Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
1 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
โรคปวดเข่าในผู้สูงอายุ

โรคปวดเข่าในผู้สูงอายุ

อาการปวดเข่าพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไปและในคนสูงอายุ
เพราะว่าขณะที่เดิน หัวเข่าจะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย
ถ้าร่างกายอ้วนมาก น้ำหนักที่มากก็จะลงไปที่หัวเข่าจะทำให้เกิดปวดเข่าได้

ระยะแรกจะรู้สึกปวดทั่ว ๆไปที่บริเวณเข่า ต่อมาจะปวดไปที่บริเวณขาส่วนล่าง
และจะพบว่ามีอาการบวมรอบ ๆ ข้อเข่าได้
สาเหตุเนื่องจากภายในข้อเข่าจะมีกระดูกรูปครึ่งวงกลม 2 อันอยู่ที่ด้านนอกและด้านในของหัวข้อเข่า
ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและทำให้ข้อไม่หลวม
กระดูกอ่อนรูปครึ่งวงกลมนี้ อยู่ระหว่างกระดูกต้นขากับกระดูกส่วนล่าง
ถ้าเกิดการอักเสบบริเวณนี้เรียกว่า ข้อเข่าอักเสบ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่ามีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
และมีน้ำหนักมากเกินไปเกิดจากอุบัติเหตุเช่น เล่นกีฬา หกล้มหรือได้รับแรงกระแทกรุนแรง


ข้อปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่า
● ออกกำลังกายโดยการบริหารเข่าในท่าที่เหมาะสมสม่ำเสมอวันละประมาณ 30 นาที
● หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ปวดเข่า เช่น การยืนนาน ๆ การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ
● ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
● รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น ปลาเล็กปลาน้อย นม
● ให้ร่างกายได้รับแสงแดดในตอนเช้า ๆ
● หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
● การมีอิริยาบถหรือท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
● ระมัดระวังการหกล้ม

ในผู้สูงอายุควรทำการบริหารข้อเข่า เพื่อช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่ามีความแข็งแรง
ป้องกันการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นและเป็นการลดอาการปวดข้อเข่า (ในรายที่มีปัญหาปวดหัวเข่า)



ท่าบริหารข้อเข่า คือ

1. ท่าเกร็งกล้ามเนื้อเข่า
วิธีปฏิบัติ คือนั่งในท่าหลังตรงมือทั้งสองข้างจับเก้าอี้หรืออาจวางมือที่ต้นขา เหยียดเข่าข้างซ้ายให้ขาตรง
แล้วค่อย ๆยกขาขึ้นและพยายามเกร็งกล้ามเนื้อหัวเข่าให้อยู่ในท่านี้นานประมาณ 5 - 20 วินาที
(อาจนับ 1 - 20 อย่างช้า ๆ) หลังจากนั้นค่อย ๆ พักขาลง
เริ่มเหยียดข้อเข่าขวาและบริหารด้วยวิธีเดียวกัน ทำสลับกันข้างละ 5 - 10 ครั้ง

2. ท่ายกเข่าขึ้นลง
วิธีปฏิบัติ คือนั่งในท่าหลังตรง วางฝ่ามือทั้งสองบนต้นขาทั้งสองข้าง
ค่อย ๆยกเข่าขวาชันสูงในระดับพอควรอย่างช้า ๆ สลับยกเข่าซ้ายในวิธีเดียวกัน ทำเช่นนี้ประมาณ 5 - 10 ครั้ง

หากท่านผู้สูงอายุ สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
จะทำให้สุขภาพของท่านแข็งแรงขึ้น ทั้งนี้ต้องประกอบกับการดูแลตนเองทางด้านโภชนาการ
และการหมั่นมาตรวจสุขภาพ ทำจิตใจให้ผ่องใสจะทำให้สามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายได้


บทความโดย เวธกา กลิ่นวิชิต
ที่มา : //www.uniserv.buu.ac.th
ภาพจาก : //www.sciencedaily.com


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 01 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 25 เมษายน 2553 18:15:13 น. 0 comments
Counter : 1058 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.