Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 
4 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
5 อาการคุกคามคนบ้างาน



สำหรับมนุษย์งาน เกือบทั้งหมดของชีวิตมีแต่คำว่า "งาน"
หลายคนภาคภูมิใจกับความสำเร็จของงานที่เกิดจากความทุ่มเทของตัวเอง
แต่อย่าลืมว่าแม้ใจยังสู้ แต่ร่างกายเราไม่ใช่เครื่องจักร ย่อมมีวันที่เหนื่อยและอ่อนล้า

กว่า 10% ของคนเมืองมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น ’โรคออฟฟิศ ซินโดรม-Office Syndrome’
ซึ่งมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นและมลพิษต่างๆ ที่สำคัญ ‘พฤติกรรมการทำงาน’
ก็นับว่าเป็นปัจจัยให้เกิดความเสี่ยงสูงที่สุด ด้วยสภาพการทำงานที่ต้องรีบเร่ง การอดอาหาร
อดหลับอดนอนเพื่อทำงานให้เสร็จ ทำให้ร่างกายของเราก็ต้องแบกรับภาวะความตึงเครียด
ปราศจากการผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อร่างกายโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้น คนเมืองส่วนมากจึงมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังกันมาก
จากผลสำรวจพบว่า 5 อันดับโรคยอดฮิต เกาะติดชีวิตคนเมือง มีดังนี้


‘ไมเกรน’
โรคปวดศีรษะเรื้อรัง การปวดหัวบริเวณขมับ ด้านหน้าศีรษะหรือหลังต้นคอ นั่นคือ
สัญญาณเตือนให้คุณรู้ล่วงหน้าว่า สภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค ‘ไมเกรน’
ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเกร็งตัวสะสมของกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ
จนจับตัวเป็นก้อนที่เรียกว่า จุด ‘Trigger Point’
และจุดดังกล่าวไปกดทับบริเวณเส้นเลือดที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงศีรษะ
ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ

วิธีการดูแลให้ห่างไกลจากโรคนี้ เช่น
พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่ร้อนจนเกินไป
บริหารกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอให้มีการยืดหยุ่นอยู่เสมอเพื่อเลี่ยงการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
เปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งทำงานเพื่อลดการเกร็งตัวสะสมของกล้ามเนื้อ


สภาวะเสียสมดุล
เกิดจากเส้นประสาทที่ไปควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายทุกระบบ รวมทั้งกล้ามเนื้อ
และข้อต่อต่างๆ ซึ่งระบบรากประสาททั้งหมดออกมาตามแนวกระดูกสันหลัง
แต่หากแนวกระดูกสันหลังเสียสมดุล ไม่อยู่ในแนวความโค้งที่ปกติ
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนั่งทำงานในท่าผิด หรือทำงานในลักษณะซ้ำๆ ตลอดทั้งวัน

ในระยะแรกอาจไม่แสดงผลอย่างชัดเจน แต่ถ้าละเลยอาจรุนแรงถึงขั้นทับเส้นประสาท
อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ หรือแม้แต่ส่งผลให้เป็นโรคภัย,ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติได้ด้วย

การดูแลและป้องกันนั้น มีวิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองทุกวัน เช่น
การยืดหยุ่นร่างกายไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป เพื่อลดอัตราการเกร็งกล้ามเนื้อ
หรือไม่ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากเกินไปหรือเพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
บริเวณกระดูกสันหลังทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ


กระดูกสันหลังคดงอ ‘อาการปวดหลังเรื้อรัง’
หนุ่มสาวชาวออฟฟิศสมัยใหม่ ที่ทำงานนั่งอยู่กับโต๊ะใช้ชีวิตคร่ำเคร่งอยู่หน้าจอ
คอมพิวเตอร์เกือบวันละ 8 ชั่วโมง ใส่ร้องเท้าส้นสูงบ่อยๆนั่นคือสาเหตุเริ่มต้นของ
โรคปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งโดยค่าเฉลี่ย 80% มักจะเคยมีอาการปวดหลังสักครั้งในชีวิต
และกว่า 20% จะพบว่ามีอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง มาจาก ‘กระดูกสันหลังคดงอ’

วิธีการรักษาที่นิยมทำกันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี คือ
การรักษาด้วยการให้ยาและกายภาพบำบัดแบบ Passive ซึ่งช่วยลดอาการปวดได้ดี
รวมถึงการออกกำลังกายที่เน้นตรงกล้ามเนื้อในส่วนที่มีปัญหา


ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นกล้ามเนื้อต้นคออักเสบ
โรคนี้กำลังขยายวงกว้างในกลุ่มคนที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลา นานๆ
โดยสาเหตุหลักเกิดจากการการใช้ข้อมือในการยึดจับสิ่งของ หรือเม้าส์คอมพิวเตอร์ในท่าเดิมๆ
เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ
และเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการปวดของปลายประสาท
หรือเส้นเอ็นบริเวณต้นคอเกิดการอักเสบนั้นก็เกิดจากสาเหตุเดียวกัน

วิธีปฎิบัติง่ายๆ ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือทุก 15-20 นาที
หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางใน
ด้านการรักษาแบบ ‘Manual Therapy’ หรือการบำบัดด้วยวิธีการใช้มือเป็นหลัก


‘หูดับ’
โรคประสาทหูเสื่อม ชีวิตคนเมืองที่ใช้มิวสิกโฟนผ่านทางมือถือและเครื่อง MP3
การใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมได้
ในขั้นต้นหากรู้สึกว่าได้ยินเสียงลดลงได้ยินเสียงไม่ชัดเจนต้องตั้งใจฟังหรือให้คู่สนทนาต้อง
พูดซ้ำบ่อยๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อตรวจหาสาเหตุความบกพร่อง


ที่มา..ไลฟ์เซ็นเตอร์


Create Date : 04 มกราคม 2552
Last Update : 4 มกราคม 2552 10:28:32 น. 0 comments
Counter : 713 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.