Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
17 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น



โดยทั่วไปประสาทหูจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 20 ปี จนมีปัญหาเรื่องการได้ยินเมื่ออายุประมาณ 55-65 ปี
เมื่อหูเสื่อมแล้วไม่มีทางกลับมาได้ยินชัดเจนเหมือนเดิม ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟังไปตลอดชีวิต
ที่สำคัญเสียงจากเครื่องช่วยฟังไม่เสนาะหูเหมือนเสียงตามธรรมชาติ
และอาจทำให้ผู้ที่ใช้ในระยะแรกๆ เป็นโรคซึมเศร้าด้วย

หูเสื่อม : โรคฮิตมาแรง (แซงทางโค้ง)
ประสาทหูเสื่อมหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "หูเสื่อม" เป็นภาวะที่ได้ยินเสียงลดลง หรือไม่ได้ยินเลย
เกิดจากการรับเสียงดังเกินไปและนานเกินไป แต่ปัญหาหูเสื่อมไม่จำเป็นต้องมาจากเสียงรบกวนเสมอไป
อาจเกิดขึ้นจากเสียงที่พึงปรารถนาด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น
ติดนิสัยฟัง MP3 ตลอดเวลาโดยเปิดในระดับดังมากๆ
การเที่ยวกลางคืนบ่อยๆ ทำให้เซลล์รับเสียงคลื่นในความถี่ 2,000-6,000 เฮิร์ตท์ (Hz)
ถูกกระทบกระเทือนจนทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจึงไม่ได้ยินเสียงพูดคุยระดับปกติและต้องฟังเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ


โรคหูเสื่อม แบ่งเป็น

โรคหูหนวก หรือหูบอดสนิท
สาเหตุ
แก้วหูทะลุและหูอักเสบที่รุนแรง หูหนวกแต่กำเนิด พิษจากยา (สเตรปโตไมซิน,คาน่าไมซิน,เจนตาไมซิน)
โรคคางทูม ไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ รูปแบบการดำเนินชีวิตเช่น การดำน้ำ

อาการ
* ไม่สามารถได้ยินเสียงใดๆ เลย ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัด
* เป็นใบ้ ถ้าหากเกิดขึ้นก่อนสองขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาการพูด

โรคหูตึง แบ่งเป็น
* หูตึงแบบไม่มีเสียงในหู
* หูตึงแบบมีเสียงในหู (หูอึง) คือ มีเสียงหวีดก้องในหู โดยหาที่มาของเสียงไม่ได้
มักมีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา และมีเสียงดังมากขึ้น เมื่อต้องอยู่ในสถานที่เงียบสงัด เช่น ในห้องนอน

สาเหตุ
กรรมพันธุ์ เยื่อหูชั้นในฉีกขาด และเซลล์รับเสียงถูกกระทบกระเทือน ไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อาการ
* ความสามารถในการได้ยินลดลงเรื่อยๆ จนต้องฟังเสียงดังมากขึ้น

* อาจมีอาการร่วม เช่น เวียนหัว มึนงง รู้สึกบ้านหมุน


เสียงดังทำให้หูเสื่อมได้ทั้งหูหนวกและหูตึง ใน 2 ลักษณะ คือ

หูเสื่อมแบบเฉียบพลัน
หลังจากฟังเสียงดังมากๆ แค่ไม่กี่นาที เนื่องจากเยื่อหูชั้นในฉีกขาด เสียน้ำในหูและเซลล์รับเสียงไม่สามารถทำงาน
ซึ่งหากแผลไม่ใหญ่เกินไป เนื้อเยื่อกลับมาประสานกันหรือน้ำในหูคืนสู่สภาพเดิม
ความสามารถในการได้ยินอาจกลับคืนมาเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์
แต่ถ้าเนื้อเยื่อฉีกขาดมากจนไม่สามารถประสานกันได้จะทำให้หูหนวกถาวร

หูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป
เกิดจากฟังเสียงดังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่ต่อเนื่องครั้งละหลายชั่วโมงก็ตาม

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าหูเริ่มเสื่อม ได้แก่
ปวดหูเวลาได้ยินเสียงดัง ทั้งๆ ที่เสียงนั้นอาจไม่ดังมากเกินไป ปวดหูมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับความดังของเสียง
ทนฟังเสียงรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์วิ่งผ่านไม่ได้ เพราะเกิดอาการปวดหู บาดหู
บางครั้งอาจรู้สึกปวดร้าวไปถึงสมอง หรือไม่สามารถแยกแยะคำพูดของคู่สนทนาได้ เป็นต้น


