Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
มะเร็งเข้ากระดูก ภัยเงียบที่ต้องระวัง



ขึ้นชื่อว่า "มะเร็ง"คงไม่มีใครอยากเข้าไปข้องเกี่ยว แต่ทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเสี่ยงเท่าๆ กันเลยทีเดียว
ซึ่งมะเร็งที่พบมากในเพศหญิง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรกคือ
มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ขณะที่เพศชาย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่
มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งในช่องปากและลำคอ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

แต่สิ่งที่กังวลมากกว่าอาการป่วยด้วยโรคมะเร็ง นั่นคือภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคซ้ำซ้อน ซึ่งมีมากมายหลายโรค
แต่โรคมะเร็งที่เรียกว่า "มะเร็งเข้ากระดูก"
ถือเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำกับผู้ป่วยมะเร็งหรือมีประวัติการเจ็บป่วย เป็นโรคมะเร็งมาก่อนสูงทีเดียว

รศ.พ.ญ.สุพัตรา แสงรุจิ หัวหน้าสถานวิทยามะเร็งศิริราช โรงพยาบาลศิริราช เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เมื่อรักษาหายแล้วก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรมารับการตรวจติดตามผลการรักษากับแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
เพราะอาจเกิดโรคมะเร็งเป็นซ้ำใหม่ที่เดิม หรือเกิดโรคมะเร็งกระจายไกลไปตามอวัยวะต่างๆ ได้ เช่น
ปอด ตับ กระดูก และสมอง เป็นต้น มะเร็งกระจายไปกระดูก พบมากเป็นอันดับ 3
ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ การตรวจวินิจฉัย แพทย์อาจจะใช้วิธีทุบเบาๆ ตรงตำแหน่งที่ปวด ส่งไปตรวจกระดูกทั้งตัวที่
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือส่งภาพถ่ายภาพเอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง


โรคมะเร็งที่ชอบลุกลามไปกระดูกมาก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งไต
มะเร็งกระเพาะลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดในโพรงกระดูก (Multiple Myeloma)
เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว การตรวจวินิจฉัยได้เร็ว ได้รับการรักษาทันท่วงที ผลการรักษาจะดีกว่ามาพบแพทย์ช้า

ตามกลไกปกติของร่างกาย เมื่อกระดูกโตเต็มที่จะมีการปรับแต่งกระดูกให้เข้ารูป
โดยมีทั้งการสร้างและการสลายกระดูกเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกัน
กระดูกจะไม่มีการเปลี่ยนรูปทรงแต่จะมีความแข็งแรงขึ้น แต่มะเร็งเข้ากระดูกนั้น อาจเกิดจากมะเร็งที่เกิดขึ้นใน
กระดูกเอง หรือเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดเม็ดเลือดบางชนิดในโพรงไขกระดูก
หรือเกิดจากเซลล์มะเร็งในอวัยวะอื่นกระจายไปที่กระดูก โดยการเจาะทะลุหลอดเลือดและไหลไปตามหลอดเลือด
แล้วจึงแทรกตัวผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปเกาะตัวบริเวณเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกบางส่วนถูกทำลาย
เกิดเป็นรูขนาดเล็กจำนวนมาก ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงและแตกหักง่าย


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูก
โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก
ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์
เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4
ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทราบก่อนว่า
เป็นภาวะมะเร็งเข้ากระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที "


อาการแสดงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูก คือ
1.อาการกระดูกแขนขาหักจากโรคเอง โดยไม่ได้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม หรืออาจหกล้มไม่รุนแรง แต่กระดูกหัก

2.อาการจากกระดูกสันหลังที่ถูกมะเร็งทำลายจนยุบหรือกร่อน กดทับไขสันหลัง
ทำให้เกิดอาการชามือ เท้า หรือแขนขาอ่อนแรงได้

3.อาการปวดกระดูกมาก

4.อาการภาวะแคลเซียมในเลือดสูง จะมีอาการได้เหล่านี้อยู่ด้วย อาการซึมหมดสติ มือเท้ามีความรู้สึกชาผิดปกติ
ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัสสาวะผิดปกติ หิวน้ำ ดื่มน้ำมาก เป็นต้น


การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูก

1.การให้ยา ประกอบด้วย ยาบรรเทาอาการปวด ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาลดแคลเซียมในเลือด
ซึ่งการให้ยาลดแคลเซียมในเลือดจะช่วยลดอาการปวดกระดูกและช่วยให้กระดูกแข็ง แรงอีกทางหนึ่ง

2.การให้รังสีรักษาเพื่อลดอาการปวดเฉพาะที่ จะช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเฉพาะตำแหน่งได้ดี
โดยเฉพาะในรายที่เข้ากระดูกบริเวณสันหลัง ทำให้เกิดการกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาต
ซึ่งการให้รังสีจะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการอัมพาตได้
ในบางรายที่เป็นมากหลายตำแหน่งอาจจะฉีดสารกัมมันตรังสี summarium เพื่อลดอาการปวดได้

3.การผ่าตัดกระดูก เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวเป็นปกติมากที่สุด การรักษาชนิดนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่พบว่า
เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูกที่รับน้ำหนักมาก เช่น กระดูกต้นขา เมื่อเกิดอาการกระดูกหัก
แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดเพื่อนำวัสดุทางการแพทย์เข้าไปเสริมให้กระดูกมีความแข็งแรง เช่น การใส่เหล็กเข้าไปใน
โพรงกระดูกขา เสริมความแข็งแรงของกระดูกบริเวณขา ทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินไปตามปกติอีกระยะหนึ่ง


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูกคือ
การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะควรเพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้
สูดอากาศบริสุทธิ์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำและทำจิตใจให้แจ่มใส

เพียงเท่านี้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็สามารถมีชีวิตที่ยืนยาว ดำรงชีวิตอยู่ได้เทียบเท่าคนปกติแล้ว

ที่มา มติชน


Create Date : 22 มีนาคม 2552
Last Update : 22 มีนาคม 2552 13:39:26 น. 1 comments
Counter : 4072 Pageviews.

 
น่ากลัวจัง


โดย: arm IP: 180.180.73.206 วันที่: 3 มิถุนายน 2558 เวลา:20:12:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.