happy memories
Group Blog
 
All blogs
 

เติ้ง ลี่จวิน ๑





ถ้าถามว่านักร้องจีนคนไหนที่ชอบที่สุด หลาย ๆ คนคงตอบเหมือนเราว่า "เติ้งลี่จวิน" นี่แหละ เป็นแฟนเพลงเธอมานานเป็นชาติ ได้ยินเสียงร้องครั้งแรกก็ปิ๊งเลย เสียงเธอหวาน กังวานใส เติ้งลี่จวินเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาก ร้องเพลงอะไรก็เพราะไปหมด ร้องได้หลายภาษา ทั้งจีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง โดยเฉพาะเพลงญี่ปุ่น ฟังทีแรก นึกว่าเป็นนักร้องญี่ปุ่น ออกเสียงได้ชัดมหัศจรรย์ ร้องดีจนคนญี่ปุ่นหลงรักไปตาม ๆ กัน น่าเสียดายที่เธอจากโลกไปเร็วเกิน แฟนเพลงทั่วโลกช็อคสุด ๆ กับข่าวการสูญเสียนักร้องในดวงใจ เมืองไทยดังไปทั่วโลกตอนที่เธอมาเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ด้วยโรคหอบหืดที่เมืองเชียงใหม่

ตั้งใจว่าจะทำบล็อคเติ้งลี่จวินมานาน เพิ่งจะอัพได้สำเร็จ เราได้แต่ฟังเพลง ไม่ค่อยรู้เรื่องส่วนตัวของเธอเท่าไหร่ ดีที่หาข้อมูลได้ไม่ยาก แถมเยอะซะด้วย จะอัพเรื่องนักร้องคนโปรด จะให้พูดสั้น ๆ ก็กระไรอยู่ เลยจะเอาข้อมูลมาลงบล็อคให้ครบถ้วน ข้อมูลเลือกมาจากสองสามเวบ ส่วนรูปได้มาจากหลายเวบมาก ตอนเซฟก็ลืมจดว่ามาจากเวบอะไรมั่ง เลยไม่ได้ลงชื่อเจ้าของภาพไว้ ยังไงก็ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพไว้ตรงนี้ละกันค่ะ

เริ่มต้นด้วยข้อมูลจากวิกิพีเดีย มีเรื่องราวของเธอค่อนข้างละเอียด ตรงที่่พูดถึงเพลง เราทำลิงค์ให้กดเข้าไปดูคลิปในยูทูปได้ แปะเพลง "พระจันทร์แทนใจ" ประกอบบล็อคเป็นเพลงแรก ได้คุณ yzai ช่วยหาเนื้อเพลงให้ แปลเพลงโดยคุณหว่าหวา และกลอนประกอบเพลงโดยลุงแว่น ขอบคุณทั้งสามท่านมากนะคะ





https://www.youtube.com/watch?v=bv_cEeDlop0&feature=related




月 亮 代 表 我 的 心
yuè liang dài biăo wŏ de xīn
พระจันทร์แทนใจฉัน



你 問 我 愛 你 有 多 深
nǐ wèn wǒ ài nǐ yǒu duō shēn
เธอถามว่าฉันรักเธอลึกซึ้งเท่าใด

我 愛 你 有 幾 分
wǒ ài nǐ yǒu jī fēn
ฉันรักเธอมากน้อยเท่าไร

我 的 情 也 真
wǒ de qíng yě zhēn
ความรู้สึกของฉันก็จริงแท้

我 的 愛 也 真
wǒ de ài yě zhēn
ความรักของฉันก็แท้จริง

月 亮 代 表 我 的 心
yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn
แสงจันทร์เปรียบดั่งหัวใจฉัน

你 問 我 愛 你 有 多 深
nǐ wèn wǒ ài nǐ yǒu duō shēn
เธอถามว่าฉันรักเธอลึกซึ้งเท่าใด

我 愛 你 有 幾 分
wǒ ài nǐ yǒu jī fēn
ฉันรักเธอมากมายเท่าไหร่

我 的 情 不 移
wǒ de qíng bù yí
ความรู้สึกของฉันไม่เปลี่ยนแปลง

我 的 愛 不 變
wǒ de ài bù biàn
ความรักของฉันไม่แปรผัน

月 亮 代 表 我 的 心
yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn
แสงจันทร์เปรียบดั่งหัวใจฉัน





輕 輕 的 一 個 吻
qīng qīng de yī gè wěn
จูบหนึ่งอันแผ่วเบา

已 經 打 動 我 的 心
yǐ jīng dǎ dòng wǒ de xīn
ทำให้หัวใจฉันหวั่นไหว

深 深 的 一 段 情
shēn shēn de yī duàn qíng
ความรู้สึกลึกซึ้งห้วงหนึ่ง

教 我 思 念 到 如 今
jiào wǒ sī niàn dào rú jīn
ทำให้ฉันเฝ้าคนึงคิดถึงจนกระทั่งบัดนี้

你 問 我 愛 你 有 多 深
nǐ wèn wǒ ài nǐ yǒu duō shēn
เธอถามว่าฉันรักเธอลึกซึ้งเท่าใด

我 愛 你 有 幾 分
wǒ ài nǐ yǒu jī fēn
ฉันรักเธอมากมายเท่าไร

你 去 想 一 想
nǐ qù xiǎng yī xiǎng
เธอลองไปคิดทวบทวนดู

你 去 看 一 看
nǐ qù kàn yī kàn
เธอลองไปมองมองดู

月 亮 代 表 我 的 心
yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn
แสงจันทร์เปรียบดั่งหัวใจฉัน

你 去 想 一 想
nǐ qù xiǎng yī xiǎng
เธอลองไปคิดทวบทวนดู

你 去 看 一 看
nǐ qù kàn yī kàn
เธอลองไปมองมองดู

月 亮 代 表 我 的 心
yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn
แสงจันทร์เปรียบดั่งหัวใจฉัน



lozocatlozocatlozocat


จุมพิตจันทร์

เธอถามทัก ว่ารัก เธอมากไหม
รักลึกซึ้ง เพียงใด ให้เฉลย
ใจนี้รัก หนักหนา กว่าใดเลย
จันทร์ช่วยเผย เอ่ยรักแจ้ง ด้วยแสงจันทร์

เพียงจุมพิต อุ่นเอื้อ แนบเนื้อแก้ม
ซึ้งนั้นแซม แทรกไป กลางใจฉัน
เป็นห้วงสุข ลึกล้ำ เกินรำพัน
ยังเฝ้าฝัน ตรึงเตือน มิเลือนเลย

เธอถามทัก ว่ารัก เธอมากไหม
เด่นดวงจันทร์ นั่นไง คำเฉลย
จันทร์แทนใจ สื่อใจกัน จันทร์เจ้าเอย
เปิดใจเผย คนสนิท จุมพิตจันทร์.


ร้อยกรองโดย ลุงแว่น

lozocatlozocat











เติ้งลี่จวิน หรือ เทเรซา เตง (鄧麗君 ชื่อญี่ปุ่น テレサ・テン) เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ค.ศ. ๑๙๕๓ ที่เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน สัญชาติไต้หวัน มีอีกชื่อว่า เสี่ยวเติ้ง (小鄧) เสียชีวิตเมื่อ ๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๕๓๘ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย สิริรวมอายุ ๔๒ ปี หลุมฝังศพอยู่ที่เขาจินเป่าซัน






เติ้งลี่จวิน เป็นนักร้องเพลงจีนสากลชาวไต้หวันชื่อดังและมีอิทธิพลอย่างสูง บรรพบุรุษของเธอมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงและเพลงของเธอเป็นที่จดจำทั่วทั้งเอเชียตะวันออก และในหมู่ชาวจีนทั้งในประเทศจีน ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก จนมีคำกล่าวว่า "มีชาวจีนอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินเพลงของเติ้งลี่จวินที่นั่น" นอกจากนี้ เพลงของเธอยังเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเอเชียเป็นจำนวนมากเช่นกัน






เติ้งลี่จวินมีชื่อเสียงจากบทเพลงรัก และเพลงพื้นเมืองภาษาหมิ่นหนาน (ภาษาฮกเกี้ยน) เพลงที่โด่งดังจนรู้จักกันทั่วไปทั่วเอเชีย ได้แก่เพลง เถียนมี่มี่ (甜蜜蜜, Tiánmìmì แปลว่า หวานปานน้ำผึ้ง) และเพลง เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (月亮代表我的心, yuè liang dài biăo wŏ de xīn แปลว่า พระจันทร์แทนใจฉัน) ไม่เพียงเพลงภาษาจีนกลางเท่านั้น เธอยังเคยมีผลงานเพลงภาษาไต้หวัน ภาษากวางตุ้ง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษด้วย






เติ้งลี่จวินเสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากโรคหอบหืด ขณะเดินทางมาพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ขณะอายุได้เพียง ๔๒ ปี











ชีวิตวัยเยาว์






เติ้งลี่จวิน เกิดที่เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครอบครัวของเธอมาย้ายมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ได้เข้าเรียนในโรงเรียนสตรีกินหลิง เมื่อสมัยเด็กเคยชนะการประกวดร้องเพลงหลายรางวัล รางวัลใหญ่รางวัลแรกในชีวิตของเธอได้จากเพลง "พบอิงไถ" เพลงประกอบภาพยนตร์งิ้วหวงเหมยของชอว์บราเดอร์ เรื่อง "ม่านประเพณี" (梁山伯與祝英台, Liáng shān bó yú zhù Yīng tái, The Love Eternal) ในการประกวดที่จัดขึ้นโดยองค์การกระจายเสียงแห่งจีน (中國廣播公司, Broadcasting Corporation of China)






เมื่อ พ.ศ. ๒๕o๗ เธอได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวตลอดมา และเมื่อถึงทศวรรษที่ ๑๙๖o ไต้หวันได้ปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ชาวไต้หวันซื้อหาแผ่นเสียงได้ง่ายขึ้น จนทำให้พ่อของเธออนุญาตให้เธอออกจากโรงเรียน และหันมาเป็นนักร้องอาชีพอย่างเต็มตัว










ชีวิตนักร้อง






ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ เติ้งลี่จวินเริ่มมีชื่อเสียงครั้งแรก เมื่อเธอได้ร้องเพลงในรายการเพลงที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน ทำให้ต่อมาเธอได้เซ็นสัญญาบันทึกเสียงกับบริษัทไลฟ์เรคคอร์ด และออกอัลบั้มหลายอัลบั้มในปีต่อมา






ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ เติ้งลี่จวินได้สร้างชื่อในวงการเพลงของญี่ปุ่น โดยออกอัลบั้มเพลงภาษาญี่ปุ่นกับโพลิดอร์เรคคอร์ด และเข้าร่วมการประกวดร้องเพลงประจำปีของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (NHK) ในรายการ โคฮะคุ อุตะ กัสเซน (紅白歌合戦 Kōhaku Uta Gassen) ซึ่งจะนำนักร้องที่ประสบความสำเร็จในปีนั้น ๆ มาแข่งขันกัน เติ้งลี่จวินได้รับรางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมในปีนั้น เป็นผลให้เธอประสบความสำเร็จอย่างสูงในญี่ปุ่น และออกอัลบั้มภาษาญี่ปุ่นอีกหลายอัลบั้ม อันมีเพลงยอดนิยมหลายเพลง เช่น เพลง "โทะคิ โนะ นะงะเสะ นิ มิ โอะ มะคะเสะ" (時の流れに身をまかせ Toki no Nagare ni Mi wo Makase) หรือในฉบับภาษาจีนกลาง ชื่อเพลง "หว่อ จื่อ ไจ้ ฮู หนี่" (我只在乎你, wŏ zhĭ zài hu nĭ, I Only Care about you)




ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ เพลง "คูโค" (空港 kukou) หรือ สนามบิน การมีชื่อเสียงโด่งดังในญี่ปุ่นทำให้ เติ้งลี่จวิน ยังสามารถรักษาชื่อเสียงในญี่ปุ่นไว้ได้ แม้ว่าใน พ.ศ. ๒๕๒๒ เธอถูกต่อต้านในประเทศบ้านเกิดเป็นเวลาสั้น ๆ จากการที่เธอได้ซื้อหนังสือเดินทางสัญญาติอินโดนีเซียปลอมด้วยราคา ๒o,ooo เหรียญสหรัฐฯ เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างเล็ก ๆ ข้ออ้างหนึ่ง ที่รัฐบาลไต้หวันใช้ในการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่สาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ถูกบีบให้ออกจากสหประชาชาติ และสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเป็นสมาชิกแทนเพียงเล็กน้อย






ในทศวรรษที่ ๑๙๗o หลังจากที่เปิดตัวในญี่ปุ่น ชื่อเสียงของเติ้งลี่จวินก็เริ่มขจรขจายออกไปทั่วโลก ในช่วงนั้น เธอได้ออกผลงานเพลงภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับภาษาจีนกลาง เธอโด่งดังอย่างรวดเร็วในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ในไต้หวันเอง เติ้งลี่จวินไม่เพียงเป็นที่รู้จักในนาน "นักร้องอินเตอร์" เท่านั้น เธอยังเป็น "ขวัญใจทหารหาญ" อีกด้วย






เนื่องจากเธอเปิดแสดงให้เหล่าทหารชมอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ เธอยังเป็นลูกสาวของครอบครัวทหารอีกด้วย ในการแสดงของเธอสำหรับกองทัพนั้น เธอได้ร้องเพลงพื้นเมืองภาษาไต้หวัน เพื่อให้เข้าถึงใจชาวไต้หวันเดิม และยังร้องเพลงภาษาจีนกลางยอดนิยม ที่ทำให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้ลี้ภัยจากสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนรู้สึกคิดถึงบ้านมากยิ่งขึ้น






ในช่วงต้นของทศวรรษที่ ๑๙๘o ความตึงเครียดระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันยังคงคุกรุ่น เหล่านักร้องจากทั้งไต้หวันและฮ่องกงถูกแบนในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากถูกมองว่ามีความเป็นทุนนิยมเกินไป ถึงกระนั้น เติ้งลี่จวินก็ยังมีชื่อเสียงในหมู่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากชาวจีนส่วนหนึ่งนิยมหาเพลงจากตลาดมืด เพลงของเธอถูกเปิดทุกที่ ตั้งแต่สถานเริงรมย์จนถึงสถานที่ราชการ จนทางการสั่งแบนเพลงของเธอในที่สุด ชาวจีนให้ฉายาเติ้งลี่จวินว่า "เติ้งน้อย" (小鄧, xiăo dèng) เนื่องจากเธอมีแซ่เดียวกับเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยนั้น จนมีคำกล่าวว่า "เติ้งเสี่ยวผิงครองเมืองจีนยามกลางวัน เติ้งลี่จวินครองเมืองจีนยามราตรี"






ปลาย พ.ศ. ๒๕๒๔ เติ้งลี่จวินหมดสัญญากับโพลิดอร์เรคคอร์ด จากนั้น เธอเซ็นสัญญากับธอรัสเรคคอร์ดใน พ.ศ. ๒๕๒๖ และประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นอีกครั้ง ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เธอออกอัลบั้มที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด ชื่อ "ต้าน ต้าน โยว ฉิง" (淡淡幽情, dàn dàn yōu qíng, Light Exquisite Feeling) เพลงในอัลบั้มนี้ เป็นเพลงที่แต่งจากบทกลอนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง ๑๒ บท ประพันธ์ดนตรีโดยนักประพันธ์จากเพลงยอดนิยมของเธอเพลงก่อนๆ โดยใช้ดนตรีร่วมสมัย และมีกลิ่นอายของโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่ร่วมกัน






เพลงที่โด่งดังที่สุดจนบัดนี้นี้เพลง "ต้าน ย่วน เหยิน ฉาง จิ่ว" (但願人長久, dàn yuàn rén cháng jiŭ, Wishing We Last Forever) ช่วง พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๒ เติ้งลี่จวินออกเพลงยอดนิยมมากมาย จนแฟน ๆ ยกให้เป็น "ปีทองของเติ้งลี่จวิน" เติ้งลี่จวิน เป็นนักร้องคนแรกที่ได้รับรางวัลออลเจแปนเรคคอร์ดอวอด (All-Japan Record Awards) ๔ ปีติดต่อกัน (พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๑)






ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ เติ้งลี่จวินได้เปิดคอนเสิร์ตในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ขณะนั้น เกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของนักศึกษาชาวจีน ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เติ้งลี่จวิน ได้เปิดคอนเสิร์ตในนามของกลุ่มนักศึกษา เพื่อประกาศจุดยืน สนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มนักศึกษาในกรุงปักกิ่งของจีน คอนเสิร์ตดังกล่าวมีชื่อว่า "บทเพลงประชาธิปไตยเพื่อเมืองจีน" (民主歌聲獻中華, mín zhŭ gē shēng xiàn zhōng huá) จัดขึ้นที่สนามม้าแฮปปี้วัลเลย์ ฮ่องกง มีผู้เข้าชมกว่าสามแสนคน เธอได้ประกาศจุดยืนว่า "บ้านของฉันอยู่คนละฝั่งกับภูผาใหญ่" อันตีความได้ว่า เธอจะต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั่นเอง






แม้ว่าเติ้งลี่จวินจะได้เดินทางไปแสดงตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตลอดชีวิตการเป็นนักร้อง แต่เธอก็ไม่เคยไปแสดงในสาธารณรัฐประชาชนจีนเลย แต่เธอหวังมาโดยตลอด จนในที่สุด ในช่วงทศวรรษ ๑๙๙o พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เชิญเธอไปแสดงในประเทศจีน แต่ยังไม่ทันที่ความฝันของเธอจะเป็นจริง เติ้งลี่จวินก็มาเสียชีวิตเสียก่อน











การเสียชีวิตและการรำลึก






ตั้งแต่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เติ้งลี่จวินป่วยด้วยโรคหอบหืดเรื้อรังมาตลอด จนในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เติ้งลี่จวินเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยโรคหอบหืดขั้นรุนแรง ขณะมาพักผ่อน ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ด้วยอายุ ๔๒ ปี (๔๓ ปีตามปฏิทินจีน)






พิธีศพของเติ้งลี่จวินถูกจัดขึ้นแบบรัฐพิธี โลงศพของเธอถูกคลุมด้วยธงชาติสาธารณรัฐจีน โดยอดีตประธานาธิบดีลีเต็งฮุย และประชาชนจำนวนหลายพันเข้าร่วมพิธีด้วยความอาลัยรัก






ศพของเติ้งลี่จวินถูกฝังที่สุสานจินเป่าซาน อันเป็นสุสานติดภูเขาในเมืองจินซาน มณฑลไทเป ทางตอนเหนือของไต้หวัน ป้ายหลุมศพมีรูปปั้นของเติ้งลี่จวิน และคีย์บอร์ดเปียโนไฟฟ้า ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่พื้น เมื่อมีคนเหยียบที่แต่ละแป้น จะมีเสียงออกมาต่างกัน แม้ว่าชาวจีนจะเชื่อว่าควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสุสานก็ตาม แต่สุสานของเธอมักมีแฟนเพลงจากทั่วโลกเข้ามาเคารพและรำลึกถึงเธออยู่เสมอ






ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีการเปิดตัวหุ่นขี้ผึ้งของ เติ้งลี่จวิน ที่พิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซส์ ฮ่องกง






ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการจัดคอนเสิร์ต “๑๕ ปี เติ้งลี่จวิน A Special Tribute” ขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีนักร้องชาวไทย ๑๓ คนขึ้นขับกล่อมบทเพลงของเติ้งลี่จวิน เพื่อเป็นการรำลึกการจากไปครบ ๑๕ ปีของเธอ











รางวัลจากญี่ปุ่น






หลังจากเติ้งลี่จวินได้ไปออกอัลบั้มภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว เธอก็ประสบความสำเร็จ และได้รับรางวัลมากมาย ดังต่อไปนี้

• รางวัลนักร้องดาวรุ่ง จากเพลง "คูโค" (空港, Kuukou) หรือ สนามบิน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗





• รางวัลเหรียญทอง จากเพลง "โทะคิ โนะ นะงะเสะ นิ มิ โอะ มะคะเสะ" (時の流れに身をまかせ, Toki no nagare ni mi wo makase) หรือในฉบับภาษาจีนกลาง ชื่อเพลง "หว่อ จื่อ ไจ้ ฮู หนี่" (我只在乎你, Wŏ zhĭ zài hu nĭ, I Only Care about you) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖






• รางวัลกรังด์ปรีซ์ ๓ ปีซ้อน โดยก่อนหน้าเธอ ยังไม่มีนักร้องคนใดทำได้มาก่อน จากเพลง
◦ เพลง “ทสึกุไน” (つぐない, Tsugunai) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗
◦ เพลง “ไอจิน” (愛人, Aijin) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘






◦ เพลง "โทะคิ โนะ นะงะเสะ นิ มิ โอะ มะคะเสะ" (時の流れに身をまかせ, Toki no nagare ni mi wo makase) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙
• รางวัลดาวเด่น จากเพลง “วาคะเระ โนะ โยะคัง” (別れの予感, Wakare no Yokan) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓o
• รางวัลเคเบิ้ลเรดิโอมิวสิคอวอร์ด จากเพลง “วาคะเระ โนะ โยะคัง” (別れの予感, Wakare no Yokan) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓o และ พ.ศ. ๒๕๓๑






• รางวัลเคเบิ้ลเรดิโอมิวสิคเมอริตอวอร์ด (รางวัลเกียรติยศ) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ สำหรับการชนะรางวัลกรังด์ปรีซ์ ๓ ปีซ้อน ถือเป็นรางวัลสุดท้ายก่อนที่เธอจะเสียชีวิต






ข้อมูลจากเวบ wikipedia.org


บีจีจากเวบ unikeep.com ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ lozocat

Free TextEditor





 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 13 สิงหาคม 2557 22:30:35 น.
Counter : 22202 Pageviews.  