MP3 Player : ความสุขราคาแพงของหู
เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 คุณอาจรู้สึกว่าเสียงไม่ดังเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดอย่างจริงจังจะพบว่า
บางคนฟังเพลงดังมากกว่า 100 เดซิเบลเอ ทำให้หูเสื่อมเช่นเดียวกับการได้ยินเสียงดังรูปแบบอื่นๆ
วิธีสังเกตว่าเครื่องเล่นเพลง MP3 ดังเกินไปหรือไม่ดูได้จาก
คุณเซ็ตความดังเสียงเครื่องเล่นไว้เกินกว่า 60% ของระดับเสียงสูงสุดหรือไม่

เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 ยังสามารถได้ยินเสียงจากสิ่งรอบตัวหรือไม่

คนอื่นๆ ได้ยินเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ของคุณหรือไม่

เมื่อฟังเครื่องเล่น MP3 คุณต้องตะโกนคุยกับคนอื่นหรือไม่

หลังจากฟังเครื่องเล่น MP3 คุณมีอาการหูอื้อหรือไม่

หากมีพฤติกรรมต่างๆ ข้างต้นแสดงว่าคุณฟังเพลงเสียงดังเกินไป
ควรปรับระดับเสียงให้ต่ำลงและลดระยะเวลาฟัง MP3 ลง


ปัญหาที่มากับเสียงดัง
การได้ยิน คือสูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หูหนวก หรือหูอึง

ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น ระบบไหลเวียนโลหิตบกพร่อง
จนอาจนำไปสู่โรคหัวใจ และปอดแตกฉับพลัน

สุขภาพจิต รบกวนการทำงาน การพักผ่อน ทำให้เกิดความเครียด หรือการตื่นตระหนก
และอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้า และโรคจิตประสาท

สมาธิ ความคิด และการเรียนรู้ ทำให้ขาดสมาธิ
ประสิทธิภาพการคิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้และการรับฟังข้อมูลลดลง

ลดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รบกวนระบบและความต่อเนื่องของการทำงาน
ทำให้ทำงานล่าช้า คุณภาพและปริมาณงานลดลง

การติดต่อสื่อสาร ขัดขวางการได้ยิน ทำให้การสื่อสารบกพร่อง ต้องตะโกนคุยกัน ได้ยินเพี้ยน
ในเด็กเล็กทำให้พัฒนาการด้านการฟัง การพูด และการออกเสียงเพี้ยนไป

กระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าว เสียงดังจะเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง
และอาจถึงขั้น "สูญเสียการควบคุมตนเอง" จนทำร้ายผู้อื่นได้ แม้ได้ยินเสียงดังเพียงเล็กน้อย


ป้องกันมลพิษทางเสียง : เรื่องนี้คุณช่วยได้

รู้จักความพอดีและมีกาลเทศะ เช่น ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่นทั้งในบ้าน
และที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่แห่งนั้นให้เร็วที่สุด

ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ทุกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง
ไม่ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์ดังเกินไป
ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหู
ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี
สังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว
หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขนแสดงว่าเสียงที่นั้นดังเกินไป

ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ให้ควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกินไป
ร้องเรียนเหตุเสียงดัง โทร.1555 (กรุงเทพมหานคร) หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650

ที่มา :นิตยสาร Health & Cuisine


เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง
โรคหูตึงจากเสียงดัง




Create Date : 17 เมษายน 2552
Last Update : 17 เมษายน 2552 15:30:42 น. 1 comments
Counter : 851 Pageviews.

 
น่ากัวมากคับ ผมฟังเพลงตลอดเสียง60+แน่นอน +วันละหลายชั่วโมง...ไม่แน่บางวันออกไปข้างนอก10ชม.+ด้วยซ้ำ มีโอกาสหูดับมากไม๊คับไม๊คับ? อีกอย่างแม่ผมเล่าไห้ฟัง แฟนพี่สาวผม เค้าฟังเพลงเหมือนผม ตอนนี้เปนอัมพลึก นอนหยอดน้ำข้าวต้มอะคับ เหนบอกว่าเกิดจากประสาทหูอักเสบ...เปนไปได้ไม๊คับ???


โดย: uun IP: 124.121.42.22 วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:1:23:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.