Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 

เตรียมตัวให้สดใสเตรียมใจให้แข็งแรงก่อนผ่าตัด

เตรียมตัวให้สดใสเตรียมใจให้แข็งแรงก่อนผ่าตัด

คุณเคยเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ ความรู้สึกตอนนั้นเป็นอย่างไรคะ
หวาดกลัว วิตกกังวล เครียด สับสน ไม่มั่นใจในการผ่าตัดและผลของการรักษาที่จะเกิดขึ้น

ถ้าลองวิเคราะห์ดูจะพบว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับท่าน อาจมีสาเหตุจากการที่ท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัด
และการปฏิบัติตนทั้งในระยะก่อน ขณะและระยะหลังผ่าตัดอย่างเพียงพอก็ได้
ถ้าอย่างนั้นลองฟังดูนะ ว่าเราจะเตรียมตัวเตรียมใจก่อนผ่าตัดอย่างไรบ้าง

เมื่อผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัด แพทย์และพยาบาลจะซักประวัติและตรวจร่างกายทุกระบบ
เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะส่งตรวจในห้องแล็ป รวมทั้งเอ็กซเรย์ปอด
ท่านที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ และหลอดเลือดต้องได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย
หลังจากนั้นพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตน ดังนี้

● ต้องงดน้ำและอาหารทุกชนิดจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้รับประทานได้
รวมทั้งห้ามอมลูกอม เคี้ยวหมากหรืออมเมี่ยงในระยะก่อนผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
เพื่อป้องกันการสำลักเอาน้ำหรือเศษอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ ในขณะที่ดมยาสลบ

● หากมีอาการปากคอแห้งให้บ้วนปากกลั้วคอด้วยน้ำเปล่าบ่อยๆ
โดยเฉพาะน้ำอุ่นๆจะช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำได้

● หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆและรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน วิตามินบี และวิตามินซีสูง
เพื่อให้แผลผ่าตัดหายเร็วๆ

● พยาบาลจะทำการฟอกผิวหนังและทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และอาจโกนขนบริเวณผิวหนังที่จะลงมีดผ่าตัด
เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและลดจำนวนแบคทีเรียที่อยู่บริเวณผิวหนัง และบริเวณใกล้เคียงให้เหลือน้อยที่สุด
ไม่จำเป็นต้องสวนอุจจาระโดยเฉพาะในการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน

● ผู้ป่วยควรถ่ายปัสสาวะก่อนไปห้องผ่าตัด เพื่อทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ซึ่งเป็นการป้องกันการถ่ายปัสสาวะราดขณะทำผ่าตัด

● ผู้ป่วยต้องถอดฟันปลอมออก เนื่องจากขณะที่ดมยาสลบ กล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกายจะมีการคลายตัว
ทำให้ฟันปลอมหลุดออกและตกลงไปในหลอดลมคอได้
อาจมีอาการหายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

● ต้องถอดอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ เช่น แขนขาปลอม ลูกตาปลอม แว่นตาและเครื่องช่วยฟัง เป็นต้น
เก็บไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัยหรือฝากไว้กับครอบครัวของผู้ป่วย

● ห้ามใช้เข็มเสียบผมหรือกิ๊บติดผม
เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดประกายไฟในระหว่างที่ดมยาสลบ
และไม่ควรใช้หนังยางรัดผมเพราะหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร อาจทำให้หนังยางไหม้หลอมละลายติดกับผมได้

● ผู้ป่วยไม่ควรแต่งหน้าทาปากและทาเล็บ
เนื่องจากบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก และเล็บมือเล็บเท้าเป็นจุดที่สามารถสังเกตอาการเขียวคล้ำ
จากการขาดออกซิเจนหรือสังเกตภาวะซีดจากการเสียเลือดได้อย่างชัดเจน

● ผู้ป่วยต้องถอดเครื่องประดับหรือของมีค่า ฝากครอบครัวของผู้ป่วยหรือพยาบาล
เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน

● ท่านควรฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี
โดยนอนหงายศีรษะสูง 30-90 องศา วางมือข้างหนึ่งไว้บนทรวงอก จะได้รู้สึกว่าปอดมีการเคลื่อนไหว
ส่วนมืออีกข้างหนึ่งวางไว้บนหน้าท้อง หายใจเข้าทางจมูกอย่างเต็มที่ กลั้นหายใจไว้นับ 1-5
จากนั้นผ่อนลมหายใจออกทางปาก โดยห่อริมฝีปากและค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆจนหมด
พร้อมกับใช้มือข้างที่วางบนหน้าท้องดันหน้าท้องให้ยุบตัวลง แล้วจึงเริ่มหายใจเข้าทางจมูกใหม่
ปฏิบัติเช่นนี้อย่างน้อย 10-15 ครั้ง หรือมากเท่าที่ต้องการ
แต่ควรหยุดพักเป็นช่วงสั้นๆหลังจากที่ฝึกการหายใจ 5 ครั้ง ติดต่อกัน
และควรฝึกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในระยะก่อนผ่าตัด

● นอกจากนี้ควรฝึกไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ก๊าซยาสลบจะได้ระบายออกจากปอดได้ดี และสามารถหายใจเพื่อขับเสมหะออกมาได้ดีขึ้น
ป้องกันการสะสมหรือการคั่งค้างของเสมหะ
วิธีการปฏิบัติสามารถทำได้ โดยผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
ประสานมือทั้งสองข้างวางเหนือบริเวณแผลผ่าตัด เพื่อให้แผลผ่าตัดอยู่นิ่ง
หรือตรึงแผลผ่าตัดให้อยู่กับที่ในระหว่างเวลาไอ จะช่วยบรรเทาความปวดแผลผ่าตัดขณะที่ผู้ป่วยไอ
หายใจเข้าออกลึกๆตามวิธีการหายใจที่กล่าวมาข้างต้นจำนวน 2-3 ครั้ง จากนั้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่
อ้าปากเล็กน้อย แล้วไอออกมาแรงๆ ปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 5 ครั้ง
แต่ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง ต้องระมัดระวังอย่าไอแรงเกินไป เดี๋ยวเกิดแผลผ่าตัดแยกได้

● ผู้ป่วยที่กำลังรอรับการผ่าตัด มักจะมีอาการนอนไม่หลับจากความวิตกกังวล
พยาบาลจะแนะนำวิธีการพักผ่อนนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ
หรือแพทย์อาจพิจารณาให้ยานอนหลับ ในคืนก่อนผ่าตัดและเช้าวันที่ผ่าตัด
หรือผู้ป่วยอาจใช้วิธีการผ่อนคลายความวิตกกังวล หรือความเครียดที่ตนเองเคยปฏิบัติอยู่
เช่น การทำสมาธิสวดมนต์ การอ่านหนังสือที่ชอบ การฟังเพลง การเล่นเกมส์ที่โปรดปราน เป็นต้น

● หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายให้เร็วที่สุด และออกกำลังกายตามความสามารถ
แต่ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป

วิธีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนผ่าตัดนั้นไม่ยากจนเกินไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
หากได้ผลดีก็ขอให้ช่วยบอกต่อๆกันนะคะ แต่ถ้าไม่ได้ผลจะเขียนจดหมายมาปรึกษาเราก็ได้
หรือถ้ามีข้อติชมใดๆ ก็ยินดีน้อมรับค่ะ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ


โดย ผศ.ดารัสนี โพธารส
ที่มา : //www.uniserv.buu.ac.th


สารบัญสุขภาพ




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2551
0 comments
Last Update : 25 เมษายน 2553 21:08:30 น.
Counter : 657 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.