ครูสุทิน เทษารักษ์




ภาพจากเวบ dreampoem.com


ให้ฟังเพลงเก่าอีกรอบค่ะ เคยอัพไปหนนึงตอนที่เขียนบล็อคป้าโจ๊ว ตั้งใจจะอัพบล็อคนี้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว แต่เพิ่งจะหารูปได้ อ่านบทความในนสพ.ไทยโพสต์ คอลัมน์สภาประชาชน ประจำวันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม หนุ่ม รพช.เขียนไว้อาลัยครูเพลงที่บรรเลงไวโอลินเพลงนี้ ได้ฟังมานานมาก แต่เพิ่งจะรู้ว่่าคนที่บรรเลงไวโอลินได้อย่างเพราะพริ้งคือ ครูสุทิน เทษารักษ์ นี่เอง รู้จักแต่ชื่อท่าน มารู้จักหน้าค่าตาและผลงานก็ตอนหารูปและอ่านคอลัมน์นี่แหละค่ะ

เพลงเวอร์ชั่นเก่าที่ป้าโจ๊วร้องไว้มีสองแบบ คือเพลงในคลิปและที่ครูสุทินเดี่ยวไวโอลินไว้ ฟังแล้วชอบแบบหลังมากกว่า เสียงไวโอลินเพราะแล้วก็หวานมากกก มีคนโหลดคลิปเวอร์ชั่นนี้ไว้ในยูทูป แต่ไม่มีโค้ดให้แปะเลยต้องโหลดเอง

ขอดวงวิญญาณของครูสุทินไปสู่สุคติภพ และขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียของครอบครัวเทษารักษ์ด้วยค่ะ


ม่านไทรย้อย



https://www.youtube.com/watch?v=MCrJIA8z3PM




สิ้นแล้ว...ครูสุทิน


เศร้า (อีกแล้ว) กับการ "สิ้น" ครูเพลงระดับแถวหน้าของวงการ นักไวโอลินและนักเป่าคลาริเน็ตชั้นเยี่ยมของประเทศ ผู้ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยเป่าคลาริเน็ต เพลงพระราชนิพนธ์และเพลงแจ๊ส ถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแล้ว

ครูสุทิน เทศารักษ์ จากไปในวัย ๘๕ ปี




ภาพจากเวบ pantown.com


ปีนี้ดุจัง ครูเพลงเก่าในอดีต ผู้สร้างผลงานเพลงเด่น ๆ ดัง ๆ ดี ๆ จนเป็นเพลงอมตะหลายท่าน ต่างทยอยลาจากโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นครูพยงค์ มุกดา ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์

เพลง "ม่านไทรย้อย" ที่ครูสุทิน เทศารักษ์ นำทำนองบางส่วนมาจากเพลงคลาสสิก ที่ชื่อ VIOLIN CONCERTO ของ PETER TCHAIKOVSKY หรือที่เรียกกันว่า "ไชคอฟสกี" นักดนตรีแจ๊สชาวรัสเซีย ที่มีผลงานเพลงดี ๆ มากมายสร้างไว้ให้โลก ได้เกิดความเพลิดเพลินรื่นรมย์สำราญ




Peter Ilyich Tchaikovsky
ภาพจากเวบ oknation.net


หนึ่งในหลายเพลงที่ได้รับความนิยมของท่าน โดยมีครูไสล ไกรเลิศ ประพันธ์เนื้อร้องให้ป้าโจ๊ว "เพ็ญศรี พุ่มชูศรี" ร้องไว้เมื่อหลาย (สิบ) ปีที่แล้ว นอกเหนือจากเพลงม่านประเพณี ม่านบังตาและเพลงดวงใจในฝัน ที่หลายท่านคงจำได้ดี



เพลงม่านไทรย้อย

ทำนอง: ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ - ไวโอลิน คอนแชร์โต
ไวโอลิน: สุทิน เทศารักษ์
คำร้อง: ไสล ไกรเลิศ
ขับร้อง: เพ็ญศรี พุ่มชูศรี



ลืม ลืมหมดแล้วหรือไร แสงจันทร์ที่เคยเป็นใจ
หลบบังร่มไทรย้อยกิ่ง กระซิบรำพัน แฝงจันทร์เคยแอบเอนอิง
หนาวลมแนบอกเธอผิง สุขซึ้งใจจริง หาใดปาน

ลืม ลืมหมดแล้วน้ำคำ ซึ้งจำติดรอยใจพิมพ์
เคยชิมว่าเป็นน้ำตาล ยังหวานตรึงใจ รสใดจะเปรียบประมาณ
แท้จริงลมปากเธอหวาน หลอกฉันมานาน ร้อยหมื่นอย่าง

กิ่งไทรย้อยร้อยรักไว้ ลมไหวไทรเอน ใจเต้นคล้ายลาง
แอบออดชู้ ชูกิ่งพราง ไทรเจ้ากางใบบัง งามเหมือนดังม่านทอง

ลืม ลืมหมดแล้วสายลม แม้ไทรที่เคยชื่นชม
รื่นรมย์แทนเรือนหอห้อง ไทรเอ๋ยเคยเอน พักเป็นแดนสุขเคียงครอง
เย้ายวนกันอยู่เพียงสอง ขาดรักไทรมอง หมองวิญญา





ภาพจากเวบ janicha.net


ดูเถิด ดูความงดงามแห่งวรรณศิลป์ที่ครูไสล ไกรเลิศ จินตนาการและเรียบเรียงไว้อย่างมีความหมาย เกิดความสุนทรีย์ในบทเพลงอย่างยอดเยี่ยม สอดรับกับท่วงทำนองเพลงที่ครูสุทินบรรจงสร้างสรรค์ไว้สุดฝีมือ

หากดูถึงอดีตของครูสุทินแล้ว หลายท่านคงหายสงสัยว่า ทำไมครูจึงเล่นดนตรีได้ไพเราะนัก ด้วยวัยเพียง ๗ ขวบเท่านั้น ท่านก็เริ่มฝึกเล่นไวโอลินและเปียโน จากนักดนตรีฝีมือเยี่ยมในวงการขณะนั้นคือ "ครูเติม เสนะสกุล" อดีตผู้อำนวยการเพลงและนักไวโอลินฝีมือเยี่ยมของวงดุริยางค์ กรมศิลปากร ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่นที่ไหน เพราะมีศักดิ์เป็นลุงของครูสุทินนั่นเอง!!




ภาพจากเวบ thaigramophone.com


ครูเติม เสนะสกุล ผู้เป็นลุงทำการฝึกครูสุทินอย่างเข้มงวดตั้งแต่การปลุกตอนตี ๕ เพื่อให้มาฝึกไวโอลินจนถึงเวลาไปโรงเรียน และมาฝึกต่อจนมืดค่ำเมื่อกลับจากโรงเรียนแล้ว หากวันไหนไม่เล่นดนตรีก็จะถูกตี หรือถ้าเล่นผิดก็จะถูกตีเช่นกัน จนบางครั้งก็รู้สึกท้อแท้ใจ

ครูสุทิน เทศารักษ์ มีความสามารถเล่นดนตรีได้ ทั้งเพลงคลาสสิกและเพลงแจ๊ส มีโอกาสแสดงดนตรีครั้งแรกกับวงดนตรีของครูเพลงชื่อดังของยุคนั้นคือ ครูนารถ ถาวรบุตร ครูเพลงชื่อดังผู้เป็นทั้งนักดนตรีและนักแต่งเพลง ตลอดจนเป็นหัวหน้าวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น ซึ่งเป็นเพื่อนกับลุงคือ ครูเติม เสนะสกุล




ภาพจากเวบ thaigramophone.com


ครูสุทินมีแผ่นเสียงจำนวนมากของเบนนี่ กู๊ดแมน นักเป่าคลาริเน็ต ราชาแจ๊สชื่อดังที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงดนตรีร่วมกันเมื่อหลายสิบปีก่อน ในเวลาต่อมาครูสุทินได้ร่วมจัดตั้งวง TRIO เพื่อทำการแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมีคุณประสาน สุทัศน์ ณ อยุธยา นักดนตรีฝีมือดีอีกท่านหนึ่งของเมืองไทยร่วมวงอยู่ด้วย

ตลอดชีวิตที่ผ่านมานั้น ครูสุทินมีผลงานการแต่งเพลงจำนวนมาก หลายเพลงเป็นที่นิยมอย่างสูงยิ่งของผู้ฟัง มีคำกล่าวจากผู้ที่คุ้นเคยบอกไว้ว่า "สุทินเล่นไวโอลินแบบธรรมดาไม่เป็น ต้องมีลวดลายหวือหวาหาคนเลียนแบบได้ยาก" นี่คือเรื่องจริง!!!




เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
ภาพจากเวบ pharmacy2515.com


ครูสุทิน เทศารักษ์ เกิดวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ถึงแก่กรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ เมื่อเวลาประมาณ ๒๑.oo น. ที่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งคุณสุเทพ วงศ์กำแหง ได้เป็นประธานในพิธีฌาปนกิจ ณ วัดหลักสี่ เวลา ๑๗.๒o น. เมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค.ที่ผ่านมานี่เอง!!!

