Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
‘โรคหัวใจ’ กับวัยทำงาน



โรคหัวใจมักเกิดกับวัยทำงาน พบบ่อยในวัยกลางคน ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป คือ ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ
ความเครียด การรับประทานอาการอย่างเร่งรีบ และมีโภชนาการแย่ลง
ประกอบกับการออกกำลังกายน้อย อันเป็นสาเหตุทำให้อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น

ผู้ป่วยบางรายอาจละเลยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น มักคิดว่าตนเองยังแข็งแรงอยู่
ซึ่งกว่าจะมาพบแพทย์ก็มีอาการของโรคที่รุนแรง และเสี่ยงต่อโรคร้ายไปแล้ว

อาการของโรค
ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย การออกแรง
หรือภาวะเครียด เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก ใจสั่น วูบหมดสติ น้ำท่วมปอด เป็นต้น


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
1. การสูบบุหรี่ หรือเพิ่งเลิกสูบบุหรี่ได้ไม่เกิน 2 ปี หรือได้รับควันบุหรี่สม่ำเสมอ (แม้ไม่ได้สูบบุหรี่)
2. โรคประจำตัว อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคเครียด


ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

1. เพศและอายุ
เพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป
เพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป หรือหญิงหลังหมดประจำเดือน

2. ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ



วิธีการรักษาโรค
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมี 3 แนวทางใหญ่ๆ เบื้องต้น แพทย์มักให้การรักษาโดยการรับประทานยา
แต่ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบมาก อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
ร่วมกับการใส่ขดลวด หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำบายพาสหัวใจ



แนวทางการป้องกัน

1. รับประทานอาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันสูง
2. ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30-40 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. หยุดสูบบุหรี่
4. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
5. ลดความเครียด
6. หมั่นตรวจสุขภาพร่างกาย และอย่ามองข้ามอาการเล็กน้อย



โรคหัวใจ...กับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

โรคหัวใจเป็นคำรวม ถ้าแยกรายละเอียดจะแบ่งโรคหัวใจออกได้อีกหลายชนิด เช่น
โรคหัวใจจากหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ อาจตีบหรือรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เป็นต้น
โรคหัวใจทั้งหมดนี้ หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ในที่สุดก็จะมีอาการโรคหัวใจที่เหมือนกัน
คือเกิดอาการเหนื่อยง่าย มีอาการหอบเมื่อออกแรง
ทั้งหมดเกิดจากการที่หัวใจทำงานผิดปกติที่เรียกว่าหัวใจล้มเหลว หรือภาวะหัวใจวาย

ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะนี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องด้วยวิธีการต่างๆ
รวมทั้งการใช้ยาเพื่อรักษาอาการดังกล่าว
เมื่ออาการหายไป ผู้ป่วยสบายขึ้นแล้วควรเริ่มฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
เพื่อบำบัดอาการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ
เพราะถ้าปล่อยให้เนิ่นนานเกินไปจะทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆ เสื่อมสภาพตามกันจากการหยุดพักนานเกินไป
การเริ่มฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในเวลาที่เหมาะสม จะเป็นการทำให้หัวใจกลับมาทำงานได้ปกติเร็วขึ้น
แล้วยังเป็นการป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย


ข้อมูลโดย :
//www.komchadluek.net
//www.lisaguru.com

ที่มา :
//www.thaihealth.or.th
//health.kapook.com


สารบัญสุขภาพ



Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 12 มิถุนายน 2553 10:44:40 น. 0 comments
Counter : 937 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.