Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
ผู้หญิง ปวดเบาแต่หนักเกินทน!

ผู้หญิง ปวดเบาแต่หนักเกินทน!

National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse (NKUDIC)
รายงานว่า ในปี 2000 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจและวินิจฉัย เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจำนวนกว่า 8.27 ล้านคน!
และพบว่าผู้หญิงอายุ 20-74 ปี คิดเป็น 53.5 % ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
นอกจากนี้ทาง Kidney and Urology Foundation of America ยังสรุปว่า
ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงอเมริกันเคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ...

สรุปแล้วในชีวิตลูกผู้หญิงจำนวนกว่าครึ่ง เคยทรมานกับโรคนี้มาก่อน!

ร่างกายผู้หญิงช่างซับซ้อน อันที่จริงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถเกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
แต่ผู้หญิงมักเป็นได้ง่ายและบ่อยกว่า อันเนื่องมาจากสรีระร่างกายที่กำหนดให้ ผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย
ดังนั้น เมื่อเชื้อโรคจากช่องคลอดและทวารหนักเกิดรุกล้ำเข้าไปในท่อปัสสาวะ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ

ปวดเบา ...แต่หนัก
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็คือ
ถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งได้น้อย แต่ปวดบ่อย แสบหรือขัดท่อปัสสาวะขณะถ่ายปัสสาวะ
หรือปวดท้องน้อยและหลังส่วนล่าง ปัสสาวะมีสีขุ่น อาจมีเลือดปนและมีกลิ่นเหม็น
ถ้าปล่อยไว้นาน อาจเกิดการอักเสบลุกลามไปกรวยไต ทำให้มีไข้สูง รวมถึงคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
และปวดหลังบริเวณใต้ชายโครง


ปวดแบบนี้...เดี๋ยวค่อยไปก็ได้

การกลั้นปัสสาวะ
เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้หญิงทรมานกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในเวลาต่อมา
เพราะใจจดจ่อกับธุระเบื้องหน้าอยากทำต่อเนื่อง
หรือกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัยของห้องน้ำสาธารณะ ถึงขนาดยอมกลั้นจนกว่าจะถึงบ้าน

และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะที่ไม่ถูกต้อง
ซึ่งควรทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
มิฉะนั้นเชื้อโรคบริเวณทวารหนักและช่องคลอดจะเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้

ใส่กางเกงคับเกินไป ทำให้ไม่ระบายอากาศจนเกิดความอับชื้น
รวมถึงการไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย หรือใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดด้วยมือที่ไม่สะอาด

การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกอนามัย อวัยวะเพศหญิงสัมผัสกับมือหรืออวัยวะเพศชายที่ไม่สะอาด
รวมถึงการเสียดสีกับช่องคลอดส่วนที่ติดกับกระเพาะปัสสาวะแรงๆ ทำให้เกิดโอกาสถลอกเป็นแผลอักเสบ
และติดเชื้อได้

การสอดท่อสวนปัสสาวะ หรือเครื่องมือแพทย์เข้าไปในท่อปัสสาวะที่ไม่สะอาด หรือสอดไว้นานเกินไป
กรณีนี้มักเกิดช่วงผ่าตัด คลอดบุตร หรือผู้สูงอายุที่ต้องเปลี่ยนถ่ายท่อสวนปัสสาวะบ่อยๆ

กังวลช่วงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์จะปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เพราะการขยายตัวของมดลูกและกระดูกเชิงกราน
และน้ำหนักของเด็กเบียดพื้นที่กระเพาะปัสสาวะ
นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือความเครียดเข้ามาส่งผลอีกด้วย

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เมื่ออายุมากขึ้น การควบคุมหรือกลั้นปัสสาวะก็ลดประสิทธิภาพลง
ซึ่งการปัสสาวะเล็ดแบบนี้ เพิ่มโอกาสให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
และเมื่อถึงวัยทองการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดเจริญได้ง่าย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อท่อในปัสสาวะได้เช่นกัน



วิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำๆ

เมื่อสังเกตหรือสงสัยว่าตนเองเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะ
ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที ก่อนที่จะเกิดอักเสบและติดเชื้อมากกว่านี้
โดยแพทย์จะซักถามถึงความบ่อยในการขับปัสสาวะ การดื่มน้ำและการตรวจกดบริเวณท้องน้อยหรือหลัง
หรืออาจนำตัวอย่างปัสสาวะไปวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
จากนั้นแพทย์ก็จะจ่ายยารับประทานยาฆ่าเชื้อหรือฉีดยาตามความเหมาะสม

อาจให้ดื่มน้ำผสมโซเดียมคาร์บอเนตครั้งละ 1 ช้อนชา
เพื่อลดความเป็นกรดและระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงให้รับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย
ซึ่งต้องรับประทานยาจนครบตามคำแนะนำของแพทย์
แต่หลังจากอาการดีขึ้นก็ต้องระวังเรื่อง

- การไม่กลั้นปัสสาวะ เพราะปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็นแหล่งเพาะเชื้ออย่างดี

- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน
สามารถดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ผสม

- หมั่นรักษาความสะอาดและสุขอนามัยของอวัยวะเพศ
โดยการเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง
การไม่ใส่กางเกงหรือชุดชั้นในที่รัดหรืออับชื้น เลี่ยงการใส่กางเกงหรือกระโปรงซ้ำๆ โดยไม่ซัก

- สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ อาจขอยารับประทานจากคุณหมอติดไว้ที่บ้าน
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณยาและวิธีรับประทานอย่างละเอียด

- รู้แบบนี้แล้ว เสียเวลาไปเข้าห้องน้ำและใส่ใจความสะอาดสักนิด
รับรองว่าปวดเบาจะไม่เป็นปัญหาหนักๆ สำหรับคุณ



วิธีการรักษาอาการเบื้องต้นที่บ้าน

- ถ้าคุณรู้ว่าตนเองเริ่มมีอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภายใน 24 ชั่วโมงให้รีบดื่มน้ำมากๆ
เพื่อลดความเข้มข้นของปัสสาวะและขับเชื้อโรคออกมาให้มากที่สุด

- พยายามปัสสาวะให้สุดในแต่ละครั้ง

- ถ้ารู้สึกปวดท้องน้อย นำกระเป๋าน้ำร้อนมาวางประคบไว้เพื่อลดอาการปวดได้
แต่ไม่ควรนอนหลับและประคบทิ้งไว้ตลอดคืน


ข้อมูลจาก HealthToday
ที่มา : //www.uniserv.buu.ac.th


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 02 ธันวาคม 2551
Last Update : 26 เมษายน 2553 0:03:22 น. 0 comments
Counter : 628 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.