ณ วันนี้ โลกได้สูญเสียนักดนตรีและนักไวโอลินฝีมือเยี่ยม ผู้มีดนตรีทุกลมหายใจเข้าออก แม้กระทั่งนาทีสุดท้ายแห่งชีวิตไปอีกคนหนึ่งแล้ว...ครูสุทิน เทศารักษ์!!!

วันที่ ๗ สิงหาคมปีหน้า อย่าลืมมาร่วมกันจัดงานรำลึกถึงครูสุทิน เทศารักษ์


ข้อมูลจากเวบ thaipost.net


บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor




 

Create Date : 05 กันยายน 2553    
Last Update : 5 กันยายน 2553 23:54:02 น.
Counter : 8518 Pageviews.  

คิดถึงครูสุรพล ๔




ภาพจากเวบ palungjit.com


หนึ่งในดำเนิน




เปิดศึกกับ "ผ่องศรี วรนุช"


ในหนังสือไทยลูกทุ่งของ "เลิศชาย คชยุทธ" เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ของวงการเพลงลูกทุ่งของคู่นักร้องขวัญใจชาวไทยไว้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อ "ผ่องศรี วรนุช" ได้รับเชิญให้ไปร้องเพลงร่วมกันกับวงดนตรีของครู "สุรพล สมบัติเจริญ" ที่จังหวัดนครราชสีมา ครูสุรพล สมบัติเจริญ ไม่เต็มใจต้อนรับ ทั้งยังบอกลูกวงไม่ให้ไหว้ผ่องศรี วรนุช อีกด้วย

เลิศชาย คชยุทธ เขียนเล่าเหตุการณ์ในวันนั้นว่า

"...การแสดงบนเวทีวันนั้น หลังจากปล่อยนักร้องไปได้ครึ่งชั่วโมง พิธีกรบนเวทีก็ประกาศว่า ต่อไปนี้ พบกับ ผ่องศรี วรนุช ราชินีลูกทุ่ง และสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่ง ผู้เป็นคู่รักคู่แค้นจะมาเจอกันในวันนี้ วันนี้จึงเป็นวันสำคัญ แห่งประวัติศาสตร์ของวงการเพลงที่เขาและเธอจะได้เผชิญหน้ากัน"




ภาพจากเวบ thaitownusa.com


ซึ่งผ่องศรี วรนุช ก็ให้รายละเอียดของเหตุการณ์อันน่าระทึกใจในวันนั้นไว้อีกว่า

"คนมันก็ฮือซิ โอ้โห...ตานี้ไม่นั่งดูแล้วคนดู มันยืนกันแทบโรงหนังจะแตก คนอยากรู้ว่าเราสองคนจะเผชิญหน้ากันอย่างไร พี่พลเขาร้อง เพลงไม่ลืมก่อน ร้องจบไปปุ๊บ เขาก็เดินข้าง ๆ แต่ยังไม่เข้าโรง ดนตรีก็ขึ้นเพลงไหนว่าไม่ลืม เราเดินไป ขณะที่ร้อง คนดูก็พูดกันใหญ่ แซดเลย บอกว่าเข้าหากัน เข้าหากัน ให้ดีกันซะ ให้ดีกัน อะไรอย่างนี้ โอ๊ย เจี๊ยวเลย หูเราไม่ได้ยินเสียงดนตรีได้ยินแต่เสียงประชาชนคนดู พูดอยู่ตลอดเวลาว่าให้ดีกันซะ อย่าโกรธกัน อย่าแสนงอน เขาว่าสุรพลนี่แสนงอน ผ่องศรีเขามาง้อแล้ว"

"ร้องเพลงยังไม่ทันจบเพลง คนฮือขึ้นมาบนเวทีเลย หมายจะจับให้เราดีกัน เพราะพี่พลเขาเดินหนีตลอด เราก็เดินเข้าหา พอเราเดินตาม แกก็หนี คือเดินหนีตลอดเวลา จะไม่ยอมดีด้วย คนก็ไปฮือบนเวที มีคนเอาน้ำแข็งปาไปบนเวที โป๊ะ ๆ ๆ ๆ ขึ้นไป มีเสียงคนพูด เดี๋ยวเถอะ ๆ เดี๋ยวน่าดู อะไรอย่างนี้ พี่พลเขาก็ยักคิ้วหลิ่วตาเล่นกับคนดู แต่เขารู้ว่าคนดูไม่โกรธ ต้องการให้เราคืนดีกัน ให้กลับมาร่วมหัวจมท้ายอะไรอย่างนี้ พี่พลก็ไม่ยอม"




ภาพจากเวบ luktunglaithai.com


"ทีนี้คนขึ้นมามาก เราก็กลัวซิ กลัวจะมารุมสกรัม เพราะไม่รู้เขาจะเกลียดเราหรือเปล่า เขาจะเกลียดพี่พลหรือเปล่า ร้องเพลงเกือบจบเพลง เห็นท่าไม่ดี จึงทิ้งไมค์มุดออกรั้วไปเลย วันนั้นไม่ได้ร้องเลย แจ้นกลับกรุงเทพฯ เก็บเสื้อผ้ากลับเลย เล่นไม่ได้เลย วันนั้นน่ะวงดนตรีต้องเลิก เวทงเวทีแทบจะพัง...ที่จะเล่นรอบสองเล่นไม่ได้ โรงแตกเลย"

เพลงที่ครูสุรพล สมบัติเจริญแต่งเองร้องเองและแต่งให้ลูกศิษย์ในวงขับร้อง เช่น ผ่องศรี วรนุช (เพลงไหนว่าไม่ลืม) เมืองมนต์ สมบัติเจริญ (เพลงสวรรค์เมืองไทย) ไพรวัลย์ ลูกเพชร (เพลงคำเตือนของพี่) กังวานไพร ลูกเพชร (เพลงชีวิตชาวนา) ก้าน แก้วสุวพรรณ (เพลงคนปาดตาล) เตือนใจ บุญพระรักษา ละอองดาว โสธรบุญ สกาวเดือน โสธรบุญ (เพลงเด็กท้องนา) พนมไพร ลูกราชบุรี เรียม ดาราน้อย ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย (เพลงรักพี่จงหนีพ่อ/เพลงสัจจะชาวนา) ฯลฯ มีอยู่ประมาณ ๒o๔ เพลง




ภาพจากเวบ udclick.com


ซึ่งหากรวมเพลงของครูเพลงคนอื่น ๆ ในวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ เช่น ครูสำเนียง ม่วงทอง ครูมงคล อมาตยกุล ครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูพยงค์ มุกดา ครูทองใบ รุ่งเรือง ฯลฯ ก็จะมีประมาณ ๒๙๘ เพลง

เพลงที่ครูสุรพล สมบัติเจริญแต่งเองร้องเองนั้น ส่วนมากจะเป็นเพลงในจังหวะรำวงที่สนุกสนาน เสียดสีสังคมอันเป็นสไตล์ประจำตัว มีอยู่ด้วยกันหลายเพลง ทั้งที่นำทำนองมาจากเพลงไทยเดิม เพลงลิเก เพลงเสภา เพลงเรือ เพลงแหล่ เพลงจีน เพลงแขก เพลงลาว เพลงเขมร ซึ่งเป็นความสามารถ ความอัจฉริยะ ที่ยากจะหาใครมาเทียบเคียงได้




ภาพจากเวบ udclick.com


เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูผลงานอมตะของครูสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งของไทย ผู้ล่วงลับแล้วที่แต่งเองร้องเพลงให้เป็นที่ปรากฏ จึงขอนำเอาผลงานเด่นๆ มาเผยแพร่กันดังนี้




ภาพจากเวบ maemaiplengthai.com


มอง




เพลงมอง
คำร้อง/ทำนองและขับร้อง สุรพล สมบัติเจริญ



มอง เธอสาวเธอสวยฉันจึงได้มอง
หากเธอไม่สวยฉันจะไม่มอง
หากเธอไม่แจ่มฉันจะไม่จ้อง
ฉันจะไม่มองให้หัวใจเต้น

พักตร์เธอสวยแจ่มดังจันทร์เพ็ญ
ฉันแทบช็อกตายเพราะใจเต้น
ถ้าหากไม่เห็น ฉันคงไม่มอง
ไม่มอง มองเธอ
เธอสวยน่ารักฉันจึงต้องมอง

ต่อให้เทวีที่อยู่บนฟ้า
ต่อให้สีดาก็ยังเป็นสอง
ต่อให้ไซซีที่โลกยกย่อง
ถ้าเจอกันสองต่อสอง
ฉันว่าพระอินทร์ยังต้องมองเธอ


หัวใจเดาะ




เพลงหัวใจเดาะ
คำร้อง/ทำนอง และขับร้อง สุรพล สมบัติเจริญ



โอ๊ย หัวใจผมเดาะ
แหมจำเพราะมาเดาะเอาตรงหัวใจ
ที่อื่นมีถมไป ไม่เดาะเพราะอะไร
ดันมาเดาะเอาตรงหัวใจ
ใครบ้างที่เหมือนอย่างผม

โอ๊ยหัวใจผมปวด
เหมือนนวดปวดเสียจนอกตรม
จะมีบ้างไหม
คุณหมอสาว ๆ ที่มาช่วยผม
โปรดมาระงับความตรม
ช่วยดามหัวใจให้ผมที

ตาย ผมถ้าจะตายเสียแน่
ไม่มีหมอแก้ คงตายเสียแน่คราวนี้
ไอ้โรคอย่างผม
นิยมแต่หมอสตรี
หากรักษาให้ดี
ไม่ต้องกินยาก็หายเลย

โอ๊ย หัวใจผมเดาะ
โรครักเกาะกลุ้มเสียจริงท่านหญิงเอ๋ย
หากใครสงสาร
ช่วยผมทีอย่านิ่งเฉย
อย่าเพิ่งให้ผมตายเลย
เอาไว้ฟังเสียงเถิดคุณ







ภาพจากเวบ udclick.com


สิบหกปีแห่งความหลัง




สิบหกปีแห่งความหลัง


ในส่วนของสำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเอง ได้ทำการคัดเลือกเพลงที่มีชื่อเสียงของ "ครูสุรพล สมบัติเจริญ" ไว้ดังนี้

