกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้อยู่ เกิดจากภาวะซึม
เศร้า เกิดจากการเสพสุราเรื้อรัง เกิดจากโรคติด เชื้อในสมอง หรือเกิดจากการเห็นหรือการได้ยินบกพร่อง เป็นต้น

อย่าลืมนะคะว่า การได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น
เป็นเรื่องสำคัญมากในการรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมให้ได้ผลดีที่สุด

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหนังสือสาระน่ารู้ เพื่อผู้สูงวัย โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล



Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 19 เมษายน 2552 10:17:55 น. 1 comments
Counter : 894 Pageviews.

 
ที่บ้านยังมะมีใครเป็น ตะกะกลัวเหมือนกัน


โดย: ถุงก๊อปแก๊ป วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:11:32:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.