๑ เพลงขันหมากมาแล้ว - ยุงยุทธ เชี่ยวชาญน้อย
๒ เพลงเด็กท้องนา - ละอองดาว สะกาวเดือน
๓ เพลงไหนว่าไม่ลืม - ผ่องศรี วรนุช
๔ เพลงสิบหกปีแห่งความหลัง - สุรพล สมบัติเจริญ
๕ เพลงกลับเถิดเรียมจ๋า - เมืองมนต์ สมบัติเจริญ
๖ เพลงด่วนพิศวาส - ผ่องศรี วรนุช
๗ เพลงด่วนสายใต้ - สกาวเดือน โสธรบุญ
๘ เพลงน้ำตาลก้นแก้ว - ก้าน แก้วสุพรรณ
๙ เพลงแฟนจ๋า - สุรพล สมบัติเจริญ
๑o เพลงสัจจะชาวนา - ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย


ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ ได้คัดเลือกมาเพิ่มอีก ๒ เพลง คือ เพลงคำเตือนของพี่ (ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และเพลงด่วนพิศวาส (ผ่องศรี วรนุช)




ภาพจากเวบ oknation.net


เพลงที่เป็นผลงานของครูสุรพล สมบัติเจริญที่โด่งดังและมีเบื้องหน้าเบื้องหลังความเป็นมาที่น่าสนใจอีกเพลงก็คือเพลง "รักพี่จงหนีพ่อ" ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ "ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย" มากอีกเพลงหนึ่งนอกเหนือไปจากเพลง "สัจจะชาวนา" ในยุคช่วงเวลานั้น ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่งถูกสั่งห้ามไม่ให้เปิดเพลงนี้ เพราะกลัวสาว ๆ ทั้งหลายจะใจแตก หนีตามชายหนุ่ม เหมือนคำชักชวนในเพลงที่ขับร้อง




ภาพจากเวบ maemaiplengthai.com


รักพี่จงหนีพ่อ




เพลงรักพี่จงหนีพ่อ
คำร้อง/ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ

โอ้แม่ดอกโบตั๋น ทุกคืนทุกวัน
พี่ใฝ่ฝันถึงเจ้า(ซ้ำ)
ความรักมันหนักอก
ยากยิ่งกว่าจะหยิบยก เข็นขกขึ้นภูเขา

วาสนาพี่มันจน
จึงต้องจำสู้ทนหมองหม่นอับเฉา
เปิดหน้าต่าง คอยดูน้อง
ได้แต่มอง มอง มอง ดวงใจแสนเศร้า

วันไหนไม่เห็นหน้า
พี่แทบกลุ้มเป็นบ้าน้ำตาไหลพราว
เดินเหมือนเสือติดจั่นแหะน้อง(ซ้ำ)
หัวใจหม่นหมอง ไม่มีสร่างเซา

โอ้แม่คุณคนดี
เมตตาสักทีนึกว่าสงสารพี่บ้าง(ซ้ำ)
ความรักพี่มั่นคง
พี่ขอบอกตรงๆ ว่าไม่มีเงินขอน้องนาง
เจ้าก็รู้ว่าพี่จน
โอ้จะไปขอหน้ามน เห็นจะไม่มีทาง

หากรักพี่จงหนีพ่อ
พี่จะรอ รอ รอ รออยู่ที่หน้าต่าง
คืนไหนคืนเดือนมืด
พี่จะสวมเสื้อยืด ยืนคอยน้องนาง
คืนเดือนหงายพี่จะไม่ไปหา(ซ้ำ)
พี่กลัวพ่อตาจะคว้าปืนออกมาวาง




ภาพจากเวบ atcloud.com


เพลงที่มีความหมายมากสำหรับชีวิตของครูสุรพล สมบัติเจริญ คือเพลง "สิบหกปีแห่งความหลัง" ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่แต่งเอาไว้ ก่อนที่จะจบชีวิตอย่างน่าเสียดาย เพราะถูกคนร้ายยิงด้วยปืนพก ๑๑ มม.เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ที่หน้าเวทีการแสดง วัดหนองปลาไหล จังหวัดนครปฐม รวมอายุได้เพียง ๓๘ ปีเท่านั้น


สิบหกปีแห่งความหลัง




เพลงสิบหกปีแห่งความหลัง
คำร้อง/ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ



สิบหกปี แห่งความหลัง
ทั้งรักทั้งชังทั้งหวานและขมขื่น
สิบหกปีเหมือนสิบหกวัน
รักเอ๋ยช่างสั้นไม่ยั่งยืน
มีหวานมีชื่นมีขื่นมีขม

สิบหกปี ที่เธอและฉัน
ครองความรักกันสุขสันต์เหลือข่ม
อุตส่าห์ถนอมน้ำใจกันมา
ไม่เคยนึกว่าจะมาระทม
กลายเป็นสวรรค์ล่ม
อกตรมกลัดหนอง

ไปดีเถิดนะพี่ขออวยพร ให้เจ้าไปดี
ลืมสิบหกปีเสียเถิดนะน้อง
นึกว่าหลับฝันชั่วพลันเราตื่น ลืมคืนเราสอง
ที่เคยครองรักกันมาถึง สิบหกปี

สิบหกปี แห่งความฝัน
ทั้งเธอและฉัน จบเกมรักกันเพียงนี้
สิบหกวันเหมือนสิบหกเดือน
สิบหกเดือนเหมือนสิบหกปี พี่ตรมฤดีเพราะพี่ขาดเธอ...

(บันทึกแผ่นเสียงโดยสุรพล สมบัติเจริญ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑)





หลังสุรพลเสียชีวิต


ผลงานเพลงที่เกิดจากความอัจฉริยะของครู "สุรพล สมบัติเจริญ" นั้น "สหะชัย วิวัฒนปฐพี" ได้กล่าวไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "ชีวประวัติและผลงานเพลงของสุรพล สมบัติเจริญ" ไว้ว่า...

"ในเรื่องบทร้องนั้น สุรพลแต่งบทร้องเป็นลักษณะของกลอนเพลงธรรมดา คือเน้นการสัมผัสข้ามวรรคด้วยเสียงสระหรือวรรณยุกต์ต่าง ๆ ไม่มีบทร้องที่เป็นคำประพันธ์แนวฉันทลักษณ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนเลย"




ภาพจากเวบ pukpik.com


ส่วนแนวทางหรือความหมายของบทร้องที่ปรากฏอยู่ในบทเพลง อาจแบ่งออกได้เป็น ๙ แนว ด้วยกัน คือ ปรัชญาชีวิต คติสอนใจ(๒๓) วัฒนธรรม ประเพณี(๙) สะท้อนสังคม เศรษฐกิจ(๓๙) ชมโฉม เกี้ยวสาว(๘๘) ชมธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว(๒o) ชีวิตชาวบ้าน(๕๘) นิทานพื้นบ้าน(๑๒) ภาษา สำเนียงท้องถิ่น(๑๖) การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเองและวงดนตรี(๔)

"สุรพล สมบัติเจริญ เป็นศิลปินเพลงที่มีความสามารถรอบตัว ทั้งในด้านการประพันธ์บทร้องและทำนองเพลง เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้าวงดนตรีและยังเป็นครูเพลง ที่แต่งเพลงที่มีคุณภาพ ให้ศิษย์ได้ขับร้องจนมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในวงการเพลงลูกทุ่ง ในขณะที่ตัวเองก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นราชาเพลงลูกทุ่งและเป็นปูชนียบุคคลของวงการเพลงลูกทุ่ง"




ภาพจากเวบ pukpik.com


ศิริพร กรอบทอง กล่าวไว้ในหนังสือวิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทยว่า

"ภายหลังเหตุการณ์การเสียชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญ เพลงลูกทุ่งได้เป็นที่สนใจของคนในสังคมไทยขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง สำหรับในวงการเพลงลูกทุ่งนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีความตื่นตัวอย่างมาก มีศิลปิน นักร้องเกิดใหม่จำนวนมาก และมีบางส่วนที่ร้องเพลงเลียนแบบเขาหลายคน ทั้งนักร้องเก่าและนักร้องใหม่ เช่น กังวาลไพร ลูกเพชร, พรหม ลูกบ้านแพน, สาคร พรเจริญ, พร ไพรสณฑ์, เพชรดำเนิน นพพลนาวี, บรรจบ เจริญพร ฯลฯ




ศิษย์สุรพล พนมไพรและละอองดาว ในยุคที่กำลังรุ่งโรจน์
ภาพจากเวบ sayanfanclub.com


ตลอดจนลักษณะการทำงานของเขาที่ได้ทำหลายๆ อย่างจนมีทรัพย์สินมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างสูง ในวงการเพลงลูกทุ่ง ที่ต่างก็อยากจะมีกันขึ้นมาบ้าง

ดังจะเห็นได้ว่า ภายหลังการเสียชีวิตของเขา มีนักร้องหลายคนแยกตัวจากวงดนตรีต้นสังกัด ออกไปตั้งวงกันเองหลายต่อหลายคน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่ง ที่เข้าสู่สภาวการณ์แข่งขันกันในระบบนายทุน

ซึ่งกล่าวได้ว่า "สุรพล สมบัติเจริญ" นั้น นอกจากจะมีบทบาทต่อวงการเพลงลูกทุ่ง ในฐานะผู้สร้างและผู้เผยแพร่ผลงานเพลงให้เป็นที่นิยมสนใจอย่างกว้างขวางแล้ว เขายังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้วงการเพลงลูกทุ่งได้เติบโตไปในสังคมไทยอีกด้วย"




ภาพจากเวบ pukpik.com


ข้อมูลจากเวบ manager.co.th


บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2553    
Last Update : 29 กุมภาพันธ์ 2555 22:47:31 น.
Counter : 10538 Pageviews.  

คิดถึงครูสุรพล ๓




ภาพจากเวบ udclick.com


https://www.youtube.com/watch?v=p5UCRCYz2FM&feature=player_embedded


อีกเพลงหนึ่งที่แสดงถึงความอัจฉริยะในการแต่งเพลงในสมัยเริ่มแรกของครู "สุรพล สมบัติเจริญ" คือเพลงหรีดรัก ซึ่งหากไม่บอกชื่อผู้แต่งคน ส่วนมากจะไม่เชื่อว่าเป็นผลงานของครูสุรพลเอาเลยจริง ๆ




ภาพจากเวบ
maemaiplengthai.com

หรีดรัก




เพลงหรีดรัก
คำร้อง/ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ
ขับร้องสุเทพ วงศ์กำแหง



เห็นพวงหรีดรัก ที่วางบนหลุมฝังศพเจ้า
โธ่เอ๋ยใยเล่า เจ้ามาด่วนหนี
จากไปชั่วกัลป์ ร้อยวันหมื่นปี
เจ้าจากไปชาตินี้ มิมีวันที่จะกลับมาได้

แสงเดือนเลื่อนลับ แลเห็นดวงเทียนและธูป
หัวใจเย็นวูบ อารมณ์อ่อนไหว
กอดเนินที่ฝัง น้ำตาหลั่งไหล
สุดระทมหมองไหม้ ฤทัยแทบขาดรอน

ดึกดื่นค่อนคืน เรไรร่ำร้อง
น้ำตาอาบนอง เปียกหมอน
หลับตาครั้งใด ยังให้อาวรณ์
เห็นหรีดอนุสรณ์ บนหลุมฝังนั่น

ขออธิษฐาน ให้ดวงวิญญาณของเจ้า
จงลอยไปเข้า สู่สรวงสวรรค์
ชาติหน้ามีจริง แล้วค่อยเจอะกัน
สุขจนชั่วนิรันดร์ พบกันทุกชาติเอย

(บันทุกแผ่นเสียงโดยสุเทพ วงศ์กำแหง เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙)




ภาพจากเวบ plenglookkrung.blogspot.com


เพลงนี้ครูสุรพล สมบัติเจริญ เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า

"ปีต่อมา ผมเขียนเพลงหรีดรักให้สุเทพร้อง ดังอยู่พักหนึ่งแล้วก็เขียนเรื่อย ๆ โดยไม่หยุด รำวงมั่ง ไทยสากลมั่ง ตอนสุดท้ายเบนหางเสือไปในทำนองเพลงลูกทุ่ง รวมๆ แล้วในราว ๔oo เพลงเห็นจะได้ครับ แต่งเอง ร้องเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งตั้งวงของตัวเองได้สำเร็จตอนที่เป็นจ่าอากาศเอก"




ภาพจากเวบ thaiticketmajor.com


ในช่วงที่ครูสุรพล สมบัติเจริญ ยังไม่ได้ก่อตั้งวงดนตรีของตนเองนั้น ก็คงตระเวนร้องเพลงกับคณะวงดนตรีอื่น ๆ เช่นวงแมมโบ้ร็อก ของเจือ รันแรงจิต วงดนตรีบางกอกชะชะช่า ของชุติมา สุวรรณรัตน์ และสมพงษ์ วงษ์รักไทย และวงดนตรีจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล ฯลฯ

เพลงที่ครูมงคล อมาตยกุลและครูร้อยแก้ว รักไทย แต่งให้ครูสุรพล สมบัติเจริญ ในช่วงนั้นมีอยู่ไม่กี่เพลง ซึ่งส่วนมากจะเป็นเพลงรำวงที่แปลงมาจากเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันง่ายๆ ไม่มีศัพท์แสงอะไรให้รกรุงรัง เช่นเพลงเขมรไล่ควาย เพลงควายหาย เพลงลาวตีเขียด เป็นต้น


เขมรไล่ควาย




เพลงเขมรไล่ควาย
คำร้อง - ร้อยแก้ว รักไทย
ทำนอง - มงคล อมาตยกุล



เราชาวนาอยู่กับควาย พอหมดงานไถ เราจูงฝูงควายเข้าบ้าน เฮ้ย เฮ้ย เฮ้ย
พออาบน้ำควายสำราญ แล้วเสร็จจากงาน เบิกบานร้องเพลงรำวง ช่ะ ช่ะ ช่า

เราชาวนาสุขสบาย ค่ำคืนเดือนหงาย เราขี่หลังควายร้องส่ง
ฉับฉิ่งทั้งกลองฆ้องโหม่ง จ๊ะเท่งมง รำวงแสนเพลิดเพลินใจ ช่ะ ช่ะ ช่า

แม้นใครอิจฉา มันน่าหัวเราะ จะเยาะพวกเรามิได้
ลมเย็น ๆ ร้องเขมรไล่ควาย แปลกใจ ควายมันไม่อาทร

เจอคนงามค่อนว่าคน ว่าโง่เป็นควาย ไยไม่นึกอายคำค่อน ช่ะ ช่ะ ช่า
ควรชั้งยั้งใจไว้ก่อน โฉมแม่บังอร สิ้นงอนแล้วได้ขี่ควาย เฮ้ย เฮ้ย เฮ้ย

(บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรก โดยสุรพล สมบัติเจริญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕oo)




ภาพจากเวบ 2how.com





ผ่องศรี วรนุช" คู่รัก-คู่แค้น


ครู "สุรพล สมบัติเจริญ" นอกจากจะแต่งเพลงเองและขับร้องเองแล้ว ยังได้สร้างผลงานให้แก่ลูกศิษย์อีกหลายคน โดยเฉพาะผ่องศรี วรนุช ศิลปินแห่งชาติที่มีผลงานคู่กันมานานหลายปี

โดยเฉพาะการร้องเพลงแก้ ที่เป็นเพลงโต้ตอบกันระหว่างนักร้องหญิงกับนักร้องชาย และได้รับความนิยมจากแฟนเพลงสูงสุดตลอดมา แม้ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมของแฟนเพลง จนได้รับสมญานามว่า ราชินีเพลงลูกทุ่ง และราชาเพลงลูกทุ่ง คู่กันมา




ครูสำเนียง ม่วงทอง
ภาพจากเวบ sayanfanclub.com


ในบรรดาเพลงแก้ที่โด่งดังและสร้างชื่อให้แก่ครูสุรพล สมบัติเจริญ และผ่องศรี วรนุช นั้น เห็นจะไม่มีเพลงไหนโด่งดังและได้รับความนิยมจากแฟนเพลงเท่ากับเพลง ไหนว่าไม่ลืม ที่ครูสุรพล สมบัติเจริญ แต่งเป็นเพลงแก้เพลง เพลงลืมไม่ลง ของครูสำเนียง ม่วงทอง ที่ตนเองเคยขับร้องไว้ และเพลงไหนว่าไม่ลืมนี้ก็เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับผ่องศรี วรนุช ผู้ขับร้องเป็นอันมาก จนทำให้ทั้งสองคนกลายมาเป็นนักร้องขวัญใจเพลงแก้ คู่ชายหญิง คู่แรก และได้สมญานามนักร้องผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




ภาพจากเวบ thailandintermart.com

ไหนว่าไม่ลืม




เพลงไหนว่าไม่ลืม
คำร้อง/ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ


ไหนว่าไม่ลืม
ไม่ลืมไม่เลือนเหมือนเดือนคู่ฟ้า
ไม่ทันแสงเดือน จะเลื่อนผ่านคล้อย
ไม่ทันเมฆน้อยจะคล้อยผ่านตา ไม่ทันตะวันลับฟ้าก็ลืม
ผู้ชาย นะโธ่ ผู้ชาย ไม่ทันเท่าไรก็ลืม

ไหนว่าไม่ลืม ไม่ลืมไม่เลือน ชั่วเดือนและปี
ไม่จริงเหมือนคำพูดเลยสักครั้ง
ไม่จริงเหมือนดัง พูดเลยสักที
ไม่ทันถึงปี แล้วพี่ก็ลืม
ไม่ทันถึงปี ก็ลืม
น้ำคำผู้ชาย พูดง่ายฟังยาก ผู้ชาย นะโธ่ ผู้ชาย

พูดจาซ้ำซาก ปากว่าไม่ลืม
พอมีรักสอง มาครองอกเขา
ก็พลันทิ้งเรา เปลี่ยนใจหลงลืม
นี่แหละนิสัย ผู้ชาย ชอบลืม
ผู้ชาย นะโธ่ ผู้ชาย ไม่ทันเท่าไรก็ลืม

ไหนว่าไม่ลืม ไม่ลืมสัญญา ที่เคยผูกพัน
จะเอาแน่นอน อะไรกับเขา
เมื่อยามใกล้เรา ก็ทำปากหวาน
พูดพร้ำรำพัน ว่าจะไม่ลืม ผู้ชาย นะโธ่ ผู้ชาย
ไม่ทันเท่าไหร ก็ลืม ไหนว่าไม่ลืม

(บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรก โดย ผ่องศรี วรนุช เมื่อพ.ศ. ๒๕o๒)




ภาพจากเวบ maemaiplengthai.com

ลืมไม่ลง




เพลงลืมไม่ลง
คำร้อง/ทำนอง สำเนียง ม่วงทอง



ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่เลือน เหมือนเดือนคู่ฟ้า
ไม่ลืมรสรักที่เคยฝากฝัง
ไม่ลืมความหลังที่เคยผ่านมา
จวบจนชีวาสิ้น ก็ไม่ลืม

ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม

ไม่ลืม ไม่เลือน ชั่วเดือนและปี
ไม่ลืมรักเราที่เคยสุขสันต์
ไม่ลืมความฝันเมื่อครั้งก่อนนี้
กี่เดือนกี่ปี ฉันก็ไม่ลืม

ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม

ขอเพียงแต่เธออย่าเผลอลืมก่อน
ฉันนั้นแน่นอนไม่เคยจะลืม
ยังจำรสหวาน อันซึ้งซ่านใจ
ไม่เคยแหนงหน่าย เปลี่ยนใจหลงลืม
ดูดดื่มเพียงนี้ หรือพี่จะลืม

ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืมไม่ลืม ไม่ลืม

ไม่ลืม ไม่ลืมสัญญาที่เคยผูกพัน
ว่าเราสองคน จะครองมั่นหมาย
กอดคอกันตาย ไม่คลายจากกัน
ตราบสิ้นชีวิน ฉันก็ไม่ลืม

ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม

(บันทึกแผ่นเสียงเป็นครั้งแรก โดยสุรพล สมบัติเจริญ ในราวปี พ.ศ. ๒๕o๑)




ครูสำเนียง ม่วงทอง
ภาพจากเวบ sayanfanclub.com


ครูสำเนียง ม่วงทอง ผู้ประพันธ์คำร้องเป็นครูเพลงรุ่นเก่า เป็นคนอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเดียวกันกับครูสุรพล สมบัติเจริญ เคยเป็นหัวหน้าวงดนตรี คณะรวมดาวกระจายที่รวบรวมเอานักร้อง นักดนตรีจากทุกค่ายมาอยู่ร่วมกัน และเป็นผู้สร้างนักร้องเพลงลูกทุ่งไว้ด้วยกันหลายคน เช่น ผ่องศรี วรนุช, โกมินทร์ นิลวงศ์, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ, ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ เป็นต้น

เพลงไม่ลืมนี้เมื่อออกเผยแพร่ในช่วงแรก กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ครั้นพอครูสุรพล สมบัติเจริญ แต่งเพลงแก้ใหม่ คือเพลงไหนว่าไม่ลืมให้ผ่องศรี วรนุช ขับร้องบันทึกแผ่นเสียงจน เพลงไหนว่าไม่ลืมฮิตติดลมบน ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงทั่วประเทศ เพลงไม่ลืม ก็กลับมามีชื่อเสียงและได้รับความนิยมใหม่อีกหนคู่กันทั้งสองเพลง




ภาพจากเวบ goosiam.com


ผ่องศรี วรนุช เล่าเอาไว้ในหนังสือไทยลูกทุ่ง โดยเลิศชาย คชยุทธ ว่า

"...พี่พล อัดเพลงไม่ลืมมาปีหนึ่งก็ไม่ดัง ขายไม่ได้ พี่พลเคยเจอเรา เขาคงไปพูดกับนายห้างคาเธ่ย์ บอก...เฮ้ย กูเจอเด็กคนหนึ่ง สมัยก่อนเขาพูดมึง ๆ กู ๆ...แต่มันไม่สวย มันขี้เหร่ มึงมาทำมั้ย ก็จะแต่งเพลงแก้ให้ มึงเป็นคนออกทุน...อะไรอย่างนี้ กูจะให้เด็กคนนี้อัดแผ่นแก้กับกู.."

"เสร็จแล้วเขาก็มาจ้างเราให้อัดเพลงไหนว่าไม่ลืม เราก็อัดเป็นการโต้ตอบ เพลงดัง เพราะได้นายทุนดี อีกอย่างหนึ่งสมัยนั้นนักร้องหญิงไม่มีใครเลย พอเราอัดแผ่น ทั้งพี่ดวงจันทร์ไพโรจน์ สมศรี ม่วงศรเขียว เริ่มดินสายออกต่างจังหวัด เพลงไหนว่าไม่ลืมเกิดโด่งดังขึ้นมา พี่พลเขาก็เอาเพลงไม่ลืมออกมา ปรากฏว่าขายได้ดี"

นักร้องราชาลูกทุ่งและราชินีลูกทุ่งคู่นี้มีเหตุผิดใจกันในภายหลัง เนื่องจากครูสุรพล สมบัติเจริญ ไม่สามารถออกตระเวนเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นข้าราชการทหารอากาศ ตามนโยบายของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ผ่องศรี วรนุช จึงขออนุญาตไปร้องเพลงกับวงดนตรีคณะอื่น เมื่อวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ กลับมาเล่นได้ใหม่ แต่ผ่องศรี วรนุช ไม่สามารถปลีกตัวจัดคิวไปร้องได้ จึงเกิดความบาดหมางกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




ภาพจากเวบ b.yimwhan.com


ผ่องศรี วรนุช เล่าว่า...

"เมื่อมาตามเราที่บ้านไม่เจอ เจอแต่แม่ แม่บอกว่าผ่องศรีไปนครสวรรค์อาทิตย์หนึ่ง พี่พลแกโกรธ ด่าเราฉิบหายวายป่วงเลย...โกรธกันหลายปี จนกระทั่งพี่พลตายจากกัน แกไม่เคยรับไหว้เราเลย และไม่เคยยกโทษให้เราด้วย"

นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่ครูสุรพล สมบัติเจริญ ไปจัดรายการทางสถานีวิทยุ ก็จะต่อว่าต่อขานอยู่ตลอดเวลา และยังแต่งเพลงด่าอีกด้วย

"พี่พลแต่งเพลงแก้วลืมดง ด่าเรา เราด็ตอบโต้เพลงสาลิกาลืมไพร เพลงนั้นดังใหญ่เลย ใครไม่รู้คิดว่าเราทรยศเขา ทั้ง ๆ ที่บอกเขาว่า ถ้าหากไม่มีงาน หนูก็ไปร้องคณะอื่นนะ"


แก้วลืมดง






ภาพจากเวบ baanmaha.com


ข้อมูลจากเวบ manager.co.th


บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2553    
Last Update : 18 สิงหาคม 2553 22:52:40 น.
Counter : 5750 Pageviews.  

คิดถึงครูสุรพล ๒




ภาพจากเวบ udclick.com


//video.aol.ca/video-detail/-/506346567



ครูเพลงที่มีความผูกพันอยู่กับกองดุริยางค์ทหารอากาศนั้น นอกจากท่านพระเจนดุริยางค์ ครูสง่า อารัมภีร ครูมนัส ปิติสานต์ และครูเนรัญชราแล้ว หากไม่กล่าวถึงราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" คงเป็นเรื่องที่ยอมกันไม่ได้

แม้ว่าครูสุรพล สมบัติเจริญ จะมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องว่องแวะด้วยในช่วงเวลาอันสั้น แต่ก็ต้องถือว่า เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของกองดุริยางค์ทหารอากาศกับเขาด้วยคน หนึ่ง แม้ระยะหลังจะหันมาเอาดีและโด่งดังจากผลงานเพลงประเภทลูกทุ่งก็ตามที




ภาพจากเวบ oknation.net


"ครูสุรพล สมบัติเจริญ" เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ มีชื่อเดิมว่า "ลำดวน สมบัติเจริญ" เป็นบุตรชายคนที่ ๒ ในบรรดาพี่น้องท้องเดียวกัน ๖ คน บิดาชื่อนายเปลื้อง สมบัติเจริญ เป็นข้าราชการแผนกสรรพกร จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาชื่อ นางวงศ์ สมบัติเจริญ เป็นแม่ค้าขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่กับบ้าน

เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประสาทวิทย์และโรงเรียนประจำจังหวัด คือโรงเรียนกรรณสูตรวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ใน ปีพ.ศ. ๒๔๙o แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายเหมือนกับครูป. ชื่นประโยชน์ แต่เรียนอยู่ได้ปีเดียวก็ลาออกเพราะไม่ชอบ เลยไปเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนจีน กงลิเสวียเสี้ยว แต่ก็ลาออกอีกเพราะอยากจะเป็นนักร้อง




ภาพจากเวบ musichome.in.th


เมื่ออายุเข้าเกณฑ์ก็สมัครเป็นทหารเกณฑ์ กองพาหนะ สังกัดกองทัพเรือ แล้วย้ายเข้ามาที่กรุงเทพฯ แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้เป็นนักร้องกับเขาเสียที ทั้ง ๆ ที่หลงใหลใฝ่ฝันอยากจะเป็นเหมือนนักร้องรุ่นพี่ ๆ เช่น เบญจิมนทร์ หรือตุ้มทอง โชคชนะ นักร้องประจำวงที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น

จากหนังสือ "วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย" ของศิริพร กรอบทอง เขียนบอกเอาไว้ว่า ครูสุรพล สมบัติเจริญ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องความรัก ความชอบ ในการแต่งเพลงของตนว่า

"...ผมน่ะ มันชอบมาตั้งแต่ชั้นประถมแล้ว พูดแล้วเหมือนโม้ คุณหัดแต่งตั้งแต่อยู่โรงเรียนประสาทวิทย์แล้ว ก็นึก ๆ หาทำนองมาใส่ ร้องกันให้ฟังในชั้น...




ภาพจากเวบ last.fm/music


สมัครเป็นคนงานของกองทัพเรืออยู่พักหนึ่ง ระหว่างนั้นใครมีงานรำวงที่ไหนผมต้องไปช่วย รู้จักไม่รู้จักไม่สำคัญ ขอให้ได้ร้องเป็นใช้ได้ ว่างก็หัดแต่งเพลงดูเพราะรู้สึกว่าไม่ยากเย็นเข็นใจอะไรเลย.."

ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกแล้วไปสมัครเป็นลูกจ้างรายวันที่หมวดคลัง สนามบิน แผนกช่างโยธาทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง และเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่าสุรพล สมบัติเจริญ แทนลำดวนชื่อเก่า




ภาพจากเวบ baanmaha.com


มาเริ่มชีวิตเป็นนักร้องเมื่อสมัครเป็นนักมวยค่ายเลือดชาวฟ้าของ เรืออากาศตรีปราโมทย์ วรรณพงษ์ และมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์ จึงสนับสนุนให้ไปอยู่เป็นนักร้องที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ เพื่อจะเอาดีในการเป็นนักร้องอย่างที่เจ้าตัวมุ่งมาดปรารถนาและมุ่งหวังตั้งใจไว้แต่เดิม โดยได้ย้ายไปเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกันกับสุเทพ วงศ์กำแหง และครูนคร ถนอมทัรพย์(กุงกาดิน)

เจนภพ จบกระบวนวรรณ เขียนเล่าเอาไว้ในหนังสือบางข้อเขียน เกี่ยวกับสุรพล สมบัติเจริญ ถึงเรื่องราวตอนนี้ไว้ว่า

"เพราะหัวหน้าคณะนักมวยเลือดชาวฟ้านี่เอง ที่ทำให้สุรพลได้ย้ายเข้าไปประจำกองดุริยางค์ทหารอากาศ และชีวิตที่สุรพลโปรดปรานที่สุดก็เริ่มต้นที่นี่เอง เขาขยันและฝึกตัวเองอย่างหนัก จนที่สุดก็ได้ออกร้องเพลงประจำวงดุริยางค์บ่อยขึ้น..."




ภาพจากเวบ udclick.com


ประชุม พุ่มศริริ นักร้องหญิงของกองดุริยางค์ทหารอากาศเคยให้สัมภาษณ์กับเจนภพ จบกระบวนวรรณ คอลัมนิสต์ชื่อดังซึ่งเป็นเอ็นไซโครมีเดียเรื่องราวของเพลงลูกทุ่ง เคลื่อนที่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ของธนาคารกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งว่า

"...สุรพลเป็นคนมีใจฝักใฝ่ในเรื่องการร้องรำทำเพลงมาก พอว่างจากงานในหน้าที่ก็จะนั่งเขียนเพลง เคาะจังหวะไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย ใครมีงานที่ไหน ไม่ว่างานอะไร แกจะต้องเสนอตัวไปช่วยร้องเพลงเป็นคนแรก เป็นที่รักของทุกคนในกรมกอง นิสัยดี คุยสนุกสนาน เหมือนไม่มีความทุกข์อะไรในใจเลย...

ส่วนเรื่องเสียงที่ว่าไปพ้องกับนักร้องรุ่นพี่อย่างเบญจามินทร์นั้น แกก็ไม่ได้ดัด มันบังเอิญไปมีส่วนคล้ายกันเอง.."




ภาพจากเวบ utopianvision.co.uk





ผลงานชิ้นแรก


เพลงแรกที่แต่งและบันทึกเสียงคือเพลงน้ำตาลาวเวียง ซึ่งแต่งไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พร้อมกับเพลงอื่น ๆ อีกรวม ๙ เพลง แต่เพลงที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของคนทั่ว ๆ ไปก็คือเพลงชูชกสองกุมาร ที่สุรพล สมบัติเจริญ ร้องเป็นตัวชูชก และเป็นผลงานเพลงชุดแรกที่ได้บันทึกแผ่นเสียง

"เอกพัน ธันวารชร" บุตรชายของนาย ต.เง็กชวน เจ้าของแผ่นเสียงตรากระต่าย เขียนเล่าเหตุการณ์ที่น่าสนใจบนหลังซองแผ่นเสียงตรากระต่าย ในการจัดทำแผ่นเสียงลองเพลย์เพลงชุดแรกของสุรพล สมบัติเจริญ ไว้ว่า

"...เมื่อต้นปีหรือกลางปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ข้าพเจ้า(ผู้เขียน)ได้ติดตามท่านผู้ใหญ่ไปที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในฐานะผู้ทำหน้าที่ฟัง คัดเลือกเพลง เพื่อนำไปบันทึกเสียงผลิตแผ่นเสียงออกจำหน่ายต่อไป ในการไปคราวนั้น ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบกับชายผู้หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่งสันทัด มีปอยขนที่เม็ดไฝใต้คางข้างซ้าย ในระหว่างเวลาพักกลางวันเขาเดินตรงมาหาข้าพเจ้าพร้อมกับแนะนำตัวเอง ระหว่างการสนทนาชายผู้นั้นได้ปรารภขึ้นว่า

"ผมอยากจะร้องเพลงอัดแผ่นเสียงบ้าง แต่ไม่มีใครสนับสนุนช่วยเหลือ..."


น้ำตาลาวเวียง





ภาพจากเวบ thaigramophone.com


ในตอนท้ายของการพบปะกันวันนั้น ชายผู้นั้นได้เอ่ยปากฝากตัวกับข้าพเจ้า ขอให้ช่วยรับเขาไว้เป็นนักร้องแผ่นเสียงสักคนหนึ่งเถิด ข้าพเจ้ารับปากกับเขาว่า ยินดีให้ความสนับสนุนช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่เท่าที่จะช่วยได้...

บางครั้งข้าพเจ้าขอให้เขาร้องเพลงที่ถนัด และเพลงที่เขาแต่งขึ้นเองให้ข้าพเจ้าฟัง เพื่อฟังน้ำเสียงและท่วงทีลีลาการร้องของเขา เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาต่อไป เพลงที่เขาร้องให้ข้าพเจ้าฟังเป็นเพลงรำวงเสียเป็นส่วนมาก จะมีบางเพลงที่กระเดียดไปทางเพลงไทยสากลอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เข้ากับลักษณะตามแบบฉบับของเพลง




ภาพจากเวบ udclick.com


อย่างไรก็ตามจากการได้ฟังเขาร้องเพลงให้ข้าพเจ้าฟัง ๒ - ๓ ครั้ง ข้าพเจ้ารู้สึกติดใจในน้ำเสียงของเขา ท่านที่ชอบฟังเพลงและนักเล่นแผ่นเสียงคงจะจำและนึกออกว่า ในระยะนั้น มีนักร้องผู้หนึ่งมีชื่อเสียงทางร้องเพลงอัดแผ่นเสียงและบนเวทีการแสดง เพลงที่ร้องส่วนมากเห็นจะเป็นเพลงรำวง เขาผู้นั้นคือ "เบญจมินทร์" ผู้มีเสียงเหน่อ ๆ ไม่เหมือนใคร

...ข้าพเจ้าทราบจากปากเขาว่า เขาเคยเป็นคณะกองเชียร์รำวงมาก่อน และแต่งเพลงรำวงได้...ข้าพเจ้า ได้บอกเขาให้ทราบในวันต่อมาว่า ให้เขาเริ่มคิดแต่งเพลงประเภทรำวงตามที่เขาถนัดได้แล้ว พร้อมยังแนะนำทางการแต่งเพลงให้เขาด้วย

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาก็มาขลุกอยู่ที่บ้านข้าพเจ้า เขาแต่งเพลงด้วยความตั้งอกตั้งใจและอย่างเอาจริงเอาจัง จึงบางวันต้องค้างหลับนอนที่บ้านข้าพเจ้าหลายวันติดต่อกันก็เคยมี การแต่งเพลงเสร็จแต่ละเพลง บางครั้งก็อาจจะมีการซ้อมกันเสียคราวหนึ่ง โดยที่เขามาแต่ตัวกับสมองสำหรับคิดเพลง เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับที่จะใช้ซ้อมจึงเป็นปัญหา ต้องอาศัยเอาปี๊บน้ำมันมีตีเป็นกลองแทน เอาขวดน้ำใส่ทรายมาเขย่าแทนลูกกะตา ตลอดจนถ้วย โถ ชาม โอ่ง ไห บรรดามีก็เอามาช่วยกันตีให้เป็นจังหวะรำวง ให้คนของข้าพเจ้าที่บ้านเข้าช่วยด้วย..."




ภาพจากเวบ forum.thaidvd.net

รักแท้จากหนุ่มไทย - เบญจมินทร์



ในเรื่องการแต่งเพลงนั้นเจนภพ จบกระบวนวรรณ เล่าว่า ครูสุรพล สมบัติเจริญ เขียนโน้ตไม่เป็น แต่อาศัยจากการร้องด้วยตนเองเป็นหลัก โดยอ้างถึงเรื่องราวที่เอกพล ธันวารชร เล่าเอาไว้ดังนี้ว่า

"เนื่องจากเขาเขียนโน้ตเพลงไม่ได้ การคิดแต่งเพลงใช้วิธีร้องเป็นคำ และทำนองเพลงไปตามที่เขาคิดขึ้นในขณะนั้น ปากร้องไป มือก็เคาะจังหวะเพลงไป เมื่อได้ประโยคคำร้องและทำนองเพลงตอนหนึ่ง เขาก็จะจดคำร้องนั้นลงบนแผ่นกระดาษ เขาปฏิบัติดังนี้เรื่อยไป บางครั้งกลับย้อนมาร้องตอนต้น ๆ ใหม่ ตรงไหนที่ไม่ถูกใจหรือเห็นว่าไม่ไพเราะ ก็แก้ไขใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะถูกใจเขา"




ภาพจากเวบ oknation.net


...เพลงรำวงของเขาเริ่มเข้ารับการบันทึกเสียงเป็นครั้งแรก ในชีวิตงานอัดแผ่นเสียงของเขา เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ เพลงน้ำตาลาวเวียง เป็นเพลงแรกของเขาที่เขาขับร้องอัดแผ่นเสียงไว้ในครั้งนั้น

แต่ศิริพร กรอบทอง เขียนเล่าไว้ในหนังสือ วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทยว่า ครูสุรพล สมบัติเจริญ เคยให้สัมภาษณ์ถึงเพลงแรกที่แต่ง คือเพลงชูชกสองกุมาร ดังนี้

"...เพลงชูชกสองกุมารซึ่งเป็นเพลงแรกของผมสำเร็จขึ้นตอนนั้น สมคบกับเพื่อนช่วยกันใส่ทำนองแล้วนำไปเสนอ ต.เง็กชวน ได้ค่าเหนื่อย ๔oo บาท..."


ชูชกสองกุมาร.




เพลงชูชกสองกุมาร
คำร้อง/ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ


แม่เจ้า โอ้แม่มัทรี ลูกขอให้ช่วยปรานี
มาช่วยลูกทีแม่คุณทูนหัว
พ่อสิ้นเอ็นดูทิ้งให้ลูกไปอยู่กับชูชกชั่ว
เพราะมันมาขอตัว แม้นไม่ไปมันก็เฆี่ยนตี

ปากร้องเรียกหา แม่จ๋าอยู่ไหน
มาช่วยเร็วไว เพราะหนูกำลังโดนเฆี่ยนตี
โอ้ย แม่จ๋า แม่จ๋า แม่จ๋า แม่มัทรี
สิ้นรักแล้วหรือนี่ จึงปล่อยเขาตีหนูแทบตาย

ชิชะ เจ้าเด็กน้อยอย่าทำสำออย
ประเดี๋ยวจะโดนรอยหวาย
โอยแทบว่าจะสิ้นใจตาย
โอย แทบว่าจะสิ้นใจตาย

ลุงจ๋าอย่าทำหนูเลย
โธ่ ลุงเอ๋ย จงปล่อยหนูไป
นี่แน่ะ ไอ้วายร้าย
เดี๋ยวตีเสียตาย ยังมาทำสำออย

โธ่ ลุงจ๋า อย่าเตะตีด่า หรือว่าลูกน้อย
ป่านนี้แม่คงคอย โอ้พ่อผมน้อยจงปล่อยหนูไป

หนอยแน่ะ ไอ้ตัวดี มาว่ากูนี้หัวล้านได้
มานี่ อื้อ อื้อ ตีให้ตาย

จะเอาไว้ไย ไอ้เด็กสันดาน
จะเอาไว้ไย ไอ้เด็กสันดาน อื้อ โอ๊ย...

(บันทึกแผ่นเสียงไว้ในราวปี พ.ศ. ๒๔๙๖)


เพลงนี้เด็กชายจ้อยเป็นผู้ขับร้องคู่กันกับสุรพล สมบัติเจริญ ไม่มีใครทราบชื่อจริง เพียงแต่รู้ว่า เมื่อโตเป็นหนุ่มขึ้นมา ก็ไปทำมาหากินด้วยการเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ตามโรงหนังทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด


ข้อมูลจากเวบ manager.co.th


บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2553    
Last Update : 18 สิงหาคม 2553 22:51:32 น.
Counter : 4525 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

haiku
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.